พี่ ๆ มันมีแบคทีเรียกินคน แล้วมันมีแบคทีเรียกินเหล็กบ้างไหมอ่ะ ?
น้องเจ้าหนูจัมมัยที่ทำงานคนเดิม กระโดดมาดักผมระหว่างทางเดินไปโรงอาหารตอนพักเที่ยง
พร้อมกับคำถามชวนปวดหัวรอบที่ร้อยแปด
มีดิ แต่พี่ไปกินข้าวก่อนได้ไหม ?
ม่ายเอา พี่เล่าให้หนูฟังหน่อย
ไม่งั้นหนูจะชักดิ้นชักงอร้องไห้อยู่ตรงนี้ เดี๋ยวพี่อายเขานะ
งั้นเดินไปเล่าไปแล้วกันนะ จะได้ไม่เสียเวลา
โอเค Let’s go
แบคทีเรียกินเนื้อเหล็ก ในทางโลหะวิทยา
เราเรียกว่า Microbiological Induce Corrosion หรือเรียกย่อ ๆ ว่า MIC
แปลเป็นไทยได้ง่าย ๆ ว่า การกัดกร่อนที่ถูกเหนี่ยวนำจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก
ซึ่งตัวที่สำคัญของ MIC คือแบคทีเรียนี้แหละ !!
แล้วแบคทีเรียมันกินเนื้อเหล็ก ได้จริง ๆ หรือพี่ ?
เสียงน้องถามสวนมาระหว่างผมอธิบาย
จะบอกยังไงดีล่ะ เรียกว่าแบคทีเรียมันสร้างสารเคมีที่มีฤทธิกัดกร่อนเหล็กได้จะถูกกว่า
ยังไงเหรอคะ ?
คืองี้ แบคทีเรียที่ทำให้เหล็กกัดกร่อนหรือเกิด Corrosion จะมีอยู่
2 ตัว หลัก ๆ
ประเภทแรกจะเป็นแบคทีเรียพวกไม่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในชีวิต (Anaerobic bacteria)
อย่างพวก
SRB หรือ ชื่อเต็ม ๆ ที่เรียกว่า
Sulphate Reducing Bacteria
ก็ตามชื่อที่เรียกนั้นแหละ แบคทีเรียตัวนี้มันสามารถรีดิวซ์ซัลเฟตซึ่งเป็นสามารถประกอบที่ไม่ค่อยมีฤทธิ์กัดกร่อน
ให้กลายเป็นสารประกอบซัลไฟด์ อย่างกรด ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen Sulfide; H
2S) ได้
ทีนี้แหละ บริเวณที่ไอ้แบคทีเรียตัวนี้มันเกาะอยู่ มันก็เลยถูกกัดกร่อนได้ง่ายกว่าตำแหน่งอื่น ๆ
จากกรดที่แบคทีเรียมันผลิตออกมา
แล้วอีกตัวละพี่ ?
อีกตัวก็เป็นแบคทีเรียประเภทที่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในชีวิต(Aerobic bacteria) อย่าง
manganese-oxidizing bacteria (MnOB) หรือ iron-oxidizing bacteria (IOB)
MnOB กับ IOB พวกนี้มันสามารถออกซิไดซ์ทำให้ Mn
+2 Fe
+2 ที่อยู่ในสภาพสารละลายให้กลายเป็น Mn
+4 Fe
+3 ที่มีสภาพเป็นของแข็งได้
การที่พวกนี้มันเกาะที่ผิวเหล็กทำให้คล้ายกับการกัดกร่อนภายใต้ตะกรัน (Corrosion Under Deposited)
หรือการกัดกร่อนใต้ซอก (Crevice Corrosion)
บริเวณที่แบคทีเรียมาเกาะมันจะเป็นจุดอับอากาศและทำให้ปริมาณออกซิเจนนี้ต่ำกว่าบริเวณใกล้เคียง
และเกิดปฏิกิริยาไฮโดรสิส ทำให้บริเวณนี้มีสภาพเป็นกรด เหล็กเลยถูกกัดกร่อน
แล้วไอ้ 2 ตัวนี้มันต่างกันยังไงล่ะคะ ?
