บทที่ 6
“เงื่อนไขหลักๆ ของเราก็คือว่า กอ.รมน. จะให้ทุนในการสร้างภาพยนตร์จำนวน 30 ล้านบาทตามที่คุณเสนอมา แต่เราจะขอแบ่งจ่ายเป็น 2 งวดคือจะจ่ายก่อนครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งเมื่อเริ่มเปิดกองถ่าย ซึ่งก็คงไม่น่าจะมีปัญหากับคุณรวิดาใช่มั้ยครับ เพราะทั้ง 2 งวดคงจะห่างกันไม่เท่าไหร่ หากทางคุณรวิดาเตรียมทีมงานเตรียมกองพร้อมเมื่อไหร่ ทางผู้ใหญ่ในกองทัพก็จะมีความมั่นใจที่จะจ่ายส่วนที่เหลือให้ครับ”
ติณณ์นั่งอยู่หลังโต๊ะทำงาน บนโต๊ะมีปึกเอกสารหลายแผ่นวางอยู่ในแฟ้ม และรวิดารับเอกสารชุดนั้นมาพิจารณา
“ทุนสร้างภาพยนตร์เป็นทุนที่ กอ.รมน. ให้เปล่า หากว่าหนังทำกำไรได้ กอ.รมน. จะไม่รับ แต่ขอให้นำเงินส่วนนั้นไปทำประโยชน์ให้กับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ครับ เราจะนำเข้ากองทุนช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ”
รวิดาเปิดดูเอกสารผ่าน ๆ จากนั้นก็เงยหน้าขึ้นมาสบตากับติณณ์
“ขอบคุณมากค่ะผู้พัน”
“คุณเอาสัญญากลับไปอ่านที่บ้านก่อนนะครับ และถ้ามีตรงไหนอยากให้แก้ก็ขีดฆ่าและเขียนเงื่อนไขที่คุณเสนอลงไป”
“ได้ค่ะ” รวิดาเก็บเอกสารชุดนั้นใส่ซอง
“เอาล่ะครับ เราคุยเรื่องธุระกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณเป็นอย่างไรบ้างครับ เริ่มงานไปถึงไหนแล้ว” ติณณ์เปลี่ยนท่าทีที่เคร่งขรึมเป็นผ่อนคลายสบาย ๆ เมื่อเขาทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ยื่นสัญญาให้กับรวิดาเสร็จแล้ว
“เราได้คนที่จะมาเขียนบทภาพยนตร์แล้วค่ะ หลังจากที่เราได้นิยายมา เราต้องนำนิยายนั้นมาทำเป็นบทภาพยนตร์ก่อนเป็นอันดับแรกของการเริ่มงานค่ะ”
“แล้วทีมงานคนอื่น ๆ ล่ะครับ คุณเตรียมไว้หรือยัง”
“ฉันทาบทามไว้บ้างแล้วค่ะ ไม่ว่าจะเป็น ผู้คัดเลือกตัวนักแสดง ผู้กำกับภาพ ช่างกล้อง ผู้กำกับศิลป์ ฝ่ายสร้างฉาก ผู้เขียนสตอรี่บอร์ด ผู้ออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ผู้จัดคิวเสื้อผ้า ผู้จัดหาสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ ผู้ฝึกซ้อมนักแสดง และธุรกิจกองถ่าย” รวิดากล่าวอย่างมั่นใจ “อ้อ ฝ่ายกฎหมายฉันก็เตรียมไว้แล้ว”
“ดีเลยครับคุณรวิดา คุณควรเอาสัญญาฉบับนี้ไปให้ฝ่ายกฎหมายอ่านก่อนที่จะเซ็นอะไรลงไป”
“ขอบคุณค่ะ” รวิดายิ้ม
“แล้วจะมีการคัดเลือกตัวนักแสดงเมื่อไหร่ครับ”
“จะมีการประกาศรับสมัครและคัดเลือกตัวนักแสดงทันทีที่สัญญาฉบับนี้ถูกเซ็นค่ะ”
“ดีครับ ผมว่าก่อนที่เราจะไปถึงขั้นตอนการคัดเลือกตัวนักแสดง ผมได้รับคำสั่งจากทางผู้ใหญ่ให้กำชับคุณเรื่องหนึ่ง”
“เรื่องอะไรคะ” รวิดาทำสีหน้าแปลกใจ แต่เธอก็ยังคงยิ้ม
“คือว่าตอนที่ 35 ฟิล์มคัดเลือกตัวนักแสดง แต่เขากลับไม่มีการคัดเลือกนักแสดงที่จะมารับบทเป็นพระเอก”
“อ้าว... ทำไมล่ะคะ”
“เพราะว่าผู้กำกับของ 35 ฟิล์มจะใช้ดาราที่เขาเลือกมาเอง ซึ่งก็คือเด็กปั้นของผู้กำกับคนนั้นนั่นเอง และในบทของตัวละครตัวนี้เป็นทหาร แต่จากบุคลิกของนักแสดงคนนี้ไม่มีลักษณะของทหารเลยแม้แต่น้อย ความจริงแล้วก็เป็นเรื่องที่เราไม่สามารถไปก้าวก่ายงานของผู้กำกับได้ แต่ทางนั้นไม่ขอความเห็นของเราเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนั้นเราจึงอยากขอให้คุณรวิดาคัดเลือกตัวนักแสดงที่มีบุคลิกที่สมจริงกับบทบาทครับ”
“ไม่ต้องห่วงเรื่องนั้นค่ะ เพราะฉันก็ไม่มีดาราอยู่ในสังกัดอย่างแน่นอน ทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามขั้นตอน ฉันต้องการให้ทุกอย่างสมจริงอยู่แล้วค่ะ”
“ดีครับคุณรวิดา แล้วหลังจากขั้นตอนการคัดเลือกนักแสดงคืออะไรครับ ผมแค่ถามเฉย ๆ เผื่อทางเราจะได้เตรียมอำนวยความสะดวกให้ หากคุณต้องการ”
รวิดายิ้มกับคำพูดนี้ แม้เธอจะรู้ว่านี่คือเรื่องงาน แต่น้ำเสียงที่ติณณ์ใช้เหมือนกับคนที่ใส่ใจกับรายละเอียดทุกเรื่องราว
“หลังจากคัดเลือกตัวนักแสดงเรียบร้อยแล้ว จากนั้นเราจะให้ฝ่ายศิลป์ไปหาสถานที่ถ่ายทำ ผู้พันคิดว่าอย่างไรคะหากเราจะลงไปถ่ายทำในสถานที่จริงตามท้องเรื่องในนิยาย”
“หมายถึงจะยกกองถ่ายลงไปที่จังหวัดสตูลหรือครับ แล้วบางฉากที่อยู่ในยะลาล่ะ”
“แน่นอนว่าฉันอยากจะยกกองถ่ายลงไปที่จังหวัดสตูล แต่สำหรับฉากที่อยู่ในจังหวัดยะลา บางทีอาจจะเซ็ทฉากขึ้นมาก็ได้ค่ะ จะได้ไม่สร้างความยุ่งยากให้กับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่”
“ใช่ครับ การขออนุญาตลงไปใช้พื้นที่ในจังหวัดที่มีความรุนแรงเป็นเรื่องลำบาก จะต้องขออนุญาตและต้องดูความพร้อมของเจ้าหน้าที่ด้วย ซึ่งก็อาจจะกินเวลานานเกินไป และจากประสบการณ์ของเราที่เคยพาทีมงานเรื่องละติจูดที่ 6 ลงไปในจังหวัดปัตตานี เรายังมีปัญหาเรื่องการทำงานกับคนในพื้นที่ เพราะประชาชนที่นั่นอ่อนไหวในเรื่องนี้ด้วย”
“ค่ะ” รวิดาตอบรับด้วยน้ำเสียงที่เห็นด้วย “เรื่องนั้นไม่มีปัญหา เพราะฉากในจังหวัดยะลามีไม่กี่ฉาก และไม่ใช่สถานที่สำคัญ”
“ผมได้รับมอบหมายในการอำนวยความสะดวกให้ทีมงานของกองถ่ายครับ เมื่อถึงเวลานั้นเราคงจะได้ทำงานร่วมกันอย่างเต็มตัว”
“ขอบคุณมากค่ะ” รวิดายิ้ม
ในตึกสำนักงานของธนิต เขาแนะนำให้รวิดารู้จักกับผู้คัดเลือกนักแสดง
“ผมยินดีที่ได้ร่วมงานกับคุณรวิดาครับ” ผู้คัดเลือกนักแสดงชื่อภาวัตกล่าวคำทักทาย
“ยินดีเช่นกันค่ะ ฉันได้ยินจากคุณธนิตอธิบายถึงประสบการณ์การทำงานของคุณภาวัต แล้ว น่าสนใจมากค่ะ”
“ผมได้อ่านบทภาพยนตร์แล้ว และเมื่อรู้ว่ามี กอ.รมน. สนับสนุนอย่างเป็นทางการด้วย นั่นยิ่งสร้างความท้าทายให้ผมครับ”
“บอกแล้วว่าภาวัตเขาอยากมาร่วมงานกับเรามาก ผมกับเขารู้จักกันมาจะเกือบสิบปีแล้ว ผมเชื่อมือเขา” ธนิตพูดเพิ่มความมั่นใจให้กับรวิดา
