มีท่านสมาชิกผู้เป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตาในกระทู้อากาศท่านนึง ได้มาขอให้ลองเขียนอธิบายถึงธรรมชาติของลมหนาวภาคเหนือไทย
ผ่านมาเกือบเดือน ไม่ได้ลงมือเขียนเสียทีจนตอนนี้สิ้นเดือนเสียแล้ว เดินทางมากันจนปลายฤดูหนาวจนได้ ก็ต้องขออภัยก่อนด้วยละกันครับ ที่ผิดสัญญาไว้เสียนาน
ทั้งที้ทั้งนั้น เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา มาดูกันดีกว่าครับว่า ภาคเหนือบ้านเรา จะหนาวได้จากอะไรบ้าง
ก่อนอื่นมาดูสภาพกายภาพของภาคเหนือก่อน
2 ภาพบนนี้ยืมมาจากสไลด์วิชาภูมิศาสตร์ป. 5 ของอักษรเจริญทัศน์ แหมสมัยนี้เด็กๆมีภาพประกอบช่วยเรียนสวยงาม แถมทำออกมาชัดเจนดีจัง
จะเห็นได้ชัดเลยนะครับว่า เมืองหลักของภาคเหนือจะตั้งมันอยู่กลางแอ่ง (ซึ่งก็เป็นธรรมดาอยู่แล้ว เพราะกลางแอ่งเป็นจุดรวมของแม่น้ำ ลำห้วย) โดยมีเขาสูงขนาบข้าง 2 ด้านวางตัวแนวเหนือใต้ โดยของเชียงใหม่ดูจะขอบ"กะทะ"ก้นลึกที่สุดแล้วล่ะครับ เทียบกับ แม่ฮ่องสอน น่าน เชียงราย
และเนื่องด้วยสภาพภูมิประเทศที่"เด่นชัด"ที่สุดในภาคเหนือของเชียงใหม่ หลังจากนี้จะขออนุญาตยกเมืองนี้เป็นตัวแทนของลักษณะอากาศฤดูหนาวแบบ”พื้นราบ”ภาคเหนือละกันครับ
เกริ่นกันมาถึงสภาพภูมิประเทศแล้ว มาพูดถึงตัวการสำคัญที่จะพาความหนาวมา ซึ่งก็คือ"ลมหนาว"นั่นเองครับ
ดังที่ทราบกันดี ลมหนาว ที่จะมาหาไทยเราได้โดยส่วนมากก็ต้องเป็นลมหนาวตะวันออกเฉียงเหนือจากจีนเสียส่วนใหญ่ ซึ่งก็ถือเป็นลมหนาวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในบรรดาลมหนาวทั้งหมด (น่าจะเพราะมันเป็นลมหนาวประเภทเดียวที่ทำให้กทม.เย็นได้ หนาวทีคนกทม.เยอะกว่า เสียงก็ต้องตื่นเต้นดังกว่าชาวบ้านที่อื่นๆเป็นธรรมดา)
ลมหนาวประเภทที่สองที่ชาวเหนือน่าจะคุ้นเคยดี ก็คือ ลมตะวันตก ที่หลังๆมาได้รับการชื่นชมอยู่บ่อยๆว่านี่แหละ ลมที่ทำให้ชาวเหนือหนาวได้จริงๆ ลมอื่นๆมันมาก็ปิดกะปรอย แถมไม่ทำให้หนาวด้วยซ้ำ
เอ แล้วที่เขียนมายังงี้ ลมหนาวที่มาภาคเหนือมันแบ่งละเอียดพอจะนำไปตอบได้แล้วรึยัง ว่าลมไหน คือ ลมที่ทำให้เหนือหนาวตัวจริง ???
