สวัสดีทุกคนค่าาา
กระทู้นี้เป็นกระทู้สนทนาอันแรกของเรา หลังจากที่เขียนแต่กระทู้รีวิวในห้องบลูฯ มานาน รอบนี้ขอมาเล่าประสบการณ์ส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องของโรคหัวใจบ้าง โดยเราขอแบ่งเขียนเป็นตอนๆ ทั้งหมด 3 ตอน
ตอนที่ 1 จุดเริ่มต้นของโรคหัวใจ
ตอนที่ 2 ผลข้างเคียงหลังผ่าตัดหัวใจ
ตอนที่ 3 โรคที่เกี่ยวพันสืบเนื่องมาจากตอนที่ 1 และ 2
หากคุณเป็นคนที่แข็งแรง เป็นนักกีฬาของโรงเรียน เป็นนิสิตกิจกรรมตัวยง ซึ่งตั้งแต่เด็กจนเรียนจบมหาวิทยาลัยไม่เคยเจ็บป่วยถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลเลยสักครั้ง ...แล้ววันดีคืนดีคุณถูกวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคหัวใจ คุณจะเชื่อไหม?
ตอนที่ 1 จุดเริ่มต้น เรื่องใหญ่ของหัวใจดวงเล็กๆ ....
มันเริ่มจากการไปตรวจสุขภาพเพื่อทำวีซ่าเมื่อหลายปีมาแล้ว เป็นการขอวีซ่าเพื่อไปเรียนต่อต่างประเทศ
วันที่เข้าไปรับวีซ่า เราถูกเรียกตัวไปด้านใน เข้าไปพบแพทย์ประจำสถานทูต หมอพูดภาษาอังกฤษจับความได้ว่า ผลการเอ็กซเรย์ปอดพบว่าขนาดหัวใจใหญ่ผิดปกติ แนะนำให้ไปหาแพทย์โรคหัวใจเพื่อตรวจว่าเป็นอะไรและทำการรักษาก่อนเดินทาง เพราะหากไปมีอาการที่ต่างประเทศ การรักษาโรคหัวใจมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
ฟังจบ...เดินงงๆ ออกมารอรับเล่ม ลุ้นๆว่าจะได้วีซ่ารึป่าว สรุปวีซ่าผ่าน แต่ขึ้นคำว่า "Abnormal" มาให้ด้วย งงไปอีก นี่เราเป็นคนไม่ปกติแล้วหรือ?
จะทำยังไงต่อกับชีวิตดี จ่ายค่าเทอมไปแล้วด้วย กำหนดการเดินทางก็ออกแล้วด้วย กลับไปบอกที่บ้าน พ่อแม่อึ้งไปเลยจ้า เลี้ยงลูกมาตั้งแต่เด็กจนโตไม่เคยป่วยจนต้องไปหาหมอเลย จะเป็นโรคหัวใจได้ยังไง...
เพื่อให้เคลียร์กับสิ่งที่ทุกคนค้างคาใจ ก็ตัดสินใจไปหาหมอโรคหัวใจ นำผลเอ็กซเรย์ ไปที่ รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง เรามีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG/EKG) และตรวจอัลตราซาวน์หัวใจ (Echocardiogram เรียกสั้นๆว่า Echo) เพิ่มเติม ผลยืนยันว่าหัวใจมีความผิดปกติจริง
หมอส่งเคสเราต่อ ให้ไปพบอาจารย์แพทย์ที่ รพ.เอกชนอีกแห่งหนึ่ง เราก็ไปตรวจตามนัดหมาย ทำอัลตราซาวน์หัวใจเหมือนเดิม อาจารย์หมอวินิจฉัยว่าที่ผนังกั้นห้องหัวใจด้านบนมีรูรั่ว (ภาษาแพทย์เรียก ASD: Atrial Septal Defect)
ณ ตอนนั้นก็ไม่มีความรู้เกี่ยวกับ ASD เลย ถามโง่ๆไป มันรั่วได้ยังไงอ่ะคะ???
อาจารย์หมออธิบายละเอียดดีนะ จับใจความได้ว่า ASD ถือเป็นภาวะที่หัวใจผิดปกติมาตั้งแต่เกิด คือตั้งแต่ในท้องแม่จนคลอดออกมาความผิดปกตินั้นยังอยู่ โดยปกติเด็กทุกคนเกิดมาพร้อมกับช่องเปิดระหว่างหัวใจห้องบน และจะปิดได้เองหลังคลอดออกมา ในบางกรณีที่ช่องเปิดมีขนาดใหญ่กว่าปกติและไม่สามารถปิดเองได้ถือว่าเป็น heart defect เด็กบางคนมีอาการตั้งแต่เกิดก็รักษาไปช่วงแรกเกิด บางคนมีอาการตอนโตขึ้นมาอีกหน่อย เวลาวิ่งเล่นกับเพื่อนมีอาการเหนื่อยง่ายกว่าเด็กปกติ หรือบางคนก็มาตรวจพบตอนวัยทำงาน 20-30 ปี ไม่มีอาการแต่ไปตรวจสุขภาพประจำปีเอ็กซเรย์ปอดเจอหัวใจโต ซึ่งเราก็เข้าข่ายเคสหลังนี้
มาถึงส่วนของการรักษา ASD เป็นภาวะที่รักษาหายขาด โดยวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะของรูรั่วที่ผนังหัวใจ ถ้ารูรั่วขนาดเล็กหมอจะใส่อุปกรณ์เข้าไปปิดโดยการสวนหัวใจ ถ้ารูรั่วขนาดใหญ่ก็ต้องใช้การผ่าตัดเปิดหัวใจเข้าไปซ่อมข้างใน (open-heart surgery) เบื้องต้นเคสเราใช้วิธีการรักษาแบบแรกได้ อาจารย์หมอแจ้งว่า ใช้ระยะเวลาพักฟื้นไม่นาน ทำเสร็จก็สามารถเดินทางขึ้นเครื่องบินได้เลย ดูแล้วไม่กระทบกับแผนการเรียนต่อของเรา หมออธิบายถึงขั้นตอนต่อไปที่ต้องตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมและพูดถึงเรื่องค่าใช้จ่าย ให้สิทธิ์เราเลือกว่าจะไปตรวจวินิจฉัยต่อที่ไหน เราเลือกใช้สิทธิ์สวัสดิการของบริษัท ซึ่ง cover การรักษาทั้งหมดโดยไม่ต้องสำรองจ่ายเอง แต่ต้องเปลี่ยนไปรักษาที่ รพ.รัฐบาล โชคดีอาจารย์หมอประจำอยู่ที่ รพ.รัฐฯ ด้วย ก็ไม่ต้องเปลี่ยนหมอ แค่ย้ายโรงพยาบาล
มาถึง step ถัดไป อาจารย์หมอนัดมากลืนกล้อง ฟังดูน่ากลัวเนอะ เราก็กลัวแหละแต่มันจำเป็นต้องทำ การกลืนกล้องเป็นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางหลอดอาหาร (TEE: Transesophageal Echocardiography) มีการให้ยาชาที่บริเวณคอและยาคลายกังวล เมื่อยาชาออกฤทธิ์ก็เริ่มเลยจ้า หมอค่อยๆสอดท่อเข้ามาทางปาก แล้วบอกให้เราช่วยกลืนจนท่อลงไปถึงหลอดอาหาร รู้สึกอึกอัดมากแต่ไม่ได้รบกวนการหายใจนะ หายใจได้ปกติ สอดกล้องเข้าไปสักพัก มีไปเรียกนักเรียนแพทย์มาดูเคสเราด้วย