ttb analytics คาด Medical Tourism ไทยฟื้นเร็ว โต 2.5 หมื่นล้านบาทในปี 2566 - Money & Banking Magazine (moneyandbanking.co.th)
https://moneyandbanking.co.th/2022/13310/
ประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นเร็วเกินคาด หลังจากเปิดประเทศไปในช่วงกลางปี 2565 ซึ่งในจำนวนนี้ส่วนหนึ่งเป็นการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) ที่ไทยได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการเดินทางมาท่องเที่ยวทั่วไป โดยในช่วงวิกฤตโควิด-19 รายได้จากการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยลดลงมาก สาเหตุจากมาตรการล็อกดาวน์ทั่วโลกเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด โดยเฉพาะในปี 2563 รายได้ลดลงกว่า 90% แต่เริ่มทยอยปรับดีขึ้นในปี 2564 โดย ในปี 2565 คาดว่ารายได้จะขยับเพิ่มขึ้นเป็น 80% ของรายได้ก่อนวิกฤตโควิด-19 ในปี 2562 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2566 แตะ 2.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นระดับก่อนการเกิดวิกฤตโควิด-19
ระบบดูแลสุขภาพของไทยติดอันดับ Top 5 ของโลก และมีค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ต่อประชากรต่ำที่สุดใน 10 ประเทศ โดยประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศที่มีการดูแลด้านสุขภาพที่ดี หรือมีความมั่นคงทางสุขภาพสะท้อนจาก Global Health Security (GHS) Index 2021 ซึ่งเป็นช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยไทยอยู่ในอันดับ 5 ของโลกและเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย ด้วยความพร้อมในการรับมือการแพร่ระบาดรวมทั้งระบบสาธารณสุขและการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลในภาพรวมอยู่ในระดับดี นอกจากนี้ในมุมของค่ารักษาพยาบาล พบว่า ไทยยังมีค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ต่อประชากรต่ำที่สุดใน 10 ประเทศ โดยเฉลี่ยรายละ 296 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ขณะที่เกาหลีใต้อยู่ที่อันดับ 9 ด้วยค่าใช้จ่าย 3,406 ดอลลาร์สหรัฐ
ดังนั้น จึงมองเป็นโอกาสสำหรับประเทศไทยที่จะเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีศักยภาพรองรับในหลายด้านทั้งความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลที่ได้การรับรองตามมาตรฐานสากล และการมีค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่เปรียบเทียบแล้วยังอยู่ในระดับต่ำ ตลอดจน การปรับหลักเกณฑ์วีซ่าใหม่เพื่อหนุนให้คนไข้ต่างชาติเลือกเดินทางมาใช้บริการรักษาพยาบาลในประเทศไทย อาทิ การให้วีซ่าพำนักระยะยาวสำหรับชาวต่างชาติที่มีศักยภาพ กลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูงหรือต้องการใช้ชีวิตหลังเกษียณในไทยและการขยายฟรีวีซ่า 30 วันให้กับนักท่องเที่ยวชาติอื่น ๆ เพิ่มเติมล่าสุด คือ ซาอุดิอาราเบีย
การใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ ๆ ดึงดูดการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ โดยเฉพาะการรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Care) เป็นธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยมและมีอัตราเติบโตสูง เนื่องจากปัจจุบันผู้คนให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพมากขึ้น แม้ว่ายังไม่มีอาการป่วย การตรวจสุขภาพเป็นประจำจึงเป็นที่นิยม เพราะหากตรวจพบโรคต่าง ๆ ในระยะแรกก็จะลดโอกาสที่โรคจะพัฒนาไปเป็นระยะรุนแรง หรือสามารถทำการรักษาได้รวดเร็ว ปัจจุบันมีกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สนใจเดินทางมาประเทศไทยเพื่อใช้บริการเทรนด์การดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ซึ่ง Global Wellness Institute คาดว่า ธุรกิจกลุ่มนี้จะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยสูงถึง 8.1% ต่อปี
