ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ แผนที่การกัดกร่อนของประเทศไทย และการเลือกใช้วัสดุ

จากเคสอาคารถล่มที่ไมอามี่

https://ppantip.com/topic/41077713

และมีการสรุปเบื้องต้นว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจสัมพันธ์กับการกัดกร่อน


ทำให้อาจมีคำถามต่อมาว่า

การกัดกร่อนละสัมพันธ์กับอะไร ? มีอะไรเป็นตัวแปรบ้างที่จะช่วยลดหรือเร่งการเกิดการกัดกร่อน

สิ่งที่ควรจะทำความเข้าใจเป็นเรื่องแรก ๆ ของการกัดกร่อน คือ

การกัดกร่อนเป็นปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้า และต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการที่การกัดกร่อนที่ต้องการ

คาโธด                             อาโนด                     อิเล็คโตรไลท์ 

มีการรับอิเล็คตรอน  มีการเสียอิเล็กตรอน  สารละลายอิเล็คโตรไลท์




เมื่อครบองค์ประกอบการกัดกร่อนก็พร้อมที่จะเกิด 

แต่จะช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับทั้งตัววัสดุ และสิ่งแวดล้อมในการใช้งาน
ซึ่งสามารถเร่งหรือหน่วงการเกิดการกัดกร่อนได้

คลอไรด์หรือเกลือจากน้ำทะเลอาจเป็นผู้ร้ายคนสำคัญและทุกคนรู้จักและคุ้นเคยว่าเร่งให้เกิดการกัดกร่อนในโลหะ
แต่นอกจากคลอไรด์

อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณน้ำฝน ก็มีความสัมพันธ์กับการกัดกร่อนเช่นเดียวกัน

อุณหภูมิสูงอาจเร่งให้เกิดปฏิกิริยาการกัดกร่อน แต่หากอุณหภูมิสูงมากพอและทำให้เหล็กที่สัมผัสกับน้ำแห้งลง
ก็จะช่วยยับยั้งไม่ให้เหล็กเกิดการกัดกร่อน

หรือในกรณีพื้นที่ที่อยู่ใกล้ทะเล ที่เสี่ยงการกัดกร่อนจากคลอไรด์
แต่หากฝนตกชุกในพื้นที่นั้น ก็อาจลดช่วยลดความเค็มที่เกาะอยู่บนผิวโลหะลงได้บ้าง

การกัดกร่อนจึงสัมพันธ์กับทั้ง ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ หรือ ที่ตั้งวัสดุหรือสิ่งก่อสร้าง

แต่การเปลี่ยนที่ตั้ง ดัดแปลงภูมิศาสตร์ หรือ ภูมิอากาศ คงเป็นไปได้ยาก



การเลือกวัสดุในการใช้งานที่เหมาะสมจึงอาจเป็นสิ่งที่ง่ายกว่า

งานวิจัยหนึ่งที่น่าสนใจคือ และ ขออนุญาตแนะนำคือ

แผนที่การกัดกร่อนของประเทศไทยโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ MTEC NSTDA

ที่มีการทำนายอัตราการกัดกร่อนเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้าง 4 ตัว

Carbon Steel
Wethering Steel
Galvanized Steel
Galvalume Steel



ซึ่งจะเห็นได้ว่าแต่ละพื้นที่ของประเทศไทย มีอัตราการกัดกร่อนของเหล็กชนิดต่าง ๆ ไม่เท่ากัน

ในบางพื้นที่ที่เสี่ยงทั้งคลอไรด์ และมีความชื้นสูง
การเลือกใช้ Wethering Steel ที่มีการเติมนิกเกิล กับ โครเมียม ลงไปในเหล็กเล็กน้อย
แลกกับราคาที่สูงขึ้น ก็อาจจะดีกว่าการเสียค่าใช้จ่ายจากการซ่อมบำรุงในภายหลัง

แต่ในขณะที่บางพื้นที่ ไม่ได้มีความจำเป็นใดใด เลยที่จะต้องจ่ายแพงกว่า

ข้อมูลดังกล่าวจึงสามารถนำไปใช้ในวางแผนเลือกวัสดุสำหรับก่อสร้างได้

*****************************************************************************
สำหรับท่านที่สนใจเรื่องการประยุกต์ใช้ แผนที่การกัดกร่อนของประเทศไทย

วันศุกร์ที่ 12 พ.ย.  2564 เวลา 9:30 - 11:30 น. สามารถเข้าร่วม

Webinar แผนที่การกัดกร่อนโครงสร้างเหล็กและการนำไปใช้ประโยชน์

ครั้งที่ 2: Hands-on Workshop on Corrosion Mao Web Application

โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติร่วมกับสมาคมการกัดกร่อนโลหะและวัสดุไทย

ไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนครับ


- รายละเอียดเพิ่มเติมคลิ๊ก https://www.mtec.or.th/general-training-courses/54910/ 
- ลงทะเบียนเข้าร่วมการอบรมฯ โดยสแกน QR code หรือคลิ๊กที่ https://bit.ly/3BOQtBM

และรับชมย้อนหลังได้ที่เพจของสมาคมการกัดกร่อนโลหะและวัสดุไทย
https://www.facebook.com/thaicorrosion
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่