เรื่อง:
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
บทคัดย่อ:
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวทำให้ต้องรับประทานยาหลายชนิด หลายประเภท ใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ รศ. พญ.สมฤดี ฉัตรสิริเจริญกุล ภาควิชาเภสัชวิทยา จะมาอธิบายให้ฟัง
อันตรายจากการใช้ยา
อันตรายจากการใช้ยา
อ.พญ.พิณพิไล จูทะสมพากร
ภาควิชาเภสัชวิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ยาจัดเป็นปัจจัยพื้นฐานของชีวิต แต่การใช้ยาพร่ำเพรื่อ ก็เป็นอันตรายได้เช่นกัน กล่าวว่า อันตรายจากการใช้ยาพบได้ทุกเพศทุกวัย อาจเกิดจากการใช้ยาเกินขนาด ผลข้างเคียงของยา การแพ้ยา รวมถึงการดื้อยาด้วย
อันตรายจากการใช้ยาในเด็ก พบได้แม้ในยาที่ใช้บ่อยและหาซื้อง่าย เช่น ยาแก้แพ้ชนิดที่ทำให้ง่วง ซึ่งนิยมใช้สำหรับบรรเทาอาการหวัด นอกจากไม่ช่วยให้หายเร็วขึ้น อาจกดการหายใจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก และได้รับยาเกินขนาด นอกจากนี้การใช้ยาแอสไพรินลดไข้ในเด็กที่เป็นไข้หวัด ยังอาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น เป็นพิษต่อตับและสมอง
ส่วนผู้ใหญ่ก็อาจได้รับอันตรายเช่นกัน หากใช้ยาไม่ถูกต้อง เช่น ยาพาราเซตามอล เป็นยาแก้ปวดลดไข้ที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะมีความปลอดภัยสูง แต่หากใช้ยาเกินขนาดก็อาจเกิดพิษต่อตับได้ โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มสุราปริมาณมากร่วมด้วย อาจเกิดพิษต่อตับได้แม้กินยาในขนาดปกติ ยาฆ่าเชื้อหรือยาต้านจุลชีพ (antimicrobial) ที่มักเรียกกันผิดว่า ยาแก้อักเสบ เป็นยาอีกกลุ่มที่ใช้กันแพร่หลาย แต่มักใช้อย่างไม่เหมาะสม เช่น ใช้ยาฆ่าเชื้อในการรักษาไข้หวัด (common cold) ซึ่งไม่จำเป็นต้องกินยาฆ่าเชื้อ ทำให้เสี่ยงต่อการแพ้ยา และเพิ่มโอกาสต่อการดื้อยาอีกด้วย
ในผู้สูงอายุนั้น ร่างกายเสื่อมถอยลง มีโรคภัยมากขึ้น อาจจำเป็นต้องกินยาหลายชนิด จึงมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาได้บ่อยและรุนแรงกว่าวัยอื่น เช่น ยาแก้ปวดลดอักเสบ (NSAID) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย อาจทำให้เกิดแผลและเลือดออกในทางเดินอาหาร หรืออาจทำให้เกิดไตวายได้ในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุจำนวนมากยังมีโรคประจำตัว ฉะนั้นก่อนใช้ยาทุกชนิดจึงต้องปรึกษาแพทย์
สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ หรือให้นมลูก ยาหลายชนิดสามารถผ่านรก ผ่านน้ำนม ทำให้เกิดอันตรายกับเด็กได้ จึงควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ก่อนใช้ยาทุกครั้ง
เรื่องของการใช้ยาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งวัย โรคประจำตัว หรืออาจมีการทำงานของตับ ไตบกพร่อง เหล่านี้มีผลต่อการใช้ยาทั้งสิ้น ดังนั้นควรกินยาตามที่แพทย์สั่งและปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด เพื่อลดโอกาสเกิดอันตรายจากการใช้ยา
เคยเป็นอันตรายจากการใช้ยา หรือทานยา มีผลข้างเคียง ให้ชาวพันทิป เล่าให้ฟังครับ