MnOB จะพิเศษกว่า IOB ตรงพวกนี้มันสามารถสร้าง Oxidant ที่แรง
ดังนั้น Mn
+4 (MnO
2) ที่มันสร้างขึ้นมาสามารถดึงอิเล็กตรอนจากเหล็กออกมาเพื่อสร้างให้ตัวเองกลายเป็น
MnO(OH) หรือ Mn
+3 ได้อีกครั้งหนึ่ง
กลายเป็นลูปนรกที่ทำให้เเหล็กเกิดการกัดกร่อนอย่างรุนแรงและสามารถเกิดเป็นรูเข็มได้ง่าย
โห...... โหดจริงพี่
แล้วแบบนี้เราจะรู้ได้ยังไงอ๊ะ ? ว่าเหล็กเราโดนพี่แบคทีเรียกินเข้าให้แล้ว ?
ที่จริงก็ไม่ยากนะถ้าเป็นพวก SRB มันก็จะทิ้งพวก ซัลเฟอร์ ตกค้างไว้บนสนิม
ถ้าเป็น MnOB แมงกานีส ก็จะโดดพุ่งมาให้เห็น
พวกนี้เราสามารถตรวจได้ด้วยเทคนิค SEM-EDS
แล้วถ้าเป็น IOB ล่ะคะ พี่จะรู้ได้ไง
เอออันนี้ยากหน่อย เพราะมันจะเหมือนสนิมเหล็กธรรมดา สังเกตจากเมือก (Biofilm) ก็ได้
การกัดกร่อนมันจะอยู่ใต้เมือกของแบคทีเรียนั้นแหละ
อ้อเกือบลืมไปลองสังเกตดูจากภาคตัดขวางของชิ้นงานได้นะ
ถ้าตัดขวางเราจะเห็นอาณานิคม (Colony) ของแบคทีเรียมนขยายตัวชอนไชในเนื้อเหล็กเต็มไปหมด
ต่างกับพวกรูเข็มโดยทั่วไปที่มักจะกัดเนื้อเหล็กตามแนวดิ่ง
โหน่ากลัวอะ แล้วในงานวิเคราะห์ความเสียหายของพี่เจอพวกนี้บ่อยไหม ?
ก็เจอบ้างนะ มีเข้ามาเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่ก็มาจากระบบท่อน้ำที่มีข้อบกพร่องภายใน
อย่างที่มีการเชื่อมไม่สมบูรณ์ (Incomplete Penetration)
หรือในระบบที่มีน้ำขังค้างอยู่ในท่อของพวกนี้แบคทีเรียนี้มันชอบนักแล
แล้วเหล็กพวกไหนบ้างอะพี่ที่เสี่ยง ?
ก็เกิดได้หมดนะ เหล็ก สเตนเลส ไททาเนียมก็ยังมีโดนเลย
ขอให้มันมีที่อยู่ให้แบคทีเรียมันหลบมุม น้ำพัดไม่แรง หรือ น้ำนิ่ง
ถ้ามันสร้างเมือกได้ ซักพักก็เสร็จมัน
ว่าแต่พี่ไปกินข้าวได้ยัง ?
ใครห้ามพี่ไว้ละค่ะ ? หนูไม่ได้ห้ามพี่กินข้าวซักหน่อย แค่มีเรื่องมาถาม
คราวนี้ผมไม่ตอบโต้อะไรเหมือนเช่นเคย
ได้แต่ก้มลงไปผูกเชือกรองเท้าผ้าใบให้แน่น เตรียมออกกำลังกายไล่เตะคนก่อนกินข้าว
#เหล็กไม่เอาถ่าน
Ref.
B.J. Little et al., International Biodeterioration & Biodegradation 154 (2020) 105062.
Abhilash Kumar Tripathi et al., Frontiers in Microbiology 12, October 2021.
Alireza Bahadori, Corrosion and Materials Selection: A Guide for the Chemical and Petroleum Industries, John Wiley & Sons, Ltd, 2014.
