Time​Line​ คดี​ 'SC​ Asset​ กับ​ รัตนพันธ์'​ (ประเด็นสำคัญคือ นักธุรกิจขาดธรรมาภิบาล)



๑.​ครอบครัวรัตนพันธ์ ได้ทำการเสนอขายที่ดินเนื้อที่เกือบ 5 ไร่ ที่อยู่กันมายาวนานให้กับคุณหญิง พจมาน ดามาพงศ์ หรือ ชินวัตร แต่หลังจากนั้นไม่นานคุณหญิงก็บอกว่าไม่ต้องการที่ดินนี้แล้ว แต่จะส่งข้อเสนอดังกล่าวให้ SC ASSET เข้ามาติดต่อซื้อขายเพื่อทำโครงการจัดสรรแทน

๒.ต่อมา SC ASSET ก็ได้เข้ามาติดต่อขอซื้อที่ดินตามที่คุณหญิงพจมานแจ้งไว้ และมีการลงนามบันทึกข้อตกลงการรวบรวมที่ดิน และในช่วงที่ลงนามที่เป็นลายลักษณ์อักษร ก็ได้มีการ พูดคุยกับทีมบริหารและนางสาวยิ่งลักษณ์ ทำให้มีความเชื่อใจต่อกัน

๓.โดยที่ดินที่กำลังจะทำการซื้อขายกันเนี่ย มันมีปัญหาอยู่เพราะ มีคดีอยู่ในศาลกับนายทุนเงินกู้ ทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา เลยตัดสินใจไปถอนฟ้องคดีอาญาและเร่งทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลกับกลุ่มนายทุน เพื่อนำที่ดินมาโอนให้ SC ASSET 

๔.แต่ SC ASSET กลับเปลี่ยนแปลงข้อตกลง โดยการแจ้งยกเลิกซื้อที่ดินแปลงกว่า 20 ไร่ และเริ่มแสดงความไม่แน่นอนในการซื้อที่ดิน จนเกิดความเสียหาย

๕.ประเด็นสำคัญคือ ซีอีโอ SC ASSET หรือ นายณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ เป็นผู้รับปากในที่ประชุม เองว่าไม่ต้องเป็นห่วง จะดูแลเรื่องนี้ด้วยตัวเองจนจบ ครอบครัวก็โล่งใจเพราะปัญหาได้คลี่คลาย 

๖.แต่ปรากฏว่าภายหลังออกจากห้องประชุม เนื้อความในสัญญาที่ SC ASSET ทำขึ้นกลับไม่ตรงกับสิ่งที่ตกลงร่วมกัน แต่ทางครอบครัวรัตนพันธ์ ก็ไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกจากการเซ็นเพื่อให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดตามตกลง

๗.ซึ่งวิธีการที่จะใช้ค่าเสียหายให้ทางครอบครัว คือให้เอาเงินค่าเสียหายเบื้องต้นไป 20 ล้านก่อน และให้ครอบครัวรัตนพันธ์ส่งน้องที่มีอายุแค่ 23 ปี มาเซ็นกู้ยืมเงิน

๘.หลังจากเซ็นบันทึกข้อตกลงซีอีโอ SC ASSET ก็ติดต่อไม่ได้ ทำให้คุณพ่อป่วยหนักต้องแอดมิดเข้าโรงพยาบาล ลูกสาวต้องดรอปเรียนมาดูแลพ่อที่มีแนวโน้มจะฆ่าตัวตายในตอนนั้น เรียกได้ว่าบ้านแตกเลยทีเดียว

๙.จนมาถึงตอนล่าสุดที่ SC ASSET ให้นักกฎหมายปฏิเสธ โดยอ้างเหตุผลต่าง ๆ พร้อมนำสัญญาเงินกู้ การจ่ายเงินเยียวยา มาฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อครอบครัวรัตนพันธ์นั่นเอง

ที่มา​ OpenUp
https://www.facebook.com/thaimoveinstitute/photos/pcb.1018740462842600/1018728179510495


ดร.ศรายุทธ กล่าวด้วยน้ำเสียงดุดัน ในฐานะผู้ได้รับผลกระทบอย่างหนัก จนสภาพครอบครัวตกอยู่ในสภาพบ้านแตกสาแหรกขาด ว่า“คุณณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ ซึ่งเป็นลูกเขยทักษิณ หรือ คุณอรรถพล สฤษฎิพันธาวาทย์ CCO และอีกท่าน CEO ของโรงพยาบาลพระราม 9 ซึ่งคุณหญิงพจมาน ถือหุ้นใหญ่อยู่ ซึ่ง 2 ท่านนี้เป็นสุภาพบุรุษ แต่ผมไม่เชื่อว่า 2 คนนี้คือสุภาพบุรุษตัวจริง  

ผมร่ำร้องเรียกค่าเสียหาย 205 ล้านบาทเศษ มาตลอด หลักฐานปรากฏอยู่เยอะ ทั้งวัตถุพยาน ทั้งลายลักษณ์อักษร ข้อเท็จจริงไม่สามารถไปล้มล้างในอดีตได้ 2 ท่านนี้หลอกลวงลูกผม ให้คำมั่น บอกว่าจะชดใช้ให้ หลอกลวงคนที่รออยู่ด้านหลัง ด้านนอกก็คือแม่เฒ่าเรา หรือคุณย่า  

จนถึงวันนี้ผมอยากให้ 2 คนนี้ หรือชินวัตร ออกมาคุยกับเรา เราท้าดีเบตทุกที่ ทุกแห่งในแผ่นดินนี้ เอาความจริงกล้าเปิดกับเราไหม สาบานต่อวัดพระแก้ว สาบานต่อพระสยามเทวาธิราช ใครคนไหนมันโป้ปดมดเท็จ ให้มันมีอันเป็นไปทั้งตระกูล คุณกล้าออกมาสาบานอย่างสุภาพบุรุษกับพวกเราไหม ผมรออยู่นะ รออยู่ทุกวัน”   



ข้อความส่วนหนึ่งจากถ้อยแถลง ประเด็น 20 ล้าน ดังนี้ 

เป็นการต่อรอง การจ่ายเงินชดเชยค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น โดย CEO เอสซี แอสเสท ขอให้คุณพ่อ และลัดฟ้า รวบรวมที่ดินให้อีกครั้ง คุณพ่อบอกว่าถ้าจะให้ไปทำงานใหม่จะรับปากไม่ได้ เพราะที่ดินตกเป็นของผู้อื่นไปแล้ว CEO เอสซี แอสเสท ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกมาก่อน 100 ล้านบาท แต่มีการต่อรองกัน สรุปเบื้องต้นที่ 20 ล้านบาท เพื่อเร่งเยียวยาครอบครัว   

ข้อสรุปการเจราจาครั้งนั้น ผู้บริหาร SC ASSET ระบุเองว่าจะรับซื้อที่ดินทั้งหมด 14 ไร่ แต่ปรับราคาเพิ่มขึ้น จากราคาตารางวาละ 50,000 บาท เพิ่มเป็น 86,000 บาท ซึ่งทำให้มีส่วนต่างต่อตารางวาสูงถึง 36,000 บาท รวมถึงเมื่อคูณด้วยจำนวนเนื้อที่ดินทั้งหมด 5,752.4 ตารางวา เท่ากับจะมีวงเงินส่วนต่าง 207,086,400 บาท เพื่อให้ตรงกับค่าความเสียหายมากที่สุด ส่วนการจ่ายเงินเพื่อเยียวยาก่อน 20 ล้านนั้น ผู้บริหาร SC ASSET อ้างว่าเนื่องจากตนเป็นบริษัทฯมหาชน จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และอยู่ท่ามกลางสปอตไลท์ ไม่สามารถจ่ายเงินออกมาโดยตรงได้ ต้องอำพรางเป็นสัญญากู้เอาไว้ เพื่อจะไม่ได้เป็นภาระทางกฎหมาย แต่เมื่อรวบรวมที่ดินเสร็จจะจ่ายค่าเสียหายส่วนต่างที่เหลือให้จนเสร็จสิ้น    
    
ประเด็นสำคัญ คือ ซีอีโอ SC ASSET หรือ นายณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ เป็นผู้รับปากในที่ประชุม เองว่าไม่ต้องเป็นห่วง จะดูแลเรื่องนี้ด้วยตัวเองจนจบ ครอบครัวก็โล่งใจเพราะปัญหาได้คลี่คลาย 

แต่ปรากฏว่าภายหลังออกจากห้องประชุม เนื้อความในสัญญาที่ SC ASSET ทำขึ้นกลับไม่ตรงกับสิ่งที่ตกลงร่วมกันในที่ประชุมหลายข้อ และเมื่อติดต่อให้แก้ไข ทางนายอรรถพล ยืนยันว่าแก้ไขไม่ได้   แต่อ้างกับเราว่า นี่คือวิธีการที่ดีที่สุดในแก้ปัญหา เพราะต้องทำตามแบบบริษัทมหาชน แต่จะยึดตามเจตนารมณ์ที่คุยร่วมกันในที่ประชุม และต้องเซ็นในบันทึกที่ SC ASSET ทำขึ้นเท่านั้น   
  
และด้วยความรู้ไม่เท่าทัน รวมถึงครอบครัวรัตนพันธ์ ก็ไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกจากการเซ็นเพื่อให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดตามตกลง เราเลยลงนามในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวไป
  
