สิ่งใดที่เป็นของรัก สิ่งนั้นย่อมเป็นศัตรูแก่ดวงใจ จึงควรละสิ่งนั้นเสีย แล้วตนเอง ก็จะมีความสุข”
ฉะนั้น คนเราจึงอย่าไปเหยียดหยาม ดูถูกในคนที่เขามีปัญญาน้อย หรือฐานะกำเนิดชาติสกุลของเขาที่ตกอยู่ในความต่ำต้อย เพราะสิ่งเหล่านี้มันขึ้นอยู่ที่กรรมแห่งบุคคลซึ่งทำไว้ในกาลก่อน จึงส่งผลจำแนกให้มาเป็นในลักษณะต่างกัน
บางคนแม้จะตกไปอยู่ในสกุลที่ลำบากยากเข็ญใจ ก็สักแต่ว่ากรรมซัดไปเท่านั้น แต่ความดีซึ่งติดอยู่ในจิตสันดานเดิมของเขามีอยู่ เขาก็อาจจะสำเร็จมรรคผลได้ในวันหนึ่ง ที่กรรมนั้นซัดไปให้เกิดในสกุลยากก็เพื่อจะทรมานเขาให้แลเห็นทุกข์เห็นโทษ และใช้หนี้เวรเก่าของเขาให้หมดสิ้นไปก็มี เพราะคนเราทุกคนที่เกิดมานี้ย่อมเกิดมาแต่ผลของกรรมเก่าที่ตนกระทำไว้ทั้งสิ้น
ถ้าผู้ใดมีดวงตาญาณ ผู้นั้นก็อาจจะรู้ชาติภพของตนที่กระทำกรรมอันใดไว้ ผู้ใดที่ดวงตายังมืดอยู่ด้วยอวิชชา ผู้นั้นก็ย่อมมองไม่เห็น
เรื่องของกรรมนี้พระพุทธเจ้าท่านก็ทรงสอนไว้มิให้เราประมาท
ผู้ใดทำดีก็ย่อมไม่หนีจากกรรมดี ผู้ใดทำชั่วก็ย่อมไม่หนีจากกรรมชั่วนั้น
เหตุนั้น จึงควรมีความสำรวมระวัง อย่าประมาทในสิ่งที่เรามองไม่เห็นอย่าเหยียดหยามติเตียนในวัตถุทานของผู้ใด ในศีลของเขาก็ดี ในภาวนาของเขาก็ดี เขาอาจมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นความดีแฝงอยู่ภายใน
แต่ถูกปกปิดไว้ด้วยกรรมที่มองไม่เห็น ถ้าเราไปประมาทเขาเข้า
กรรมนั้นอาจกลับมาเป็นโทษสนองตัวเราเอง
ให้ได้รับผลวิบากในกาลภายหน้าได้
‘จิต’ นี้ จะว่าตายก็ตาย จะว่าไม่ตายก็ไม่ตาย
จิตที่ตายก็คือจิตที่มีอาการแปรเปลี่ยนไปด้วยบาปอกุศล
จิตคงที่อยู่ในสภาพเดิม หรือเป็นจิตที่เจือด้วยบุญกุศล ก็เป็นจิตที่ไม่ตาย
ร่างกายของเรานี้ เรียกเป็น ๔ อย่าง ๑. รูป ๒. กาย ๓. สรีระ ๔. ธาตุ
กายนี้ก็ไม่ได้ตายไปไหน เป็นแต่มันแปรเปลี่ยนไปเข้าสภาพเดิมของมัน
ธาตุดินก็ไปอยู่กับธาตุดิน ธาตุน้ำก็ไปอยู่กับธาตุน้ำ ธาตุไฟก็ไปอยู่กับธาตุไฟ ธาตุลมก็ไปอยู่กับธาตุลม ฯลฯ
ก่อนที่เราจะเกิดมาจริง ๆ นั้น ก็คือธาตุทั้ง ๔ ไปประชุมสามัคคีกันขึ้น และถ้าเจ้าตัวจิตวิญญาณซึ่งลอยอยู่นั้น เข้าไปแทรกผสมเข้าเมื่อใด ก็จะเกิดเป็นสิ่งที่มีชีวิตขึ้น แล้วก็ค่อย ๆ ขยายตัวเติบโตออกไปทุกที ๆ เป็นเลวบ้าง ประณีตบ้าง เป็นคนบ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง แล้วแต่ กรรมของจิตที่เป็น ‘บุญ’ หรือ ‘บาป’
‘จิต’ เป็นผู้รับผิดชอบในบุญและบาปทั้งหลาย คือกรรมดีและกรรมชั่ว ‘ร่างกาย’ นั้นไม่ใช่เป็นผู้รับผิดชอบ.
