สำนักข่าว TOP NEWS สวน "Sc Asset" ยันนำเสนอข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐาน
ตามที่ บริษัท SC Asset ได้ทำหนังสือส่งถึง กองบรรณาธิการการสำนักข่าว TOP NEWS เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2566 เรื่อง ขอให้ยุติเสนอข่าวการร้องเรียน ร้องทุกข์ของสมาชิกครอบครัว “รัตนพันธ์” โดยระบุเหตุผลว่าเป็นการนำเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จ ในประเด็นดังนี้
1. เบื้องลึกที่ “ครอบครัว รัตนพันธ์” ได้รับผลกระทบจนถึงขั้นบ้านแตกสาแหรกขาด อันเป็นเหตุเชื่อมโยงมาจากการดำเนินกิจการของ บริษัท Sc asset
2. Timeline และพฤติการณ์ต่างๆ ของบริษัท SC Asset พนักงานเจ้าหน้าที่ ตลอดจนผู้บริหารระดับสูง อย่าง นายณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ อันเกี่ยวข้องกับผลกระทบดังกล่าว
3. การดำเนินกิจการ ตลอดจน การบริหารงานของ บริษัท Sc Asset ซึ่งเป็นบริษัท (มหาชน) ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีผู้หุ้นมากกว่า 10,000 ราย
4. ประเด็นความเดือดร้อน ของ “ครอบครัว รัตนพันธ์” ในด้านต่างๆ
5. ขั้นตอนเตรียมการตรวจสอบข้อมูล ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงต่อสาธารณะต่อไป
ทั้งนี้กองบรรณาธิการ สำนักข่าว TOP NEWS ขอยืนยันว่าในการนำเสนอข่าวสารนี้เป็นไปตามข้อเท็จจริงและอุดมการณ์ วิชาชีพของสื่อมวลชนที่ดี ในการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ และการเป็นที่พึ่งของพี่น้องประชาชนผู้ได้รับความทุกข์ยาก ในเรื่องต่างๆ
รวมถึงเรื่องดังกล่าว กองบรรณาธิการ ได้ดำเนินการตรวจสอบถามรายละเอียด จากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ตรวจสอบเอกสารต่างๆหลายร้อยหน้า ตลอดจนคลิปภาพเหตุการณ์ และคลิปเสียงการสนทนา ก่อนนำไปสู่ขั้นตอนการเสนอข่าวสู่สาธารณะ
อย่างไรก็ตาม หาก บริษัท SC Asset มีความประสงค์ที่จะนำเสนอข้อมูล เพื่อโต้แย้ง และ/หรือ แสดงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมในประเด็นอื่นๆ กองบรรณาธิการ สำนักข่าว TOP NEWS มีความยินดีที่จะนำเสนอข้อมูลของบริษัท ฯ เพื่อใช้ประกอบการติดตามข้อมูล ข่าวสาร ของสาธารณชนทั่วไป
https://www.topnews.co.th/news/614832
ข้อความส่วนหนึ่งจากถ้อยแถลง ประเด็น 20 ล้าน ดังนี้
เป็นการต่อรอง การจ่ายเงินชดเชยค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น โดย CEO เอสซี แอสเสท ขอให้คุณพ่อ และลัดฟ้า รวบรวมที่ดินให้อีกครั้ง คุณพ่อบอกว่าถ้าจะให้ไปทำงานใหม่จะรับปากไม่ได้ เพราะที่ดินตกเป็นของผู้อื่นไปแล้ว CEO เอสซี แอสเสท ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกมาก่อน 100 ล้านบาท แต่มีการต่อรองกัน สรุปเบื้องต้นที่ 20 ล้านบาท เพื่อเร่งเยียวยาครอบครัว
