! อันตราย เมื่อหลอดเลือดสมองแตก


วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้      exclaimอันตราย เมื่อหลอดเลือดสมองแตก

โรคหลอดเลือดสมอง  ไม่ว่าจะตีบ หรือ แตก  ล้วนเป็นภาวะฉุกเฉินที่จำเป็นต้องได้รับการประเมิน และรักษา อย่างรวดเร็ว
พี่หมอขอแนะนำ หลักการประเมิน อาการ เบื้องต้น F.A.S.T มาฝาก ระยะเวลา GoldenPeriod  ⏰ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อสมอง
คือ    Fact   :  ใบหน้าเบี้ยว 
         ARM  :  แขนขาอ่อนแรง
         Speech : พูดไม่ชัด 
         Time   :  ระยะเวลาการรักษา ต้องไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง
ซึ่งปัจจุบันนี้  มี เครื่องมือที่ช่วยในการตรวจวินิจฉัยให้ได้เร็วและทันการรักษา Biplane Digital Subtraction Angiography
นวัตกรรมดีดี ที่ช่วยให้ การตรวจประเมินและรักษา ได้ทันท่วงที่

 ideaเส้นเลือดในสมองแตก หรือตีบตัน หรือโรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular Accident หรือ Stroke)
เป็นภาวะที่สมองขาดเลือดและออกซิเจน เนื่องจากหลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตก เลือดจึงไม่สามารถไหลเวียนไปยังสมองได้
เมื่อเซลล์สมองถูกทำลายจนเซลล์ตาย จึงไม่สามารถควบคุมอวัยวะและระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายให้ทำงานได้ตามปกติ
หากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที อาจลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้มากขึ้น

สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด 
1.หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic Stroke) พบได้ประมาณ 80% ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 
สาเหตุเกิดได้จากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่น (ลิ่มเลือดจากหัวใจหรือจากหลอดเลือดใหญ่) ไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง 
หรืออาจเกิดจากมีลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมองเองก็ได้
2.หลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) พบได้ประมาณ 20% ของโรคหลอดเลือดสมอง

ideaปัจจัยเสี่ยง 
อายุ เมื่ออายุมากขึ้น หลอดเลือดก็จะเสื่อมตามไปด้วย 
โดยผิวชั้นในของหลอดเลือดจะหนาและแข็งขึ้นจากการที่มีไขมันและหินปูนมาเกาะ (IMT: Intima–media thickness)
เพศ พบว่าเพศชายมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าเพศหญิง
ความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจึงมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าคนปกติ
เบาหวาน เป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย
ไขมันในเลือดสูง เป็นความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเช่นเดียวกับโรค หลอดเลือดหัวใจ
โรคหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
การสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติดบางชนิดเช่น โคเคน, เฮโรอีน และ ยาม้า
โรคซิฟิลิส เป็นสาเหตุของหลอดเลือดอักเสบและหลอดเลือดแข็ง
การขาดการออกกำลังกาย และ โรคอ้วน

ideaโรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ แตกหรืออุดตัน มีอาการ
อ่อนแรงที่ใบหน้า เช่น ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หลับตาไม่สนิท หรือชาที่ใบหน้า แขนขาอ่อนแรงอย่างเฉียบพลันโดยมักเป็นครึ่งซีก
รแขนหรือขาชาอย่างเฉียบพลัน มักจะเป็นซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย พูดไม่ออก หรือฟังไม่เข้าใจ รวมทั้งพูดลำบาก หรือพูดไม่ชัด
มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็น ปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน โดยที่ไม่มีสาเหตุ
มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัวอย่างรวดเร็ว เช่น ซึมลง เรียกไม่รู้ตัว วิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน
เดินเซ เดินลำบาก การทรงตัวไม่ดีอย่างเฉียบพลัน



การตรวจวินิจฉัย แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายทางระบบประสาท และระบบที่เกี่ยวข้อง 
อย่างละเอียดร่วมกับส่งตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฎิบัติการ และตรวจภาพรังสีวิจนิจฉัย 
ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว สามารถบ่งชี้ถึงตำแหน่งของสมองและหลอดเลือดที่ผิดปกติ exclaim
อีกทั้งภาวะและสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ เช่น การตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) 
หรือ เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI/MRA) เพื่อดูว่าสมองมีภาวะขาดเลือดหรือภาวะเลือดออกในสมองหรือไม่
การตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือดบริเวณคอ (Carotid Duplex Ultrasound) เพื่อดูหลอดเลือดคอ
และการไหลเวียนของเลือดบริเวณคอที่ไปเลี้ยงสมองด้วยคลื่นเสียงความถื่สูง การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram)
การตรวจเลือดเพื่อดูความเข้มข้นและความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ระดับน้ำตาล ไขมันในเลือด การทำงานของไตและตับ
การตรวจระดับเกลือแร่ในเลือด (Electrolyte) ช่วยแยกภาวะเกลือแร่ในเลือดผิดปกติ เช่น เกลือแร่ต่ำ อาจทำให้มีอาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมอง
 
ideaการรักษา ขึ้นกับสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองว่าเป็นหลอดเลือดตีบหรือหลอดเลือดแตก
โดยจะมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน 
ในปัจจุบันมีการให้ยาละลายลิ่มเลือด (rtPA : recombinant tissue plasminogen activator) 
ในผู้ป่วยที่มีอาการและอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันที่มีข้อบ่งชี้และไม่มีข้อห้ามต่อการให้ยาและมีอาการในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง เมื่อติดตามผู้ป่วยที่ได้รับยาเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยา พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดมีผลลัพธ์ที่ดีกว่า 

ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติสงสัยว่ามีภาวะหลอดเลือดสมองควรรีบมาโรงพยาบาลเร็วที่สุดเพื่อให้ได้การวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงที
หลอดเลือดสมองแตก เป้าหมายของการรักษาคือการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต 
ในบางกรณีที่เลือดออกมาก อยู่ในดุลพินิจของศัลยแพทย์ระบบประสาทว่าจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดร่วมด้วยหรือไม่ ค่ะ

ความรู้เพิ่มเติม สัญญานเสี่ยงสโตรก
https://www.youtube.com/watch?v=SD79gzJnDZo

lovelovelove
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่