ชุมชนวัดเกต เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปิงด้านตะวันออก เกิดจากชนหลายเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็นชาวจีน ชาวฝรั่ง และชาวพื้นเมือง ทำให้ย่านนี้มีความหลากหฃายทางศาสนาและวัฒนธรรม และมี รูปแบบอาคารที่สวยงาม
เรามาดูกันเลยดีกว่าวามีที่ใดน่าสนใจบ้าง
ที่แรกที่เราสนใจก็
La Luna Gallery เป็นแกลลอรี่แสดงงาน ศิลปะร่วมสมัย ตัวอาคารเก่าเป็นสไตล์โคโรเนียล มีศิลปินที่มาแสดงงานทั้งศิลปินไทยและต่างประเทศ โดยจะเปิดให้เข้าชมได้ฟรี วันพฤหัสบดีถึงวันอาทิตย์ 9.00-18.00 น.
ต่อมาก็
บ้านอรพินทร์ ซึ่งเป็นอาคารเก่าเป็นสไตล์โคโรเนียล เช่นกันซึ่งในปัจจุบันได้ทำเป็นโรงแรม ในชื่อ บ้านอรพินท์ เฮอร์ริเทจ Bed & Breakfast
เราได้ยินอาคารสไตล์โคโรเนียล มา 2 หลังละ ขอแวะพูดถึงซักหน่อย
รูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีต้นกำเนิดมาจากยุคล่าอาณานิคมสมัย เข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัย รัชกาลที่5-6 ซึ่งรูปแบบของการก่อสร้างอาคารในสมัยนั้นให้เป็นในรูปแบบตะวันตกมากขึ้นและเกิดเป็นการผสมผสานทางรูปแบบสถาปัตยกรรมของตะวันตกที่ลงตัวกับเอกลักษณ์และบริบทของท้องถิ่น
สีสันของอาคารนิยมใช้สีโทนอ่อนหรือสีพาสเทล เช่น สีขาว สีครีม เป็นต้น ผนังของอาคารส่วนใหญ่ถูกออกแบบเพื่อช่วยลดความร้อน จึงนิยมตีผนังไม้ซ้อนเกล็ดสลับกับผนังปูน ประตูและหน้าต่างของบ้านนิยมใช้ทั้งทรงสี่เหลี่ยมและทรงรูปโค้งเกือกม้า มีการประดับปูนปั้นหรือไม้ลายฉลุรอบกรอบหน้าต่าง การตกแต่งภายในนิยมใช้เฟอร์นิเจอร์รูปแบบโบราณ วัสดุพื้นนิยมใช้คือ ไม้ หินอ่อน กระเบื้องลายโบราณ
จังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นส่วนหนึ่งในอาณาจักรล้านนาสมัยนั้นก็ได้รับสถาปัตยกรรมแบบ Colonial style มาเช่นกัน เกิดเป็น “สถาปัตยกรรมล้านนาโคโลเนียล” ที่มีลักษณะและวิวัฒนาการไปในหลายรูปแบบ เช่น แบบ ‘เรือนปั้นหยา’ เรือนพักแบบยุโรปรุ่นแรก, แบบ ‘เรือนมะนิลา’ ที่สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากเมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และ แบบ ‘เรือนขนมปังขิง’ ที่รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมยุควิคตอเรียนที่ตกแต่งอย่างหรูหรา เน้นการประดับลวดลายฉลุไม้