ใช้เวลาราวๆ 15-20 ได้ หลังตรวจมีอาการเจ็บคอและคลื่นไส้อาเจียน แต่ไม่มีเลือดออก เอาละมาถึงผลตรวจ TEE พบว่าหัวใจเรานอกจากมีรูรั่วแล้ว ยังมีความผิดปกติของเล้นเลือดหัวใจด้วย จากที่จะปิดรูรั่วด้วยอุปกรณ์โดยไม่ผ่าตัด ก็ทำไม่ได้แล้ว เหลือทางเลือกเดียวคือผ่าตัดเปิดหัวใจเข้าไปซ่อมความผิดปกติ 2 อย่างนี้พร้อมกัน เมื่อต้องผ่าตัดใหญ่ เคสเราจึงโดนส่งต่อไปยังศัลยแพทย์หัวใจ อาจารย์หมอพูดอธิบายถึงการผ่าตัด ว่าต้องมีตัดกระดูกช่วงหน้าอกเพื่อเข้าไปให้ถึงหัวใจ ทำการซ่อมหัวใจแล้วเย็บกระดูกปิดกลับให้ โดยผ่าตัดเสร็จจะมีแผลเป็นที่หน้าอก ถ้าใส่ชุดว่ายน้ำหรือบิกินี่เราเป็นผู้หญิงก็อาจดูไม่สวยเพราะเห็นรอยแผลเป็น แต่หมอจะเก็บรอยเย็บให้เนียนที่สุด และหมอจะนัดฉีดสีหัวใจเพื่อดูสภาพหลอดเลือดหัวใจว่ามีตีบส่วนไหนหรือไหม่ก่อนผ่าตัดนะ
นับจากวันฉีดสี จนถึงวันผ่าตัด ก็ประมาณ 1 เดือน ระหว่างรอคิวผ่าตัด หมอให้เราไปหาทันตแพทย์ จัดการอุดฟันให้หมดหากมีฟันผุ เพราะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อระหว่างผ่าตัดหัวใจ เราก็ไปจัดการมาเรียบร้อย
The Day before Open Heart Surgery... 1 กุมภาพันธ์
เราเข้าแอดมิทก่อนผ่าตัด 1 วัน พยาบาลเข้ามาช่วยเตรียมความพร้อมร่างกายก่อนผ่าตัดในเช้าวันรุ่งขึ้น มีทำความสะอาดร่างกาย โกนขนในบริเวณที่ต้องเจาะสายต่างๆ รวมถึงบริเวณที่ต้องติดพลาสเตอร์ คือแทบจะโกนทั้งตัว 555 และพยาบาลมีให้กินยาด้วย จำไม่ได้แล้วว่าเป็นยาอะไร พยาบาลเล่าให้ฟังว่าจะมีใส่ท่อช่วยหายใจ ใส่สายปัสสาวะ สำหรับเราตอนนั้นยังไม่มีความตื่นเต้นและความกังวลใดๆ แต่พ่อแม่พี่น้องนี่อาการหนัก เป็นกังวลและตื่นเต้นแทนเรามาก
D-Day ...วันผ่าตัด 2 กุมภาพันธ์
ตอนเช้าพยาบาลเอาชุดมาเปลี่ยนให้ แล้วเข็นไปห้องผ่าตัด เข้าไปด้านในอุปกรณ์เยอะไปหมด มีคนมารุมเตรียมโน่นนี่ให้เรา ทั้งทีมวิสัญญีแพทย์และทีมพยาบาล พอได้ลงไปนอนเตียงผ่าตัดก็เริ่มตื่นเต้นนะ เตียงเล็กขนาดพอดีตัวเลย แถมยังโดนมัดมือเก็บข้างลำตัวอีก สักพักหมอศัลยแพทย์เข้ามาแนะนำทีม และบอกระยะเวลาในการผ่าตัดว่าไม่เกิน 3 ชั่วโมงนะ จากนั้นก็ไม่รู้สึกตัวแล้ว...
