"แววตาที่เห็น.. เป็นของฆาตกรตัวจริง..."
เหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 1959 เมื่ออดีตนักโทษเพอร์รี สมิธและ ดิ๊ก ฮิกค็อค พบกันในชนบทของแคนซัส
พวกเขาร่วมกันวางแผนบุกบ้านไร่ของครอบครัวคลัตเตอร์ผู้มั่งคั่ง ซึ่ง ดิ๊ค เชื่อว่าในบ้านของคลัตเตอร์นั้น มีตู้เซฟซ่อนอยู่
อาชญากรทั้งสองบุกเข้าไปในบ้านกลางดึก แต่ก็ไม่พบตู้เซฟที่ว่า หนำซ้ำยังได้ทำการสังหารทุกคนในบ้านหลังนั้น
โดยได้เงินออกมาเพียงแค่ 43 เหรียญฯ และวิทยุอีก 1 เครื่อง
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทราบเบาะแสของทั้งคู่จากอดีตเพื่อนร่วมห้องขังของดิ๊ค
ที่เผยว่า เขาเป็นคนเล่าให้ดิ๊คฟังเองว่า ครอบครัวคลัตเตอร์มีตู้เซฟอยู่ (ซึ่งจริงๆแล้วไม่มี) ชายสองคนกลายเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีฆาตกรรม
หลังจาก 2 สัปดาห์ในเม็กซิโก ทั้งคู่กลับไปที่สหรัฐอเมริกาและตัดสินใจเดินทางไปลาสเวกัส
หลังจากที่พวกเขามาถึง สมิธและดิ๊ค ถูกจับในข้อหาขับรถที่ถูกขโมย ใช้เช็คเด้ง และฝ่าฝืนทัณฑ์บน
กรมตำรวจลาสเวกัส แยกสอบปากคำทั้งสองคนเกี่ยวกับการฆาตกรรม ช่วงแรกทั้งสองปฏิเสธไม่รู้เห็นกับเหตุการณ์ดังกล่าว
แต่หลังจากจำนนด้วยหลักฐานรองเท้าเปื้อนเลือด ในที่สุด ดิ๊คก็ยอมสารภาพว่าเขาอยู่ด้วย แต่สมิธ เป็นคนลงมือสังหารทุกคน
ทั้งสองถูกศาลตัดสินประหารชีวิตโดยการแขวนคอ แม้ว่าจะอุทธรณ์ตามสิทธิที่มี แต่ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงคำตัดสินได้
In Cold Blood เป็นภาพยนตร์อาชญากรรมที่สร้างจากเรื่องจริง กำกับโดย Richard Brooks จากผลงานการเขียนของ Truman Capote
แม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะมีเนื้อหาบางส่วนที่ตรงกับหนังสือ แต่บรู๊คส์ได้ทำการดัดแปลงเล็กน้อย รวมทั้งการรวมตัวละคร " Jensen, the reporter (Paul Stewart)
ซึ่งถ้าเราดูในหนังเรื่อง Capote ในปี 2005 บทนี้ก็คือตัวของ Truman Capote ซึ่งแสดงโดย Philip Seymour Hoffman
และคว้ารางวัลออสการ์สาขาดารานำชายยอดเยี่ยมในบทนี้ด้วยครับ
หนังเรื่องนี้ความน่าสนใจไม่ได้อยู่ที่ว่าทั้งคู่ก่อคดียังไง แต่ประเด็นคืออดีตและปมในใจของตัวฆาตกรก็คือ ดิ๊ค และสมิธ
ตามเหตุการณ์เราจะเห็นได้ว่า ดิ๊ค เป็นเหมือนคนต้นเรื่องที่เริ่มก่ออาชญากรรมในครั้งนี้
แต่สุดท้ายแล้วคนที่จัดการสังหารทุกคนกลับกลายเป็นสมิธ คนที่ดูแล้วไม่น่าเชื่อว่าจะทำ
ซึ่งเราก็จะได้เห็นเป็นภาพตัดไปมาระหว่างเรื่องว่าอดีตของสมิธในวัยเด็กนั้น เค้าพบกับอะไรบ้าง
จากครอบครัวใหญ่ที่ดูเหมือนอบอุ่นในอดีต กลับแปรเปลี่ยนไปทั้งพ่อและแม่ของเค้า แรงจูงใจในการก่อเหตุนั้นมันมาจากสิ่งเหล่านี้
โดยในเรื่องจะมีฉากที่ตำรวจได้วิเคราะห์เชิงจิตวิทยา และเชื่อว่า ฆาตกรรมนี้มาจากปมในวัยเด็กของฆาตกร ที่พ่อแม่แยกทางกัน
พบกับการกระทำที่รุนแรง ทั้งกับตัวเองโดน หรือไม่ก็ได้เคยเห็นเหตุการณ์ดังกล่าวจนเหมือนเป็นเรื่องปกติธรรมดา..
