คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
งานออกแบบ สามารถแก้ปัญหา เรื่องแนวนี้ ได้ระดับนึง ค่อนข้างดีทีเดียวนะครับ
ทำกันมานานแล้วครับ
แล้วแต่ ว่า เจ้าของโครงการ หน่วยงานรัฐจะแคร์ชาวบ้านหรือไม่
ถ้าไม่แคร์ ถึงจะสร้างใหม่ ก็จะปูดๆ ให้เห็นทุเรศๆ แบบที่เห็นหล่ะครับ
ถ้าแคร์ ก็ออกแบบโครงสร้างใหม่ๆ ให้ไม่เป็นอย่างที่เห็นได้ครับ
ตัวอย่างจะเห็นได้บน บนถนน เกษตร-นวมินทร์ นะครับ
ให้สังเกตุ เสาตอม่อ ที่ด้วนๆ
แถวนั้น พื้นคอนกรีต ยังไม่มีการปูด นูน ขึ้นมา เหมือนตรง ถนนวิภาวดี ที่ติดโทลเวย์
ทั้งๆที่ ฐานรากของเสาตอม่อที่ด้วนๆนั้น ล้ำเข้ามาใต้ผิวถนนนะครับ
ขนาดของฐานรากใต้ดิน ใหญ่ เพราะว่า สมัยนั้น ยังใช้เสาเข็มตอก
ยังไม่ได้ใช้เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่เหมือนโครงการอื่นๆในปัจจุบันนะครับ
พื้นถนนคอนกรีต ที่เป็น rigid pavement นั้น บางส่วนจึงพาดเกยอยู่บนฐานรากนะครับ
ถนนเส้นนี้ ทำมานานมากแล้ว พร้อมกับการก่อสร้าง เสาด้วนๆ นั้นเลยครับ
สภาพรวมๆ ยังถือว่าใช้ได้ดี คือไม่มีนูนขึ้นมา ( ยกเว้นบางจุดนะครับ )
ที่ไม่เหมือน โทลเวย์นั้น ก็เพราะว่า ตอนนั้น การทางพิเศษ ได้มีการใส่ใจ ให้มีการออกแบบโครงสร้างพิเศษครอบ ฐานรากไว้นะครับ
ทำให้ พื้นถนนที่พาดอยู่เหนือฐานราก สามารถทรุดตัวลงตามถนนได้ครับ
ตรงนี้ ชาวบ้านที่รู้ ก็จะขอบคุณ ทางหน่วยงาน การทางพิเศษ ที่ยอมจ่ายเงิน เพื่อให้ชาวบ้านใช้ถนนได้ดีขึ้น ( เมื่อเทียบกับถนนวิภาวดี ใต้โทล์เวย์นะครับ )
เท่าที่ขับรถผ่าน นานๆที เห็นว่า น่าจะมีแค่บางจุดเท่านั้น ที่ทำไว้ไม่ดีเท่าไร เลยมีบางจุดนูนขึ้นนะครับ
ระยะหลัง หลายๆหน่วยงาน ที่สร้างฐานรากล้ำเข้ามาอยู่ใต้ผิวถนนคอนกรีต ก็ได้ใช้โครงสร้างที่ว่า มาปรับการทรุดตัวแล้วนะครับ
ถนนเส้นนี้ ที่ไม่ปูด ขอยกความดี ให้ เจ้าหน้าที่การทางพิเศษในยุคนั้นนะครับ ที่ใส่ใจคุณภาพ
( ผมเอง ไม่ใช่ จนท การทางพิเศษนะครับ )
ทำกันมานานแล้วครับ
แล้วแต่ ว่า เจ้าของโครงการ หน่วยงานรัฐจะแคร์ชาวบ้านหรือไม่
ถ้าไม่แคร์ ถึงจะสร้างใหม่ ก็จะปูดๆ ให้เห็นทุเรศๆ แบบที่เห็นหล่ะครับ
ถ้าแคร์ ก็ออกแบบโครงสร้างใหม่ๆ ให้ไม่เป็นอย่างที่เห็นได้ครับ
ตัวอย่างจะเห็นได้บน บนถนน เกษตร-นวมินทร์ นะครับ
ให้สังเกตุ เสาตอม่อ ที่ด้วนๆ