เครดติภาพจาก www.bangkokhearthospital.com
...จำได้ว่าลืมตาขึ้นมาหลังผ่าตัดช่วงเย็น รู้สึกเจ็บและปวดไปทั้งตัว เจ็บจนน้ำตาไหล แต่ยังพูดบอกใครไม่ได้เนื่องจากยังใส่ท่อช่วยหายใจ มีสายเต็มตัวไปหมด เรานอน ICU อยู่ 2 คืน เริ่มได้ถอดสายต่างๆ ออกบ้างในวันที่ 3 และได้ย้ายไปห้องปกติเย็นวันนั้น ความเจ็บปวดหลักๆ คือเจ็บตรงช่วงหน้าอกที่ผ่าตัด การขยับตัวช่วงท่อนบนลำบากมาก รวมไปถึงการไอการจาม หรือหัวเราะจะเจ็บแผลสุดๆ ไปเลย พยาบาลให้เอาหมอนมากดที่ช่วงอกเวลาไอจามจะช่วยบรรเทาความเจ็บลง ในทุกๆวันหลังออกจากไอซียู จะมีการบ้านต้องเป่าเครื่อง triflow เพื่อบริหารปอดไม่ให้ปอดแฟบ
ออกจากโรงพยาบาล... วันที่ 10 กุมภาพันธ์
พอครบ 10 วันเราได้ออกจาก รพ. ไปพักฟื้นที่บ้าน เราได้สมุดบางๆ มาเล่มนึง เป็นข้อควรปฏิบัติและข้อห้ามหลังการผ่าตัด พออ่านจนจบความหวังในการจะได้ไปเรียนต่อต่างประเทศหลังผ่าตัดก็จบไปด้วย ไปอยู่ต่างประเทศคนเดียวไม่น่ารอด เอาเป็นว่าแค่ยกกระเป๋าเดินทางเองยังยกไม่ได้เลย
การพักฟื้นยังต้องใช้เวลาอีกนาน ไม่น่าจะหายทันโรงเรียนเปิด จึงตัดสินใจไม่ไปเรียนต่อที่ต่างประเทศแล้ว
สำหรับค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดอยู่ รพ. 10 วัน ประมาณ 2 แสน++ (ปล. เราได้พักห้องรวม เพราะไม่มีห้องพิเศษว่าง) ถ้ารวมค่าตรวจต่างๆ ก่อนผ่าตัดด้วยก็ถึง 3 แสน เป็นเรทของคลินิกนอกเวลา รพ.รัฐบาล โดยค่าใช้จ่าย 90% บริษัทออกให้ และอีก 10% จ่ายส่วนต่างเอง สวัสดิการดีงามมากอ่ะ
ตอนที่ 2 หลังผ่าตัดหัวใจ....เมื่อหัวใจเต้นผิดปกติ
หลังผ่าตัดหัวใจ เราต้องไป follow up ทุกเดือน หมอให้ทานยาขับปัสสาวะติดต่อกัน 6 เดือน ให้ทำกายภาพบำบัดตามคู่มือ หมั่นฝึกการหายใจเพื่อฟื้นฟูปอด ส่วนแผลผ่าตัดที่มีขนาดยาว 8 นิ้ว หมอแนะนำให้แปะ CICA CARE มันจะเป็นแผ่นซิลิโคนเจลใสๆ ที่ช่วยลดรอยนูนรอยแดงของแผล อันนี้เราแนะนำมากๆ เราใช้ติดต่อกันเป็นปีๆ แปะจนแผลเรียบสนิทไม่มีรอยนูน เรามีกิจกรรมที่ทำไม่ได้ในช่วง 1-2 เดือนแรกหลังผ่าตัด คือ ขับรถ ออกกำลังกาย และยกของหนัก จริงๆ บางอย่างแม้จะบอกว่าเป็นข้อห้ามในช่วงเดือนแรกๆ แต่เรายังทำไม่ได้อยู่ดี แม้เวลาจะผ่านไปเป็นหลักปีก็ตาม เรื่องหลักคือการยกของหนักๆ นี่ไม่ไหวจริงๆ หรือแม้การทำอะไรที่ต้องออกแรงช่วงหน้าอก เช่น เลื่อนเปิดประตูรั้ว การเปิดขวดน้ำดื่ม หรือการเอี้ยวตัวไปหยิบของหลังรถ เราจะเจ็บแผลมาก
ในเรื่องการนัดติดตามอาการ ...หลังจากครบ 6 เดือน หมอจะนัดห่างออกไป โดยจากทุกเดือน เป็นทุก 3 เดือน, ทุก 6 เดือน, และจากนั้นคือทุกๆ 1 ปี ช่วงปีแรกๆ ไปหาหมอตลอดไม่เคยขาดนัด จากนั้นก็ไปบ้างไม่ไปบ้าง จนหายจากหมอไปเลย 555 .....