บรรลัยวิทยา: แบคทีเรียกินเนื้อเหล็ก
น้องเจ้าหนูจัมมัยที่ทำงานคนเดิม กระโดดมาดักผมระหว่างทางเดินไปโรงอาหารตอนพักเที่ยง
พร้อมกับคำถามชวนปวดหัวรอบที่ร้อยแปด
มีดิ แต่พี่ไปกินข้าวก่อนได้ไหม ?
ม่ายเอา พี่เล่าให้หนูฟังหน่อย
ไม่งั้นหนูจะชักดิ้นชักงอร้องไห้อยู่ตรงนี้ เดี๋ยวพี่อายเขานะ
งั้นเดินไปเล่าไปแล้วกันนะ จะได้ไม่เสียเวลา
โอเค Let’s go
แบคทีเรียกินเนื้อเหล็ก ในทางโลหะวิทยา
เราเรียกว่า Microbiological Induce Corrosion หรือเรียกย่อ ๆ ว่า MIC
แปลเป็นไทยได้ง่าย ๆ ว่า การกัดกร่อนที่ถูกเหนี่ยวนำจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก
ซึ่งตัวที่สำคัญของ MIC คือแบคทีเรียนี้แหละ !!
แล้วแบคทีเรียมันกินเนื้อเหล็ก ได้จริง ๆ หรือพี่ ?
เสียงน้องถามสวนมาระหว่างผมอธิบาย
จะบอกยังไงดีล่ะ เรียกว่าแบคทีเรียมันสร้างสารเคมีที่มีฤทธิกัดกร่อนเหล็กได้จะถูกกว่า
ยังไงเหรอคะ ?
คืองี้ แบคทีเรียที่ทำให้เหล็กกัดกร่อนหรือเกิด Corrosion จะมีอยู่
2 ตัว หลัก ๆ
ประเภทแรกจะเป็นแบคทีเรียพวกไม่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในชีวิต (Anaerobic bacteria)
อย่างพวก SRB หรือ ชื่อเต็ม ๆ ที่เรียกว่า Sulphate Reducing Bacteria
ก็ตามชื่อที่เรียกนั้นแหละ แบคทีเรียตัวนี้มันสามารถรีดิวซ์ซัลเฟตซึ่งเป็นสามารถประกอบที่ไม่ค่อยมีฤทธิ์กัดกร่อน
ให้กลายเป็นสารประกอบซัลไฟด์ อย่างกรด ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen Sulfide; H2S) ได้
ทีนี้แหละ บริเวณที่ไอ้แบคทีเรียตัวนี้มันเกาะอยู่ มันก็เลยถูกกัดกร่อนได้ง่ายกว่าตำแหน่งอื่น ๆ
จากกรดที่แบคทีเรียมันผลิตออกมา
แล้วอีกตัวละพี่ ?
อีกตัวก็เป็นแบคทีเรียประเภทที่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในชีวิต(Aerobic bacteria) อย่าง
manganese-oxidizing bacteria (MnOB) หรือ iron-oxidizing bacteria (IOB)
MnOB กับ IOB พวกนี้มันสามารถออกซิไดซ์ทำให้ Mn+2 Fe+2 ที่อยู่ในสภาพสารละลายให้กลายเป็น Mn+4 Fe+3 ที่มีสภาพเป็นของแข็งได้
การที่พวกนี้มันเกาะที่ผิวเหล็กทำให้คล้ายกับการกัดกร่อนภายใต้ตะกรัน (Corrosion Under Deposited)
หรือการกัดกร่อนใต้ซอก (Crevice Corrosion)
บริเวณที่แบคทีเรียมาเกาะมันจะเป็นจุดอับอากาศและทำให้ปริมาณออกซิเจนนี้ต่ำกว่าบริเวณใกล้เคียง
และเกิดปฏิกิริยาไฮโดรสิส ทำให้บริเวณนี้มีสภาพเป็นกรด เหล็กเลยถูกกัดกร่อน
แล้วไอ้ 2 ตัวนี้มันต่างกันยังไงล่ะคะ ?