“ดีค่ะ ได้คนมีประสบการณ์มาช่วยทำงานก็ดี งานจะได้ออกมาดี” รวิดาพูด
“ภาวัตมีเครือข่ายโมเด็ลลิ่งหลายที่ หากคุณรวิดาอยากได้นักแสดงหน้าใหม่ แต่ถ้าอยากได้นักแสดงที่มีชื่อเสียง เขาก็รู้ว่าใครเหมาะสมกับบทบาทไหนโดยไม่ต้องทดสอบการแสดง” ธนิตพูด
“คุณภาวัตคงได้รู้เรื่องราวคร่าว ๆ ของภาพยนตร์นี้แล้ว คุณคิดว่า ควรใช้นักแสดงหน้าใหม่หรือใช้ดาราที่มีชื่อเสียงดีกว่ากันคะ” รวิดาพูด
“เนื่องจากภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์นอกกระแส เราควรใช้นักแสดงหน้าใหม่ทั้งหมดเพื่อความสดใหม่ แต่ตัวเอกของเรื่องเราควรใช้นักแสดงที่มีชื่อเสียง เพราะว่าบทบาทนี้จากในนิยายถือว่าเป็นบทบาทที่หนักและค่อนข้างยาก ข้อดีของการใช้นักแสดงที่มีประสบการณ์คือเราไม่ต้องฝึกอะไรเขามาก และบางทีชื่อเสียงของเขาก็สามารถเรียกคนดูได้จำนวนหนึ่งเลย” ภาวัตอธิบาย
“เยี่ยมเลยค่ะ แล้วคุณภาวัตคิดว่าจะให้ดาราคนไหนมารับบทเป็นพระเอกดีคะ ขอคร่าว ๆ ก็ได้ค่ะ”
“คุณรวิดารู้จักดาราที่ชื่อ กฤต พรรณเสกหรือเปล่าครับ ในนิยายมีการบรรยายลักษณะของตัวละครเอกอย่างชัดเจน ทั้งรูปร่างหน้าตา สีผิว ส่วนสูงรวมถึงอายุของเขานั้นใกล้เคียงกับพระเอกในนิยายเลยครับ หากต้องการนักแสดงที่มีชื่อเสียงและบุคลิกที่ตรงกันกับในบทภาพยนตร์ ต้องเขาคนนี้เท่านั้นครับ” ภาวัตพูดด้วยความมั่นใจ
“ฉันรู้จักดาราคนนี้ค่ะ บุคลิกของเขาเหมาะสมอย่างที่คุณภาวัตว่าไว้จริง ๆ และเขาก็เป็นนักแสดงที่มีคนติดตามเยอะมาก เราจะขอคิวงานเขาได้เหรอคะ”
“จะลองติดต่อดูก่อนครับ และในบทรอง ๆ ลงมาผมจะให้โมเด็ลลิ่งที่ผมรู้จักคัดเลือกตัวนักแสดงมาส่วนหนึ่งก่อน จากนั้นเราจะคัดเลือกอีกครั้งจากการทดสอบบทบาทในการแสดง ว่าตรงกับบทบาทในตัวละครหรือไม่”
“บทไหนที่จะเปิดรับคัดเลือกบ้างคะ”
“มีเนตริยา วิษณุ นายแพทย์ปริญญ์ หลิน ธเนศ และสะมะแอ ส่วนตัวละครตัวอื่น ๆ เราใช้ตัวประกอบก็พอครับ”
“น่าตื่นเต้นจังเลยค่ะ อยากให้ถึงวันนั้นเร็ว ๆ จังค่ะ” รวิดาทำสีหน้าตื่นเต้น
“โอเคครับ ถ้าอย่างนั้นผมขอตัวกลับก่อน” ภาวัตเอ่ยคำลา แล้วหันไปบอกเพื่อนว่า “เดี๋ยวกลับก่อนนะธนิต จะเริ่มติดต่อโมเด็ลลิ่งตั้งแต่วันนี้เลย”
“สวัสดีค่ะคุณภาวัต” รวิดาพูด
“โชคดีภาวัต” ธนิตพูด
หลังจากภาวัตเดินออกจากสำนักงานไป รวิดาหันมาปรึกษาธนิต
“คุณธนิตคะ สำหรับนักแสดงที่ชื่อกฤต พรรณเสกฉันก็ติดตามหนังที่เขาแสดงมาอยู่บ้างเหมือนกันนะ เขาเป็นคนที่มีชื่อเสียงและมีความสามารถ แต่ติดตรงที่ว่า หนังที่เขาเล่นส่วนใหญ่นั้นมักจะได้รับบทเป็นคนเจ้าชู้แทบจะทุกเรื่องเลย”
ธนิตทำสีหน้าครุ่นคิดกับสิ่งที่รวิดาพูด
“คุณอาจจะกังวลว่าภาพบทบาทเก่า ๆ ของนักแสดงจะติดตัวมาเหรอครับ”