ในช่วงหลายปีที่ไม่ได้ไปหาหมอ เราก็มีการตรวจสุขภาพประจำปีตามปกติของบริษัท จนเราได้เปลี่ยนโปรแกรมตรวจสุขภาพเป็นแพคเกจที่ดีขึ้น แพงขึ้น และรายการตรวจเยอะขึ้น ตามช่วงอายุที่มากขึ้น ในโปรแกรมมีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG/ECG) ในทุกๆ ปี ผลตรวจเราขึ้น Abnormal ECG มาโดยตลอด ซึ่งหมอบอกว่าเป็นผลมาจากที่เราเคยผ่าตัดหัวใจนั่นแหละ เนื่องจากการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด (open heart surgery) มีการใช้เครื่องปอดหัวใจเทียมเพื่อทำให้หัวใจหยุดเต้นก่อน ถึงจะเข้าไปซ่อมแซมความผิดปกติของหัวใจได้ ซึ่งความรู้นี้เราก็เพิ่งรู้แฮะ เลยทำให้สงสัยแล้วเข้ากูเกิลดูว่าผ่าตัดหัวใจมีความเสี่ยงจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง
และแม้เราจะมีผล EKG ผิดปกติแต่เราก็ไม่ได้ไปหาหมอหัวใจนะ เพราะมันไม่มีอาการอะไร จนกระทั่งตอนเราย้ายบริษัท ได้เปลี่ยน รพ. ที่ตรวจสุขภาพประจำปี มีคอนเม้นท์แนะนำให้เราไปพบแพทย์โรคหัวใจ ซึ่งเราก็ยังไม่ไปหาหมอในทันทีนะ จนเริ่มมีอาการ....ใจสั่น แน่นหน้าอก เป็นนานๆทีบ้าง แล้วก็เป็นถี่ๆบ้าง ช่วงที่เป็นถี่ขึ้นก็เลยตัดสินใจกลับไปหาหมอหัวใจดีกว่า มีไปปรึกษาครอบครัว ว่าจะไปหาหมอคนเดิมที่ผ่าตัด หรือหาหมอใน รพ. ที่ตรวจสุขภาพดี ได้ข้อสรุปว่าให้ไปหาหมอคนเดิมที่ผ่าตัด แวบแรกคิดในใจหมอจะยังอยู่มั้ยนะ แล้วหมอก็ไม่อยู่จริงๆ 555 ย้ายจาก รพ.รัฐฯ ไปทำที่ รพ.เอกชนแล้วจ้า
To be continued... อ่านต่อที่ความเห็น 16
แชร์ประสบการณ์ผ่าตัดหัวใจ: เรื่องใหญ่ของหัวใจดวงเล็กๆ
กระทู้นี้เป็นกระทู้สนทนาอันแรกของเรา หลังจากที่เขียนแต่กระทู้รีวิวในห้องบลูฯ มานาน รอบนี้ขอมาเล่าประสบการณ์ส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องของโรคหัวใจบ้าง โดยเราขอแบ่งเขียนเป็นตอนๆ ทั้งหมด 3 ตอน
ตอนที่ 1 จุดเริ่มต้นของโรคหัวใจ
ตอนที่ 2 ผลข้างเคียงหลังผ่าตัดหัวใจ
ตอนที่ 3 โรคที่เกี่ยวพันสืบเนื่องมาจากตอนที่ 1 และ 2
หากคุณเป็นคนที่แข็งแรง เป็นนักกีฬาของโรงเรียน เป็นนิสิตกิจกรรมตัวยง ซึ่งตั้งแต่เด็กจนเรียนจบมหาวิทยาลัยไม่เคยเจ็บป่วยถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลเลยสักครั้ง ...แล้ววันดีคืนดีคุณถูกวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคหัวใจ คุณจะเชื่อไหม?
วันที่เข้าไปรับวีซ่า เราถูกเรียกตัวไปด้านใน เข้าไปพบแพทย์ประจำสถานทูต หมอพูดภาษาอังกฤษจับความได้ว่า ผลการเอ็กซเรย์ปอดพบว่าขนาดหัวใจใหญ่ผิดปกติ แนะนำให้ไปหาแพทย์โรคหัวใจเพื่อตรวจว่าเป็นอะไรและทำการรักษาก่อนเดินทาง เพราะหากไปมีอาการที่ต่างประเทศ การรักษาโรคหัวใจมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
ฟังจบ...เดินงงๆ ออกมารอรับเล่ม ลุ้นๆว่าจะได้วีซ่ารึป่าว สรุปวีซ่าผ่าน แต่ขึ้นคำว่า "Abnormal" มาให้ด้วย งงไปอีก นี่เราเป็นคนไม่ปกติแล้วหรือ?
