สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
มาดูรายละเอียดกันครับ
ว่า Computer ที่ใช้ควบคุมยาน Apollo 11
เป็น Computer แบบใด specs อย่างไร
Computer ที่ใช้ควบคุมระบบของยาน Apollo 11
เรียกว่า Apollo Guidance Computer (AGC) หน้าตาแบบนี้ครับ
Computer เครื่องนี้ไม่มี CPU แบบ Intel AMD
และไม่มี MCU แบบ Arduino Rasberry PI
(เพราะเทคโนโลยียุคนั้นยังไปไม่ถึง)
ดังนั้น Hardware ของ AGC จะเป็น IC ล้วน ๆ
และเป็น IC ที่ไม่ซับซ้อนเลย มันเป็น IC แบบ Logic gates ต่าง ๆ
ขนาด 6 ขา ประมาณ 4,000 ตัวมาประกอบกัน
(คิดเป็นจำนวน Transistor ก็ประมาณ 12,000 ตัว)
เป็นหน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
ส่วน Memory (RAM) จะไม่ได้เป็น chips RAM
แต่เป็นหน่วยความจำที่ใช้ขดลวด + วงแม่เหล็ก
เรียกว่า Magnetic-core memory
ที่ใช้ในยาน Apollo 11 เป็นขนาด 2,048 Words
เทียบเป็น Byte ได้ 4 KB .... เทียบ RAM Smartphone
รุ่นปัจจุบัน 3 GB ของ Apollo น้อยกว่า 750,000 เท่า !!
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/d/da/KL_CoreMemory.jpg
ตัว HDD ก็ไม่มีครับ จะใช้เป็น ROM
แต่ก็มิใช่ ROM ที่เป็น chips แบบใน PC , Smartphone
แต่เป็น Core rope memory ขนาดความจุ 36,864 words
เทียบเท่า 72 KB เทียบกับ ROM ของ Smartphone 128 GB
ของ Apollo จะน้อยกว่าถึง 1.78 ล้านเท่า
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/4/4c/Apollo_guidiance_computer_ferrit_core_memory.jpg
ภาพของ AGC จะเห็นว่าพื้นที่ครึ่งหนึ่ง
จะเป็น Magnetic-core memory และ Core rope memory
ส่วนในกล่อง 4 กล่อง คือ ICs จำนวน 4,000 ตัว
Software จะใช้ภาษา Assembly เขียนลงไปใน Core rope memory
และ Hardware ทั้งหมดที่กล่าวไปถูกควบคุม (Run)
โดย Clock ความถี่ 2 MHz
ว่า Computer ที่ใช้ควบคุมยาน Apollo 11
เป็น Computer แบบใด specs อย่างไร
Computer ที่ใช้ควบคุมระบบของยาน Apollo 11
เรียกว่า Apollo Guidance Computer (AGC) หน้าตาแบบนี้ครับ
Computer เครื่องนี้ไม่มี CPU แบบ Intel AMD
และไม่มี MCU แบบ Arduino Rasberry PI
(เพราะเทคโนโลยียุคนั้นยังไปไม่ถึง)
ดังนั้น Hardware ของ AGC จะเป็น IC ล้วน ๆ
และเป็น IC ที่ไม่ซับซ้อนเลย มันเป็น IC แบบ Logic gates ต่าง ๆ
ขนาด 6 ขา ประมาณ 4,000 ตัวมาประกอบกัน
(คิดเป็นจำนวน Transistor ก็ประมาณ 12,000 ตัว)
เป็นหน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
ส่วน Memory (RAM) จะไม่ได้เป็น chips RAM
แต่เป็นหน่วยความจำที่ใช้ขดลวด + วงแม่เหล็ก
เรียกว่า Magnetic-core memory
ที่ใช้ในยาน Apollo 11 เป็นขนาด 2,048 Words
เทียบเป็น Byte ได้ 4 KB .... เทียบ RAM Smartphone
รุ่นปัจจุบัน 3 GB ของ Apollo น้อยกว่า 750,000 เท่า !!