แม้เวลาจะผ่านมาหลายปี แต่สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ก็ยังคงฝังรากแน่นอยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนเมืองเชียงใหม่ได้อย่างกลมกลืน และมีคุณค่า ในปัจจุบัน เราสามารถพบเห็นและสัมผัสกับสถาปัตยกรรมล้านนาโคโลเนียลที่สง่างามในจังหวัดเชียงใหม่ได้ได้ตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น คาเฟ่ ร้านอาหาร โรงแรม ร้านค้า ที่พัก ฯลฯ
จุดถัดไปก็
สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา (วัดซิกข์) เป็นสมาคมชาวซิกข์ที่กำกับดูแลการดำเนินงานของ ศรีคุรุสิงห์สภา อันเป็นหน่วยงานที่ดูแลการดำเนินกิจกรรมของชาวซิกข์นอกประเทศอินเดียและเป็นที่ตั้งของคุรุทวาราสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาซิกข์ ซึ่งมีสาขาทั่วโลก เช่น ศรีคุรุสิงห์สภา แคนาดา และ สหราชอาณาจักร สำหรับศรีคุรุสิงห์สภาในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2475 ซึ่งที่นี่สามรถเข้าไปเพื่อศึกษาและขอข้อมูลเกี่ยวกับศาสนาซิกส์ได้
ถัดไปก็
วัดเกตการาม
ที่น่าสนใจในวัดเกตก็มี
พระธาตุเจดีย์เกษแก้วจุฬามณี ซึ่งเป็นพระธาตุประจำปีจำปีคนเกิดปีจอ (สุนัข) เป็นความเชื่อของคนเหนือล้านนาว่า ครั้งหนึ่งในชีวิตควรมีโอกาสเดินทางไปไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตนเพื่อความเป็นสิริมงคล
วิหารหลังใหญ่ เป็นวิหารทรงล้านนาซ้อนชั้นหลังคา 4 ชั้น 2 ตับ มีหลังคาคลุมราวบันได หน้าบันประดับลวดลายแกะสลักลายพรรณพฤกษาปิดทอง นาคะตันเป็นไม้ แกะสลักลวดลายเครือเถา บัวหัวเสาประดับด้วยแก้วอังวะหางหงส์ประดับด้วยไม้เป็นรูปนาคลำยองประดับด้วยแก้วอังวะลงรักปิดทอง ภายในวิหารลงรักปิดทองร่องชาด ในวิหารมีธรรมมาสน์ และสัตตภัณฑ์ที่สมบูรณ์และสวยงามอยู่หน้าพระประธาน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง หลังพระประธานประดับด้านพระแผง มีศิลาจารึกเรื่องราวของวัดเกตุการามจารึกด้วยอักษรฝักขามอยู่ตรงมุขวิหารด้านทิศใต้
พระอุโบสถมีหลังคาซ้อนกัน 3 ชั้น 2 ตับแบบล้านนาหน้าบันประดับด้วยไม้แกะสลักลายพรรณพฤกษาลงรักปิดทองบาน ประตูประดับด้วยไม้แกะสลักรูปเทวดา (นายทวาร) และประดับด้วยตัวกิเลนและสิงห์โตจีนเหยียบมังกรและปลาพ่นน้ำรูปปั้นที่ได้รับอิทธิพลจีน ลักษณะโก่งคิ้วมีรวงผึ้ง
