สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 บึงกาฬ-บอลิคำไซ เปิดให้บริการต้นปี 2567 อีกหนึ่งผลงานรัฐบาล ยกระดับจังหวัดบึงกาฬ เป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาค เพิ่มศักยภาพการขนส่ง ดึงดูดการลงทุน ส่งเสริมการท่องเที่ยว
รัฐบาลเร่งขับเคลื่อนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย ทั้ง 4 มิติ คือ บก ราง น้ำ และอากาศ เชื่อมโยงการเดินทางสู่ภูมิภาคอาเซียนอย่างไร้รอยต่อ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยวในภูมิภาค ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สามารถเข้าถึงการเดินทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยด้วยระบบการคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพ
คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2562 มีมติอนุมัติโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) มูลค่าการลงทุน 3,930 ล้านบาท โดยรัฐบาลไทยใช้งบประมาณลงทุน 2,630 ล้านบาท ส่วน สปป.ลาวใช้เงินกู้จากสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ เนด้า วงเงินลงทุน 1,300 ล้านบาท รวมเงินลงทุนก่อสร้าง ระยะทางรวม 16.18 กิโลเมตร แยกเป็นงานก่อสร้างฝั่งไทย 12 กิโลเมตร และฝั่งลาว 2.8 กิโลเมตร
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ นายพันคำ วิพาวัน นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ร่วมเป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการไปเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ปัจจุบันมีความคืบหน้าในการก่อสร้างเร็วกว่ากำหนดเกิน 60% แล้ว
นายกรัฐมนตรีกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ คาดว่า จะเชื่อมต่อพื้นที่สะพานได้ประมาณกลางปี 2566 และเปิดให้บริการได้ประมาณต้นปี 2567 เมื่อเปิดให้บริการจะช่วยยกระดับให้ จ.บึงกาฬ กลายเป็นศูนย์กลางด้านการค้า ในภูมิภาค เพิ่มศักยภาพในการขนส่ง เดินทางสะดวกและประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น ดึงดูดการค้าการลงทุนและส่งเสริมการท่องเที่ยว
เส้นทางแห่งนี้จะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างสามประเทศ คือ ไทย สปป.ลาว และเวียดนาม ที่สั้นที่สุดในระยะทางเพียง 150 กิโลเมตร โดยผ่านสะพานและทางหลวงแห่งชาติลาว หมายเลข 8 ทั้งยังช่วยส่งเสริมการขนส่งพัฒนาเศรษฐกิจการค้าสู้ฝั่งตะวันออกที่ทะเลจีนใต้ตามกรอบการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion : GMS) ที่เป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน (ยูนนาน) และช่วยสนับสนุนการส่งออกสินค้าระหว่าง 2 ประเทศได้อย่างรวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น
#สร้างไทยไปด้วยกัน
#ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
#PMOC
#ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี
@@@@ สะพานมิตรภาพ ไทย ลาวแห่งที่ 5 @@@@
รัฐบาลเร่งขับเคลื่อนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย ทั้ง 4 มิติ คือ บก ราง น้ำ และอากาศ เชื่อมโยงการเดินทางสู่ภูมิภาคอาเซียนอย่างไร้รอยต่อ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยวในภูมิภาค ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สามารถเข้าถึงการเดินทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยด้วยระบบการคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพ
คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2562 มีมติอนุมัติโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) มูลค่าการลงทุน 3,930 ล้านบาท โดยรัฐบาลไทยใช้งบประมาณลงทุน 2,630 ล้านบาท ส่วน สปป.ลาวใช้เงินกู้จากสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ เนด้า วงเงินลงทุน 1,300 ล้านบาท รวมเงินลงทุนก่อสร้าง ระยะทางรวม 16.18 กิโลเมตร แยกเป็นงานก่อสร้างฝั่งไทย 12 กิโลเมตร และฝั่งลาว 2.8 กิโลเมตร
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ นายพันคำ วิพาวัน นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ร่วมเป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการไปเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ปัจจุบันมีความคืบหน้าในการก่อสร้างเร็วกว่ากำหนดเกิน 60% แล้ว
นายกรัฐมนตรีกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ คาดว่า จะเชื่อมต่อพื้นที่สะพานได้ประมาณกลางปี 2566 และเปิดให้บริการได้ประมาณต้นปี 2567 เมื่อเปิดให้บริการจะช่วยยกระดับให้ จ.บึงกาฬ กลายเป็นศูนย์กลางด้านการค้า ในภูมิภาค เพิ่มศักยภาพในการขนส่ง เดินทางสะดวกและประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น ดึงดูดการค้าการลงทุนและส่งเสริมการท่องเที่ยว
เส้นทางแห่งนี้จะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างสามประเทศ คือ ไทย สปป.ลาว และเวียดนาม ที่สั้นที่สุดในระยะทางเพียง 150 กิโลเมตร โดยผ่านสะพานและทางหลวงแห่งชาติลาว หมายเลข 8 ทั้งยังช่วยส่งเสริมการขนส่งพัฒนาเศรษฐกิจการค้าสู้ฝั่งตะวันออกที่ทะเลจีนใต้ตามกรอบการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion : GMS) ที่เป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน (ยูนนาน) และช่วยสนับสนุนการส่งออกสินค้าระหว่าง 2 ประเทศได้อย่างรวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น
#สร้างไทยไปด้วยกัน
#ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
#PMOC
#ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี