รายการ พบหมอศิริราช ระวัง โรคตาแดง ?

ออกอากาศ : วันที่ 5 ตุลาคม 2557  เวลา 13.50 น. (โดยประมาณ) ณ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
เรื่อง:
ระวัง! โรคตาแดง
บทคัดย่อ:
        โรคตาแดงมักมากับหน้าฝน  ยิ่งช่วงนี้ฝนตกไม่เว้นแต่ละวัน  จึงมีหลายพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ทำให้โรคตาแดงระบาดหนัก  เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เชื้อไวรัส adenovirus   ที่เป็นตัวการก่อโรคตาแดง  ศ.พญ.ละอองศรี  อัชชนียะสกุล    ภาควิชาจักษุวิทยา มีความรู้พร้อมคำแนะนำมาฝากค่ะ
        โรคตาแดง พบได้ทุกเพศ ทุกวัย  และมักระบาดในสถานที่ที่มีผู้คนอยู่รวมกันหนาแน่น  โดยการสัมผัสขี้ตาหรือน้ำตาของผู้ป่วยโดยตรง  การใช้ของใช้ร่วมกัน  หรือการไอ จาม หายใจรดกัน  หลังจากได้รับเชื้อแล้วภายใน  2 - 14 วัน  จะเกิดอาการเคืองตา น้ำตาไหล ขี้ตามาก เปลือกตาบวม ต่อมน้ำเหลืองหน้าหูโต  เยื่อตาจะค่อย ๆ แดงขึ้นเรื่อย ๆ จนแดงก่ำ บางรายอาจพบการบวมของเยื่อตาเป็นลักษณะบวมน้ำใส ๆ หากพลิกดูบริเวณเปลือกตาด้านในจะพบลักษณะเป็นเม็ดใส ๆ  กระจายอยู่ทั่วไป มักเริ่มจากตาข้างหนึ่งแล้วลามไปยังตาอีกข้างภายใน 2-3 วัน บางรายอาจมีการอักเสบของกระจกตาร่วมด้วย  เนื่องจากเชื้อไวรัสลามไปที่กระจกตาหรือมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตาและสายตามัวลง หรือเห็นแสงรบกวน และมีน้อยรายที่โรคอาจรุนแรงจนเกิดเป็นพังผืดดึงรั้งที่เยื่อตาได้  
        โรคตาแดงเป็นโรคที่หายเองได้ ส่วนใหญ่อาการจะหายไปเองภายใน 1-3 สัปดาห์ โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน    แต่เนื่องจากความรุนแรงของโรคตาแดงมีได้หลายระดับ ผู้ที่มีอาการทุกรายจึงควรได้รับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์ตั้งแต่เริ่มมีอาการ 
        เนื่องจากโรคตาแดงติดต่อกันได้ง่ายมาก   จึงต้องป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจายจากตนเองไปสู่ผู้อื่น โดยหยุดพักการเรียนหรือพักงานอย่างน้อย 1 สัปดาห์  ไม่อยู่ในที่ชุมชน  ใช้กระดาษนุ่มซับน้ำตาหรือใช้สำลีชุบน้ำสะอาดเช็ดขี้ตาและบริเวณเปลือกตา แล้วทิ้งในถังขยะที่มิดชิด  ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้ที่เป็นโรคตาแดง เนื่องจากเชื้อจะถูกเก็บสะสมไว้และติดต่อไปยังผู้อื่นได้  ไม่ควรใช้ผ้าปิดตาเพราะจะยิ่งทำให้เกิดการติดเชื้อมากขึ้น  ใส่แว่นกันแดดเพื่อลดการระคายเคืองแสง  งดใส่คอนแทคเลนส์จนกว่า ตาจะหายอักเสบ  พักผ่อนให้เต็มที่และพักการใช้สายตา  เหนือสิ่งใดสำคัญที่ ต้องหมั่นล้างมือให้สะอาดทุกครั้งที่จับบริเวณใบหน้าและตา เนื่องจากเชื้อไวรัสติดต่อโดยการสัมผัสมากที่สุด การล้างมือจะช่วยตัดการแพร่กระจายเชื้อได้อย่างดี
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
โรคตาแดง?
 
ภาควิชาจักษุวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
            โรคตาแดงเป็นอีกโรคที่พบบ่อยในหน้าหนาว ที่ทุกคนมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นได้  เนื่องจากว่าติดต่อกันได้ง่าย  และเราสามารถป้องกันการติดต่อจากคนที่เป็นโรคนี้ เพื่อจะได้ดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องกัน
            โรคตาแดง โดยส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส โดยโรคตาแดงที่เกิดจากเชื้อไวรัสสามารถติดต่อกันได้ง่ายมาก เชื้อไวรัสที่พบส่วนใหญ่คือ adenovirus โดยการสัมผัสกับขี้ตา หรือน้ำตาของคนไข้ที่ติดอยู่บนสิ่งของต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยสัมผัส หรือเกิดจากการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น เครื่องสำอาง หรือเกิดจากการว่ายน้ำในสระว่ายน้ำเดียวกัน เป็นต้น
            อาการของโรคตาแดง ส่วนใหญ่ที่พบ ได้แก่ อาการปวดเบ้าตาเล็กน้อย เคืองตา คันตา มีน้ำตาไหล ในบางกรณีอาจจะมีขี้ตามากในช่วงเช้าทำให้ลืมตาได้ค่อนลำบาก  อาการส่วนมากจะเป็นอยู่นานประมาณ 1 – 2 สัปดาห์หลังจากนั้นอาการตาแดงจะค่อย ๆ ดีขึ้น
           ในกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น มีภาวะกระจกตาอักเสบจะมีอาการตาพร่ามัว มีแสงแตกกระจายในเวลากลางคืน ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นมนช่วงตอนอาการตาแดงดีขึ้นแล้ว  ในกรณีนี้ควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
            สำหรับการรักษาโรคตาแดงนั้น สามารถหายได้เอง ดังนั้นการรักษาโรคตาแดงจึงเป็นการรักษาตามอาการโดยใช้ใช้ยาหยอดน้ำตาเทียม เพื่อลดการระคายเคืองตา หรือประคบเย็นเพื่อลดอาการอักเสบ แต่ในบางรายที่มีการอักเสบติดเชื้ออย่างรุนแรง แพทย์จะพิจารณาให้ยาหยอดตาลดการอักเสบ หรือในบางรายที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ก็จะให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียหยอดร่วมด้วย
            วิธีการปฏิบัติตัวง่าย ๆ สำหรับผู้ป่วยเพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น คือ ควรหมั่นล้างมือด้วยสบู่บ่อย ๆ ไม่ขยี้ตาเนื่องจากจะทำให้อาการอักเสบแย่ลง ควรใช้ทิชชู่หรือสำลีซับน้ำตาหรือขี้ตา และนำไปทิ้งลงถังขยะที่ปิดมิดชิด ไม่ควรใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ไม่นำยาหยอดตามาหยอดในตาข้างที่ไม่มีอาการ งดว่ายน้ำ สำหรับผู้ป่วยที่ใส่คอนแทคเลนส์เป็นประจำ ควรงดใส่คอนแทคเลนส์จนกว่าอาการตาแดงจะดีขึ้น

เคยมีโรคตาแดง ท่านสมาชิกชาวพันทิป อยากมีประสบการณ์เกี่ยวกับโรคนี้ ใครเป็นหรือไม่เป็น เชิญมาแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่