Be with fundamental ลงทุนยังไงให้สนุกและกำไร : Medical Tourism ไทยฟื้นเร็ว โต 2.5 หมื่นล้านบาทในปี 2566
ttb analytics คาด Medical Tourism ไทยฟื้นเร็ว โต 2.5 หมื่นล้านบาทในปี 2566 - Money & Banking Magazine (moneyandbanking.co.th)
https://moneyandbanking.co.th/2022/13310/
ประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นเร็วเกินคาด หลังจากเปิดประเทศไปในช่วงกลางปี 2565 ซึ่งในจำนวนนี้ส่วนหนึ่งเป็นการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) ที่ไทยได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการเดินทางมาท่องเที่ยวทั่วไป โดยในช่วงวิกฤตโควิด-19 รายได้จากการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยลดลงมาก สาเหตุจากมาตรการล็อกดาวน์ทั่วโลกเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด โดยเฉพาะในปี 2563 รายได้ลดลงกว่า 90% แต่เริ่มทยอยปรับดีขึ้นในปี 2564 โดย ในปี 2565 คาดว่ารายได้จะขยับเพิ่มขึ้นเป็น 80% ของรายได้ก่อนวิกฤตโควิด-19 ในปี 2562 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2566 แตะ 2.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นระดับก่อนการเกิดวิกฤตโควิด-19
ระบบดูแลสุขภาพของไทยติดอันดับ Top 5 ของโลก และมีค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ต่อประชากรต่ำที่สุดใน 10 ประเทศ โดยประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศที่มีการดูแลด้านสุขภาพที่ดี หรือมีความมั่นคงทางสุขภาพสะท้อนจาก Global Health Security (GHS) Index 2021 ซึ่งเป็นช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยไทยอยู่ในอันดับ 5 ของโลกและเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย ด้วยความพร้อมในการรับมือการแพร่ระบาดรวมทั้งระบบสาธารณสุขและการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลในภาพรวมอยู่ในระดับดี นอกจากนี้ในมุมของค่ารักษาพยาบาล พบว่า ไทยยังมีค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ต่อประชากรต่ำที่สุดใน 10 ประเทศ โดยเฉลี่ยรายละ 296 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ขณะที่เกาหลีใต้อยู่ที่อันดับ 9 ด้วยค่าใช้จ่าย 3,406 ดอลลาร์สหรัฐ
ดังนั้น จึงมองเป็นโอกาสสำหรับประเทศไทยที่จะเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีศักยภาพรองรับในหลายด้านทั้งความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลที่ได้การรับรองตามมาตรฐานสากล และการมีค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่เปรียบเทียบแล้วยังอยู่ในระดับต่ำ ตลอดจน การปรับหลักเกณฑ์วีซ่าใหม่เพื่อหนุนให้คนไข้ต่างชาติเลือกเดินทางมาใช้บริการรักษาพยาบาลในประเทศไทย อาทิ การให้วีซ่าพำนักระยะยาวสำหรับชาวต่างชาติที่มีศักยภาพ กลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูงหรือต้องการใช้ชีวิตหลังเกษียณในไทยและการขยายฟรีวีซ่า 30 วันให้กับนักท่องเที่ยวชาติอื่น ๆ เพิ่มเติมล่าสุด คือ ซาอุดิอาราเบีย
การใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ ๆ ดึงดูดการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ โดยเฉพาะการรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Care) เป็นธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยมและมีอัตราเติบโตสูง เนื่องจากปัจจุบันผู้คนให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพมากขึ้น แม้ว่ายังไม่มีอาการป่วย การตรวจสุขภาพเป็นประจำจึงเป็นที่นิยม เพราะหากตรวจพบโรคต่าง ๆ ในระยะแรกก็จะลดโอกาสที่โรคจะพัฒนาไปเป็นระยะรุนแรง หรือสามารถทำการรักษาได้รวดเร็ว ปัจจุบันมีกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สนใจเดินทางมาประเทศไทยเพื่อใช้บริการเทรนด์การดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ซึ่ง Global Wellness Institute คาดว่า ธุรกิจกลุ่มนี้จะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยสูงถึง 8.1% ต่อปี