พิพิธภัณฑ์วัดเกตการาม เดิมเป็นกุฏิเจ้าอาวาส สร้างขึ้นโดยความร่วมมือกันระหว่างทางวัดและชุมชน จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ เป็นที่เก็บรวมรวมของเก่าแก่มีค่ามหาศาล ตั้งแต่โบราณกาล พิพิธภัณฑ์นี้ถูกสร้างขึ้นโดยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านละแวกวัดเกตุ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 ที่วัดเกตมีของเก่าแก่สะสมไว้มาก อีกทั้งยังมีชาวบ้านบริจาคข้าวของเก่าแก่ให้ทำพิพิธภัณฑ์กันเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเงินตราที่ใช้ในอดีต ถ้วยโถโอชาม ถ้วยสำรับที่ใช้ในสมัยรัชกาลที่ 7 เสื้อผ้าของชาวล้านนา เครื่องศาสตราอาวุธ และพระพุทธรูปเก่าแก่ นอกจากนี้ยังมีภาพถ่ายของเมืองเชียงใหม่ในอดีต มีภาพวัดวาอาราม ถนนหนทาง และภาพการประหารชีวิตนักโทษที่ทำผิด เรียกได้ว่ามันช่างเหมือนกับเรื่องราวในสมัยอดีตที่ปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์จริง ๆ *** แต่ช่วงนี้ปิด นะครับ ****
สะพานจันทร์สมอนุสรณ์ (ขัวแขก) คือสะพานคนเดินที่ข้ามไปมาระหว่าง ชุมชนวัดเกตและ ตลาดวโรรส(กาดหลวง) สามารถชมวิวแม่น้ำปิง หรือมาชมเทศกาลลอยกระทงบริเวณนี้ก็ได้
คริสตจักรที่ 1 เชียงใหม่ เป็นโบสถ์ที่ชาวคริสตนิกายโปรแตสแตน ตั้งอยู่ใกล้ๆ สะพานนวรัฐ
ออกนอกเส้นทางเดินเล็กน้อยนะะครับ แถวๆนี้ก็ยังมี มัสยิดอัตตักวา ซึ่งเป็นมัสยิดของชุมชนมุสลิม ประจำชุมชนวัดเกต
นอกจากนั้นย่ายนี้ก็มีอาคารแบบเก่าหรือตกแต่งแบบร่วมสมัย สวยๆมากมายไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านค้า ต่างๆ
อีก 1 ที่ของเราก็ขาดไม่ได้เลยสำหรับ
ลุงขจรวัดเกต
เป็นร้านข้าวเกรียบปากหม้อและสาคูไส้หมู ร้านดังของเชียงใหม่ โดยที่ร้านได้รางวัลมิชลินไกด์ ราคาก็กล่องละ 20 บาท
จบแล้วนะครับ การเดินเล่นของพวกเราในย่านวัดเกต เห็นได้ชัดเลยว่าย่านนี้เป็นแหล่งรวมวัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนา เข้าด้วยกันได้อย่างดีทีเดียว
ฝากติดตามผลงาน ด้วยนะครับ
หลงเมือง Ep.03 ชุมชนวัดเกต@เชียงใหม่ โดย GwamgPha Channel (กวางผา)
เดินเล่นย่านวัดเกต
ชุมชนวัดเกต เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปิงด้านตะวันออก เกิดจากชนหลายเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็นชาวจีน ชาวฝรั่ง และชาวพื้นเมือง ทำให้ย่านนี้มีความหลากหฃายทางศาสนาและวัฒนธรรม และมี รูปแบบอาคารที่สวยงาม
เรามาดูกันเลยดีกว่าวามีที่ใดน่าสนใจบ้าง
ที่แรกที่เราสนใจก็
La Luna Gallery เป็นแกลลอรี่แสดงงาน ศิลปะร่วมสมัย ตัวอาคารเก่าเป็นสไตล์โคโรเนียล มีศิลปินที่มาแสดงงานทั้งศิลปินไทยและต่างประเทศ โดยจะเปิดให้เข้าชมได้ฟรี วันพฤหัสบดีถึงวันอาทิตย์ 9.00-18.00 น.