ส่วนตัวผมแล้ว อยากจะแยกลมหนาวสำหรับภาคเหนือให้เป็น 3 ประเภทตามแหล่งที่มาครับ
คือ
1.มวลลมตะวันออกเฉียงเหนือ ลมหนาวชื่อดังที่มาจากจีนทาง ฮ่องกง เวียดนาม เป็นลมเนื่องจากความกดอากาศสูงที่มักมีถิ่นกำเนิดจากจีนด้านทิศเหนือของที่ราบสูงทิเบต หรือไม่ก็ไซบีเรียโน่นเลย และก็ด้วยความที่เป็นมวลอากาศเย็นที่มาจากการสะสมตัวของอากาศเย็นนิ่งๆจนกดให้อากาศมันจมตัว จึงเรียกความกดอากาศสูงประเภทนี้ว่า ความกดอากาศสูงแกนเย็น หรือบางที่ก็เรียกความกดอากาศสูงทรงเตี้ย เพราะความเย็นมันเกาะอยู่เตี้ยๆแถวพื้นเท่านั้น (ถึงอย่างนั้นที่เรียกว่าเตี้ย นี่ก็ 2000 ม.ได้อยู่)
2.มวลลมเหนือ ลมนี้ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยรู้สึกต่างกับลมประเภท 1 เท่าไหร่เพราะทางปฏิบัติ สามารถไหลมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือได้อยู่ดี อ่าว แล้วงี้มาแยกให้มันวุ่นวายทำไม(วะ) คุณผู้อ่านอาจจะกำลังคิดอย่างนี้อยู่ แต่ส่วนตัวแล้วมีเหตุผลที่อยากให้แยกครับ ซึ่งสาเหตุก็คือ ลมนี้มีที่มา แหล่งกำเนิดต่างจากลมตะวันออกเฉียงเหนือแท้ๆอยู่ คือ ถิ่นกำเนิดมันอยู่บนที่ราบสูงทิเบตนี่เองครับ ไม่ใช่จีนเหนือ หรือไซบีเรีย และด้วยความที่เป็นลมความกดอากาศสูงเช่นเดียวกับประเภทแรก แต่สาเหตุการเกิดต่างกัน จึงส่งผลให้มันได้รับชื่อว่า ความกดอากาศสูงแกนร้อน หรือไม่ก็ความกดอากาศสูงทรงสูง
แล้วลักษณะของมันต่างกับความกดอากาศสูงแกนเย็นอย่างไร ? ก็ตามชื่อครับความกดอากาศสูงประเภทนี้จะไม่หนาวเท่าประเภทแรก (แต่ถ้าเกณฑ์คนไทย มันก็หนาวอยู่ดีนั่นแหละ) เพราะงั้นเวลามันจะไหล ถ้าไม่ไหลมาตรงๆลงจากทิเบตเข้าภาคเหนือมันตรงๆเลย (เพราะทรงสูง เขาภาคเหนือบ้านเราจิ๊บจ๊อยมาก) ก็จะกระจาย (propagate) ไปทางตะวันออกแถวจีน (ซึ่งก็จะทำให้ช่วงนั้นของจีนอุ่นขึ้นมาได้พอควร) แล้วค่อยไหลเข้ามาทางอีสานตามเสตปท่ามาตรฐาน
เรื่องประเภทของความกดอากาศสูง ผมเคยเขียนละเอียดกว่านี้ไว้แล้วในกระทู้ที่แนบลิงก์ด้านล่าง ท่านที่สนใจลองไปอ่านได้ครับ
https://ppantip.com/topic/41732616/comment16
3.ลมตะวันตก (โปรดสังเกตว่า ลมตะวันตกไม่ใช่"มวล" ซึ่งก็เพราะว่าลมประเภทนี้ไม่ใช่ลมที่พามวลอากาศมาเป็นก้อนๆ แต่เป็นแนวลำลมที่ไม่ใหญ่มากนัก (ไม่ถึงพื้นดิน) ที่มักจะเป็นผลเนื่องจากกระแสลมกรดที่พาลมหนาวเข้ามาหาภาคเหนือพอดี ดังที่กล่าวไปก่อนหน้า ด้วยความที่ลมนี้ไม่ใช่มวล และเป็นผลมาจากลมกรดกึ่งเขตร้อน เพราะงั้นโดยส่วนมาก มันก็จะเป็นลมระดับสูงตั้งแต่ 2000 m หรือส่วนใหญ่ก็ 3000 m ขึ้นไปครับ
เขียนมายังงี้หลายท่านอาจจะรู้สึกว่า เอ แล้วมันจำเป็นต้องดูกันละเอียดกว่าเดิมด้วยหรอ เจ้าลมหนาวเนี่ย ซึ่งผมก็ต้องยืนยันครับว่าถ้าไม่แยกกันละเอียดกว่าเดิม จะไม่มีทางตอบได้เลยครับ ว่าทำไมปีนี้ลมหนาวตะวันออกเฉียงเหนือถึงไม่ค่อยทำให้เชียงใหม่ หรือภาคเหนือโดยรวมหนาวเท่าไหร่เลย
