คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
แม่ หย่าร้าง ก็ต้องเคลียร์เรื่องบ้านให้จบ
ตอนนี้เท่ากับว่า ถ้าขายทอดตลาดแล้วไม่พอชำระหนี้ เขาก็จะมายึดทรัพย์แม่ไปขายทอดตลาดต่อครับ ส่วนลูกๆไม่โดนแน่นอน แต่ตอนฟ้องเขาต้องฟ้องทุกคนเผื่อว่าลูกๆรับมรดกมา แต่สืบแล้วไม่มีอะไรคุณเลยไม่โดน
แต่แม่โดนแน่ๆ ถ้าหนี้ไม่จบ
แล้วถ้าแม่จะโอนที่ดินตอนนี้ ผมว่าเสี่ยงข้อหาคดีอาญาขายทรัพย์หลบหนีเจ้าหนี้ครับ
ดังนั้นต้องไปดูที่ธนาคารฟ้องครับ การจดจำนองนั้นยื่นกู้ในนามใคร
ถ้าพ่อคนเดียวรอดครับ แม่แค่รับทราบ การรับทราบหมายถึงว่า สินสมรสจะถูกยึดไปใช้หนี้ได้ แต่ยึดทรัพย์มรดกไม่ได้
ดังนั้นที่สำคัญ ดูตรงสัญญาเงินกู้ที่แนบมากับหมายศาลว่า แม่มีชื่อเป็นผู้กู้ร่วมหรือไม่ครับ ถ้าแค่เซ็นยินยอม ไม่โดนยึดมรดกครับ
แต่ถ้ากู้ร่วมโดนครับ สรุปได้แค่นี้
ที่ดินมรดก ไม่ได้รับผลกระทบ หากแม่ไม่ได้มีชื่อยื่นกู้ร่วมด้วย เขามายึดทรัพย์แม่ไม่ได้เพราะเป็นมรดก ไม่ใช่สินสมรส
แต่ถ้าแม่มีชื่อในการยื่นขอกู้ แม้จะไม่มีชื่อในโฉนดก็ตาม โดนยึดทรัพย์มรดกตัวเองได้
ตอนนี้เท่ากับว่า ถ้าขายทอดตลาดแล้วไม่พอชำระหนี้ เขาก็จะมายึดทรัพย์แม่ไปขายทอดตลาดต่อครับ ส่วนลูกๆไม่โดนแน่นอน แต่ตอนฟ้องเขาต้องฟ้องทุกคนเผื่อว่าลูกๆรับมรดกมา แต่สืบแล้วไม่มีอะไรคุณเลยไม่โดน
แต่แม่โดนแน่ๆ ถ้าหนี้ไม่จบ
แล้วถ้าแม่จะโอนที่ดินตอนนี้ ผมว่าเสี่ยงข้อหาคดีอาญาขายทรัพย์หลบหนีเจ้าหนี้ครับ
ดังนั้นต้องไปดูที่ธนาคารฟ้องครับ การจดจำนองนั้นยื่นกู้ในนามใคร
ถ้าพ่อคนเดียวรอดครับ แม่แค่รับทราบ การรับทราบหมายถึงว่า สินสมรสจะถูกยึดไปใช้หนี้ได้ แต่ยึดทรัพย์มรดกไม่ได้
ดังนั้นที่สำคัญ ดูตรงสัญญาเงินกู้ที่แนบมากับหมายศาลว่า แม่มีชื่อเป็นผู้กู้ร่วมหรือไม่ครับ ถ้าแค่เซ็นยินยอม ไม่โดนยึดมรดกครับ
แต่ถ้ากู้ร่วมโดนครับ สรุปได้แค่นี้
ที่ดินมรดก ไม่ได้รับผลกระทบ หากแม่ไม่ได้มีชื่อยื่นกู้ร่วมด้วย เขามายึดทรัพย์แม่ไม่ได้เพราะเป็นมรดก ไม่ใช่สินสมรส
แต่ถ้าแม่มีชื่อในการยื่นขอกู้ แม้จะไม่มีชื่อในโฉนดก็ตาม โดนยึดทรัพย์มรดกตัวเองได้