จากหนังสือท่านพ่อลี ธัมมธโร
พระอริยเจ้าผู้มีพลังจิตแก่กล้า
สิ่งใดที่เป็นของรัก สิ่งนั้นย่อมเป็นศัตรูแก่ดวงใจ จึงควรละสิ่งนั้นเสีย แล้วตนเอง ก็จะมีความสุข”
ฉะนั้น คนเราจึงอย่าไปเหยียดหยาม ดูถูกในคนที่เขามีปัญญาน้อย หรือฐานะกำเนิดชาติสกุลของเขาที่ตกอยู่ในความต่ำต้อย เพราะสิ่งเหล่านี้มันขึ้นอยู่ที่กรรมแห่งบุคคลซึ่งทำไว้ในกาลก่อน จึงส่งผลจำแนกให้มาเป็นในลักษณะต่างกัน
บางคนแม้จะตกไปอยู่ในสกุลที่ลำบากยากเข็ญใจ ก็สักแต่ว่ากรรมซัดไปเท่านั้น แต่ความดีซึ่งติดอยู่ในจิตสันดานเดิมของเขามีอยู่ เขาก็อาจจะสำเร็จมรรคผลได้ในวันหนึ่ง ที่กรรมนั้นซัดไปให้เกิดในสกุลยากก็เพื่อจะทรมานเขาให้แลเห็นทุกข์เห็นโทษ และใช้หนี้เวรเก่าของเขาให้หมดสิ้นไปก็มี เพราะคนเราทุกคนที่เกิดมานี้ย่อมเกิดมาแต่ผลของกรรมเก่าที่ตนกระทำไว้ทั้งสิ้น
ถ้าผู้ใดมีดวงตาญาณ ผู้นั้นก็อาจจะรู้ชาติภพของตนที่กระทำกรรมอันใดไว้ ผู้ใดที่ดวงตายังมืดอยู่ด้วยอวิชชา ผู้นั้นก็ย่อมมองไม่เห็น
เรื่องของกรรมนี้พระพุทธเจ้าท่านก็ทรงสอนไว้มิให้เราประมาท
ผู้ใดทำดีก็ย่อมไม่หนีจากกรรมดี ผู้ใดทำชั่วก็ย่อมไม่หนีจากกรรมชั่วนั้น
เหตุนั้น จึงควรมีความสำรวมระวัง อย่าประมาทในสิ่งที่เรามองไม่เห็นอย่าเหยียดหยามติเตียนในวัตถุทานของผู้ใด ในศีลของเขาก็ดี ในภาวนาของเขาก็ดี เขาอาจมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นความดีแฝงอยู่ภายใน
แต่ถูกปกปิดไว้ด้วยกรรมที่มองไม่เห็น ถ้าเราไปประมาทเขาเข้า
กรรมนั้นอาจกลับมาเป็นโทษสนองตัวเราเอง
ให้ได้รับผลวิบากในกาลภายหน้าได้
‘จิต’ นี้ จะว่าตายก็ตาย จะว่าไม่ตายก็ไม่ตาย
จิตที่ตายก็คือจิตที่มีอาการแปรเปลี่ยนไปด้วยบาปอกุศล
จิตคงที่อยู่ในสภาพเดิม หรือเป็นจิตที่เจือด้วยบุญกุศล ก็เป็นจิตที่ไม่ตาย
ร่างกายของเรานี้ เรียกเป็น ๔ อย่าง ๑. รูป ๒. กาย ๓. สรีระ ๔. ธาตุ
กายนี้ก็ไม่ได้ตายไปไหน เป็นแต่มันแปรเปลี่ยนไปเข้าสภาพเดิมของมัน
ธาตุดินก็ไปอยู่กับธาตุดิน ธาตุน้ำก็ไปอยู่กับธาตุน้ำ ธาตุไฟก็ไปอยู่กับธาตุไฟ ธาตุลมก็ไปอยู่กับธาตุลม ฯลฯ
ก่อนที่เราจะเกิดมาจริง ๆ นั้น ก็คือธาตุทั้ง ๔ ไปประชุมสามัคคีกันขึ้น และถ้าเจ้าตัวจิตวิญญาณซึ่งลอยอยู่นั้น เข้าไปแทรกผสมเข้าเมื่อใด ก็จะเกิดเป็นสิ่งที่มีชีวิตขึ้น แล้วก็ค่อย ๆ ขยายตัวเติบโตออกไปทุกที ๆ เป็นเลวบ้าง ประณีตบ้าง เป็นคนบ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง แล้วแต่ กรรมของจิตที่เป็น ‘บุญ’ หรือ ‘บาป’
‘จิต’ เป็นผู้รับผิดชอบในบุญและบาปทั้งหลาย คือกรรมดีและกรรมชั่ว ‘ร่างกาย’ นั้นไม่ใช่เป็นผู้รับผิดชอบ.
จากหนังสือท่านพ่อลี ธัมมธโร
พระอริยเจ้าผู้มีพลังจิตแก่กล้า