สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ)
คืบหน้าแล้วกว่า 57% อีกหนึ่งจุดยุทธศาสตร์ เชื่อมโยงภูมิภาค ไทย-ลาว-เวียดนาม
วันนี้มีข่าว Update ความคืบหน้าของสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) ซึ่งเป็นประตูเชื่อมเพื่อนบ้านแห่งใหม่ เพื่อเชื่อมโยง ไทย-ลาว-เวียดนาม
ซึ่งอย่างที่หลายๆคนทราบว่า ตอนนี้บึงกาฬ เป็นจังหวัดที่เนื้อหอมมาก เพราะเป็นทั้งจังหวัดใหม่ที่ยังขาดการพัฒนา และพัฒนาได้ง่าย พร้อมกับทรัพยากร ที่สดใหม่พร้อมพัฒนา แหล่งท่องเที่ยวที่นิยมใหม่ๆ และที่สำคัญเป็นเมืองชายแดนที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง
ทำให้ รัฐบาลมีการวางแผน และลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภายในบึงกาฬ เพื่อเชื่อมโยงบึงกาฬ กับจังหวัดข้างเคียง และประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างเต็มที่ แบ่งเป็น
โครงการที่เริ่มก่อสร้างแล้ว
- โครงการสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ)
- โครงการเลี่ยงเมืองบึงกาฬ เชื่อมสะพานมิตรภาพ
สะพานที่อยู่ระหว่างศึกษาและออกแบบ
- ทางหลวงสายใหม่ อุดรธานี-บึงกาฬ
- สนามบินบึงกาฬ
ลิ้งค์รายละเอียดการศึกษา ตามนี้
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1535116113593529&id=491766874595130
โครงการที่อยู่ระหว่างศึกษาแผนแม่บท
- มอเตอร์เวย์+รถไฟ MR3 บึงกาฬ-สุรินทร์
ซึ่งทั้งหมดนี้ จะเห็นเลยว่า ตอนนี้บึงกาฬกำลังเป็นจังหวัดที่น่าจับตามองมากๆ
—————————
มาดูรายละเอียด สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) กันหน่อย
จริงๆผมเคยโพสต์รายละเอียดสะพานมิตรภาพนี้มาตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว ตามลิ้งค์นี้
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=598828117222338&id=491766874595130&mibextid=nJa2DX
ซึ่งช่วงนั้นผมมีงานอยู่ที่เมืองปากซันแขวงบอลิคำไซ ตรงข้ามกับจังหวัดบึงกาฬ เลยทำให้เข้าใจสภาพพื้นที่ และความน่าดึงดูดของจังหวัดนี้เลย
สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ)
- สะพานเป็นรูปแบบ สะพานคานขึง (Extradose Bridge) ซึ่งช่วยให้ลดจำนวนเสา กลางแม่น้ำเพียง 4 ต้น ระยะห่างระหว่างเสา 150 เมตร
- ความยาว สะพาน 1.35 กิโลเมตร
- ความยาวถนน รวมเลี่ยงเมือง 15 กิโลเมตร
- พร้อมอาคารด่าน ตม. 2 ฝั่ง
- อัตลักษณ์ สะพาน เป็นรูปแคน
มูลค่าก่อสร้างรวม 3,640 ล้านบาท.
ซึ่งด่านนี้จะเน้นการขนส่งสินค้าทางเกษตร เช่น มันสัมปหลัง ยางพารา เพื่อมาแปรรูปที่ฝั่งไทย
ปัจจุบัน การเดินทางข้ามฝากด้วยแพขนานยนต์ ซึ่งเป็นจุดข้ามสำคัญ เช่นรถไฟที่ใช้ในการก่อสร้างรถไฟ ลาว-จีน ก่อนหน้านี้
—————————
รายละเอียดข่าว
กระทรวงคมนาคมจัดพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) สานสัมพันธ์ไทย - สปป.ลาว เชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งภูมิภาคอาเซียน
กระทรวงคมนาคมจัดพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย และ นายพันคำ วิพาวัน นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีฯ พร้อมด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายวิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม และนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เข้าร่วมพิธีฯ โดยมี นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เจ้าหน้าที่หน่วยงานในพื้นที่ ประชาชน และสื่อมวลชน ให้การต้อนรับ ณ โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) จังหวัดบึงกาฬ ในวันที่ 28 ตุลาคม 2565
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ กล่าวว่า ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย ทั้ง 4 มิติ (บก ราง น้ำ และอากาศ) ให้เชื่อมโยงการเดินทางสู่ภูมิอาเซียนอย่างไร้รอยต่อ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยวในภูมิภาค ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สามารถเข้าถึงการเดินทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ด้วยระบบการคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบันประเทศไทยกับ สปป.ลาว มีสะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่เพื่อเชื่อมโยงระหว่างประเทศแล้ว จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 1 (หนองคาย - เวียงจันทน์) สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 2 (มุกดาหาร - สะหวันนะเขต) สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม - คำม่วน) และสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ - ห้วยทราย) โครงการนี้จึงเป็นสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) ที่จะช่วยสานสัมพันธ์ระหว่างไทย - สปป.ลาว ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยคณะรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยได้มีมติเห็นชอบให้กระทรวงฯ โดย กรมทางหลวง (ทล.) ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมการก่อสร้างโครงการฯ ตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งต่อมา ในปี 2562 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าว และผู้แทนรัฐบาลทั้งสองประเทศ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐมนตรีกระทรวงโยธาธิการและขนส่งแห่ง สปป.ลาว ได้มีการลงนามความตกลงว่าด้วยการก่อสร้าง ณ จังหวัดบึงกาฬ เพื่อกำหนดขอบเขตงานก่อสร้าง รวมทั้งกำหนดแนวทางในการบริหารโครงการก่อสร้างร่วมกัน
สำหรับรูปแบบการก่อสร้างของโครงการนี้ ทล. ได้ออกแบบเป็นสะพานขึงคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง ขนาด 2 ช่องจราจร ความยาว 1,350 เมตร พร้อมอาคารด่านพรมแดนสำหรับกระบวนการข้ามแดน และถนนเชื่อมต่อโครงข่ายของทั้งสองฝั่ง ปัจจุบันมีความก้าวหน้าในการก่อสร้างเฉลี่ย ร้อยละ 57 (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2565) คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการประชาชนของทั้งสองประเทศได้ในปี 2567 นอกจากนี้ แนวคิดในการออกแบบโครงสร้างสะพานได้มีการนำ “แคน” ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีท้องถิ่น มาใช้ในการกำหนดรูปแบบทางสถาปัตยกรรม สะท้อนให้เห็นถึงความสนุก รื่นเริง ความเป็นมิตรไมตรี ความคุ้นเคย และความเป็นกันเองในวัฒนธรรมของไทยและ สปป.