ข้อสรุปการเจราจาครั้งนั้น ผู้บริหาร SC ASSET ระบุเองว่าจะรับซื้อที่ดินทั้งหมด 14 ไร่ แต่ปรับราคาเพิ่มขึ้น จากราคาตารางวาละ 50,000 บาท เพิ่มเป็น 86,000 บาท ซึ่งทำให้มีส่วนต่างต่อตารางวาสูงถึง 36,000 บาท รวมถึงเมื่อคูณด้วยจำนวนเนื้อที่ดินทั้งหมด 5,752.4 ตารางวา เท่ากับจะมีวงเงินส่วนต่าง 207,086,400 บาท เพื่อให้ตรงกับค่าความเสียหายมากที่สุด ส่วนการจ่ายเงินเพื่อเยียวยาก่อน 20 ล้านนั้น ผู้บริหาร SC ASSET อ้างว่าเนื่องจากตนเป็นบริษัทฯมหาชน จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และอยู่ท่ามกลางสปอตไลท์ ไม่สามารถจ่ายเงินออกมาโดยตรงได้ ต้องอำพรางเป็นสัญญากู้เอาไว้ เพื่อจะไม่ได้เป็นภาระทางกฎหมาย แต่เมื่อรวบรวมที่ดินเสร็จจะจ่ายค่าเสียหายส่วนต่างที่เหลือให้จนเสร็จสิ้น
ประเด็นสำคัญ คือ ซีอีโอ SC ASSET หรือ นายณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ เป็นผู้รับปากในที่ประชุม เองว่าไม่ต้องเป็นห่วง จะดูแลเรื่องนี้ด้วยตัวเองจนจบ ครอบครัวก็โล่งใจเพราะปัญหาได้คลี่คลาย
แต่ปรากฏว่าภายหลังออกจากห้องประชุม เนื้อความในสัญญาที่ SC ASSET ทำขึ้นกลับไม่ตรงกับสิ่งที่ตกลงร่วมกันในที่ประชุมหลายข้อ และเมื่อติดต่อให้แก้ไข ทางนายอรรถพล ยืนยันว่าแก้ไขไม่ได้ แต่อ้างกับเราว่า นี่คือวิธีการที่ดีที่สุดในแก้ปัญหา เพราะต้องทำตามแบบบริษัทมหาชน แต่จะยึดตามเจตนารมณ์ที่คุยร่วมกันในที่ประชุม และต้องเซ็นในบันทึกที่ SC ASSET ทำขึ้นเท่านั้น
และด้วยความรู้ไม่เท่าทัน รวมถึงครอบครัวรัตนพันธ์ ก็ไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกจากการเซ็นเพื่อให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดตามตกลง เราเลยลงนามในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวไป
วันที่ CEO เข้ามาบอกจะรับผิดชอบ จะทำทุกอย่างให้เรื่องมันยุติ จะชดใช้ค่าเสียหายให้ ณ วันนั้น เราไม่รู้เลยว่า วิธีการที่เขาบอกว่ามันคือให้เอาเงินค่าเสียหายเบื้องต้นไป 20 ล้านก่อนนะ แต่พี่อยู่ในสปอตไลท์ต้องให้น้องมาเซ็น น้องที่อายุแค่ 23 ปี ณ ตอนนั้น มาเซ็นกู้ยืมเงิน
เจ้าของบริษัทลวงล่อหลอกครอบครัวรัตนพันธ์
หลังจากเซ็นบันทึกข้อตกลง มีประเด็นเพิ่มเติมว่า เมื่อทราบรายละเอียด ดร.ศรายุทธ พยายามติดต่อกับ ซีอีโอ SC ASSET แต่ติดต่อไม่ได้ จึงเกิดความเครียดมาก ป่วย หน้าเบี้ยว มือสั่น เส้นเลือดในสมองตีบ ในขณะที่ครอบครัว “รัตนพันธ์” เรียกร้องบริษัท SC ASSET ปรับแก้บันทึกให้เป็นไปตามที่ตกลงในที่ประชุม โดยมีการแก้อีกหลายครั้งแต่ก็ยังไม่เป็นไปตามในที่ประชุม จน ดร.ศรายุทธ เครียดอาการทรุดหนัก ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หลับไม่ได้ สะดุ้งตื่นทั้งคืน จนคุณหมอต้องให้แอดมิด ไปนอนพักรักษาตัวอยู่ในแผนกจิตเวชผู้ใหญ่ โรงพยาบาลรามาธิบดีอยู่ 12 คืน ส่วนลูกสาวต้องดรอปเรียนมาดูแลคุณพ่อป่วยหนัก ที่มีแนวโน้มจะฆ่าตัวตายในตอนนั้น เพราะเครียดหนักจากสิ้งที่ต้องเผชิญ เนื่องจากผู้กระทำผิดไม่ใช่แค่เจ้าหน้าที่ แต่เป็น CEO ที่เป็นสามีของผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 และเป็นพี่เขยของผู้ถือหุ้นอันดับ 1 มูลค่ารวมกันกว่า 10,000 ล้านบาท เปรียบดังเจ้าของบริษัท ซึ่งมาลวงไม่ใช่แค่ตนเองแต่ลวงเด็กๆลูกตนเองด้วย
