สารานุกรมปืนตอนที่ 1898 Flamethrower : เครื่องพ่นไฟ

ขอขอบคุณเพจ ป.ปืน อย่างสูงครับ

https://www.facebook.com/Porpeunbybaster

เครื่องพ่นไฟที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้คือเครื่องพ่นไฟที่ใช้ในทางทหาร ซึ่งเป็นอาวุธชนิดหนึ่งในสนามรบ ซึ่งความหมายอาวุธที่สามารถฉีดเชื่อเพลิงที่กำลังลุกไหม้ออกไปในระยะไกลระดับหนึ่งซึ่งสามารถควบคุมทิศทางได้
การใช้เครื่องพ่นไฟทางทหารมีใช้ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ ในปี424 ก่อนคริตกาล ในการยุทธ Battle of Delium ในสงคราม Peloponnesian War ซึ่งชาว Boeotians ใช้เครื่องพ่นไฟใส่แนวป้อมปราการของชาว Athenians หลักการคือการเป่าแรงดันลมใส่กระทะซึ่งมีของเหลวติดไฟซึ่งแขวนอยู่ที่ปลายท่อเป่าลม



ต่อมาในศตวรรษที่ 7 ในยุคจักรวรรดิ์ไบแซนไทน์ ได้มีการใช้เครื่องพ่นไฟบนเรือรบโดยใช้การปั้มแรงดันลงสู่ถังเก็บเชื้อเพลิงแล้วจุดเปลวไฟใส่ ฉีดเชื้อเพลิงติดไฟเข้าใส่เป้าหมาย ซึ่งเรียกว่า Greek fire (ไฟกรีก) ซึ่งถูกคิดค้นโดย Kallinikos แห่ง Heliopolis, ช่วงปี 673. ทั้งนี้ยังมีเครื่องพ่นไฟสำหรับทหารเดินเท้าแบบมือถือซึ่งเรียกว่า cheirosiphona ซึ่งมีลักษณะเหมือนโถแจกัน ซึ่งจะมีการเพิ่มแรงดันในระบบด้วยสูบมือ(คล้ายระบบที่สูบลมจักรยานแล้วจุดไฟด้วยมือ(ไม้ขีด หรือ คบไฟ)



ในปี 919 ในจีนข่วง ห้าราชวงศ์และสิบอาณาจักร (Five Dynasties and Ten Kingdoms period.) มีการคิดค้นเครื่องพ่นไฟซึ่งเรียกว่า Pen Huo Qi ("fire spraying device") โดยมีระบบปั้มแรงดันเข้าสู่ระบบด้วยลูกสูบ ใช้เชื้อเพลิงคล้าย naphtha, (สารไฮโครคาร์บอนเหลว มาจากการปิโตรเลียม) โดยมีการบันทึกในการยุทธ Battle of Langshan Jiang (Wolf Mountain River) โดยกองเรือของ ฮ่องเต้เวินมู่แห่งอู่เยว่ (Wenmu King of Wuyue) ใช่เครื่องพ่นไฟในการรบสามารถเอาชนะกองเรือของแคว้นวู (Kingdom of Wu) ซึ่งระบบจะมีลูกสูบแบบคู่ซึ่งสามารถปั้มแรงดันเข้าสู่ถังได้ทั้งช่วงการชักไป และ กลับ ในปี 976 กองเรือของแคว้นซ่ง(Song dynasty) ได้บุกลงทางใต้ของแคว้นถังใต้(Southern Tang state) ในการยุทธในแม่น้ำแยงซี(Yangtze River) โดยกองเรือของแคว้นถังได้พยายามใช้เครื่องพ่นไฟใส่กองเรือแคว้นซ่ง แต่ลมกลับทิศทำให้ไหกลับมาลุกไหม้ใส่กองเรือซ่งแทน ซึ่งแคว้นซ่งเคยใช้เครื่องพ่นไฟทำการรบกับพวกมองโกลทางเหนืออีกด้วย ซึ่ง ในช่วงเวลาเดียวกัน ในฝั่งอาหรับ-อิสลาม ก็มีการกล่าวถึง bāb al-midfa และ bāb al-mustaq ซึ่งหมายถึงเครื่องพ่นไฟเช่นกันจากบันทึก Abū ʿAbdallāh al-Khwārazmī in Mafātīḥ al-ʿUlūm (“Keys to the Sciences”)
ในช่วงศตวรรษที่19 ช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกา มีการกล่าวถึง Greek fire บางแต่ก็ไม่มีการใช้งานในสงคราม