แถวนั้น พื้นคอนกรีต ยังไม่มีการปูด นูน ขึ้นมา เหมือนตรง ถนนวิภาวดี ที่ติดโทลเวย์
ทั้งๆที่ ฐานรากของเสาตอม่อที่ด้วนๆนั้น ล้ำเข้ามาใต้ผิวถนนนะครับ
ขนาดของฐานรากใต้ดิน ใหญ่ เพราะว่า สมัยนั้น ยังใช้เสาเข็มตอก
ยังไม่ได้ใช้เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่เหมือนโครงการอื่นๆในปัจจุบันนะครับ
พื้นถนนคอนกรีต ที่เป็น rigid pavement นั้น บางส่วนจึงพาดเกยอยู่บนฐานรากนะครับ
ถนนเส้นนี้ ทำมานานมากแล้ว พร้อมกับการก่อสร้าง เสาด้วนๆ นั้นเลยครับ
สภาพรวมๆ ยังถือว่าใช้ได้ดี คือไม่มีนูนขึ้นมา ( ยกเว้นบางจุดนะครับ )
ที่ไม่เหมือน โทลเวย์นั้น ก็เพราะว่า ตอนนั้น การทางพิเศษ ได้มีการใส่ใจ ให้มีการออกแบบโครงสร้างพิเศษครอบ ฐานรากไว้นะครับ
ทำให้ พื้นถนนที่พาดอยู่เหนือฐานราก สามารถทรุดตัวลงตามถนนได้ครับ
ตรงนี้ ชาวบ้านที่รู้ ก็จะขอบคุณ ทางหน่วยงาน การทางพิเศษ ที่ยอมจ่ายเงิน เพื่อให้ชาวบ้านใช้ถนนได้ดีขึ้น ( เมื่อเทียบกับถนนวิภาวดี ใต้โทล์เวย์นะครับ )
เท่าที่ขับรถผ่าน นานๆที เห็นว่า น่าจะมีแค่บางจุดเท่านั้น ที่ทำไว้ไม่ดีเท่าไร เลยมีบางจุดนูนขึ้นนะครับ
ระยะหลัง หลายๆหน่วยงาน ที่สร้างฐานรากล้ำเข้ามาอยู่ใต้ผิวถนนคอนกรีต ก็ได้ใช้โครงสร้างที่ว่า มาปรับการทรุดตัวแล้วนะครับ
ถนนเส้นนี้ ที่ไม่ปูด ขอยกความดี ให้ เจ้าหน้าที่การทางพิเศษในยุคนั้นนะครับ ที่ใส่ใจคุณภาพ
( ผมเอง ไม่ใช่ จนท การทางพิเศษนะครับ )
ความคิดเห็นที่ 16
ภาษาวิศวกรรมเค้าเรียกว่าการ Consolidation ครับ คือต้องเข้าใจก่อนว่าดินในทางวิศวกรรมคือวัสดุที่ประกอบไปด้วยอนุภาคของเม็ดดิน น้ำ และอากาศ คลุกเคล้าเข้าด้วยกันเป็นสัดส่วน ทรายเองก็ถือว่าเป็นดินในรูปแบบหนึ่ง
ทีนี้พื้นดินภาคกลางของประเทศไทยมีลักษณะเป็นแอ่งดินเหนียวขนาดใหญ่และลึกลงไปกว่า 20 เมตร ประเด็นคือดินเหนียวถ้าพูดให้ชาวบ้านเข้าใจง่ายมันก็คือทรายนั่นแหละ แต่เป็นทรายที่เม็ดละเอียดมาก ๆๆๆๆ จนเราเห็นมันเป็นแค่ฝุ่นแป้ง
ไอ้คุณสมบัติความละเอียดของมันนี่แหละที่ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตใด ๆ แล้วล็อกน้ำเอาไว้ได้นานหลายสิบปีไม่ให้ระเหยไปไหน ยิ่งชั้นดินลึก ๆ เข้ายิ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่น้ำจะระเหยออกมา