ซึ่งการฆ่าเหล่านี้ ฆาตกรจะไม่มีความรู้สึกใดๆเลยระหว่างลงมือ!! (ที่มาของคำว่าเลือดเย็น)
ตรงกันข้ามกับ ดิ๊ก นั้น แม้ภายนอกจะดูรุนแรง เป็นคนต้นเรื่องก็ตาม แต่สิ่งที่เขาทำก็เป็นพวงหลอกลวงต้มตุ๋นซะมากกว่า
ดูจากตอนที่ใช้เช็คเด้ง เอาเงินไปซื้อของ ลักขโมยเล็กน้อย อย่างไรก็ตามเขาก็ได้ร่วมกับสมิธในการอยู่ร่วมในคืนฆาตกรรมนั้นเช่นกัน
ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำในสถานที่ที่เกิดอาชญากรรมจริง ที่ซึ่งพวกเขาปล้นและสังหารสมาชิกทั้งสี่ของครอบครัว
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ 4 สาขา ได้แก่ผู้กำกับยอดเยี่ยม.. ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม.. ถ่ายภาพยอดเยี่ยม และบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม แต่ไม่ได้สักสาขา
และสุดท้ายที่ต้องพูดถึงอีกเรื่องก็คือ ซีนแห่งความทรงจำที่ถือว่าเป็นที่สุดแห่งความบังเอิญเลยก็ว่าได้ครับ
เป็นฉากที่ สมิธ ก่อนเข้ารับการประหาร ในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตนั้น เขาได้เผยความในใจเรื่องของพ่อ และอดีตอันโหดร้ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ประกอบกับสายฝนที่โปรยปรายลงมา ทำให้เกิดบรรยากาศมืดมนและเศร้าหมอง
ทันใดนั้น เงาสะท้อนของสายฝนผ่านกระจก ทำให้ปรากฎเป็นภาพเหมือนหยดน้ำตาที่พร่างพรูลงมาจากดวงตาของสมิธ
ซึ่งเข้ากับอารมณ์และบรรยากาศอันแปลกประหลาดของการแสดงได้อย่างสมบูรณ์แบบ
เมื่อองค์ประกอบทุกอย่างมารวมกันอย่างถูกที่ถูกเวลา นั่นทำให้ซีนนี้ถูกยกให้เป็นผลงานชิ้นเอกของโลกภาพยนตร์เลยทีเดียว
ซึ่งผู้กำกับภาพ Conrad Hall ยอมรับว่า นี่เป็นเหตุบังเอิญเท่านั้น แต่ก็เป็นความบังเอิญที่เหมือนฟ้าบันดาลให้เกิดขึ้นจริงๆ...
=== ทิ้งท้ายครับ หนังที่ดีสำหรับตัวเรา แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้ดีและไม่ได้ถูกใจสำหรับใคร
ซึ่งอยู่ที่ความชอบของแต่ละบุคคล ภาพยนตร์ก็เหมือนอาหารล่ะครับ อยู่ที่เราเลือกที่จะอยากชิมรสชาติแบบไหนเท่านั้นเอง ===
== In Cold Blood (1967) ใจที่มืดมน.. ของคนที่เป็นฆาตกร.. ==
"แววตาที่เห็น.. เป็นของฆาตกรตัวจริง..."
เหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 1959 เมื่ออดีตนักโทษเพอร์รี สมิธและ ดิ๊ก ฮิกค็อค พบกันในชนบทของแคนซัส
พวกเขาร่วมกันวางแผนบุกบ้านไร่ของครอบครัวคลัตเตอร์ผู้มั่งคั่ง ซึ่ง ดิ๊ค เชื่อว่าในบ้านของคลัตเตอร์นั้น มีตู้เซฟซ่อนอยู่
อาชญากรทั้งสองบุกเข้าไปในบ้านกลางดึก แต่ก็ไม่พบตู้เซฟที่ว่า หนำซ้ำยังได้ทำการสังหารทุกคนในบ้านหลังนั้น
โดยได้เงินออกมาเพียงแค่ 43 เหรียญฯ และวิทยุอีก 1 เครื่อง
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทราบเบาะแสของทั้งคู่จากอดีตเพื่อนร่วมห้องขังของดิ๊ค
ที่เผยว่า เขาเป็นคนเล่าให้ดิ๊คฟังเองว่า ครอบครัวคลัตเตอร์มีตู้เซฟอยู่ (ซึ่งจริงๆแล้วไม่มี) ชายสองคนกลายเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีฆาตกรรม
หลังจาก 2 สัปดาห์ในเม็กซิโก ทั้งคู่กลับไปที่สหรัฐอเมริกาและตัดสินใจเดินทางไปลาสเวกัส
หลังจากที่พวกเขามาถึง สมิธและดิ๊ค ถูกจับในข้อหาขับรถที่ถูกขโมย ใช้เช็คเด้ง และฝ่าฝืนทัณฑ์บน
กรมตำรวจลาสเวกัส แยกสอบปากคำทั้งสองคนเกี่ยวกับการฆาตกรรม ช่วงแรกทั้งสองปฏิเสธไม่รู้เห็นกับเหตุการณ์ดังกล่าว
แต่หลังจากจำนนด้วยหลักฐานรองเท้าเปื้อนเลือด ในที่สุด ดิ๊คก็ยอมสารภาพว่าเขาอยู่ด้วย แต่สมิธ เป็นคนลงมือสังหารทุกคน
ทั้งสองถูกศาลตัดสินประหารชีวิตโดยการแขวนคอ แม้ว่าจะอุทธรณ์ตามสิทธิที่มี แต่ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงคำตัดสินได้
In Cold Blood เป็นภาพยนตร์อาชญากรรมที่สร้างจากเรื่องจริง กำกับโดย Richard Brooks จากผลงานการเขียนของ Truman Capote
แม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะมีเนื้อหาบางส่วนที่ตรงกับหนังสือ แต่บรู๊คส์ได้ทำการดัดแปลงเล็กน้อย รวมทั้งการรวมตัวละคร " Jensen, the reporter (Paul Stewart)
ซึ่งถ้าเราดูในหนังเรื่อง Capote ในปี 2005 บทนี้ก็คือตัวของ Truman Capote ซึ่งแสดงโดย Philip Seymour Hoffman
และคว้ารางวัลออสการ์สาขาดารานำชายยอดเยี่ยมในบทนี้ด้วยครับ
หนังเรื่องนี้ความน่าสนใจไม่ได้อยู่ที่ว่าทั้งคู่ก่อคดียังไง แต่ประเด็นคืออดีตและปมในใจของตัวฆาตกรก็คือ ดิ๊ค และสมิธ
ตามเหตุการณ์เราจะเห็นได้ว่า ดิ๊ค เป็นเหมือนคนต้นเรื่องที่เริ่มก่ออาชญากรรมในครั้งนี้
แต่สุดท้ายแล้วคนที่จัดการสังหารทุกคนกลับกลายเป็นสมิธ คนที่ดูแล้วไม่น่าเชื่อว่าจะทำ
ซึ่งเราก็จะได้เห็นเป็นภาพตัดไปมาระหว่างเรื่องว่าอดีตของสมิธในวัยเด็กนั้น เค้าพบกับอะไรบ้าง
จากครอบครัวใหญ่ที่ดูเหมือนอบอุ่นในอดีต กลับแปรเปลี่ยนไปทั้งพ่อและแม่ของเค้า แรงจูงใจในการก่อเหตุนั้นมันมาจากสิ่งเหล่านี้
โดยในเรื่องจะมีฉากที่ตำรวจได้วิเคราะห์เชิงจิตวิทยา และเชื่อว่า ฆาตกรรมนี้มาจากปมในวัยเด็กของฆาตกร ที่พ่อแม่แยกทางกัน
พบกับการกระทำที่รุนแรง ทั้งกับตัวเองโดน หรือไม่ก็ได้เคยเห็นเหตุการณ์ดังกล่าวจนเหมือนเป็นเรื่องปกติธรรมดา..