แยกประเภทจากต้นกำเนิดลมหนาวกันแล้ว มาดูกันจริงๆมั่งดีกว่าว่าลมหนาวพวกนี้มันไหลเข้ามาหาภาคเหนือจากทิศอะไรได้บ้าง และมีลักษณะกันอย่างไรครับ
ผมแยกทิศที่มาของลมเหนือออกเป็น 5 ทิศ และใช้แต่ละสีบอกถึงอุณหภูมิค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่ที่ลมจากทิศนั้นๆจะพามาด้วย โดยให้ม่วงหนาวสุด ไล่ตามสีรุ้งไปจนเหลือง คือ ได้แค่เย็นๆ
มาเริ่มกันด้วยหมายเลข 1
ลมหนาวจากทิศหมายเลข 1 นี้ คือลมหนาวที่มีศักยภาพหนาวได้มากที่สุด เพราะแปลว่าลมนี้พุ่งตรงจากจีนเข้าภาคเหนือเลย ไม่ผ่านความร้อนจากทะเลแถวทะเลจีนใต้แน่ๆ รอบที่หนาวระดับตำนานของภาคเหนือคือลมประเภทนี้ทั้งสิ้นครับ (หรือถ้าจะลุ้นให้หนาวระดับตำนาน ก็ต้องรอให้ลมหนาวประเภทนี้มาครับ)
หนาวระดับโคตรตำนาน คริสต์มาส ปี 16 แนวเส้นขาวๆคือ แนวลมที่ความสูง 850 hPa จะเห็นได้ว่ามันไหลตรงจากจีน ผ่านฮานอยมาเหนือเลย
รูปบน สถิติเดือนธันวา ของ เชียงใหม่ รูปล่างของขอนแก่น หนาวกันสุดยอดไปเลยนะครับ ปีนั้น โปรดสังเกตว่าวันที่ 24 ที่ความกดอากาศสูงเริ่มขึ้นอีกครั้ง ทั้ง เชียงใหม่ และขอนแก่น ค่าความกดอากาศขึ้นพร้อมกัน ส่วนอุณหภูมิก็เริ่มลงพร้อมๆกันเช่นกัน จนช่วงพีคเชียงใหม่ลงไปได้มากกว่าขอนแก่นเสียอีก
อันนี้คริสต์มาส 42 ปีที่มีลมหนาวระลอกที่หนาวที่สุดตั้งแต่กรมอุตุฯเคยจดมา หลายท่านคงจำกันได้อยู่แล้ว เพราะงั้นไม่ต้องมีสถิติอะไรมาประกอบเพิ่มเติม จากภาพบนก็เช่นเคยลมหนาวมาจากจีน แล้วพุ่งเข้าเหนือเลย
ประเภทนี้รอบที่เร็วๆที่สุดก็คงเป็นปี 60 ที่หนาวๆกัน และก็เช่นเดิม ลมหนาวพุ่งตรงจากจีนเข้าเหนือเลย
ต่อไปมาดูทิศหมายเลข 2 กันบ้าง ทิศนี้เป็นลมเหนือที่พบได้บ่อยที่สุด ก็คือหนาวตามมาตรฐาน (รอบปัจจุบันวันนี้ก็ใช่) คล้ายกับหมายเลข 1 แต่ทิศการแผ่ของความกดอากาศสูงเบ้ตกทะเลมากกว่าเดิมทำให้หนาวได้ไม่เท่าทิศ 1 แม้ลมหนาวต้นทางจะหนาวมากก็ตาม ตัวอย่างชัดๆ ก็แผนที่ลมรูปล่างเลยครับ
ดังที่เห็น แนวลมคล้ายทิศหมายเลข 1 มากต่างก็แต่ ลมมันมาทางตะวันออกมากกว่าเดิม เพราะงั้นลมหนาวไม่ได้มาตรงจากจีนขนาดนั้น อาจผ่านน้ำผ่านทะเลที่อุ่นๆมาบ้าง อย่างของภาพบน คือรูปปีที่แล้ว รอบดังกล่าวเชียงใหม่ลงไปได้ถึง 14 องศา เย็นไหมก็คงใช่ แต่ไม่ใช่หนาวพิเศษแน่ๆ
มาต่อกันที่ทิศหมายเลข 3 ทิศสุดท้ายของมวลลมตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศนี้คือเนื่องจากภาคเหนือแทนที่จะได้ลมหนาวตรงๆแรงๆกลับได้หางมันมาเสียมากกว่า ซึ่งก็มาจากความกดอากาศสูงมันเบ้ ตกทะเลจีนใต้ไปเยอะ พอลมหนาวมันจะเข้ามา มันก็ไต่เลี่ยไอโซบาร์โค้งๆกลายเป็นลมหนาวมาจากทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เสียงั้น
ผลก็คือ ความหนาวของตัวลมเองก็ไม่ค่อยเท่าไหร่ ความแรงลมก็สู้จากทิศ 1 หรือ 2 ไม่ได้เพราะเป็นหางความกดอากาศสูงแล้ว สรุปเป็นทิศที่ไม่เย็นที่สุดนั่นเอง