จะทำยังไงต่อกับชีวิตดี จ่ายค่าเทอมไปแล้วด้วย กำหนดการเดินทางก็ออกแล้วด้วย กลับไปบอกที่บ้าน พ่อแม่อึ้งไปเลยจ้า เลี้ยงลูกมาตั้งแต่เด็กจนโตไม่เคยป่วยจนต้องไปหาหมอเลย จะเป็นโรคหัวใจได้ยังไง...
เพื่อให้เคลียร์กับสิ่งที่ทุกคนค้างคาใจ ก็ตัดสินใจไปหาหมอโรคหัวใจ นำผลเอ็กซเรย์ ไปที่ รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง เรามีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG/EKG) และตรวจอัลตราซาวน์หัวใจ (Echocardiogram เรียกสั้นๆว่า Echo) เพิ่มเติม ผลยืนยันว่าหัวใจมีความผิดปกติจริง
หมอส่งเคสเราต่อ ให้ไปพบอาจารย์แพทย์ที่ รพ.เอกชนอีกแห่งหนึ่ง เราก็ไปตรวจตามนัดหมาย ทำอัลตราซาวน์หัวใจเหมือนเดิม อาจารย์หมอวินิจฉัยว่าที่ผนังกั้นห้องหัวใจด้านบนมีรูรั่ว (ภาษาแพทย์เรียก ASD: Atrial Septal Defect)
ณ ตอนนั้นก็ไม่มีความรู้เกี่ยวกับ ASD เลย ถามโง่ๆไป มันรั่วได้ยังไงอ่ะคะ???
อาจารย์หมออธิบายละเอียดดีนะ จับใจความได้ว่า ASD ถือเป็นภาวะที่หัวใจผิดปกติมาตั้งแต่เกิด คือตั้งแต่ในท้องแม่จนคลอดออกมาความผิดปกตินั้นยังอยู่ โดยปกติเด็กทุกคนเกิดมาพร้อมกับช่องเปิดระหว่างหัวใจห้องบน และจะปิดได้เองหลังคลอดออกมา ในบางกรณีที่ช่องเปิดมีขนาดใหญ่กว่าปกติและไม่สามารถปิดเองได้ถือว่าเป็น heart defect เด็กบางคนมีอาการตั้งแต่เกิดก็รักษาไปช่วงแรกเกิด บางคนมีอาการตอนโตขึ้นมาอีกหน่อย เวลาวิ่งเล่นกับเพื่อนมีอาการเหนื่อยง่ายกว่าเด็กปกติ หรือบางคนก็มาตรวจพบตอนวัยทำงาน 20-30 ปี ไม่มีอาการแต่ไปตรวจสุขภาพประจำปีเอ็กซเรย์ปอดเจอหัวใจโต ซึ่งเราก็เข้าข่ายเคสหลังนี้
นับจากวันฉีดสี จนถึงวันผ่าตัด ก็ประมาณ 1 เดือน ระหว่างรอคิวผ่าตัด หมอให้เราไปหาทันตแพทย์ จัดการอุดฟันให้หมดหากมีฟันผุ เพราะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อระหว่างผ่าตัดหัวใจ เราก็ไปจัดการมาเรียบร้อย
The Day before Open Heart Surgery... 1 กุมภาพันธ์
เราเข้าแอดมิทก่อนผ่าตัด 1 วัน พยาบาลเข้ามาช่วยเตรียมความพร้อมร่างกายก่อนผ่าตัดในเช้าวันรุ่งขึ้น มีทำความสะอาดร่างกาย โกนขนในบริเวณที่ต้องเจาะสายต่างๆ รวมถึงบริเวณที่ต้องติดพลาสเตอร์ คือแทบจะโกนทั้งตัว 555 และพยาบาลมีให้กินยาด้วย จำไม่ได้แล้วว่าเป็นยาอะไร พยาบาลเล่าให้ฟังว่าจะมีใส่ท่อช่วยหายใจ ใส่สายปัสสาวะ สำหรับเราตอนนั้นยังไม่มีความตื่นเต้นและความกังวลใดๆ แต่พ่อแม่พี่น้องนี่อาการหนัก เป็นกังวลและตื่นเต้นแทนเรามาก
D-Day ...วันผ่าตัด 2 กุมภาพันธ์
ตอนเช้าพยาบาลเอาชุดมาเปลี่ยนให้ แล้วเข็นไปห้องผ่าตัด เข้าไปด้านในอุปกรณ์เยอะไปหมด มีคนมารุมเตรียมโน่นนี่ให้เรา ทั้งทีมวิสัญญีแพทย์และทีมพยาบาล พอได้ลงไปนอนเตียงผ่าตัดก็เริ่มตื่นเต้นนะ เตียงเล็กขนาดพอดีตัวเลย แถมยังโดนมัดมือเก็บข้างลำตัวอีก สักพักหมอศัลยแพทย์เข้ามาแนะนำทีม และบอกระยะเวลาในการผ่าตัดว่าไม่เกิน 3 ชั่วโมงนะ จากนั้นก็ไม่รู้สึกตัวแล้ว...
