เกือกม้าสำคัญไฉน

.

.
© jess311 via Getty Images
.
.
.


ม้า (Equus caballus)
เป็นปัจจัยหลักในการคมนาคม/การรบ
และการทำเกษตรของคนมานานหลายศตวรรษ
สัญลักษณ์ทรงพลังและความรวดเร็วเหล่านี้
ต้องการการดูแลกีบเท้าและเกือกม้า
ทุก ๆ 4-6 สัปดาห์เพื่อให้ใช้งานได้ตลอดอายุขัย
.
.

.
.

Dr. Fernanda Camargo
สัตวแพทย์และผู้ให้บริการการขยายพันธุ์ม้า
ของมหาวิทยาลัย University of รัฐเคนตักกี้
" เกือกม้าช่วยป้องกันพื้นที่บางส่วนของเท้าม้า
ช่วยป้องกันไม่ให้กีบเท้าสึกหรอมากเกินไป 
และไม่ให้ไวต่อความรู้สึกในการสัมผัสบางพื้นที่

ด้านนอกของกีบเท้าหรือที่เรียกว่าผนัง/กำแพง
จะเป็นวัสดุคล้ายเขาสัตว์ตรงผนังด้านนอก
และมักจะงอกขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จึงต้องตัดแต่งเช่นเดียวกับเล็บของคน
เกือกม้ายังช่วยให้เท้าคงรูปร่างที่เหมาะสม
ตามรายงานของ University of Missouri Extension
.
.

.

.
.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
.
Horses: Domestic, feral and wild 
| Live Science
.
.
.

"  อย่างไรก็ตาม สภาพภูมิประเทศที่ขรุขระ 
เช่น พื้นทราย/เศษหิน แถวทะเลทราย/ภูเขา
อาจทำให้สภาพภายนอกเท้าม้าสึกกร่อน
เผยให้เห็นกีบด้านในที่บอบบางได้
จากนั้นม้าจะเจ็บปวดและอาจเดินไม่ได้

ในอดีต สภาพความบกพร่องดังกล่าว
จะทำให้ม้าไม่สามารถใช้ในสนามรบ
หรือระหว่างการเก็บเกี่ยว/คมนาคมได้
ดังนั้นเกือกม้าจึงถูกเสริมเข้าไป
เพื่อเสริมผนัง/กำแพงกีบเท้า

คาดกันว่าม้าสวมเกือกม้าบางชนิด
ตั้งแต่เริ่มเลี้ยงเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่แล้ว
เดิมเกือกม้าทำจากหนังหรือวัสดุจากพืช
เกือกม้าโลหะที่ตอกติดกับเท้าม้า
เริ่มใช้ครั้งแรกในราว ค.ศ. 500
แล้วกลายเป็นเรื่องธรรมดาในอีก 500 ปีต่อมา
แม้ว่าเกือกม้าทำจากอะลูมิเนียมและเหล็ก
ที่ตอกเข้ากับกีบม้ายังคงเป็นที่นิยมมากที่สุด
วัสดุอื่น ๆ ที่หลากหลาย เช่น ยาง เรซิน พลาสติก
ก็สามารถตอก/ติดกาวที่กีบเป็นเกือกม้าได้

ในขณะที่ม้าจำนวนมากต้องการเกือกม้า
แต่ไม่ใช่ม้าทุกตัวที่ต้องการเกือกม้า
เพราะขึ้นอยู่กับประเภทของการขี่
ภูมิประเทศ และความถี่ในการขี่ม้า
ผู้ที่ขี่ม้าบนพื้นหินหรือพื้นคอนกรีต
มักจะต้องการเกือกม้ามากกว่า

แม้แต่ม้าที่คนไม่ได้ขี่ม้า
ก็อาจจำเป็นต้องใช้เกือกม้า
เพื่อป้องกันพวกมันจากภูมิประเทศ
สำหรับการรักษา/จัดการกับสภาพเท้าม้า

แต่ม้าจำนวนมากที่คนแค่ขี่ไปโน่นมานี่
แล้วถูกเลี้ยงไว้บนพื้นหญ้า/พื้นที่ไม่แข็ง
จะทำงานได้ดีโดยไม่ต้องสวมเกือกม้า
ถ้าไปเยี่ยมชมฟาร์มม้าจะเห็นเป็นประจำ
.
.
.

