ในการดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการจะดำเนินการออกเอกสารทางการเงินเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินธุรกรรมตามมาตรฐานทางบัญชี และใช้เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารประกอบการแสดงภาษี ซึ่งที่ผ่านมาจะให้วิธีการออกเอกสารกระดาษ ซึ่งมีทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ, สิ้นเปลืองทรัพยากรในการผลิตกระดาษ, ใช้กำลังคนในแผนกบัญชีมาก และยังสิ้นเปลืองพื้นที่และค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บเอกสาร
ภายใต้ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัล นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชามีวิสัยทัศน์ ไทยแลนด์ 4.0 และ นโยบาย National e-Payment ผลักดันการปฏิรูประบบราชการให้เป็นระบบรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) ซึ่งกรมสรรพากรขานรับนโยบายนี้ และจัดทำระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น
ภายใต้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ “ช้อปดีมีคืน 2566” ที่ผ่านมา รัฐบาลให้สิทธิประชาชนที่ใช้จ่ายในช่วง 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ เก็บใบกำกับภาษีเพื่อใช้ในการลดหย่อนภาษีประจำปี 2566 ได้ถึง 3 หมื่นบาท และเพิ่มเติมอีก 1 หมื่นบาทสำหรับผู้ขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ซึ่งประชาชนได้รับความสะดวกจากการเก็บใบกำกับภาษีในอีเมลของตนโดยไม่ต้องกังวลการทำเอกสารสูญหาย
และเพื่อเป็นการกระตุ้นการใช้งานระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น คณะรัฐมนตรีมีมติให้ขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มากขึ้น
มาตรการดังกล่าว จะก่อให้เกิดประโยชน์ใน 4 ทาง
1 ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัล (Digital Transformation)
2 ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนการดำเนินการทางบัญชีลงได้มาก อีกทั้งลดเวลาในการรับ-ส่งเอกสารระหว่างกัน อันเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจให้สูงขึ้น
3 ผู้ประกอบการจะได้รับประโยชน์จากการลดหย่อนการหักภาษี ณ ที่จ่าย ช่วยให้มีกระแสเงินสดในการดำเนินธุรกิจสูงขึ้น
4 ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาใช้ผลิตกระดาษเพื่อการดำเนินธุรกรรมทางบัญชี ลดคาร์บอน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
#eTax #ภาษีอิเล็กทรอนิกส์ #ภาษี #สรรพากร
#DigitalGovernment #DigitalEconomy #รัฐบาลดิจิทัล #เศรษฐกิจดิจิทัล
#ขีดความสามารถในการแข่งขัน #อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
#สร้างไทยไปด้วยกัน #ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
#PMOC #ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี
@@@ รบ.ดิจิตัล ระบบภาษี E-tax @@@
ภายใต้ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัล นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชามีวิสัยทัศน์ ไทยแลนด์ 4.0 และ นโยบาย National e-Payment ผลักดันการปฏิรูประบบราชการให้เป็นระบบรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) ซึ่งกรมสรรพากรขานรับนโยบายนี้ และจัดทำระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น
ภายใต้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ “ช้อปดีมีคืน 2566” ที่ผ่านมา รัฐบาลให้สิทธิประชาชนที่ใช้จ่ายในช่วง 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ เก็บใบกำกับภาษีเพื่อใช้ในการลดหย่อนภาษีประจำปี 2566 ได้ถึง 3 หมื่นบาท และเพิ่มเติมอีก 1 หมื่นบาทสำหรับผู้ขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ซึ่งประชาชนได้รับความสะดวกจากการเก็บใบกำกับภาษีในอีเมลของตนโดยไม่ต้องกังวลการทำเอกสารสูญหาย
และเพื่อเป็นการกระตุ้นการใช้งานระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น คณะรัฐมนตรีมีมติให้ขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มากขึ้น
มาตรการดังกล่าว จะก่อให้เกิดประโยชน์ใน 4 ทาง
1 ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัล (Digital Transformation)
2 ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนการดำเนินการทางบัญชีลงได้มาก อีกทั้งลดเวลาในการรับ-ส่งเอกสารระหว่างกัน อันเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจให้สูงขึ้น
3 ผู้ประกอบการจะได้รับประโยชน์จากการลดหย่อนการหักภาษี ณ ที่จ่าย ช่วยให้มีกระแสเงินสดในการดำเนินธุรกิจสูงขึ้น
4 ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาใช้ผลิตกระดาษเพื่อการดำเนินธุรกรรมทางบัญชี ลดคาร์บอน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
#eTax #ภาษีอิเล็กทรอนิกส์ #ภาษี #สรรพากร
#DigitalGovernment #DigitalEconomy #รัฐบาลดิจิทัล #เศรษฐกิจดิจิทัล
#ขีดความสามารถในการแข่งขัน #อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
#สร้างไทยไปด้วยกัน #ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
#PMOC #ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี