เชื่อว่าต้องมีใครหลายๆ คนที่เคยผ่านหน้าผ่านตาเจ้าหัวรถจักรสีเขียวอันนี้ข่าวสารบ้างหละ
โดยเจ้าหัวรถจักรไฟฟ้าอันนี้ เกิดขึ้นมาได้เนื่องจากนโยบายของภาครัฐผลักดันนโยบาย EV on Train
บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ร่วมกับ CRRC Dalian ผู้ผลิตรถไฟรายใหญ่จากประเทศจีน ได้รับโอกาสจากกระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พร้อมร่วมมือกับภาควิชาการ เริ่มทดสอบระบบสับเปลี่ยนขบวน (Shunting) ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ โดยหัวรถจักรไฟฟ้า (EV) หรือ “MINE Locomotive” แบตเตอรี่ขนาด 4.1 MWh สามารถวิ่งได้ระยะกว่า 300 กิโลเมตร ผสานเทคโนโลยีการอัดประจุ Ultra-Fast Charge ของ EA Anywhere ใช้เวลาชาร์จเพียง 1 ชั่วโมง และประหยัดต้นทุนพลังงานได้กว่า 40% เมื่อเปรียบเทียบกับหัวรถจักรดีเซล แถมยังสามารถพัฒนาขยายไปทั่วประเทศได้รวดเร็ว และลงทุนต่ำกว่าระบบไฟฟ้าเหนือหัวกว่าครึ่ง
https://www.posttoday.com/business/689520
เมื่อลองหาข้อมูลเพิ่มเติมก็พบว่า
(แนบลิ้งค์)
https://www.youtube.com/watch?v=PX78hehzsUM&t=131s
เจ้ารถจักรไฟฟ้าหัวเขียวอันนี้ได้มีการมาทดสอบวิ่งระบบรางไปแล้ว 1 ครั้ง เมื่อช่วงประมาณปลายเดือนธันวาคม 65 ที่ผ่านมา ที่สถานีวิหารแดง ปลายทางชุมทองคลองสิบเก้า วิ่งไปและกลับ โดยหัวรถจักรขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 100% มีแบตเตอรี่จ่ายไฟไปยังมอเตอร์เพื่อหมุนเพลาล้อ ที่มีความแตกต่าง
จากหัวรถจักรอุลตร้าแมนที่เป็นหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า ที่มีเครื่องยนต์ดีเซลทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้า และจ่ายไฟฟ้าไปหมุนเพลาล้อให้ขับเคลื่อน
พอได้เห็นหน้าตาของหัวรถจักรในประเทศไทยเปลี่ยนไป ดูมีความทันสมัยมากขึ้น ก็เกิดนึกสงสัยขึ้นมาว่า แล้วเจ้าหัวรถจักรที่ใช้วิ่งกันในประเทศไทยปัจจุบันนี้ เป็นรุ่นอะไร และเกิดขึ้นในปี พ.ศ.ใดบ้าง แน่นอนคนที่ไม่เคยศึกษาเรื่องรถไฟในประเทศไทยก็ต้องพึ่งพาวิกิพีเดียเป็นธรรมดา แล้วก็ไม่เคยทำให้เราผิดหวัง ทำให้รู้ว่าหัวรถจักรในประเทศไทยมีทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่ รถจักรดีเซลไฟฟ้า ซึ่งเป็นกำลังหลักในการลากจูงรถโดยสารและรถสินค้า และรถจักรดีเซลไฮดรอลิก เป็นรถจักรพิเศษ หัวรถจักรก็มีหลายรุ่น
อยากให้ทุกท่านได้ลองคลิกลิงค์เข้าไปดูรายละเอียดก่อนได้เลยนะ
https://th.wikipedia.org/wiki/รถจักรดีเซลในประเทศไทย
โดยเริ่มแรกเลยก็เป็นหัวรถจักรรุ่น Davenport (DA500) ที่ได้ประจำการตั้งแต่ปี 2495 ก็มีที่น่าทึ่งคือยังถูกระบุว่าได้มีการใช้งานอยู่ด้วยแต่น้อยแล้ว
จากนั้นก็ได้มีหัวรถจักรรุ่นอื่นๆ มาอีก อายุอานามก็ไม่ใช่น้อยๆ เลย บางรุ่นประจำการเมื่อปี 2507 นู้นแหนะ มีการใช้งานอยู่บ้าง ตัดบัญชีไปบ้างตามสภาพการใช้งาน
แต่สิ่งที่ จขกท. น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่แล้วหัวรถจักรเราได้รับการทาสีใหม่เมื่อปี 2553 จึงทำให้เราได้เห็นหัวรถจักรสีเหลืองๆ สดใสวิ่งผ่านหน้าเราไป
เมื่อมาถึงปัจจุบันการที่เราเห็นหัวรถจักรสีแดงขาว และ เจ้าสีเขียว “MINE Locomotive” จึงนับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่การเดินทางประเภทรางของเราจะได้รับการพัฒนาแล้ว ยิ่งเป็นประเภทหัวรถจักรที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 100% ยิ่งดีเข้าไปใหญ่ เพราะมันจะช่วยแก้ปัญหาฝุ่นควัน บริเวณชานชาลา ขณะที่รถไฟเคลื่อนออกจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ โดยนำหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่รถต้นแบบคันแรก MINE Locomotive มาใช้เพื่อลดมลพิษทางอากาศ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากเลยทีเดียว
ขอให้โปรเจกต์นี้ประสบความสำเร็จนะ อยากนั่งรถไฟที่วิ่งด้วยหัวรถจักรไฟฟ้า แล้วววววววว
ยุคสมัยใหม่ อะไรๆ ก็เป็น EV ไม่เว้นแม้กระทั่งหัวรถจักรไฟฟ้าคันแรกของไทย
โดยเจ้าหัวรถจักรไฟฟ้าอันนี้ เกิดขึ้นมาได้เนื่องจากนโยบายของภาครัฐผลักดันนโยบาย EV on Train
บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ร่วมกับ CRRC Dalian ผู้ผลิตรถไฟรายใหญ่จากประเทศจีน ได้รับโอกาสจากกระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พร้อมร่วมมือกับภาควิชาการ เริ่มทดสอบระบบสับเปลี่ยนขบวน (Shunting) ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ โดยหัวรถจักรไฟฟ้า (EV) หรือ “MINE Locomotive” แบตเตอรี่ขนาด 4.1 MWh สามารถวิ่งได้ระยะกว่า 300 กิโลเมตร ผสานเทคโนโลยีการอัดประจุ Ultra-Fast Charge ของ EA Anywhere ใช้เวลาชาร์จเพียง 1 ชั่วโมง และประหยัดต้นทุนพลังงานได้กว่า 40% เมื่อเปรียบเทียบกับหัวรถจักรดีเซล แถมยังสามารถพัฒนาขยายไปทั่วประเทศได้รวดเร็ว และลงทุนต่ำกว่าระบบไฟฟ้าเหนือหัวกว่าครึ่ง https://www.posttoday.com/business/689520
เมื่อลองหาข้อมูลเพิ่มเติมก็พบว่า
(แนบลิ้งค์) https://www.youtube.com/watch?v=PX78hehzsUM&t=131s
เจ้ารถจักรไฟฟ้าหัวเขียวอันนี้ได้มีการมาทดสอบวิ่งระบบรางไปแล้ว 1 ครั้ง เมื่อช่วงประมาณปลายเดือนธันวาคม 65 ที่ผ่านมา ที่สถานีวิหารแดง ปลายทางชุมทองคลองสิบเก้า วิ่งไปและกลับ โดยหัวรถจักรขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 100% มีแบตเตอรี่จ่ายไฟไปยังมอเตอร์เพื่อหมุนเพลาล้อ ที่มีความแตกต่าง
จากหัวรถจักรอุลตร้าแมนที่เป็นหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า ที่มีเครื่องยนต์ดีเซลทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้า และจ่ายไฟฟ้าไปหมุนเพลาล้อให้ขับเคลื่อน
พอได้เห็นหน้าตาของหัวรถจักรในประเทศไทยเปลี่ยนไป ดูมีความทันสมัยมากขึ้น ก็เกิดนึกสงสัยขึ้นมาว่า แล้วเจ้าหัวรถจักรที่ใช้วิ่งกันในประเทศไทยปัจจุบันนี้ เป็นรุ่นอะไร และเกิดขึ้นในปี พ.ศ.ใดบ้าง แน่นอนคนที่ไม่เคยศึกษาเรื่องรถไฟในประเทศไทยก็ต้องพึ่งพาวิกิพีเดียเป็นธรรมดา แล้วก็ไม่เคยทำให้เราผิดหวัง ทำให้รู้ว่าหัวรถจักรในประเทศไทยมีทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่ รถจักรดีเซลไฟฟ้า ซึ่งเป็นกำลังหลักในการลากจูงรถโดยสารและรถสินค้า และรถจักรดีเซลไฮดรอลิก เป็นรถจักรพิเศษ หัวรถจักรก็มีหลายรุ่น
อยากให้ทุกท่านได้ลองคลิกลิงค์เข้าไปดูรายละเอียดก่อนได้เลยนะ
https://th.wikipedia.org/wiki/รถจักรดีเซลในประเทศไทย
โดยเริ่มแรกเลยก็เป็นหัวรถจักรรุ่น Davenport (DA500) ที่ได้ประจำการตั้งแต่ปี 2495 ก็มีที่น่าทึ่งคือยังถูกระบุว่าได้มีการใช้งานอยู่ด้วยแต่น้อยแล้ว
จากนั้นก็ได้มีหัวรถจักรรุ่นอื่นๆ มาอีก อายุอานามก็ไม่ใช่น้อยๆ เลย บางรุ่นประจำการเมื่อปี 2507 นู้นแหนะ มีการใช้งานอยู่บ้าง ตัดบัญชีไปบ้างตามสภาพการใช้งาน
แต่สิ่งที่ จขกท. น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่แล้วหัวรถจักรเราได้รับการทาสีใหม่เมื่อปี 2553 จึงทำให้เราได้เห็นหัวรถจักรสีเหลืองๆ สดใสวิ่งผ่านหน้าเราไป
เมื่อมาถึงปัจจุบันการที่เราเห็นหัวรถจักรสีแดงขาว และ เจ้าสีเขียว “MINE Locomotive” จึงนับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่การเดินทางประเภทรางของเราจะได้รับการพัฒนาแล้ว ยิ่งเป็นประเภทหัวรถจักรที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 100% ยิ่งดีเข้าไปใหญ่ เพราะมันจะช่วยแก้ปัญหาฝุ่นควัน บริเวณชานชาลา ขณะที่รถไฟเคลื่อนออกจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ โดยนำหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่รถต้นแบบคันแรก MINE Locomotive มาใช้เพื่อลดมลพิษทางอากาศ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากเลยทีเดียว
ขอให้โปรเจกต์นี้ประสบความสำเร็จนะ อยากนั่งรถไฟที่วิ่งด้วยหัวรถจักรไฟฟ้า แล้วววววววว