ดร.ศรายุทธ จึงพยายามหาทางประสานไปที่ต้นเรื่อง คือคุณหญิงพจมาน ดามาพงษ์ โดยได้รับการช่วยเหลือติดต่อจากผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ได้โทรไปขอความเป็นธรรมจากคุณหญิง กระทั่งมีโอกาสเข้าไปนั่งคุยกับคุณหญิงพจมาน ที่ห้องทำงาน ณ ตึกชินวัตร ทาวเวอร์ 3
โดยคุณหญิงพจมาน บอกว่าให้นำเอกสารมาจะดูแลให้การช่วยเหลือให้ความเป็นธรรม เพราะถือเป็นคนไทยด้วยกัน แต่สุดท้ายเมื่อได้รับเอกสารทั้งหมดไปพิจารณา คุณหญิงพจมานกลับส่งเรื่องให้เลขาฯมาบอกกับผู้ใหญ่ท่านนั้นว่ารอหมดเวลาตามบันทึกข้อตกกลง แล้วจะเดินหน้าฟ้องครอบครัว “รัตนพันธ์” ฐานทำให้เกิดความเสียหาย
สรุปคือ การหลอกล่อลวงให้ไว้ใจและเชื่อใจ ในสิ่งที่ นายณัฐพงศ์ ซีอีโอ SC ASSEET รับปากกับตนในที่ประชุม เพื่อให้เกิดการดำเนินเรื่องต่อ โดยการนำที่ดินไปให้บริษัท รับโอนเพื่อรับเงินค่าเสียหาย แต่สุดท้ายบริษัท SC ASSET กลับให้นักกฎหมายปฏิเสธ โดยอ้างเหตุผลต่างๆนาๆ พร้อมนำสัญญาเงินกู้ ที่ใช้อำพราง การจ่ายเงินเยียาวยา มาฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อครอบครัว “รัตนพันธ์” เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2563
ทั้งหมดเป็นการตอกย้ำให้เห็นพฤติการณ์ของบุคคลในครอบครัวชินวัตร หัวหน้าครอบครัวพรรคเพื่อไทย และในฐานะผู้ถือหุ้นอันดับ 1 ของบริษัท SC Asset และ ผู้บริหาร SC ASSET ตลอดหลายปีที่ผ่านมา
ที่มาข่าว.
https://www.topnews.co.th/news/612936
TOPNEWS โต้ SC Asset ยืนยันรายงานข่าว ครอบครัวรัตนพันธ์ ตามจรรยาบรรณสื่อ
ตามที่ บริษัท SC Asset ได้ทำหนังสือส่งถึง กองบรรณาธิการการสำนักข่าว TOP NEWS เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2566 เรื่อง ขอให้ยุติเสนอข่าวการร้องเรียน ร้องทุกข์ของสมาชิกครอบครัว “รัตนพันธ์” โดยระบุเหตุผลว่าเป็นการนำเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จ ในประเด็นดังนี้
1. เบื้องลึกที่ “ครอบครัว รัตนพันธ์” ได้รับผลกระทบจนถึงขั้นบ้านแตกสาแหรกขาด อันเป็นเหตุเชื่อมโยงมาจากการดำเนินกิจการของ บริษัท Sc asset
2. Timeline และพฤติการณ์ต่างๆ ของบริษัท SC Asset พนักงานเจ้าหน้าที่ ตลอดจนผู้บริหารระดับสูง อย่าง นายณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ อันเกี่ยวข้องกับผลกระทบดังกล่าว
3. การดำเนินกิจการ ตลอดจน การบริหารงานของ บริษัท Sc Asset ซึ่งเป็นบริษัท (มหาชน) ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีผู้หุ้นมากกว่า 10,000 ราย
4. ประเด็นความเดือดร้อน ของ “ครอบครัว รัตนพันธ์” ในด้านต่างๆ
5. ขั้นตอนเตรียมการตรวจสอบข้อมูล ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงต่อสาธารณะต่อไป
ทั้งนี้กองบรรณาธิการ สำนักข่าว TOP NEWS ขอยืนยันว่าในการนำเสนอข่าวสารนี้เป็นไปตามข้อเท็จจริงและอุดมการณ์ วิชาชีพของสื่อมวลชนที่ดี ในการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ และการเป็นที่พึ่งของพี่น้องประชาชนผู้ได้รับความทุกข์ยาก ในเรื่องต่างๆ