เพราะฉะนั้นการจะรีดน้ำออกจากดินเหนียวมันเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ มากสุดก็ทำได้แค่บดอัดแล้วรีดมันออกมาให้ได้มากที่สุดโดยใช้เทคนิคทางวิศวกรรมใด ๆ ไม่ขอพูดถึง อย่างรันเวย์สนามบินสุวรรณภูมิก็บดอัดกันอยู่หลายปีกว่ามันจะใช้งานได้
ซึ่งก็ใช่แล้วแหละ น้ำหนักกดทับสามารถรีดน้ำออกจากดินได้ เพราะกลไกของน้ำหนักทำให้น้ำเกิดแรงดันแล้วแทรกตัวออกจากอนุภาคของดินไปหาจุดที่มีแรงดันต่ำกว่าซึ่งก็คือชั้นดินที่อยู่ลึกลงไป
ดังนั้นการ Consolidation ก็คือการที่น้ำหนีออกไปจากอนุภาคของเม็ดดินเนื่องจากโดนน้ำหนักกดทับเป็นเวลานาน
ประเด็นคือพอน้ำหายไป ปริมาตรดินก็ลด อนุภาคของเม็ดดินก็ชิดกันมากขึ้น ภาษาชาวบ้านมันก็คือการทรุดตัวนั่นแหละ
แต่ที่ลักษณะถนนมันเป็นลูกคลื่นแบบนั้น เพราะตรงตอม่อสะพานลึกลงไปจะเป็นฐานคอนกรีตแบบแผ่แล้วมีเสาเข็มตอกลงไปลึกหลายเมตรซึ่งมั่นคงมาก ๆ ก็เลยทำให้พื้นที่บริเวณรอบ ๆ ตอม่อมีการทรุดตัวที่น้อยกว่าบริเวณรอบข้าง
ถ้าให้มองดูก็คล้ายเชือกแหละ บริเวณที่มีคนจับมันก็จะไม่หย่อน แต่พอไกลจากบริเวณที่มีคนจับ เชือกมันก็จะตกท้องช้าง กรณีดินเหนียวเวลาเจอตอม่อสะพานก็แบบเดียวกัน
จากรูป Solid + Air + Water = ปริมาตรดิน
พอน้ำหายไปเท่ากับปริมาตรดินหาย ดินมันก็ฟีบลง ส่วน Air ถือว่าน้อยมาก ในการคำนวณเรื่อง Consolidation เราจะไม่สนใจ Air เลย
ในทางวิศวกรรม เราไม่สามารถหยุดการ Consolidation ได้ ทำได้มากสุดแค่บดอัดให้ได้ตามมาตรฐาน ซึ่งจำนวนครั้งการบดอัดดิน น้ำหนักบดอัด และชั้นของทรายที่จะต้องปูไว้ซับน้ำจะมีการคำนวณเป็นพลังงานออกมาเลยว่าต้องใช้กี่จูล ๆ ในการบดอัดให้มันได้เกิน 90% ตรงนี้ต้องส่งตัวอย่างดินเข้าแลปเพื่อทำการทดสอบหาจุดอิ่มตัวของดิน เทียบกับแรงกระแทก ซึ่งแน่นอนมันไม่ 100% แต่ดีสุดของมนุษยชาติก็ทำได้เท่านี้ เพราะถ้าไม่งั้นวิธีสุดท้ายคือปูพรหมฝั่งเสาเข็มถนนทั้งสายไปเลย ซึ่งมันเกินเหตุไปมาก แพงมาก ไม่คุ้ม ต่างประเทศก็ไม่ทำ ถ้าจะทำต้องหาเหตุผลดี ๆ เลยแหละที่มันคุ้มทุนแบบสุด ๆๆๆ
ทีนี้พื้นดินภาคกลางของประเทศไทยมีลักษณะเป็นแอ่งดินเหนียวขนาดใหญ่และลึกลงไปกว่า 20 เมตร ประเด็นคือดินเหนียวถ้าพูดให้ชาวบ้านเข้าใจง่ายมันก็คือทรายนั่นแหละ แต่เป็นทรายที่เม็ดละเอียดมาก ๆๆๆๆ จนเราเห็นมันเป็นแค่ฝุ่นแป้ง