ต่อมาก็ บ้านอรพินทร์ ซึ่งเป็นอาคารเก่าเป็นสไตล์โคโรเนียล เช่นกันซึ่งในปัจจุบันได้ทำเป็นโรงแรม ในชื่อ บ้านอรพินท์ เฮอร์ริเทจ Bed & Breakfast
เราได้ยินอาคารสไตล์โคโรเนียล มา 2 หลังละ ขอแวะพูดถึงซักหน่อย
รูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีต้นกำเนิดมาจากยุคล่าอาณานิคมสมัย เข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัย รัชกาลที่5-6 ซึ่งรูปแบบของการก่อสร้างอาคารในสมัยนั้นให้เป็นในรูปแบบตะวันตกมากขึ้นและเกิดเป็นการผสมผสานทางรูปแบบสถาปัตยกรรมของตะวันตกที่ลงตัวกับเอกลักษณ์และบริบทของท้องถิ่น
สีสันของอาคารนิยมใช้สีโทนอ่อนหรือสีพาสเทล เช่น สีขาว สีครีม เป็นต้น ผนังของอาคารส่วนใหญ่ถูกออกแบบเพื่อช่วยลดความร้อน จึงนิยมตีผนังไม้ซ้อนเกล็ดสลับกับผนังปูน ประตูและหน้าต่างของบ้านนิยมใช้ทั้งทรงสี่เหลี่ยมและทรงรูปโค้งเกือกม้า มีการประดับปูนปั้นหรือไม้ลายฉลุรอบกรอบหน้าต่าง การตกแต่งภายในนิยมใช้เฟอร์นิเจอร์รูปแบบโบราณ วัสดุพื้นนิยมใช้คือ ไม้ หินอ่อน กระเบื้องลายโบราณ
จังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นส่วนหนึ่งในอาณาจักรล้านนาสมัยนั้นก็ได้รับสถาปัตยกรรมแบบ Colonial style มาเช่นกัน เกิดเป็น “สถาปัตยกรรมล้านนาโคโลเนียล” ที่มีลักษณะและวิวัฒนาการไปในหลายรูปแบบ เช่น แบบ ‘เรือนปั้นหยา’ เรือนพักแบบยุโรปรุ่นแรก, แบบ ‘เรือนมะนิลา’ ที่สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากเมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และ แบบ ‘เรือนขนมปังขิง’ ที่รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมยุควิคตอเรียนที่ตกแต่งอย่างหรูหรา เน้นการประดับลวดลายฉลุไม้
แม้เวลาจะผ่านมาหลายปี แต่สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ก็ยังคงฝังรากแน่นอยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนเมืองเชียงใหม่ได้อย่างกลมกลืน และมีคุณค่า ในปัจจุบัน เราสามารถพบเห็นและสัมผัสกับสถาปัตยกรรมล้านนาโคโลเนียลที่สง่างามในจังหวัดเชียงใหม่ได้ได้ตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น คาเฟ่ ร้านอาหาร โรงแรม ร้านค้า ที่พัก ฯลฯ
จุดถัดไปก็ สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา (วัดซิกข์) เป็นสมาคมชาวซิกข์ที่กำกับดูแลการดำเนินงานของ ศรีคุรุสิงห์สภา อันเป็นหน่วยงานที่ดูแลการดำเนินกิจกรรมของชาวซิกข์นอกประเทศอินเดียและเป็นที่ตั้งของคุรุทวาราสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาซิกข์ ซึ่งมีสาขาทั่วโลก เช่น ศรีคุรุสิงห์สภา แคนาดา และ สหราชอาณาจักร สำหรับศรีคุรุสิงห์สภาในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2475 ซึ่งที่นี่สามรถเข้าไปเพื่อศึกษาและขอข้อมูลเกี่ยวกับศาสนาซิกส์ได้
ถัดไปก็ วัดเกตการาม
ที่น่าสนใจในวัดเกตก็มี
พระธาตุเจดีย์เกษแก้วจุฬามณี ซึ่งเป็นพระธาตุประจำปีจำปีคนเกิดปีจอ (สุนัข) เป็นความเชื่อของคนเหนือล้านนาว่า ครั้งหนึ่งในชีวิตควรมีโอกาสเดินทางไปไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตนเพื่อความเป็นสิริมงคล