มาถึง ศตวรรษที่ 20 ในช่วงต้นยุค1900 นักประดิษฐ์ชื่อ Richard Fiedler. ได้ออกแบบเครื่องพ่นไฟสมัยใหม่ถูกส่งไปประเมินกับกองทัพเยอรมัน ในปี1901 โดยต้นแบบจะมีท่อยิงยาว 4 ฟุตระบบถังเชื้อเพลิงและแรงดันจะแยกเป็นสองส่วนโดยถังแรงดันจะอยู่ด้านล่างและสารเชื้อเพลิงจะอยู่ด้านบน เมื่อกดกระเดื่องจ่ายเชื้อเพลิงซึ่งถูกขับด้วยแรงดันออกไปจะถูกจุดด้วยใส่ตะเกียงที่ปลายท่อยิง เครื่องยิงต้นแบบนี้สามารถยิงได้ไกล 18 เมตร และได้ชื่อว่า “Flammenwerfer” ซึ่งต่อมาใช้ในภาษาอังกฤษเป็น “Flamethrower”
แนวคิดถูกพัฒนาต่อโดย Hungarian Gábor Szakáts ชางฮังการีโดยเขาพัฒนาเครื่องพ่นไฟให้กองทัพเยอรมันก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยมีชื่อว่า Kleif (เขามีรายชื่ออาชญากรสงครามโดยฝรั่งเศส และศพของเขาถูกปฏิเสธไม่ให้ฝังในฮังการี่ ) ซึ่งมีการนำมาใช้งานในกองทัพเยอรมันในปี1906 ได้มีการ และรุ่น Kleif M 1912 คือเครื่องพ่นไฟแบบแรกที่ได้มีการผลิตใช้งาน ซึ่งใช้งานโดย Guard Reserve Pioneer Regiment และมีหน่วยใช้เครื่องพ่นไฟคือ Flammenwerfer troops มีการพัฒนามาเป็นรุ่น Kleif M.1914 ซึ่งจะต้องใช้งานด้วยทหาร2นายโดยพลยิง1นายและพลแบกถังเชื้อเพลิง1นาย
การพัฒนาทั้งหมดเป็นความลับจนกระทั่งการรบที่ Verdun ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ปี 1915 มีการนำเครื่องพ่นไฟมาใช้งานในการรบ ซึ่งเมื่อฝ่ายฝรั่งเศสโต้กลับก็สามารถยึด Kleif ได้





และเยอรมันเองยังมีเครื่องพ่นไฟขนาดใหญ่ซึ่งเป็นแบบตั้งพื้นคือ Grof M.1912 (และLight-Grof M.1916, (Grof มาจาก Großer Flammenwerfer) ซึ่งเยอรมันใช้เครื่องพ่นไฟในการโจมตีถึง650 ครั้ง ถึงแม้แบบ Kleif จะยิงไกลได้ถึง 18 เมตร แต่ก็มีระยะการใช้งานต่อเนื่องเพียง 2นาที
ฝ่ายอังกฤษ ทดลองใช้เครื่องพ่นไฟในการรบ Battle of the Somme ซึ่งมีชื่อว่า "Livens Large Gallery Flame Projectors", ออกแบบโดย William Howard Livens, มีตำแหน่งเป็น Royal Engineers officer สามารถยิงไกลได้ถึง 90 หลา แต่มันมีน้ำหนักมาไม่สามารถพกพาได้จึงถูกยกเลิกไป



เครื่องพ่นไฟแบบติดตั้งแบบ Morriss static flamethrowers สองเครื่องติดตั้งบนเรือหลวง HMS Vindictive และแบบเคลื่อนที่ แบบ Hay ถูกใช้ในการรบที่ Zeebrugge Raid 23 เมษายน ปี 1918 โดยสื่ออังกฤษนำคำว่า “flammenwerfer” จากภาษาเยอรมันมาใช้เรียกเครื่องพ่นไฟ
กองทัพฝรั่งเศสและอิตาลีใช้เครื่องพ่นไฟแบบ Schilt family of flamethrowers เหมือนกัน รัสเซีย ใช้เครื่องพ่นไฟแบบ Tovarnitsk ประมาณ 10,000 เครื่องแบบอื่น 11,446 เครื่อง ทั้งหมดเป็นแบบเคลื่อนที่ ซึ่งผลิตเอง
ซึ่งหลังในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาก็มีการใช้เครื่องพ่นไฟอย่างแพร่หลายในโลก ซึ่งจะมาเจาะลึกกันอีกทีครับ

ขอบคุณที่ติดตาม และขออภัยหากมีข้อผิดพลาดประการใดมา ณ. ที่นี้ ครับ

Cr.
https://www.hi.uni-stuttgart.de/.../ww1_ger_08_03_05.html
https://www.historynet.com/flammenwerfer-hell-on-earth.../
https://en.wikipedia.org/wiki/Flamethrower#History
#Flamethrower #ป_ปืน



สวัสดีครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่