“มันค่อนข้างแตกต่างกันเลย คุณภาวัตเพิ่งจะบอกว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังนอกกระแส เขาตั้งใจใช้ดาราหน้าใหม่เพื่อให้หนังดูสดใหม่ แต่ตัวเอกของเรื่องกับเป็นดาราที่มีชื่อเสียงมาก่อน และคนมักจำภาพเก่า ๆ ติดมาด้วย นั่นก็ไม่ได้ช่วยทำให้หนังสดใหม่อะไรเลย”
“คุณพูดมาก็มีเหตุผล ไม่ว่าจะหนังไทยหรือละครไทย ใครเคยได้รับบทอะไรก็มักจะได้สวมบทบาทนั้นไปตลอดเลย บทนางเอก พระเอก นางอิจฉา ตัวโกง คนรับใช้ บางทีแล้วคนดูแค่เห็นนักแสดงก็พอจะเดาออกได้เลยว่านักแสดงคนนั้นจะมาเล่นบทไหน อาจจะทำให้คนดูตั้งความคาดหวังในภาพยนตร์ไว้แล้วก็ได้”
“นั่นน่ะสิ ฉันอยากทำให้ทุกอย่างออกมาดี แล้วก็ไม่อยากจะให้คนดูคาดเดาไปเองก่อน”
“แต่ก็มีหลายครั้งนะ ที่มีนักแสดงปรับเปลี่ยนลุ๊คหรือบุคลิกได้อย่างหมดจด หรือที่เรียกกันว่าพลิกบทบาท หากกฤตสามารถพลิกบทบาทได้อย่างไม่มีที่ติ นั่นคงทำให้หนังน่าสนใจมากยิ่งขึ้น”
“ฉันก็หวังว่าจะเป็นเช่นนั้น เราคงต้องให้เขาทดสอบบทก่อน”
ธนิตอ้ำอึ้งเล็กน้อยก่อนจะพูด
“ส่วนใหญ่เรามักจะไม่ค่อยทดสอบบทบาทของดารานักแสดงที่มีชื่อเสียงกันครับ เพราะผู้จัดหาจะต้องรู้ถึงบทบาทของนักแสดงจากหนังหรือละครเรื่องที่เขาเคยเล่นมาอยู่แล้ว และบางทีอาจถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติกันด้วย แต่เราอาจจะสัมภาษณ์เขาได้ครับ เราจะให้เขาตีความบทบาทของตัวละคร และความเข้าใจในบทของภาพยนตร์”
“เราไม่จำเป็นต้องทดสอบเขาหรือคะ” รวิดาแปลกใจกับข้อยกเว้นนี้
“เรื่องฝีมือการแสดงอาจจะพอเชื่อใจได้ครับ หากเราศึกษาจากบทบาทที่เขาเคยแสดงมา แต่กับเรื่องความเข้าใจต่าง ๆ เราสามารถพูดคุยได้เพื่อพิจารณาว่าเขาเหมาะสมหรือไม่”
รวิดามีสีหน้าโล่งใจ “ขอบคุณมากเลยนะคะคุณธนิต ที่ช่วยเหลือผู้กำกับหน้าใหม่หลายเรื่อง”
ธนิตยิ้มเขิน ๆ กับคำพูดนี้ “อะไรกันครับคุณรวิดา ผมเองต่างหากที่ต้องชื่นชมคุณ หลายเรื่องที่คุณทำนั้นน่าทึ่งมาก”
ถึงคราวที่รวิดายิ้มด้วยความเขินอายบ้าง “ขอบคุณค่ะ”
“คุณรู้มั้ยครับว่าผมดีใจมากเลยที่คุณได้ทุนจาก กอ.รมน. และเราได้มาร่วมงานกัน ก่อนหน้านี้ที่ผมเคยเสนอร่วมทุนกับคุณ ความจริงผมก็พอจะรู้แล้วว่าผมไม่มีเงินทุนพอที่จะสร้างหนังฟอร์มใหญ่แบบนี้ได้ ผมไม่มีทีมงานที่ใหญ่พอจะรับงานได้ทั้งหมด หากตรงไหนที่ผมสามารถช่วยเหลือคุณได้ ไม่ต้องเกรงใจนะครับ”
“ถึงคุณจะไม่มีทุนมากพอที่จะมาร่วมกันสร้าง แต่คุณก็มีฝีมือมาก ฉันดีใจที่คุณธนิตมาช่วยเขียนบทภาพยนตร์ และยังแนะนำผู้คัดเลือกนักแสดงให้อีก ถือเป็นการเริ่มต้นงานที่ดีแล้วค่ะ ฉันเชื่อใจคุณนะคะว่าจะต้องทำงานออกมาดี”
ทั้งคู่มองตากันเหมือนเพื่อนร่วมงานที่ใจตรงกัน ธนิตเองก็รู้สึกพอใจที่รวิดามีแนวคิดที่คล้าย ๆ กับเขา ชื่นชมผลงานต่าง ๆ ของเขา และยังยอมรับแนวคิดในหลาย ๆ เรื่องของธนิตอีกด้วย นั่นทำให้ธนิตเสนอตัวเองมาร่วมงานกับรวิดาทันทีที่มีโอกาส