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/d/da/KL_CoreMemory.jpg
ตัว HDD ก็ไม่มีครับ จะใช้เป็น ROM
แต่ก็มิใช่ ROM ที่เป็น chips แบบใน PC , Smartphone
แต่เป็น Core rope memory ขนาดความจุ 36,864 words
เทียบเท่า 72 KB เทียบกับ ROM ของ Smartphone 128 GB
ของ Apollo จะน้อยกว่าถึง 1.78 ล้านเท่า
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/4/4c/Apollo_guidiance_computer_ferrit_core_memory.jpg
ภาพของ AGC จะเห็นว่าพื้นที่ครึ่งหนึ่ง
จะเป็น Magnetic-core memory และ Core rope memory
ส่วนในกล่อง 4 กล่อง คือ ICs จำนวน 4,000 ตัว
Software จะใช้ภาษา Assembly เขียนลงไปใน Core rope memory
และ Hardware ทั้งหมดที่กล่าวไปถูกควบคุม (Run)
โดย Clock ความถี่ 2 MHz
ความคิดเห็นที่ 3
1969 = 2512
องค์ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ยังอยู่ในวงแคบๆ ยังไม่ใช่ยุคแข่งขันด้านคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำ สมัยนั้นคอมใหญ่เท่าห้อง คิดแล้วยังมหัศจรรย์อยู่เลยที่อเมริกาและรัสเซียสามารถไปอวกาศได้ในยุคนั้น เพราะมันยากลำบากมากๆ แถมองค์ความรู้ยังแคบมากๆ ย้อนมองกลับไปคือสุดยอดมากๆ คิดถึงหนัง hidden figure ที่ต้องใช้คนคำนวนวิถีของยานด้วยมือกับกระดาษ ยังไม่มีคอมคำนวนด้วยซ้ำ ถือเป็นก้าวสำคัญของประวัติศาสตร์โลกยุคใหม่ วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีหลายๆอย่างก็มาจากจุดนี้
ความรู้อย่างเดียวไม่พอ ต้องอาศัยแรงพลักดัน ความทะเยอทะยาน คิดดูว่าคอมยุคนั้นแทบทำไรไม่ได้ (มองในมุมคนยุคปัจจุบัน) แต่ในเวลานั้นมันคือสิ่งมหัศจรรย์ แต่คนที่สร้างยานและคำนวนเรื่องต่างๆนี่ซิสุดยอดยิ่งกว่าคอมพิวเตอร์
องค์ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ยังอยู่ในวงแคบๆ ยังไม่ใช่ยุคแข่งขันด้านคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำ สมัยนั้นคอมใหญ่เท่าห้อง คิดแล้วยังมหัศจรรย์อยู่เลยที่อเมริกาและรัสเซียสามารถไปอวกาศได้ในยุคนั้น เพราะมันยากลำบากมากๆ แถมองค์ความรู้ยังแคบมากๆ ย้อนมองกลับไปคือสุดยอดมากๆ คิดถึงหนัง hidden figure ที่ต้องใช้คนคำนวนวิถีของยานด้วยมือกับกระดาษ ยังไม่มีคอมคำนวนด้วยซ้ำ ถือเป็นก้าวสำคัญของประวัติศาสตร์โลกยุคใหม่ วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีหลายๆอย่างก็มาจากจุดนี้
ความรู้อย่างเดียวไม่พอ ต้องอาศัยแรงพลักดัน ความทะเยอทะยาน คิดดูว่าคอมยุคนั้นแทบทำไรไม่ได้ (มองในมุมคนยุคปัจจุบัน) แต่ในเวลานั้นมันคือสิ่งมหัศจรรย์ แต่คนที่สร้างยานและคำนวนเรื่องต่างๆนี่ซิสุดยอดยิ่งกว่าคอมพิวเตอร์
แสดงความคิดเห็น
คอมพิวเตอร์ ปี 1969 สมัยไปดวงจันทร์ NASA Spec ต่ำกว่า Smartphone สมัยนี้เหรอคับ..