ไอ้คุณสมบัติความละเอียดของมันนี่แหละที่ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตใด ๆ แล้วล็อกน้ำเอาไว้ได้นานหลายสิบปีไม่ให้ระเหยไปไหน ยิ่งชั้นดินลึก ๆ เข้ายิ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่น้ำจะระเหยออกมา
เพราะฉะนั้นการจะรีดน้ำออกจากดินเหนียวมันเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ มากสุดก็ทำได้แค่บดอัดแล้วรีดมันออกมาให้ได้มากที่สุดโดยใช้เทคนิคทางวิศวกรรมใด ๆ ไม่ขอพูดถึง อย่างรันเวย์สนามบินสุวรรณภูมิก็บดอัดกันอยู่หลายปีกว่ามันจะใช้งานได้
ซึ่งก็ใช่แล้วแหละ น้ำหนักกดทับสามารถรีดน้ำออกจากดินได้ เพราะกลไกของน้ำหนักทำให้น้ำเกิดแรงดันแล้วแทรกตัวออกจากอนุภาคของดินไปหาจุดที่มีแรงดันต่ำกว่าซึ่งก็คือชั้นดินที่อยู่ลึกลงไป
ดังนั้นการ Consolidation ก็คือการที่น้ำหนีออกไปจากอนุภาคของเม็ดดินเนื่องจากโดนน้ำหนักกดทับเป็นเวลานาน
ประเด็นคือพอน้ำหายไป ปริมาตรดินก็ลด อนุภาคของเม็ดดินก็ชิดกันมากขึ้น ภาษาชาวบ้านมันก็คือการทรุดตัวนั่นแหละ
แต่ที่ลักษณะถนนมันเป็นลูกคลื่นแบบนั้น เพราะตรงตอม่อสะพานลึกลงไปจะเป็นฐานคอนกรีตแบบแผ่แล้วมีเสาเข็มตอกลงไปลึกหลายเมตรซึ่งมั่นคงมาก ๆ ก็เลยทำให้พื้นที่บริเวณรอบ ๆ ตอม่อมีการทรุดตัวที่น้อยกว่าบริเวณรอบข้าง
ถ้าให้มองดูก็คล้ายเชือกแหละ บริเวณที่มีคนจับมันก็จะไม่หย่อน แต่พอไกลจากบริเวณที่มีคนจับ เชือกมันก็จะตกท้องช้าง กรณีดินเหนียวเวลาเจอตอม่อสะพานก็แบบเดียวกัน
จากรูป Solid + Air + Water = ปริมาตรดิน
พอน้ำหายไปเท่ากับปริมาตรดินหาย ดินมันก็ฟีบลง ส่วน Air ถือว่าน้อยมาก ในการคำนวณเรื่อง Consolidation เราจะไม่สนใจ Air เลย
ในทางวิศวกรรม เราไม่สามารถหยุดการ Consolidation ได้ ทำได้มากสุดแค่บดอัดให้ได้ตามมาตรฐาน ซึ่งจำนวนครั้งการบดอัดดิน น้ำหนักบดอัด และชั้นของทรายที่จะต้องปูไว้ซับน้ำจะมีการคำนวณเป็นพลังงานออกมาเลยว่าต้องใช้กี่จูล ๆ ในการบดอัดให้มันได้เกิน 90% ตรงนี้ต้องส่งตัวอย่างดินเข้าแลปเพื่อทำการทดสอบหาจุดอิ่มตัวของดิน เทียบกับแรงกระแทก ซึ่งแน่นอนมันไม่ 100% แต่ดีสุดของมนุษยชาติก็ทำได้เท่านี้ เพราะถ้าไม่งั้นวิธีสุดท้ายคือปูพรหมฝั่งเสาเข็มถนนทั้งสายไปเลย ซึ่งมันเกินเหตุไปมาก แพงมาก ไม่คุ้ม ต่างประเทศก็ไม่ทำ ถ้าจะทำต้องหาเหตุผลดี ๆ เลยแหละที่มันคุ้มทุนแบบสุด ๆๆๆ
แสดงความคิดเห็น
สอบถาม สภาพถนนที่เห็นในภาพนี้เกิดจากอะไรครับ
ขอบคุณล่วงหน้าครับ