วันที่ฟ้าเปิด The Movie 6
“เงื่อนไขหลักๆ ของเราก็คือว่า กอ.รมน. จะให้ทุนในการสร้างภาพยนตร์จำนวน 30 ล้านบาทตามที่คุณเสนอมา แต่เราจะขอแบ่งจ่ายเป็น 2 งวดคือจะจ่ายก่อนครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งเมื่อเริ่มเปิดกองถ่าย ซึ่งก็คงไม่น่าจะมีปัญหากับคุณรวิดาใช่มั้ยครับ เพราะทั้ง 2 งวดคงจะห่างกันไม่เท่าไหร่ หากทางคุณรวิดาเตรียมทีมงานเตรียมกองพร้อมเมื่อไหร่ ทางผู้ใหญ่ในกองทัพก็จะมีความมั่นใจที่จะจ่ายส่วนที่เหลือให้ครับ”
ติณณ์นั่งอยู่หลังโต๊ะทำงาน บนโต๊ะมีปึกเอกสารหลายแผ่นวางอยู่ในแฟ้ม และรวิดารับเอกสารชุดนั้นมาพิจารณา
“ทุนสร้างภาพยนตร์เป็นทุนที่ กอ.รมน. ให้เปล่า หากว่าหนังทำกำไรได้ กอ.รมน. จะไม่รับ แต่ขอให้นำเงินส่วนนั้นไปทำประโยชน์ให้กับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ครับ เราจะนำเข้ากองทุนช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ”
รวิดาเปิดดูเอกสารผ่าน ๆ จากนั้นก็เงยหน้าขึ้นมาสบตากับติณณ์
“ขอบคุณมากค่ะผู้พัน”
“คุณเอาสัญญากลับไปอ่านที่บ้านก่อนนะครับ และถ้ามีตรงไหนอยากให้แก้ก็ขีดฆ่าและเขียนเงื่อนไขที่คุณเสนอลงไป”
“ได้ค่ะ” รวิดาเก็บเอกสารชุดนั้นใส่ซอง
“เอาล่ะครับ เราคุยเรื่องธุระกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณเป็นอย่างไรบ้างครับ เริ่มงานไปถึงไหนแล้ว” ติณณ์เปลี่ยนท่าทีที่เคร่งขรึมเป็นผ่อนคลายสบาย ๆ เมื่อเขาทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ยื่นสัญญาให้กับรวิดาเสร็จแล้ว
“เราได้คนที่จะมาเขียนบทภาพยนตร์แล้วค่ะ หลังจากที่เราได้นิยายมา เราต้องนำนิยายนั้นมาทำเป็นบทภาพยนตร์ก่อนเป็นอันดับแรกของการเริ่มงานค่ะ”
“แล้วทีมงานคนอื่น ๆ ล่ะครับ คุณเตรียมไว้หรือยัง”
“ฉันทาบทามไว้บ้างแล้วค่ะ ไม่ว่าจะเป็น ผู้คัดเลือกตัวนักแสดง ผู้กำกับภาพ ช่างกล้อง ผู้กำกับศิลป์ ฝ่ายสร้างฉาก ผู้เขียนสตอรี่บอร์ด ผู้ออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ผู้จัดคิวเสื้อผ้า ผู้จัดหาสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ ผู้ฝึกซ้อมนักแสดง และธุรกิจกองถ่าย” รวิดากล่าวอย่างมั่นใจ “อ้อ ฝ่ายกฎหมายฉันก็เตรียมไว้แล้ว”
“ดีเลยครับคุณรวิดา คุณควรเอาสัญญาฉบับนี้ไปให้ฝ่ายกฎหมายอ่านก่อนที่จะเซ็นอะไรลงไป”
“ขอบคุณค่ะ” รวิดายิ้ม
“แล้วจะมีการคัดเลือกตัวนักแสดงเมื่อไหร่ครับ”
“จะมีการประกาศรับสมัครและคัดเลือกตัวนักแสดงทันทีที่สัญญาฉบับนี้ถูกเซ็นค่ะ”
“ดีครับ ผมว่าก่อนที่เราจะไปถึงขั้นตอนการคัดเลือกตัวนักแสดง ผมได้รับคำสั่งจากทางผู้ใหญ่ให้กำชับคุณเรื่องหนึ่ง”
“เรื่องอะไรคะ” รวิดาทำสีหน้าแปลกใจ แต่เธอก็ยังคงยิ้ม
“คือว่าตอนที่ 35 ฟิล์มคัดเลือกตัวนักแสดง แต่เขากลับไม่มีการคัดเลือกนักแสดงที่จะมารับบทเป็นพระเอก”