รวมถึงเรื่องดังกล่าว กองบรรณาธิการ ได้ดำเนินการตรวจสอบถามรายละเอียด จากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ตรวจสอบเอกสารต่างๆหลายร้อยหน้า ตลอดจนคลิปภาพเหตุการณ์ และคลิปเสียงการสนทนา ก่อนนำไปสู่ขั้นตอนการเสนอข่าวสู่สาธารณะ
อย่างไรก็ตาม หาก บริษัท SC Asset มีความประสงค์ที่จะนำเสนอข้อมูล เพื่อโต้แย้ง และ/หรือ แสดงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมในประเด็นอื่นๆ กองบรรณาธิการ สำนักข่าว TOP NEWS มีความยินดีที่จะนำเสนอข้อมูลของบริษัท ฯ เพื่อใช้ประกอบการติดตามข้อมูล ข่าวสาร ของสาธารณชนทั่วไป
https://www.topnews.co.th/news/614832
ข้อความส่วนหนึ่งจากถ้อยแถลง ประเด็น 20 ล้าน ดังนี้
เป็นการต่อรอง การจ่ายเงินชดเชยค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น โดย CEO เอสซี แอสเสท ขอให้คุณพ่อ และลัดฟ้า รวบรวมที่ดินให้อีกครั้ง คุณพ่อบอกว่าถ้าจะให้ไปทำงานใหม่จะรับปากไม่ได้ เพราะที่ดินตกเป็นของผู้อื่นไปแล้ว CEO เอสซี แอสเสท ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกมาก่อน 100 ล้านบาท แต่มีการต่อรองกัน สรุปเบื้องต้นที่ 20 ล้านบาท เพื่อเร่งเยียวยาครอบครัว
ข้อสรุปการเจราจาครั้งนั้น ผู้บริหาร SC ASSET ระบุเองว่าจะรับซื้อที่ดินทั้งหมด 14 ไร่ แต่ปรับราคาเพิ่มขึ้น จากราคาตารางวาละ 50,000 บาท เพิ่มเป็น 86,000 บาท ซึ่งทำให้มีส่วนต่างต่อตารางวาสูงถึง 36,000 บาท รวมถึงเมื่อคูณด้วยจำนวนเนื้อที่ดินทั้งหมด 5,752.4 ตารางวา เท่ากับจะมีวงเงินส่วนต่าง 207,086,400 บาท เพื่อให้ตรงกับค่าความเสียหายมากที่สุด ส่วนการจ่ายเงินเพื่อเยียวยาก่อน 20 ล้านนั้น ผู้บริหาร SC ASSET อ้างว่าเนื่องจากตนเป็นบริษัทฯมหาชน จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และอยู่ท่ามกลางสปอตไลท์ ไม่สามารถจ่ายเงินออกมาโดยตรงได้ ต้องอำพรางเป็นสัญญากู้เอาไว้ เพื่อจะไม่ได้เป็นภาระทางกฎหมาย แต่เมื่อรวบรวมที่ดินเสร็จจะจ่ายค่าเสียหายส่วนต่างที่เหลือให้จนเสร็จสิ้น
ประเด็นสำคัญ คือ ซีอีโอ SC ASSET หรือ นายณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ เป็นผู้รับปากในที่ประชุม เองว่าไม่ต้องเป็นห่วง จะดูแลเรื่องนี้ด้วยตัวเองจนจบ ครอบครัวก็โล่งใจเพราะปัญหาได้คลี่คลาย
แต่ปรากฏว่าภายหลังออกจากห้องประชุม เนื้อความในสัญญาที่ SC ASSET ทำขึ้นกลับไม่ตรงกับสิ่งที่ตกลงร่วมกันในที่ประชุมหลายข้อ และเมื่อติดต่อให้แก้ไข ทางนายอรรถพล ยืนยันว่าแก้ไขไม่ได้ แต่อ้างกับเราว่า นี่คือวิธีการที่ดีที่สุดในแก้ปัญหา เพราะต้องทำตามแบบบริษัทมหาชน แต่จะยึดตามเจตนารมณ์ที่คุยร่วมกันในที่ประชุม และต้องเซ็นในบันทึกที่ SC ASSET ทำขึ้นเท่านั้น
และด้วยความรู้ไม่เท่าทัน รวมถึงครอบครัวรัตนพันธ์ ก็ไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกจากการเซ็นเพื่อให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดตามตกลง เราเลยลงนามในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวไป
วันที่ CEO เข้ามาบอกจะรับผิดชอบ จะทำทุกอย่างให้เรื่องมันยุติ จะชดใช้ค่าเสียหายให้ ณ วันนั้น เราไม่รู้เลยว่า วิธีการที่เขาบอกว่ามันคือให้เอาเงินค่าเสียหายเบื้องต้นไป 20 ล้านก่อนนะ แต่พี่อยู่ในสปอตไลท์ต้องให้น้องมาเซ็น น้องที่อายุแค่ 23 ปี ณ ตอนนั้น มาเซ็นกู้ยืมเงิน
เจ้าของบริษัทลวงล่อหลอกครอบครัวรัตนพันธ์
หลังจากเซ็นบันทึกข้อตกลง มีประเด็นเพิ่มเติมว่า เมื่อทราบรายละเอียด ดร.ศรายุทธ พยายามติดต่อกับ ซีอีโอ SC ASSET แต่ติดต่อไม่ได้ จึงเกิดความเครียดมาก ป่วย หน้าเบี้ยว มือสั่น เส้นเลือดในสมองตีบ ในขณะที่ครอบครัว “รัตนพันธ์” เรียกร้องบริษัท SC ASSET ปรับแก้บันทึกให้เป็นไปตามที่ตกลงในที่ประชุม โดยมีการแก้อีกหลายครั้งแต่ก็ยังไม่เป็นไปตามในที่ประชุม จน ดร.ศรายุทธ เครียดอาการทรุดหนัก ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หลับไม่ได้ สะดุ้งตื่นทั้งคืน จนคุณหมอต้องให้แอดมิด ไปนอนพักรักษาตัวอยู่ในแผนกจิตเวชผู้ใหญ่ โรงพยาบาลรามาธิบดีอยู่ 12 คืน ส่วนลูกสาวต้องดรอปเรียนมาดูแลคุณพ่อป่วยหนัก ที่มีแนวโน้มจะฆ่าตัวตายในตอนนั้น เพราะเครียดหนักจากสิ้งที่ต้องเผชิญ เนื่องจากผู้กระทำผิดไม่ใช่แค่เจ้าหน้าที่ แต่เป็น CEO ที่เป็นสามีของผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 และเป็นพี่เขยของผู้ถือหุ้นอันดับ 1 มูลค่ารวมกันกว่า 10,000 ล้านบาท เปรียบดังเจ้าของบริษัท ซึ่งมาลวงไม่ใช่แค่ตนเองแต่ลวงเด็กๆลูกตนเองด้วย
ดร.ศรายุทธ จึงพยายามหาทางประสานไปที่ต้นเรื่อง คือคุณหญิงพจมาน ดามาพงษ์ โดยได้รับการช่วยเหลือติดต่อจากผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ได้โทรไปขอความเป็นธรรมจากคุณหญิง กระทั่งมีโอกาสเข้าไปนั่งคุยกับคุณหญิงพจมาน ที่ห้องทำงาน ณ ตึกชินวัตร ทาวเวอร์ 3
โดยคุณหญิงพจมาน บอกว่าให้นำเอกสารมาจะดูแลให้การช่วยเหลือให้ความเป็นธรรม เพราะถือเป็นคนไทยด้วยกัน แต่สุดท้ายเมื่อได้รับเอกสารทั้งหมดไปพิจารณา คุณหญิงพจมานกลับส่งเรื่องให้เลขาฯมาบอกกับผู้ใหญ่ท่านนั้นว่ารอหมดเวลาตามบันทึกข้อตกกลง แล้วจะเดินหน้าฟ้องครอบครัว “รัตนพันธ์” ฐานทำให้เกิดความเสียหาย
สรุปคือ การหลอกล่อลวงให้ไว้ใจและเชื่อใจ ในสิ่งที่ นายณัฐพงศ์ ซีอีโอ SC ASSEET รับปากกับตนในที่ประชุม เพื่อให้เกิดการดำเนินเรื่องต่อ โดยการนำที่ดินไปให้บริษัท รับโอนเพื่อรับเงินค่าเสียหาย แต่สุดท้ายบริษัท SC ASSET กลับให้นักกฎหมายปฏิเสธ โดยอ้างเหตุผลต่างๆนาๆ พร้อมนำสัญญาเงินกู้ ที่ใช้อำพราง การจ่ายเงินเยียาวยา มาฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อครอบครัว “รัตนพันธ์” เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2563
ทั้งหมดเป็นการตอกย้ำให้เห็นพฤติการณ์ของบุคคลในครอบครัวชินวัตร หัวหน้าครอบครัวพรรคเพื่อไทย และในฐานะผู้ถือหุ้นอันดับ 1 ของบริษัท SC Asset และ ผู้บริหาร SC ASSET ตลอดหลายปีที่ผ่านมา
ที่มาข่าว. https://www.topnews.co.th/news/612936