รอบปลายปีทั้งๆที่ควากดอากาศค่อนข้างแรงมาก แต่จะเห็นได้ว่าลมหนาวมันอ้อมแล้ววกขึ้นมา และถ้าไล่ดูเส้นสีขาวที่ลากผ่านเชียงใหม่ จะเห็นได้ว่าเป็นที่มาจากไหหลำ จึงไม่มีทางที่ตัวลมเองจะเย็นได้มากเท่าไหร่อยู่แล้ว เพราะผ่านทะเลมา
กระนั้นนี่ก็เป็นเพียงสาเหตุ 1 ที่ทำให้ปลายปีที่ผ่านมาภาคเหนือยังไม่หนาวเท่าที่ควร เพราะแค่ลมหนาวไหลมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้แทน ถ้าไม่มีอะไรมากวนมัน ยังไงก็ควรต้องหนาวลงได้มากกว่านี้ แต่ผลปรากฏว่า เดือนที่แล้วภาคเหนืออุณหภูมิตอนเช้าสูงเกือบอันดับต้นๆเลย (ทั้งๆที่ลมหนาวลงมาถี่ขนาดนี้)
มีปัจจัยอะไรที่ทำให้เป็นเช่นนั้น, ทำไมลมหนาวปีนี้ส่วนใหญ่มันชอบเบ้ไปทางตะวันออก ไม่พุ่งเข้าเหนือ หรือไทยตรงๆ?, ทำไมหนาวรอบวัน 2 วันนี้ถึงหนาวได้ค่อนข้างมาก ? ลมกรดเขตร้อนเกี่ยวข้องอย่างไรกับเรื่องนี้ ? อัฟกานิสถานเกี่ยวข้องอะไรกับอากาศภาคเหนือ ?
ยังมีต่ออีกพอสมควรครับ แต่ตอนนี้ไม่มีเวลาเขียนแล้ว เพราะงั้น เดี๋ยวจะมาต่อให้วันหลัง ต้องขออภัยด้วยครับ แต่ที่แน่ๆคำถามที่เกริ่นๆไว้ให้ด้านบนจะมาตอบให้หมดแน่นอนครับ
[ขออนุญาต แก้คำผิดนิดนึงครับ ก่อนหน้าพิมพ์เร็วเกิน คืนนี้จะมาต่อให้ครับ]
ลักษณะอากาศหนาวของภาคเหนือไทย
ผ่านมาเกือบเดือน ไม่ได้ลงมือเขียนเสียทีจนตอนนี้สิ้นเดือนเสียแล้ว เดินทางมากันจนปลายฤดูหนาวจนได้ ก็ต้องขออภัยก่อนด้วยละกันครับ ที่ผิดสัญญาไว้เสียนาน
ทั้งที้ทั้งนั้น เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา มาดูกันดีกว่าครับว่า ภาคเหนือบ้านเรา จะหนาวได้จากอะไรบ้าง
ก่อนอื่นมาดูสภาพกายภาพของภาคเหนือก่อน
https://ppantip.com/topic/41732616/comment16
3.ลมตะวันตก (โปรดสังเกตว่า ลมตะวันตกไม่ใช่"มวล" ซึ่งก็เพราะว่าลมประเภทนี้ไม่ใช่ลมที่พามวลอากาศมาเป็นก้อนๆ แต่เป็นแนวลำลมที่ไม่ใหญ่มากนัก (ไม่ถึงพื้นดิน) ที่มักจะเป็นผลเนื่องจากกระแสลมกรดที่พาลมหนาวเข้ามาหาภาคเหนือพอดี ดังที่กล่าวไปก่อนหน้า ด้วยความที่ลมนี้ไม่ใช่มวล และเป็นผลมาจากลมกรดกึ่งเขตร้อน เพราะงั้นโดยส่วนมาก มันก็จะเป็นลมระดับสูงตั้งแต่ 2000 m หรือส่วนใหญ่ก็ 3000 m ขึ้นไปครับ
เขียนมายังงี้หลายท่านอาจจะรู้สึกว่า เอ แล้วมันจำเป็นต้องดูกันละเอียดกว่าเดิมด้วยหรอ เจ้าลมหนาวเนี่ย ซึ่งผมก็ต้องยืนยันครับว่าถ้าไม่แยกกันละเอียดกว่าเดิม จะไม่มีทางตอบได้เลยครับ ว่าทำไมปีนี้ลมหนาวตะวันออกเฉียงเหนือถึงไม่ค่อยทำให้เชียงใหม่ หรือภาคเหนือโดยรวมหนาวเท่าไหร่เลย
แยกประเภทจากต้นกำเนิดลมหนาวกันแล้ว มาดูกันจริงๆมั่งดีกว่าว่าลมหนาวพวกนี้มันไหลเข้ามาหาภาคเหนือจากทิศอะไรได้บ้าง และมีลักษณะกันอย่างไรครับ
[ขออนุญาต แก้คำผิดนิดนึงครับ ก่อนหน้าพิมพ์เร็วเกิน คืนนี้จะมาต่อให้ครับ]