ในเรื่องการนัดติดตามอาการ ...หลังจากครบ 6 เดือน หมอจะนัดห่างออกไป โดยจากทุกเดือน เป็นทุก 3 เดือน, ทุก 6 เดือน, และจากนั้นคือทุกๆ 1 ปี ช่วงปีแรกๆ ไปหาหมอตลอดไม่เคยขาดนัด จากนั้นก็ไปบ้างไม่ไปบ้าง จนหายจากหมอไปเลย 555 .....
ในช่วงหลายปีที่ไม่ได้ไปหาหมอ เราก็มีการตรวจสุขภาพประจำปีตามปกติของบริษัท จนเราได้เปลี่ยนโปรแกรมตรวจสุขภาพเป็นแพคเกจที่ดีขึ้น แพงขึ้น และรายการตรวจเยอะขึ้น ตามช่วงอายุที่มากขึ้น ในโปรแกรมมีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG/ECG) ในทุกๆ ปี ผลตรวจเราขึ้น Abnormal ECG มาโดยตลอด ซึ่งหมอบอกว่าเป็นผลมาจากที่เราเคยผ่าตัดหัวใจนั่นแหละ เนื่องจากการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด (open heart surgery) มีการใช้เครื่องปอดหัวใจเทียมเพื่อทำให้หัวใจหยุดเต้นก่อน ถึงจะเข้าไปซ่อมแซมความผิดปกติของหัวใจได้ ซึ่งความรู้นี้เราก็เพิ่งรู้แฮะ เลยทำให้สงสัยแล้วเข้ากูเกิลดูว่าผ่าตัดหัวใจมีความเสี่ยงจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง
และแม้เราจะมีผล EKG ผิดปกติแต่เราก็ไม่ได้ไปหาหมอหัวใจนะ เพราะมันไม่มีอาการอะไร จนกระทั่งตอนเราย้ายบริษัท ได้เปลี่ยน รพ. ที่ตรวจสุขภาพประจำปี มีคอนเม้นท์แนะนำให้เราไปพบแพทย์โรคหัวใจ ซึ่งเราก็ยังไม่ไปหาหมอในทันทีนะ จนเริ่มมีอาการ....ใจสั่น แน่นหน้าอก เป็นนานๆทีบ้าง แล้วก็เป็นถี่ๆบ้าง ช่วงที่เป็นถี่ขึ้นก็เลยตัดสินใจกลับไปหาหมอหัวใจดีกว่า มีไปปรึกษาครอบครัว ว่าจะไปหาหมอคนเดิมที่ผ่าตัด หรือหาหมอใน รพ. ที่ตรวจสุขภาพดี ได้ข้อสรุปว่าให้ไปหาหมอคนเดิมที่ผ่าตัด แวบแรกคิดในใจหมอจะยังอยู่มั้ยนะ แล้วหมอก็ไม่อยู่จริงๆ 555 ย้ายจาก รพ.รัฐฯ ไปทำที่ รพ.เอกชนแล้วจ้า