วิหารหลังใหญ่ เป็นวิหารทรงล้านนาซ้อนชั้นหลังคา 4 ชั้น 2 ตับ มีหลังคาคลุมราวบันได หน้าบันประดับลวดลายแกะสลักลายพรรณพฤกษาปิดทอง นาคะตันเป็นไม้ แกะสลักลวดลายเครือเถา บัวหัวเสาประดับด้วยแก้วอังวะหางหงส์ประดับด้วยไม้เป็นรูปนาคลำยองประดับด้วยแก้วอังวะลงรักปิดทอง ภายในวิหารลงรักปิดทองร่องชาด ในวิหารมีธรรมมาสน์ และสัตตภัณฑ์ที่สมบูรณ์และสวยงามอยู่หน้าพระประธาน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง หลังพระประธานประดับด้านพระแผง มีศิลาจารึกเรื่องราวของวัดเกตุการามจารึกด้วยอักษรฝักขามอยู่ตรงมุขวิหารด้านทิศใต้
พระอุโบสถมีหลังคาซ้อนกัน 3 ชั้น 2 ตับแบบล้านนาหน้าบันประดับด้วยไม้แกะสลักลายพรรณพฤกษาลงรักปิดทองบาน ประตูประดับด้วยไม้แกะสลักรูปเทวดา (นายทวาร) และประดับด้วยตัวกิเลนและสิงห์โตจีนเหยียบมังกรและปลาพ่นน้ำรูปปั้นที่ได้รับอิทธิพลจีน ลักษณะโก่งคิ้วมีรวงผึ้ง
พิพิธภัณฑ์วัดเกตการาม เดิมเป็นกุฏิเจ้าอาวาส สร้างขึ้นโดยความร่วมมือกันระหว่างทางวัดและชุมชน จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ เป็นที่เก็บรวมรวมของเก่าแก่มีค่ามหาศาล ตั้งแต่โบราณกาล พิพิธภัณฑ์นี้ถูกสร้างขึ้นโดยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านละแวกวัดเกตุ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 ที่วัดเกตมีของเก่าแก่สะสมไว้มาก อีกทั้งยังมีชาวบ้านบริจาคข้าวของเก่าแก่ให้ทำพิพิธภัณฑ์กันเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเงินตราที่ใช้ในอดีต ถ้วยโถโอชาม ถ้วยสำรับที่ใช้ในสมัยรัชกาลที่ 7 เสื้อผ้าของชาวล้านนา เครื่องศาสตราอาวุธ และพระพุทธรูปเก่าแก่ นอกจากนี้ยังมีภาพถ่ายของเมืองเชียงใหม่ในอดีต มีภาพวัดวาอาราม ถนนหนทาง และภาพการประหารชีวิตนักโทษที่ทำผิด เรียกได้ว่ามันช่างเหมือนกับเรื่องราวในสมัยอดีตที่ปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์จริง ๆ *** แต่ช่วงนี้ปิด นะครับ ****
สะพานจันทร์สมอนุสรณ์ (ขัวแขก) คือสะพานคนเดินที่ข้ามไปมาระหว่าง ชุมชนวัดเกตและ ตลาดวโรรส(กาดหลวง) สามารถชมวิวแม่น้ำปิง หรือมาชมเทศกาลลอยกระทงบริเวณนี้ก็ได้
คริสตจักรที่ 1 เชียงใหม่ เป็นโบสถ์ที่ชาวคริสตนิกายโปรแตสแตน ตั้งอยู่ใกล้ๆ สะพานนวรัฐ
ออกนอกเส้นทางเดินเล็กน้อยนะะครับ แถวๆนี้ก็ยังมี มัสยิดอัตตักวา ซึ่งเป็นมัสยิดของชุมชนมุสลิม ประจำชุมชนวัดเกต
นอกจากนั้นย่ายนี้ก็มีอาคารแบบเก่าหรือตกแต่งแบบร่วมสมัย สวยๆมากมายไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านค้า ต่างๆ
อีก 1 ที่ของเราก็ขาดไม่ได้เลยสำหรับ ลุงขจรวัดเกต
เป็นร้านข้าวเกรียบปากหม้อและสาคูไส้หมู ร้านดังของเชียงใหม่ โดยที่ร้านได้รางวัลมิชลินไกด์ ราคาก็กล่องละ 20 บาท
จบแล้วนะครับ การเดินเล่นของพวกเราในย่านวัดเกต เห็นได้ชัดเลยว่าย่านนี้เป็นแหล่งรวมวัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนา เข้าด้วยกันได้อย่างดีทีเดียว
ฝากติดตามผลงาน ด้วยนะครับ
หลงเมือง Ep.03 ชุมชนวัดเกต@เชียงใหม่ โดย GwamgPha Channel (กวางผา)