“อ้าว... ทำไมล่ะคะ”
“เพราะว่าผู้กำกับของ 35 ฟิล์มจะใช้ดาราที่เขาเลือกมาเอง ซึ่งก็คือเด็กปั้นของผู้กำกับคนนั้นนั่นเอง และในบทของตัวละครตัวนี้เป็นทหาร แต่จากบุคลิกของนักแสดงคนนี้ไม่มีลักษณะของทหารเลยแม้แต่น้อย ความจริงแล้วก็เป็นเรื่องที่เราไม่สามารถไปก้าวก่ายงานของผู้กำกับได้ แต่ทางนั้นไม่ขอความเห็นของเราเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนั้นเราจึงอยากขอให้คุณรวิดาคัดเลือกตัวนักแสดงที่มีบุคลิกที่สมจริงกับบทบาทครับ”
“ไม่ต้องห่วงเรื่องนั้นค่ะ เพราะฉันก็ไม่มีดาราอยู่ในสังกัดอย่างแน่นอน ทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามขั้นตอน ฉันต้องการให้ทุกอย่างสมจริงอยู่แล้วค่ะ”
“ดีครับคุณรวิดา แล้วหลังจากขั้นตอนการคัดเลือกนักแสดงคืออะไรครับ ผมแค่ถามเฉย ๆ เผื่อทางเราจะได้เตรียมอำนวยความสะดวกให้ หากคุณต้องการ”
รวิดายิ้มกับคำพูดนี้ แม้เธอจะรู้ว่านี่คือเรื่องงาน แต่น้ำเสียงที่ติณณ์ใช้เหมือนกับคนที่ใส่ใจกับรายละเอียดทุกเรื่องราว
“หลังจากคัดเลือกตัวนักแสดงเรียบร้อยแล้ว จากนั้นเราจะให้ฝ่ายศิลป์ไปหาสถานที่ถ่ายทำ ผู้พันคิดว่าอย่างไรคะหากเราจะลงไปถ่ายทำในสถานที่จริงตามท้องเรื่องในนิยาย”
“หมายถึงจะยกกองถ่ายลงไปที่จังหวัดสตูลหรือครับ แล้วบางฉากที่อยู่ในยะลาล่ะ”
“แน่นอนว่าฉันอยากจะยกกองถ่ายลงไปที่จังหวัดสตูล แต่สำหรับฉากที่อยู่ในจังหวัดยะลา บางทีอาจจะเซ็ทฉากขึ้นมาก็ได้ค่ะ จะได้ไม่สร้างความยุ่งยากให้กับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่”
“ใช่ครับ การขออนุญาตลงไปใช้พื้นที่ในจังหวัดที่มีความรุนแรงเป็นเรื่องลำบาก จะต้องขออนุญาตและต้องดูความพร้อมของเจ้าหน้าที่ด้วย ซึ่งก็อาจจะกินเวลานานเกินไป และจากประสบการณ์ของเราที่เคยพาทีมงานเรื่องละติจูดที่ 6 ลงไปในจังหวัดปัตตานี เรายังมีปัญหาเรื่องการทำงานกับคนในพื้นที่ เพราะประชาชนที่นั่นอ่อนไหวในเรื่องนี้ด้วย”
“ค่ะ” รวิดาตอบรับด้วยน้ำเสียงที่เห็นด้วย “เรื่องนั้นไม่มีปัญหา เพราะฉากในจังหวัดยะลามีไม่กี่ฉาก และไม่ใช่สถานที่สำคัญ”
“ผมได้รับมอบหมายในการอำนวยความสะดวกให้ทีมงานของกองถ่ายครับ เมื่อถึงเวลานั้นเราคงจะได้ทำงานร่วมกันอย่างเต็มตัว”
“ขอบคุณมากค่ะ” รวิดายิ้ม
ในตึกสำนักงานของธนิต เขาแนะนำให้รวิดารู้จักกับผู้คัดเลือกนักแสดง
“ผมยินดีที่ได้ร่วมงานกับคุณรวิดาครับ” ผู้คัดเลือกนักแสดงชื่อภาวัตกล่าวคำทักทาย
“ยินดีเช่นกันค่ะ ฉันได้ยินจากคุณธนิตอธิบายถึงประสบการณ์การทำงานของคุณภาวัต แล้ว น่าสนใจมากค่ะ”
“ผมได้อ่านบทภาพยนตร์แล้ว และเมื่อรู้ว่ามี กอ.รมน. สนับสนุนอย่างเป็นทางการด้วย นั่นยิ่งสร้างความท้าทายให้ผมครับ”
“บอกแล้วว่าภาวัตเขาอยากมาร่วมงานกับเรามาก ผมกับเขารู้จักกันมาจะเกือบสิบปีแล้ว ผมเชื่อมือเขา” ธนิตพูดเพิ่มความมั่นใจให้กับรวิดา