ลาว ส่งเสริมสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างสองประเทศ สร้างความเจริญทางด้านสังคมและเศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ เมื่อโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) แล้วเสร็จจะเป็นการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงที่จะส่งเสริมความเชื่อมโยงด้านการคมนาคมขนส่งระหว่างสองประเทศ ตลอดจนประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการด้านการขนส่งสินค้า และการสัญจรของประชาชนที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ และยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการด้านการขนส่งภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion Economic Cooperation: GMS) และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง ((Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยง 5 ประเทศ ได้แก่ เมียนมา ไทย สปป.ลาว เวียดนาม และกัมพูชา อย่างต่อเนื่อง และมั่นคง
ในโอกาสนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ ได้พบปะประชาชนในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬที่มารอต้อนรับ พร้อมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเส้นทางคมนาคมและการขนส่งสินค้าระหว่างไทย - สปป.ลาว เพื่อนำมาพัฒนาการก่อสร้างโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในพื้นที่ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในการสัญจรระหว่างสองประเทศต่อไป
—————————
หวังว่า สะพานมิตรภาพ แห่งที่ 5 นี้จะช่วยยกระดับเมืองบึงกาฬให้เป็นอีกหนึ่งเมืองเศรษฐกิจชายแดนของประเทศ
@@@ สะพานเชื่อมมิตรภาพไทย ลาว แห่งที่ 5 @@@
คืบหน้าแล้วกว่า 57% อีกหนึ่งจุดยุทธศาสตร์ เชื่อมโยงภูมิภาค ไทย-ลาว-เวียดนาม
วันนี้มีข่าว Update ความคืบหน้าของสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) ซึ่งเป็นประตูเชื่อมเพื่อนบ้านแห่งใหม่ เพื่อเชื่อมโยง ไทย-ลาว-เวียดนาม
ซึ่งอย่างที่หลายๆคนทราบว่า ตอนนี้บึงกาฬ เป็นจังหวัดที่เนื้อหอมมาก เพราะเป็นทั้งจังหวัดใหม่ที่ยังขาดการพัฒนา และพัฒนาได้ง่าย พร้อมกับทรัพยากร ที่สดใหม่พร้อมพัฒนา แหล่งท่องเที่ยวที่นิยมใหม่ๆ และที่สำคัญเป็นเมืองชายแดนที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง
ทำให้ รัฐบาลมีการวางแผน และลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภายในบึงกาฬ เพื่อเชื่อมโยงบึงกาฬ กับจังหวัดข้างเคียง และประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างเต็มที่ แบ่งเป็น
โครงการที่เริ่มก่อสร้างแล้ว
- โครงการสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ)
- โครงการเลี่ยงเมืองบึงกาฬ เชื่อมสะพานมิตรภาพ
สะพานที่อยู่ระหว่างศึกษาและออกแบบ
- ทางหลวงสายใหม่ อุดรธานี-บึงกาฬ
- สนามบินบึงกาฬ
ลิ้งค์รายละเอียดการศึกษา ตามนี้
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1535116113593529&id=491766874595130
โครงการที่อยู่ระหว่างศึกษาแผนแม่บท
- มอเตอร์เวย์+รถไฟ MR3 บึงกาฬ-สุรินทร์
ซึ่งทั้งหมดนี้ จะเห็นเลยว่า ตอนนี้บึงกาฬกำลังเป็นจังหวัดที่น่าจับตามองมากๆ
—————————
มาดูรายละเอียด สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) กันหน่อย
จริงๆผมเคยโพสต์รายละเอียดสะพานมิตรภาพนี้มาตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว ตามลิ้งค์นี้
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=598828117222338&id=491766874595130&mibextid=nJa2DX
ซึ่งช่วงนั้นผมมีงานอยู่ที่เมืองปากซันแขวงบอลิคำไซ ตรงข้ามกับจังหวัดบึงกาฬ เลยทำให้เข้าใจสภาพพื้นที่ และความน่าดึงดูดของจังหวัดนี้เลย
สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ)
- สะพานเป็นรูปแบบ สะพานคานขึง (Extradose Bridge) ซึ่งช่วยให้ลดจำนวนเสา กลางแม่น้ำเพียง 4 ต้น ระยะห่างระหว่างเสา 150 เมตร
- ความยาว สะพาน 1.35 กิโลเมตร
- ความยาวถนน รวมเลี่ยงเมือง 15 กิโลเมตร
- พร้อมอาคารด่าน ตม. 2 ฝั่ง
- อัตลักษณ์ สะพาน เป็นรูปแคน
มูลค่าก่อสร้างรวม 3,640 ล้านบาท.
