นิ่วในถุงน้ำดี
เป็นโรคในระบบทางเดินอาหารที่สามารถเกิดขึ้นได้และมีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตหากไม่รีบรักษา
ส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยพบได้ตั้งแต่อายุ 30 – 50 ปี
คนไข้ส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารจึงหายามารับประทานเอง จนกระทั่งอาการรุนแรงจึงมารับการรักษา
เพราะฉะนั้นการรู้ทันโรคนิ่วในถุงน้ำดีจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลยนะค่ะ
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ " นิ่วถุงน้ำดี รู้ไว้ไม่เสียหลาย เพื่อให้เราดูแลตัวเองได้ดีขึ้น "
นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones) เกิดจากการตกผลึกของหินปูน หรือ คอเลสเตอรอลที่มีอยู่ในถุงน้ำดี
อาจทำให้เกิดเป็นก้อนนิ่วเพียงก้อนเดียว หรือ ก้อนเล็กๆ หลายๆก้อนก็ได้ รวมทั้งคนที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ทาลัสซีเมีย โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก จะมีโอกาสเป็นนิ่วในถุงน้ำดีมากกว่าคนทั่วไป
อาการ มี 2 ประเภท
1.ไม่มีอาการแสดง นิ่วในถุงน้ำดีส่วนใหญ่จะไม่มีอาการผิดปกติแสดงให้เห็นแต่อย่างใด
และในกลุ่มนี้จะมีโอกาสเกิดอาการขึ้นได้ ประมาณ 1-2 เปอร์เซนต์ต่อปี
โดยมักจะตรวจพบโดยบังเอิญ จากการตรวจเช็คร่างกายด้วยโรคอื่น
2. มีอาการแสดง ท้องอืด แน่นท้อง ปวดเสียดท้อง ปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงขวา หรือลิ้นปี่
หรือ อาจร้าวไปสะบักขวา หรือ ที่หลัง มีอาการปวดท้องและอาจกดเจ็บบริเวณชายโครงขวามากขึ้น
ร่วมกับมีไข้ และอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย มีอาการดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
ปัจจัยเสี่ยงของนิ่วในถุงน้ำดี
พันธุกรรม ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีจะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้มากขึ้น
ภาวะอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลมาก เนื่องจากความอ้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในน้ำดีเพิ่มขึ้น
ฮอร์โมนเอสโตรเจนและการตั้งครรภ์ มีผลเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลและลดการเคลื่อนตัวของถุงน้ำดี
ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนทดแทนจึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้
เพศและอายุ โรคนิ่วในถุงน้ำดีพบมากในเพศหญิงและผู้สูงอายุ
โรคเบาหวาน เนื่องจากคนไข้โรคเบาหวานมีแนวโน้มที่จะมีระดับของไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น
และถุงน้ำดีจะมีการบีบตัวน้อยในผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้
การลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ตับหลั่งคอเลสเตอรอลออกมามากขึ้น รวมถึงถุงน้ำดีจะบีบตัวลดน้อยลง
น้ำดีจึงค้างอยู่ในถุงน้ำดีนานขึ้น โอกาสเกิดการตกตะกอนก็มากขึ้น
อาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูงและเส้นใยต่ำ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้
วิธีการรักษา
ปัจจุบันไม่นิยมการรักษาด้วยการรับประทานยา เนื่องจากต้องรับประทานยาไปตลอดชีวิต และยาที่ใช้รักษามีราคาแพง
สำหรับนิ่วในถุงน้ำดีที่ไม่มีอาการ ส่วนใหญ่ไม่ต้องผ่าตัด เพราะอาจไม่มีอาการเลยตลอดชีวิต ยกเว้น ในคนไข้บางกลุ่ม
ที่แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัด เช่น อายุน้อย (เพราะมีโอกาสเกิดอาการขึ้นมาได้ในอนาคต) โรคโลหิตจางบางชนิด เป็นต้น
ส่วนนิ่วในถุงน้ำดีที่มีอาการ หรือ มีภาวะแทรกซ้อนแล้วควรได้รับการผ่าตัด การรักษานิ่วในถุงน้ำดีในกลุ่มดังกล่าว
คือ การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก ซึ่งวิธีมาตรฐานดั้งเดิมใช้วิธีการผ่าตัดอีกวิธีคือ การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออกโดยใช้กล้องส่องผ่านหน้าท้อง
ข้อดีของการรักษาด้วยการส่องกล้อง
1.สามารถลดความเจ็บปวดจากแผลผ่าตัดหน้าท้องทั่วไปอย่างมาก
2.คนไข้สามารถเคลื่อนไหว และรับประทานอาหารได้ในวันแรกหลังการผ่าตัด
3.ลดเวลาที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาล หลังผ่าตัดให้เหลือประมาณ 2-3 วัน เมื่อเทียบกับ การผ่าตัดหน้าท้องที่ต้องอยู่โรงพยาบาลประมาณ 6-7 วัน
4.สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ประมาณ 30-40 %
5.ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานได้เร็วกว่าการผ่าตัดทางหน้าท้องตามปกติ
การป้องกันโรคนิ่วในถุงน้ำดี
ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เลี่ยงของมัน ของทอด ของหวาน ระวังไขมันในเลือดสูง
โรคเบาหวาน โรคอ้วน ที่สำคัญตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย
หากมีอาการผิดปกติในลักษณะที่ชวนสงสัยรีบพบแพทย์ทันที
ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจรุนแรงถึงขั้นถุงน้ำดีเน่า ถุงน้ำดีแตกจนเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด
หรือเกิดมะเร็งถุงน้ำดีได้ในอนาคต