“ดีค่ะ ได้คนมีประสบการณ์มาช่วยทำงานก็ดี งานจะได้ออกมาดี” รวิดาพูด
“ภาวัตมีเครือข่ายโมเด็ลลิ่งหลายที่ หากคุณรวิดาอยากได้นักแสดงหน้าใหม่ แต่ถ้าอยากได้นักแสดงที่มีชื่อเสียง เขาก็รู้ว่าใครเหมาะสมกับบทบาทไหนโดยไม่ต้องทดสอบการแสดง” ธนิตพูด
“คุณภาวัตคงได้รู้เรื่องราวคร่าว ๆ ของภาพยนตร์นี้แล้ว คุณคิดว่า ควรใช้นักแสดงหน้าใหม่หรือใช้ดาราที่มีชื่อเสียงดีกว่ากันคะ” รวิดาพูด
“เนื่องจากภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์นอกกระแส เราควรใช้นักแสดงหน้าใหม่ทั้งหมดเพื่อความสดใหม่ แต่ตัวเอกของเรื่องเราควรใช้นักแสดงที่มีชื่อเสียง เพราะว่าบทบาทนี้จากในนิยายถือว่าเป็นบทบาทที่หนักและค่อนข้างยาก ข้อดีของการใช้นักแสดงที่มีประสบการณ์คือเราไม่ต้องฝึกอะไรเขามาก และบางทีชื่อเสียงของเขาก็สามารถเรียกคนดูได้จำนวนหนึ่งเลย” ภาวัตอธิบาย
“เยี่ยมเลยค่ะ แล้วคุณภาวัตคิดว่าจะให้ดาราคนไหนมารับบทเป็นพระเอกดีคะ ขอคร่าว ๆ ก็ได้ค่ะ”
“คุณรวิดารู้จักดาราที่ชื่อ กฤต พรรณเสกหรือเปล่าครับ ในนิยายมีการบรรยายลักษณะของตัวละครเอกอย่างชัดเจน ทั้งรูปร่างหน้าตา สีผิว ส่วนสูงรวมถึงอายุของเขานั้นใกล้เคียงกับพระเอกในนิยายเลยครับ หากต้องการนักแสดงที่มีชื่อเสียงและบุคลิกที่ตรงกันกับในบทภาพยนตร์ ต้องเขาคนนี้เท่านั้นครับ” ภาวัตพูดด้วยความมั่นใจ
“ฉันรู้จักดาราคนนี้ค่ะ บุคลิกของเขาเหมาะสมอย่างที่คุณภาวัตว่าไว้จริง ๆ และเขาก็เป็นนักแสดงที่มีคนติดตามเยอะมาก เราจะขอคิวงานเขาได้เหรอคะ”
“จะลองติดต่อดูก่อนครับ และในบทรอง ๆ ลงมาผมจะให้โมเด็ลลิ่งที่ผมรู้จักคัดเลือกตัวนักแสดงมาส่วนหนึ่งก่อน จากนั้นเราจะคัดเลือกอีกครั้งจากการทดสอบบทบาทในการแสดง ว่าตรงกับบทบาทในตัวละครหรือไม่”
“บทไหนที่จะเปิดรับคัดเลือกบ้างคะ”
“มีเนตริยา วิษณุ นายแพทย์ปริญญ์ หลิน ธเนศ และสะมะแอ ส่วนตัวละครตัวอื่น ๆ เราใช้ตัวประกอบก็พอครับ”
“น่าตื่นเต้นจังเลยค่ะ อยากให้ถึงวันนั้นเร็ว ๆ จังค่ะ” รวิดาทำสีหน้าตื่นเต้น
“โอเคครับ ถ้าอย่างนั้นผมขอตัวกลับก่อน” ภาวัตเอ่ยคำลา แล้วหันไปบอกเพื่อนว่า “เดี๋ยวกลับก่อนนะธนิต จะเริ่มติดต่อโมเด็ลลิ่งตั้งแต่วันนี้เลย”
“สวัสดีค่ะคุณภาวัต” รวิดาพูด
“โชคดีภาวัต” ธนิตพูด
หลังจากภาวัตเดินออกจากสำนักงานไป รวิดาหันมาปรึกษาธนิต
“คุณธนิตคะ สำหรับนักแสดงที่ชื่อกฤต พรรณเสกฉันก็ติดตามหนังที่เขาแสดงมาอยู่บ้างเหมือนกันนะ เขาเป็นคนที่มีชื่อเสียงและมีความสามารถ แต่ติดตรงที่ว่า หนังที่เขาเล่นส่วนใหญ่นั้นมักจะได้รับบทเป็นคนเจ้าชู้แทบจะทุกเรื่องเลย”
ธนิตทำสีหน้าครุ่นคิดกับสิ่งที่รวิดาพูด
“คุณอาจจะกังวลว่าภาพบทบาทเก่า ๆ ของนักแสดงจะติดตัวมาเหรอครับ”
