เลิกกับแฟนต้องแบ่งแมวกัน

สวัสดีครับ พอดีผมรบกวนถามหน่อยครับ ผมคบกับแฟนมาแล้วเลิกกันมาได้สักพัก ตอนคบกันคือเลี้ยงแมวด้วยกัน 6 ตัว เป็นตัวพ่อ ตัวแม่ ละลูกอีก 4 ตัว แต่คราวนี้เลิกกัน แฟนต้องการจะให้แบ่งกันคนละ 3 ตัว แต่เอาตามจริงผมทำใจไม่ได้ที่ต้องให้น้องแยกกัน เคยลองคุยว่าผมจะเลี้ยงเองทั้งหมด ละให้เค้ามาเยี่ยมได้ แต่เค้าไม่ยอม แล้วต้องการแบ่งไปเลย

ปล. ตอนแรกเค้าก็อยากไปเลี้ยงทั้งหมด แต่ผมทำใจไม่ได้จริงๆ ผมเลยขอไว้ ละทุกวันนี้ผมเลี้ยงเอง 6 ตัวมาคนเดียวเกือบปี โดยที่เค้ายังไปๆมาๆ เพื่อมาช่วยดูแล ตอนผมไม่อยู่ แต่อยู่ดีๆ เค้าก็อยากแบ่งไปเลย เพื่อจะได้ไม่ต้องวุ่นวาย ซึ่งผมต้องแจ้งก่อน ว่าเราทั้งสองคน มีศักยภาพการดูแลน้องทั้งคู่นะครับ คือพยายามทำใจ ว่าทั้ง 3 ตัวที่เค้าเอาไปก็จะไปอยู่สบายเช่นกัน ละก็เค้าบอกให้ผมมาเยี่ยมได้ แต่แฟนเค้าไม่ค่อยต้อนรับ ผมเลยคิดว่าถ้าให้ไปแล้ว ก็คงไม่ได้เจอน้องอีกเลย ตอนนี้ค่อนข้างเศร้ามากจริงๆ

ขอคำแนะนำหน่อยครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
ต้องแบ่งสิ อีกคนเค้าก็รักไม่แพ้คุณอะ ทำไมคิดว่าตัวเองจะทำใจไม่ได้คนเดียวล่ะคะ
ความคิดเห็นที่ 11
ให้ครอบครัวแมวอยู่ด้วยกันน่าจะดีกว่านะครับ

ในทางกฎหมาย แมวถือว่าเป็นทรัพย์สิน
1. ถ้ามีการสมรสกันตามกฎหมาย คือ จดทะเบียนก็ต้องดูว่าพ่อกับแม่แมวนั้นเป็นทรัพย์สินก่อนสมรสหรือได้มาหลังสมรส
ทรัพย์สินก่อนสมรสนั้นไม่ถือเป็น ทรัพย์ที่ต้องแบ่งตอนหย่า ใครเป็นเจ้าของก่อนมาสมรสก็เอาไปได้ทั้งหมด ส่วนลูกแมวถ้าได้มาหลังสมรส ถือว่าเป็นดอกผลของทรัพย์สินส่วนตัว ซึ่งถือเป็นสินสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1474 (3) ดังนั้น ก็ต้องแบ่งกันคนละครึ่ง
โชคดีหน่อย กรณีนี้แบ่งได้ 2 : 2 แต่ถ้าเป็นกรณีที่เป็นจำนวนคี่หรือต้องการแบ่งแบบอื่นเช่น ให้ไปทั้งหมดหรือให้ไป 2 ใน 3 ก็ต้องใช้เป็นเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นทดแทนส่วนที่ตนได้เกินมา
2. ถ้ามีการสมรสและพ่อและแม่แมวได้มาหลังสมรสก็ถือว่าทั้งหมดเป็นสินสมรสแบ่งกันคนละครึ่งคือ 3 ต่อ 3 เพราะถือว่าเป็นสินสมรส
3. กรณีไม่ได้สมรสกันตามกฎหมาย เช่น เป็นแฟนกันแบบนี้ ในทางกฎหมายถือว่าทำมาหากินร่วมกัน ( partner) ก็ต้องแบ่งคนละครึ่ง หากได้มาทีหลังอยู่ด้วยกัน เพราะถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์รวม
แต่ถ้าแมวคู่พ่อแม่เป็นของใครก่อนมาอยู่ด้วยกัน แล้วคลอดลูกมาทีหลังตอนอยู่ด้วยกัน ก็ต้องเป็นทรัพย์สินของคนนั้นไป ไม่ต้องแบ่ง เนื่องจากไม่เข้าข้อกฎหมายเรื่องสินสมรส
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่