.

.
.


ในขณะเดียวกัน ม้าป่ามัสแตง Mustangs
(รถยนต์ฟอร์ดรุ่นมัสแตง ก็ขึ้นชื่อลือชามาก)
ม้าป่าไม่มีเกือกม้า/เดินทางบนพื้นที่ขรุขระได้
เพราะพวกมันมีเท้าที่แข็งแรงมาก
แต่กีบเท้าก็ยังทรุดโทรมและพิการได้
เพราะถ้าหากเกิดสิ่งนี้เกิดขึ้น
มันจะทำให้ม้าป่าต้องเสียชีวิต
.
.

ม้าที่ลุกขึ้นยืนไม่ได้มักจะตาย
หรือต้องทำการุณยฆาต
เพราะค่าดูแลรักษาแพงมาก
เคยเป็นกระทู้ดราม่าเก่าใน Pantip

ทำไมม้าขาหักจึงต้องยิงทิ้ง

หลายคนบ่นว่าหมอม้าโหดร้ายทารุณ
ทำไมไม่รักษา ทำไมไม่เยียวยา

เหตุผลก็คือ

1. กระดูกที่ขาม้ามีจำนวนมาก และบาง
เวลาหักจะหักแบบแตกกระจาย
ดังนั้นการจะดามหรือซ่อมแซม
จึงทำได้ยาก หายช้ามาก

2. ผิวที่คลุมกระดูกที่ขาม้ามีขนาดบางมาก
ดังนั้นเวลากระดูกหักก็จะฉีกขาดง่าย
และมักจะบาดเจ็บจนกระดูกงอกกลับมาลำบาก

3. ระหว่างที่กระดูกยังงอกไม่สมบูรณ์
ม้าจะเจ็บมากๆ

4. ม้าเป็นสัตว์ที่ยืนสี่เท้า ถ้ายืนสามเท้า
ขาที่เหลือจะรับน้ำหนักเกิน ทรมานและตายเร็ว

5. ถ้าจับม้านอน ระบบไหลเวียนเลือดจะเสีย
เกิดแผลกดทับ มักจะตายจากโรคติดเชื้อ
แผลกดทับ ปอดอักเสบ

โอกาสที่จะฟื้นหรือรอดจากขาหัก
ขึ้นกับลักษณะที่หัก ถ้าหักแบบเยียวยาไม่ได้
เจ้าของคงต้องตัดสินใจว่า
จะให้มันตายช้าๆอย่างทรมาน
หรือจะจัดการแต่แรกไป
ถ้าเก็บไว้ อาจจะรอด แต่โอกาสน้อยมาก

ที่มา ความรู้สนุก ๆ แบบหมอแมว
.
.

บางคนสงสัยว่าการตอกเกือกม้า
ลงบนกีบม้า ทำให้ม้าเจ็บหรือไม่

บริเวณที่ตอกเกือกม้าไม่มีเส้นเลือด
หรือเส้นประสาทที่ผนังกีบ
ตาม University of Missouri Extension
ดังนั้น หากเกือกม้าถูกตอกอย่างถูกต้อง
ม้าก็จะไม่เจ็บปวดแต่อย่างใด

แต่การใส่เกือกม้าที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลเสียได้
หากวางเกือกม้าหรือตอกตะปูผิดทิศทาง
เกือกม้าทึ่มีรูปร่างหรือผิดขนาด
หรือหากช่างตีเหล็กใส่เกือกม้า
ตีผิด/ออกแรงกดผิดตรงพื้นผิวเท้าม้า
อาจทำร้ายม้า ให้ได้รับบาดเจ็บได้
และหากไม่มีการตัดแต่งกีบเท้าให้ดีก่อน
อาจจะนำไปสู่ความเจ็บปวดหรือขาพิการได้
ทั้งที่มีเกือกม้าหรือไม่มีเกือกม้าก็ได้ "
Dr. Fernanda Camargo
เขียนตอบอีเมลกับ Live Science 
.

เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/3kG7j2W

.

.
.

เรื่องเล่าไร้สาระ


ในอดีตรองเท้าหนังมักมีราคาแพง
การตอกเกือกม้าที่รองเท้าจะช่วยรักษา
พื้นรองเท้าให้สึกหรอช้ากว่าปกติได้มาก
และทำให้เวลาเดินบนพื้นแข็งแข็ง/คอนกรีต
จะส่งเสียงดังในระดับหนึ่งได้เช่นกัน

ของเล่นเด็กยุค Analog ในสมัยนั้น คือ
การเดินกระแทกในตอนเข้าแถว/ในห้องเรียน
เพื่อส่งเสียงรบกวนคนอื่นในโรงเรียน

การไถลบนพื้นเรียบด้วยรองเท้าตอกเกือกม้า
ทำให้มีเสียงดังเอี้ยด ๆ กับแข่งขันกันว่า
ใครจะสามารถไถลไปได้ไกลกว่ากัน
.
.

ม้าป่าเวลาผสมพันธุ์โกรธเกรี้ยวพอ ๆ กับแมว
เพราะชอบกัดกระแทกกระทืบม้าตัวเมีย
เพื่อว่าจะได้แม่พันธุ์ที่แข็งแรง/ทนถึกในฝูง
เป็นการคัดเลือกสายพันธุ์ทางอ้อม
ตัวไหนทนไม่ได้ก็บาดเจ็บล้มตายไป
เหมือนกับแมวผสมพันธุ์ในช่วงมีระดู
ดังที่เห็นได้จากการสังเกต

ทำให้แถวบ้านสามีภริยาที่ชอบทะเลาะกัน
แล้วส่งเสียงเงียบหลังจากทะเลาะกัน
พอวันรุ่งขึ้นมักจะมีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
มักจะมีฉายาเรียกกันว่า พี่แมว น้องแมว
.
.

ม้าจะวิ่งได้เร็ว/ช้า ได้ระยะทางใกล้ไกล
ขึ้นกับปัจจัย/เงื่อนไขหลายอย่าง
เช่น สายพันธุ์ อายุ สภาพร่างกาย
การฝึกซ้อม การแข่งขัน และการดูแล

โดยเฉลี่ยในระยะทางสั้น ๆ
ม้าจะวิ่งได้เร็วราว 30 ไมล์(48.3 กม)/ชั่วโมง
ถัาวิ่งแบบควบเร็วจะไม่เกิน 2-3 ไมล์
ถ้าเกินกว่านั้นไม่โทรมก็บักโกรกตาย
วิ่งช้า ๆ ราว 25-30 ไมล์ (40-48 กม.)/1 วัน
ม้าที่วิ่งได้มากกว่า 100 ไมล์ใน 1 วัน
สำหรับม้าที่สุขภาพแข็งแรงดี/ฝึกมาดี
กอปรกับสายพันธุ์ดีส่วนหนึ่ง

ม้าเร็วส่งสาส์นในอดีต/ภาพยนตร์
จึงมักจะมีการผลัดเปลี่ยนม้าเร็ว
ตามสถานี/โรงพักม้าในที่ต่าง ๆ
เพื่อส่งต่อสาส์นไปที่ปลายทาง
.
.

ข้อมูลเพิ่มเติม

ทำความรู้จักกับพันธุ์ม้าในประเทศไทย
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่