เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. …. ในวาระที่ 2 ในมาตรา 2 และ 3
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2556 นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้มีหนังสือเรียกประชุมด่วนนัดพิเศษในวันที่ 31 ตุลาคม 2556 เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. …. ในวาระที่ 2 ในมาตรา 2 และ 3
ในวันที่ 31 ที่สภาฯ ได้เริ่มประชุม และหลังจากที่มีการอภิปรายกันอย่างยาวนานกว่า 19 ชั่วโมง ประธานสภาฯ ได้สั่งให้ลงมติในวาระที่ 2 และ 3 ติดต่อกัน และในการลงคะแนนวาระที่ 3 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติเห็นชอบด้วยคะแนน 310 ต่อ 0 งดออกเสียง 4 จึงมีผลให้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรเมื่อเวลา 04.25 น. ทำให้เข้าสู่ขั้นตอนของวุฒิสภาต่อไป
ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ได้รับการต่อต้านจากภาคประชาสังคมอย่างกว้างขวางเนื่องจากความไม่ชัดเจนและมีการสับขาหลอกที่เริ่มต้นจากร่างของนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ ที่เสนอให้นิรโทษกรรม เฉพาะการกระทำที่เกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองและการแสดงออกทางการเมือง หลังจากที่ผ่านการเห็นชอบรับหลักการของสภาฯ ในวาระที่ 1 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2556 แล้ว ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาก่อนเข้าสู่สภาในวาระ 2 และ 3 และคณะกรรมาธิการฯ เสียงข้างมากได้มีมติเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2556 ให้เปลี่ยนไปใช้ร่างใหม่ของนายประยุทธ ศิริพานิช รองประธานคณะกรรมาธิการฯ ที่เรียกกันว่า “ ฉบับเหมาเข่ง สุดซอย” แทน เนื่องจากได้ขยายให้นิรโทษกรรมรวมไปถึงคดีทุจริตย้อนหลังไปถึงปี 2547 ที่ถูกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.) ที่จัดตั้งขึ้นหลังรัฐประหาร 2549 กล่าวหา บางคดีได้รับการพิพากษาตัดสินไปแล้ว และอีกหลายคดี ป.ป.ช. ได้ชี้มูลความผิดแล้วและกำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินคดี
มาตรา 3 ของร่าง พ.ร.บ. ฉบับสุดซอยเหมาเข่งเขียนเอาไว้ว่า “การให้การกระทำทั้งหลายของบุคคลหรือประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง หรือที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นหลังการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ถึงวันที่ 6 สิงหาคม 2556 ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ ให้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง”
Cr.
https://fpps.or.th/news.php?detail=n1390206535.news
ย้อนตำนานรัฐสภา กฏหมายนิรโทษกรรมสุดซอย เรียกประชุมด่วนนัดพิเศษในวันที่ 31 ตุลาคม 2556
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2556 นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้มีหนังสือเรียกประชุมด่วนนัดพิเศษในวันที่ 31 ตุลาคม 2556 เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. …. ในวาระที่ 2 ในมาตรา 2 และ 3
ในวันที่ 31 ที่สภาฯ ได้เริ่มประชุม และหลังจากที่มีการอภิปรายกันอย่างยาวนานกว่า 19 ชั่วโมง ประธานสภาฯ ได้สั่งให้ลงมติในวาระที่ 2 และ 3 ติดต่อกัน และในการลงคะแนนวาระที่ 3 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติเห็นชอบด้วยคะแนน 310 ต่อ 0 งดออกเสียง 4 จึงมีผลให้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรเมื่อเวลา 04.25 น. ทำให้เข้าสู่ขั้นตอนของวุฒิสภาต่อไป
ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ได้รับการต่อต้านจากภาคประชาสังคมอย่างกว้างขวางเนื่องจากความไม่ชัดเจนและมีการสับขาหลอกที่เริ่มต้นจากร่างของนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ ที่เสนอให้นิรโทษกรรม เฉพาะการกระทำที่เกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองและการแสดงออกทางการเมือง หลังจากที่ผ่านการเห็นชอบรับหลักการของสภาฯ ในวาระที่ 1 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2556 แล้ว ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาก่อนเข้าสู่สภาในวาระ 2 และ 3 และคณะกรรมาธิการฯ เสียงข้างมากได้มีมติเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2556 ให้เปลี่ยนไปใช้ร่างใหม่ของนายประยุทธ ศิริพานิช รองประธานคณะกรรมาธิการฯ ที่เรียกกันว่า “ ฉบับเหมาเข่ง สุดซอย” แทน เนื่องจากได้ขยายให้นิรโทษกรรมรวมไปถึงคดีทุจริตย้อนหลังไปถึงปี 2547 ที่ถูกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.) ที่จัดตั้งขึ้นหลังรัฐประหาร 2549 กล่าวหา บางคดีได้รับการพิพากษาตัดสินไปแล้ว และอีกหลายคดี ป.ป.ช. ได้ชี้มูลความผิดแล้วและกำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินคดี
มาตรา 3 ของร่าง พ.ร.บ. ฉบับสุดซอยเหมาเข่งเขียนเอาไว้ว่า “การให้การกระทำทั้งหลายของบุคคลหรือประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง หรือที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นหลังการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ถึงวันที่ 6 สิงหาคม 2556 ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ ให้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง”
Cr. https://fpps.or.th/news.php?detail=n1390206535.news