รายการ พบหมอศิริราช เรื่อง การใช้ยาในผู้สูงอายุ
เรื่อง:
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
บทคัดย่อ:
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวทำให้ต้องรับประทานยาหลายชนิด หลายประเภท ใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ รศ. พญ.สมฤดี ฉัตรสิริเจริญกุล ภาควิชาเภสัชวิทยา จะมาอธิบายให้ฟัง
อันตรายจากการใช้ยา
อันตรายจากการใช้ยา
อ.พญ.พิณพิไล จูทะสมพากร
ภาควิชาเภสัชวิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ยาจัดเป็นปัจจัยพื้นฐานของชีวิต แต่การใช้ยาพร่ำเพรื่อ ก็เป็นอันตรายได้เช่นกัน กล่าวว่า อันตรายจากการใช้ยาพบได้ทุกเพศทุกวัย อาจเกิดจากการใช้ยาเกินขนาด ผลข้างเคียงของยา การแพ้ยา รวมถึงการดื้อยาด้วย
อันตรายจากการใช้ยาในเด็ก พบได้แม้ในยาที่ใช้บ่อยและหาซื้อง่าย เช่น ยาแก้แพ้ชนิดที่ทำให้ง่วง ซึ่งนิยมใช้สำหรับบรรเทาอาการหวัด นอกจากไม่ช่วยให้หายเร็วขึ้น อาจกดการหายใจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก และได้รับยาเกินขนาด นอกจากนี้การใช้ยาแอสไพรินลดไข้ในเด็กที่เป็นไข้หวัด ยังอาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น เป็นพิษต่อตับและสมอง
ส่วนผู้ใหญ่ก็อาจได้รับอันตรายเช่นกัน หากใช้ยาไม่ถูกต้อง เช่น ยาพาราเซตามอล เป็นยาแก้ปวดลดไข้ที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะมีความปลอดภัยสูง แต่หากใช้ยาเกินขนาดก็อาจเกิดพิษต่อตับได้ โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มสุราปริมาณมากร่วมด้วย อาจเกิดพิษต่อตับได้แม้กินยาในขนาดปกติ ยาฆ่าเชื้อหรือยาต้านจุลชีพ (antimicrobial) ที่มักเรียกกันผิดว่า ยาแก้อักเสบ เป็นยาอีกกลุ่มที่ใช้กันแพร่หลาย แต่มักใช้อย่างไม่เหมาะสม เช่น ใช้ยาฆ่าเชื้อในการรักษาไข้หวัด (common cold) ซึ่งไม่จำเป็นต้องกินยาฆ่าเชื้อ ทำให้เสี่ยงต่อการแพ้ยา และเพิ่มโอกาสต่อการดื้อยาอีกด้วย
ในผู้สูงอายุนั้น ร่างกายเสื่อมถอยลง มีโรคภัยมากขึ้น อาจจำเป็นต้องกินยาหลายชนิด จึงมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาได้บ่อยและรุนแรงกว่าวัยอื่น เช่น ยาแก้ปวดลดอักเสบ (NSAID) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย อาจทำให้เกิดแผลและเลือดออกในทางเดินอาหาร หรืออาจทำให้เกิดไตวายได้ในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุจำนวนมากยังมีโรคประจำตัว ฉะนั้นก่อนใช้ยาทุกชนิดจึงต้องปรึกษาแพทย์
สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ หรือให้นมลูก ยาหลายชนิดสามารถผ่านรก ผ่านน้ำนม ทำให้เกิดอันตรายกับเด็กได้ จึงควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ก่อนใช้ยาทุกครั้ง
เรื่องของการใช้ยาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งวัย โรคประจำตัว หรืออาจมีการทำงานของตับ ไตบกพร่อง เหล่านี้มีผลต่อการใช้ยาทั้งสิ้น ดังนั้นควรกินยาตามที่แพทย์สั่งและปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด เพื่อลดโอกาสเกิดอันตรายจากการใช้ยา
เคยเป็นอันตรายจากการใช้ยา หรือทานยา มีผลข้างเคียง ให้ชาวพันทิป เล่าให้ฟังครับ