วันที่ CEO เข้ามาบอกจะรับผิดชอบ จะทำทุกอย่างให้เรื่องมันยุติ จะชดใช้ค่าเสียหายให้ ณ วันนั้น เราไม่รู้เลยว่า วิธีการที่เขาบอกว่ามันคือให้เอาเงินค่าเสียหายเบื้องต้นไป 20 ล้านก่อนนะ แต่พี่อยู่ในสปอตไลท์ต้องให้น้องมาเซ็น น้องที่อายุแค่ 23 ปี ณ ตอนนั้น มาเซ็นกู้ยืมเงิน   

เจ้าของบริษัทลวงล่อหลอกครอบครัวรัตนพันธ์  

หลังจากเซ็นบันทึกข้อตกลง มีประเด็นเพิ่มเติมว่า เมื่อทราบรายละเอียด ดร.ศรายุทธ พยายามติดต่อกับ ซีอีโอ SC ASSET แต่ติดต่อไม่ได้ จึงเกิดความเครียดมาก ป่วย หน้าเบี้ยว มือสั่น เส้นเลือดในสมองตีบ ในขณะที่ครอบครัว “รัตนพันธ์” เรียกร้องบริษัท SC ASSET ปรับแก้บันทึกให้เป็นไปตามที่ตกลงในที่ประชุม โดยมีการแก้อีกหลายครั้งแต่ก็ยังไม่เป็นไปตามในที่ประชุม จน ดร.ศรายุทธ เครียดอาการทรุดหนัก ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หลับไม่ได้ สะดุ้งตื่นทั้งคืน จนคุณหมอต้องให้แอดมิด ไปนอนพักรักษาตัวอยู่ในแผนกจิตเวชผู้ใหญ่ โรงพยาบาลรามาธิบดีอยู่ 12 คืน ส่วนลูกสาวต้องดรอปเรียนมาดูแลคุณพ่อป่วยหนัก ที่มีแนวโน้มจะฆ่าตัวตายในตอนนั้น เพราะเครียดหนักจากสิ้งที่ต้องเผชิญ เนื่องจากผู้กระทำผิดไม่ใช่แค่เจ้าหน้าที่ แต่เป็น CEO ที่เป็นสามีของผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 และเป็นพี่เขยของผู้ถือหุ้นอันดับ 1 มูลค่ารวมกันกว่า 10,000 ล้านบาท เปรียบดังเจ้าของบริษัท ซึ่งมาลวงไม่ใช่แค่ตนเองแต่ลวงเด็กๆลูกตนเองด้วย 
   
ดร.ศรายุทธ จึงพยายามหาทางประสานไปที่ต้นเรื่อง คือคุณหญิงพจมาน ดามาพงษ์ โดยได้รับการช่วยเหลือติดต่อจากผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ได้โทรไปขอความเป็นธรรมจากคุณหญิง กระทั่งมีโอกาสเข้าไปนั่งคุยกับคุณหญิงพจมาน ที่ห้องทำงาน ณ ตึกชินวัตร ทาวเวอร์ 3   

โดยคุณหญิงพจมาน บอกว่าให้นำเอกสารมาจะดูแลให้การช่วยเหลือให้ความเป็นธรรม เพราะถือเป็นคนไทยด้วยกัน แต่สุดท้ายเมื่อได้รับเอกสารทั้งหมดไปพิจารณา คุณหญิงพจมานกลับส่งเรื่องให้เลขาฯมาบอกกับผู้ใหญ่ท่านนั้นว่ารอหมดเวลาตามบันทึกข้อตกกลง แล้วจะเดินหน้าฟ้องครอบครัว “รัตนพันธ์” ฐานทำให้เกิดความเสียหาย   

สรุปคือ การหลอกล่อลวงให้ไว้ใจและเชื่อใจ ในสิ่งที่ นายณัฐพงศ์ ซีอีโอ SC ASSEET รับปากกับตนในที่ประชุม เพื่อให้เกิดการดำเนินเรื่องต่อ โดยการนำที่ดินไปให้บริษัท รับโอนเพื่อรับเงินค่าเสียหาย แต่สุดท้ายบริษัท SC ASSET กลับให้นักกฎหมายปฏิเสธ โดยอ้างเหตุผลต่างๆนาๆ พร้อมนำสัญญาเงินกู้ ที่ใช้อำพราง การจ่ายเงินเยียาวยา มาฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อครอบครัว “รัตนพันธ์” เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2563  
  
ทั้งหมดเป็นการตอกย้ำให้เห็นพฤติการณ์ของบุคคลในครอบครัวชินวัตร หัวหน้าครอบครัวพรรคเพื่อไทย และในฐานะผู้ถือหุ้นอันดับ 1 ของบริษัท SC Asset  และ ผู้บริหาร SC ASSET ตลอดหลายปีที่ผ่านมา 

ที่มาข่าว. https://www.topnews.co.th/news/612936
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่