นิ่วถุงน้ำดี รู้ไว้ไม่เสียหลาย เพื่อให้เราดูแลตัวเองได้ดีขึ้น
เป็นโรคในระบบทางเดินอาหารที่สามารถเกิดขึ้นได้และมีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตหากไม่รีบรักษา
ส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยพบได้ตั้งแต่อายุ 30 – 50 ปี
คนไข้ส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารจึงหายามารับประทานเอง จนกระทั่งอาการรุนแรงจึงมารับการรักษา
เพราะฉะนั้นการรู้ทันโรคนิ่วในถุงน้ำดีจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลยนะค่ะ
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ " นิ่วถุงน้ำดี รู้ไว้ไม่เสียหลาย เพื่อให้เราดูแลตัวเองได้ดีขึ้น "
นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones) เกิดจากการตกผลึกของหินปูน หรือ คอเลสเตอรอลที่มีอยู่ในถุงน้ำดี
อาจทำให้เกิดเป็นก้อนนิ่วเพียงก้อนเดียว หรือ ก้อนเล็กๆ หลายๆก้อนก็ได้ รวมทั้งคนที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ทาลัสซีเมีย โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก จะมีโอกาสเป็นนิ่วในถุงน้ำดีมากกว่าคนทั่วไป
อาการ มี 2 ประเภท
1.ไม่มีอาการแสดง นิ่วในถุงน้ำดีส่วนใหญ่จะไม่มีอาการผิดปกติแสดงให้เห็นแต่อย่างใด
และในกลุ่มนี้จะมีโอกาสเกิดอาการขึ้นได้ ประมาณ 1-2 เปอร์เซนต์ต่อปี
โดยมักจะตรวจพบโดยบังเอิญ จากการตรวจเช็คร่างกายด้วยโรคอื่น
2. มีอาการแสดง ท้องอืด แน่นท้อง ปวดเสียดท้อง ปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงขวา หรือลิ้นปี่
หรือ อาจร้าวไปสะบักขวา หรือ ที่หลัง มีอาการปวดท้องและอาจกดเจ็บบริเวณชายโครงขวามากขึ้น
ร่วมกับมีไข้ และอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย มีอาการดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
ปัจจัยเสี่ยงของนิ่วในถุงน้ำดี
พันธุกรรม ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีจะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้มากขึ้น
ภาวะอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลมาก เนื่องจากความอ้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในน้ำดีเพิ่มขึ้น
ฮอร์โมนเอสโตรเจนและการตั้งครรภ์ มีผลเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลและลดการเคลื่อนตัวของถุงน้ำดี
ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนทดแทนจึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้
เพศและอายุ โรคนิ่วในถุงน้ำดีพบมากในเพศหญิงและผู้สูงอายุ
โรคเบาหวาน เนื่องจากคนไข้โรคเบาหวานมีแนวโน้มที่จะมีระดับของไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น
และถุงน้ำดีจะมีการบีบตัวน้อยในผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้
การลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ตับหลั่งคอเลสเตอรอลออกมามากขึ้น รวมถึงถุงน้ำดีจะบีบตัวลดน้อยลง
น้ำดีจึงค้างอยู่ในถุงน้ำดีนานขึ้น โอกาสเกิดการตกตะกอนก็มากขึ้น
อาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูงและเส้นใยต่ำ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้
วิธีการรักษา
ปัจจุบันไม่นิยมการรักษาด้วยการรับประทานยา เนื่องจากต้องรับประทานยาไปตลอดชีวิต และยาที่ใช้รักษามีราคาแพง
สำหรับนิ่วในถุงน้ำดีที่ไม่มีอาการ ส่วนใหญ่ไม่ต้องผ่าตัด เพราะอาจไม่มีอาการเลยตลอดชีวิต ยกเว้น ในคนไข้บางกลุ่ม
ที่แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัด เช่น อายุน้อย (เพราะมีโอกาสเกิดอาการขึ้นมาได้ในอนาคต) โรคโลหิตจางบางชนิด เป็นต้น
ส่วนนิ่วในถุงน้ำดีที่มีอาการ หรือ มีภาวะแทรกซ้อนแล้วควรได้รับการผ่าตัด การรักษานิ่วในถุงน้ำดีในกลุ่มดังกล่าว
คือ การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก ซึ่งวิธีมาตรฐานดั้งเดิมใช้วิธีการผ่าตัดอีกวิธีคือ การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออกโดยใช้กล้องส่องผ่านหน้าท้อง
ข้อดีของการรักษาด้วยการส่องกล้อง
1.สามารถลดความเจ็บปวดจากแผลผ่าตัดหน้าท้องทั่วไปอย่างมาก
2.คนไข้สามารถเคลื่อนไหว และรับประทานอาหารได้ในวันแรกหลังการผ่าตัด
3.ลดเวลาที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาล หลังผ่าตัดให้เหลือประมาณ 2-3 วัน เมื่อเทียบกับ การผ่าตัดหน้าท้องที่ต้องอยู่โรงพยาบาลประมาณ 6-7 วัน
4.สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ประมาณ 30-40 %
5.ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานได้เร็วกว่าการผ่าตัดทางหน้าท้องตามปกติ
การป้องกันโรคนิ่วในถุงน้ำดี
ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เลี่ยงของมัน ของทอด ของหวาน ระวังไขมันในเลือดสูง
โรคเบาหวาน โรคอ้วน ที่สำคัญตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย
หากมีอาการผิดปกติในลักษณะที่ชวนสงสัยรีบพบแพทย์ทันที
ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจรุนแรงถึงขั้นถุงน้ำดีเน่า ถุงน้ำดีแตกจนเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด
หรือเกิดมะเร็งถุงน้ำดีได้ในอนาคต