MnOB จะพิเศษกว่า IOB ตรงพวกนี้มันสามารถสร้าง Oxidant ที่แรง
ดังนั้น Mn+4 (MnO2) ที่มันสร้างขึ้นมาสามารถดึงอิเล็กตรอนจากเหล็กออกมาเพื่อสร้างให้ตัวเองกลายเป็น
MnO(OH) หรือ Mn+3 ได้อีกครั้งหนึ่ง
กลายเป็นลูปนรกที่ทำให้เเหล็กเกิดการกัดกร่อนอย่างรุนแรงและสามารถเกิดเป็นรูเข็มได้ง่าย
โห...... โหดจริงพี่
แล้วแบบนี้เราจะรู้ได้ยังไงอ๊ะ ? ว่าเหล็กเราโดนพี่แบคทีเรียกินเข้าให้แล้ว ?
ที่จริงก็ไม่ยากนะถ้าเป็นพวก SRB มันก็จะทิ้งพวก ซัลเฟอร์ ตกค้างไว้บนสนิม
ถ้าเป็น MnOB แมงกานีส ก็จะโดดพุ่งมาให้เห็น
พวกนี้เราสามารถตรวจได้ด้วยเทคนิค SEM-EDS
แล้วถ้าเป็น IOB ล่ะคะ พี่จะรู้ได้ไง
เอออันนี้ยากหน่อย เพราะมันจะเหมือนสนิมเหล็กธรรมดา สังเกตจากเมือก (Biofilm) ก็ได้
การกัดกร่อนมันจะอยู่ใต้เมือกของแบคทีเรียนั้นแหละ
อ้อเกือบลืมไปลองสังเกตดูจากภาคตัดขวางของชิ้นงานได้นะ
ถ้าตัดขวางเราจะเห็นอาณานิคม (Colony) ของแบคทีเรียมนขยายตัวชอนไชในเนื้อเหล็กเต็มไปหมด
ต่างกับพวกรูเข็มโดยทั่วไปที่มักจะกัดเนื้อเหล็กตามแนวดิ่ง
โหน่ากลัวอะ แล้วในงานวิเคราะห์ความเสียหายของพี่เจอพวกนี้บ่อยไหม ?
ก็เจอบ้างนะ มีเข้ามาเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่ก็มาจากระบบท่อน้ำที่มีข้อบกพร่องภายใน
อย่างที่มีการเชื่อมไม่สมบูรณ์ (Incomplete Penetration)
หรือในระบบที่มีน้ำขังค้างอยู่ในท่อของพวกนี้แบคทีเรียนี้มันชอบนักแล
แล้วเหล็กพวกไหนบ้างอะพี่ที่เสี่ยง ?
ก็เกิดได้หมดนะ เหล็ก สเตนเลส ไททาเนียมก็ยังมีโดนเลย
ขอให้มันมีที่อยู่ให้แบคทีเรียมันหลบมุม น้ำพัดไม่แรง หรือ น้ำนิ่ง
ถ้ามันสร้างเมือกได้ ซักพักก็เสร็จมัน
ว่าแต่พี่ไปกินข้าวได้ยัง ?
ใครห้ามพี่ไว้ละค่ะ ? หนูไม่ได้ห้ามพี่กินข้าวซักหน่อย แค่มีเรื่องมาถาม
คราวนี้ผมไม่ตอบโต้อะไรเหมือนเช่นเคย
ได้แต่ก้มลงไปผูกเชือกรองเท้าผ้าใบให้แน่น เตรียมออกกำลังกายไล่เตะคนก่อนกินข้าว
#เหล็กไม่เอาถ่าน
Ref.
B.J. Little et al., International Biodeterioration & Biodegradation 154 (2020) 105062.
Abhilash Kumar Tripathi et al., Frontiers in Microbiology 12, October 2021.
Alireza Bahadori, Corrosion and Materials Selection: A Guide for the Chemical and Petroleum Industries, John Wiley & Sons, Ltd, 2014.