แสดงความคิดเห็น
คดีหนี้มรดกจากบิดาที่เสียชีวิต-แม่โอนทรัพย์สินให้ลูก
พ่อมีหนี้สินเรื่องคดีกู้ยืม - โดยเริ่มจากพ่อกู้ยืมแบงค์เพื่อซื้อบ้านพร้อมที่ดิน เมื่อปี 45 โดยมีแม่จดทะเบียนสมรสและเซ็นรับทราบ
โดยพ่อได้เอาโแนดที่ดินพร้อมบ้านหลังนั้นไปจำนองกับแบงค์ไว้เพื่อเป็นหลักประกัน
ต่อมาปี 49 พ่อและแม่หย่าร้างกัน โดยพ่อได้เอาบ้านและที่ดินผืนนั้นไปส่งต่อ และไม่ได้ติดต่อมาอีก จนปี 51 ทราบข่าวว่าพ่อเสียชีวิตและพ่อไม่ได้
มีมรดกอะไรเลยเหลือไว้ให้ทางเราและครอบครัวทางฝั่งแม่ก็ไม่ได้ติดตามทรัพย์อะไรเลย
จนกระทั่งปีนี้ 66 ศาลสั่งฟ้อง เรา , น้องชาย และแม่ เป็นจำเลยที่ 1,2 และ 3 ตามลำดับ เรื่องให้ไปใช้หนี้สินที่พ่อไม่ได้ชำระ ตั้งแต่ปี 51
ทางเราจึงไปศาลตามนัดและได้ให้ทางโจทย์ ยึดบ้านและที่ดินผืนนั้นไป
ในกรณีนี้มีความกังวลค่ะว่า หากที่ดินพร้อมบ้านตรงนั้น ขายได้ไม่พอยอดหนี้ที่โจทย์เรียก เค้าจะต้องตามให้ใช้หนี้ที่เหลือ ซึ่งจำเลยที่ 1 และ 2
ซึ่งเป็นบุตร แต่ไม่ได้มรดกอะไรเลย ไม่ต้องชดใช้ใช่ไหมคะ แต่ทางแม่ซึ่งตอนกู้ยืมได้เซ็นรับทราบ ยังไงก็คงต้องรับผิดชอบ อันนี้เราเข้าใจถูกใช่ไหมคะ
และหากตอนนี้โดนฟ้องแล้วเราให้ยึดทรัพย์ตรงนั้นไปแล้ว ทรัพย์ที่ยึดไม่พ่อชำระ เค้าจะมายึดทรัพย์ส่วนตัวที่ไม่ใช่สินสมรสของแม่ ซึ่งแม่มีที่ดินที่เป็นมรดกจากยาย คำถามคือ
1. หากตอนนี้เรายังไม่ทราบว่าที่ดินที่ให้ยึดพอปิดหนี้หรือไม่ แต่แม่ยกมรดกให้เรากับน้องก่อน ได้หรือไม่
2. หากที่ดินที่ให้ยึดไปตรงนั้นไม่พอปิดยอดหนี้ แล้วแม่ได้โอนที่ดินเป็นของเราแล้ว เจ้าหนี้จะสามารถเรียกคืนจากเราได้ไหม
3. การมอบมรดก โอนที่ดินให้บุตร ในสถานการณ์ที่ยังไม่รู้ว่าจะมีหนี้สินให้ต้องชดใช้หรือไม่ ถือเป็นการทำผิดกฏหมายข้อไหนหรือเปล่า
สำหรับเราการที่พ่อจากไปแล้วทิ้งหนี้สินไว้ ตอนหย่าก็ไม่ได้แบ่งยกบ้าน ยกเงินให้เลยแม้แต่บาทเดียว พอตอนนี้มีปัญหามาถึง เราก็อยากปกป้องแม่ค่ะ
ไม่ได้มีเจตนาที่จะหลบหนีหนี้อะไรเลย แค่อยากได้ทางออกให้แม่
รบกวนด้วยนะคะ พอจะมีทางออกแบบไหนได้บ้าง