ซึ่งการฆ่าเหล่านี้ ฆาตกรจะไม่มีความรู้สึกใดๆเลยระหว่างลงมือ!! (ที่มาของคำว่าเลือดเย็น)
ตรงกันข้ามกับ ดิ๊ก นั้น แม้ภายนอกจะดูรุนแรง เป็นคนต้นเรื่องก็ตาม แต่สิ่งที่เขาทำก็เป็นพวงหลอกลวงต้มตุ๋นซะมากกว่า
ดูจากตอนที่ใช้เช็คเด้ง เอาเงินไปซื้อของ ลักขโมยเล็กน้อย อย่างไรก็ตามเขาก็ได้ร่วมกับสมิธในการอยู่ร่วมในคืนฆาตกรรมนั้นเช่นกัน
ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำในสถานที่ที่เกิดอาชญากรรมจริง ที่ซึ่งพวกเขาปล้นและสังหารสมาชิกทั้งสี่ของครอบครัว
ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ 4 สาขา ได้แก่ผู้กำกับยอดเยี่ยม.. ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม.. ถ่ายภาพยอดเยี่ยม และบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม แต่ไม่ได้สักสาขา
และสุดท้ายที่ต้องพูดถึงอีกเรื่องก็คือ ซีนแห่งความทรงจำที่ถือว่าเป็นที่สุดแห่งความบังเอิญเลยก็ว่าได้ครับ
เป็นฉากที่ สมิธ ก่อนเข้ารับการประหาร ในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตนั้น เขาได้เผยความในใจเรื่องของพ่อ และอดีตอันโหดร้ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ประกอบกับสายฝนที่โปรยปรายลงมา ทำให้เกิดบรรยากาศมืดมนและเศร้าหมอง
ทันใดนั้น เงาสะท้อนของสายฝนผ่านกระจก ทำให้ปรากฎเป็นภาพเหมือนหยดน้ำตาที่พร่างพรูลงมาจากดวงตาของสมิธ
ซึ่งเข้ากับอารมณ์และบรรยากาศอันแปลกประหลาดของการแสดงได้อย่างสมบูรณ์แบบ
เมื่อองค์ประกอบทุกอย่างมารวมกันอย่างถูกที่ถูกเวลา นั่นทำให้ซีนนี้ถูกยกให้เป็นผลงานชิ้นเอกของโลกภาพยนตร์เลยทีเดียว
ซึ่งผู้กำกับภาพ Conrad Hall ยอมรับว่า นี่เป็นเหตุบังเอิญเท่านั้น แต่ก็เป็นความบังเอิญที่เหมือนฟ้าบันดาลให้เกิดขึ้นจริงๆ...
=== ทิ้งท้ายครับ หนังที่ดีสำหรับตัวเรา แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้ดีและไม่ได้ถูกใจสำหรับใคร
ซึ่งอยู่ที่ความชอบของแต่ละบุคคล ภาพยนตร์ก็เหมือนอาหารล่ะครับ อยู่ที่เราเลือกที่จะอยากชิมรสชาติแบบไหนเท่านั้นเอง ===