“มันค่อนข้างแตกต่างกันเลย คุณภาวัตเพิ่งจะบอกว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังนอกกระแส เขาตั้งใจใช้ดาราหน้าใหม่เพื่อให้หนังดูสดใหม่ แต่ตัวเอกของเรื่องกับเป็นดาราที่มีชื่อเสียงมาก่อน และคนมักจำภาพเก่า ๆ ติดมาด้วย นั่นก็ไม่ได้ช่วยทำให้หนังสดใหม่อะไรเลย”
“คุณพูดมาก็มีเหตุผล ไม่ว่าจะหนังไทยหรือละครไทย ใครเคยได้รับบทอะไรก็มักจะได้สวมบทบาทนั้นไปตลอดเลย บทนางเอก พระเอก นางอิจฉา ตัวโกง คนรับใช้ บางทีแล้วคนดูแค่เห็นนักแสดงก็พอจะเดาออกได้เลยว่านักแสดงคนนั้นจะมาเล่นบทไหน อาจจะทำให้คนดูตั้งความคาดหวังในภาพยนตร์ไว้แล้วก็ได้”
“นั่นน่ะสิ ฉันอยากทำให้ทุกอย่างออกมาดี แล้วก็ไม่อยากจะให้คนดูคาดเดาไปเองก่อน”
“แต่ก็มีหลายครั้งนะ ที่มีนักแสดงปรับเปลี่ยนลุ๊คหรือบุคลิกได้อย่างหมดจด หรือที่เรียกกันว่าพลิกบทบาท หากกฤตสามารถพลิกบทบาทได้อย่างไม่มีที่ติ นั่นคงทำให้หนังน่าสนใจมากยิ่งขึ้น”
“ฉันก็หวังว่าจะเป็นเช่นนั้น เราคงต้องให้เขาทดสอบบทก่อน”
ธนิตอ้ำอึ้งเล็กน้อยก่อนจะพูด
“ส่วนใหญ่เรามักจะไม่ค่อยทดสอบบทบาทของดารานักแสดงที่มีชื่อเสียงกันครับ เพราะผู้จัดหาจะต้องรู้ถึงบทบาทของนักแสดงจากหนังหรือละครเรื่องที่เขาเคยเล่นมาอยู่แล้ว และบางทีอาจถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติกันด้วย แต่เราอาจจะสัมภาษณ์เขาได้ครับ เราจะให้เขาตีความบทบาทของตัวละคร และความเข้าใจในบทของภาพยนตร์”
“เราไม่จำเป็นต้องทดสอบเขาหรือคะ” รวิดาแปลกใจกับข้อยกเว้นนี้
“เรื่องฝีมือการแสดงอาจจะพอเชื่อใจได้ครับ หากเราศึกษาจากบทบาทที่เขาเคยแสดงมา แต่กับเรื่องความเข้าใจต่าง ๆ เราสามารถพูดคุยได้เพื่อพิจารณาว่าเขาเหมาะสมหรือไม่”
รวิดามีสีหน้าโล่งใจ “ขอบคุณมากเลยนะคะคุณธนิต ที่ช่วยเหลือผู้กำกับหน้าใหม่หลายเรื่อง”
ธนิตยิ้มเขิน ๆ กับคำพูดนี้ “อะไรกันครับคุณรวิดา ผมเองต่างหากที่ต้องชื่นชมคุณ หลายเรื่องที่คุณทำนั้นน่าทึ่งมาก”
ถึงคราวที่รวิดายิ้มด้วยความเขินอายบ้าง “ขอบคุณค่ะ”
“คุณรู้มั้ยครับว่าผมดีใจมากเลยที่คุณได้ทุนจาก กอ.รมน. และเราได้มาร่วมงานกัน ก่อนหน้านี้ที่ผมเคยเสนอร่วมทุนกับคุณ ความจริงผมก็พอจะรู้แล้วว่าผมไม่มีเงินทุนพอที่จะสร้างหนังฟอร์มใหญ่แบบนี้ได้ ผมไม่มีทีมงานที่ใหญ่พอจะรับงานได้ทั้งหมด หากตรงไหนที่ผมสามารถช่วยเหลือคุณได้ ไม่ต้องเกรงใจนะครับ”
“ถึงคุณจะไม่มีทุนมากพอที่จะมาร่วมกันสร้าง แต่คุณก็มีฝีมือมาก ฉันดีใจที่คุณธนิตมาช่วยเขียนบทภาพยนตร์ และยังแนะนำผู้คัดเลือกนักแสดงให้อีก ถือเป็นการเริ่มต้นงานที่ดีแล้วค่ะ ฉันเชื่อใจคุณนะคะว่าจะต้องทำงานออกมาดี”
ทั้งคู่มองตากันเหมือนเพื่อนร่วมงานที่ใจตรงกัน ธนิตเองก็รู้สึกพอใจที่รวิดามีแนวคิดที่คล้าย ๆ กับเขา ชื่นชมผลงานต่าง ๆ ของเขา และยังยอมรับแนวคิดในหลาย ๆ เรื่องของธนิตอีกด้วย นั่นทำให้ธนิตเสนอตัวเองมาร่วมงานกับรวิดาทันทีที่มีโอกาส