ซึ่งด่านนี้จะเน้นการขนส่งสินค้าทางเกษตร เช่น มันสัมปหลัง ยางพารา เพื่อมาแปรรูปที่ฝั่งไทย
ปัจจุบัน การเดินทางข้ามฝากด้วยแพขนานยนต์ ซึ่งเป็นจุดข้ามสำคัญ เช่นรถไฟที่ใช้ในการก่อสร้างรถไฟ ลาว-จีน ก่อนหน้านี้
—————————
รายละเอียดข่าว
กระทรวงคมนาคมจัดพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) สานสัมพันธ์ไทย - สปป.ลาว เชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งภูมิภาคอาเซียน
กระทรวงคมนาคมจัดพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย และ นายพันคำ วิพาวัน นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีฯ พร้อมด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายวิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม และนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เข้าร่วมพิธีฯ โดยมี นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เจ้าหน้าที่หน่วยงานในพื้นที่ ประชาชน และสื่อมวลชน ให้การต้อนรับ ณ โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) จังหวัดบึงกาฬ ในวันที่ 28 ตุลาคม 2565
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ กล่าวว่า ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย ทั้ง 4 มิติ (บก ราง น้ำ และอากาศ) ให้เชื่อมโยงการเดินทางสู่ภูมิอาเซียนอย่างไร้รอยต่อ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยวในภูมิภาค ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สามารถเข้าถึงการเดินทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ด้วยระบบการคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบันประเทศไทยกับ สปป.ลาว มีสะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่เพื่อเชื่อมโยงระหว่างประเทศแล้ว จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 1 (หนองคาย - เวียงจันทน์) สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 2 (มุกดาหาร - สะหวันนะเขต) สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม - คำม่วน) และสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ - ห้วยทราย) โครงการนี้จึงเป็นสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) ที่จะช่วยสานสัมพันธ์ระหว่างไทย - สปป.ลาว ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยคณะรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยได้มีมติเห็นชอบให้กระทรวงฯ โดย กรมทางหลวง (ทล.) ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมการก่อสร้างโครงการฯ ตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งต่อมา ในปี 2562 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าว และผู้แทนรัฐบาลทั้งสองประเทศ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐมนตรีกระทรวงโยธาธิการและขนส่งแห่ง สปป.ลาว ได้มีการลงนามความตกลงว่าด้วยการก่อสร้าง ณ จังหวัดบึงกาฬ เพื่อกำหนดขอบเขตงานก่อสร้าง รวมทั้งกำหนดแนวทางในการบริหารโครงการก่อสร้างร่วมกัน
สำหรับรูปแบบการก่อสร้างของโครงการนี้ ทล. ได้ออกแบบเป็นสะพานขึงคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง ขนาด 2 ช่องจราจร ความยาว 1,350 เมตร พร้อมอาคารด่านพรมแดนสำหรับกระบวนการข้ามแดน และถนนเชื่อมต่อโครงข่ายของทั้งสองฝั่ง ปัจจุบันมีความก้าวหน้าในการก่อสร้างเฉลี่ย ร้อยละ 57 (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2565) คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการประชาชนของทั้งสองประเทศได้ในปี 2567 นอกจากนี้ แนวคิดในการออกแบบโครงสร้างสะพานได้มีการนำ “แคน” ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีท้องถิ่น มาใช้ในการกำหนดรูปแบบทางสถาปัตยกรรม สะท้อนให้เห็นถึงความสนุก รื่นเริง ความเป็นมิตรไมตรี ความคุ้นเคย และความเป็นกันเองในวัฒนธรรมของไทยและ สปป.ลาว ส่งเสริมสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างสองประเทศ สร้างความเจริญทางด้านสังคมและเศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ เมื่อโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) แล้วเสร็จจะเป็นการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงที่จะส่งเสริมความเชื่อมโยงด้านการคมนาคมขนส่งระหว่างสองประเทศ ตลอดจนประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการด้านการขนส่งสินค้า และการสัญจรของประชาชนที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ และยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการด้านการขนส่งภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion Economic Cooperation: GMS) และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง ((Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยง 5 ประเทศ ได้แก่ เมียนมา ไทย สปป.ลาว เวียดนาม และกัมพูชา อย่างต่อเนื่อง และมั่นคง
ในโอกาสนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ ได้พบปะประชาชนในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬที่มารอต้อนรับ พร้อมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเส้นทางคมนาคมและการขนส่งสินค้าระหว่างไทย - สปป.ลาว เพื่อนำมาพัฒนาการก่อสร้างโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในพื้นที่ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในการสัญจรระหว่างสองประเทศต่อไป
—————————
หวังว่า สะพานมิตรภาพ แห่งที่ 5 นี้จะช่วยยกระดับเมืองบึงกาฬให้เป็นอีกหนึ่งเมืองเศรษฐกิจชายแดนของประเทศ