ทำไมมุมมองด้านความเก่าแก่ของระยะเวลาในประวัติศาสตร์แต่ละประเทศจึงไม่เหมือนกันหรือครับ

เนื่องจากเท่าที่ดูประวัติศาสตร์หลาย ๆ ประเทศมา มักมีมุมองมองด้านความเก่าแก่ของระยะเวลาในประวัติศาสตร์ไม่ค่อยเหมือนกัน อย่างเช่น

1.ในไทยมักมองว่าช่วงยุคร.4-5 มันดูเก่าแก่มาก ในขณะที่คนยุโรปกลับมองช่วงยุคเดียวกันนี้ว่าเป็นยุคอุตสาหกรรม สตีมพังก์ ซึ่งฟังดูไม่โบราณเลย

2.ในไทยมักมองว่ายุคธนบุรีสมัยพระเจ้าตากเก่าแก่จัด แต่กลับมองประเทศอเมริกาตอนเริ่มก่อตั้งในช่วงใกล้เคียงกันว่ามันดูใหม่สุด ๆ

3.ส่วนในอเมริกาเองมองว่าบ้านผีสิงหลักร้อยกว่าปี(ยุควิคตอเรีย)มันเก่าแก่และนานมาก แต่สำหรับยุโรปกลับมองสถาปัตยกรรมในยุคนั้นว่ามันใหม่เอี่ยมไม่โบราณเท่าไหร่เลย

4.หรือในญี่ปุ่นมักมองว่ายุคเอโดะของตัวเองเก่าแก่มาก ทั้งวิถีบูชิโด ซามูไร โชกุน แต่พอไปยังฝั่งยุโรปในช่วงเดียวกันมักมองว่าเป็นยุคของนักวิทยาศาสตร์อย่างนิวตัน,กาลิเลโอ,เบนจามิน แฟรงคลินซึ่งมันยิ่งฟังดูไม่โบราณเข้าไปใหญ่

5.ในประเทศจีนมองว่าวรรณกรรมที่แต่งในยุคราชวงศ์ชิงมันไม่เก่าแก่เท่าไหร่ แต่ถ้าเทียบกับไทยในยุคนั้นก็เป็นช่วงยุคพระนารายณ์มหาราชซึ่งคนไทยมองว่าเก่าแก่สุด ๆ

ซึ่งจากตัวอย่างที่ว่ามา หรือในกรณีอื่น ๆ ที่ผมยังไม่ได้ใส่กระทู้ก็ทำให้รู้สึกสงสัยว่าทำไมมุมมองด้านความเก่าแก่ของระยะเวลาในประวัติศาสตร์แต่ละประเทศจึงไม่เหมือนกันหรือครับ และระยะเวลาที่เริ่มสร้างอารยธรรมมีผลต่อมุมมองด้านความเก่าแก่ของคนในประเทศมากไหมครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่