11 ต.ค.2565 - น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบโครงการศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามัน โดยมีสถานที่ตั้งโครงการอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต วงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 5,116 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (ปี2566 – 2570) โดยขอผูกพันงบประมาณ ดังนี้คือ ปีงบประมาณ2566 วงเงิน 1,291 ล้านบาท ปี2567 วงเงิน 1,656 ล้านบาท ปี2568 วงเงิน 1,476 ล้านบาท ปี2569 วงเงิน 498 ล้านบาท ปี2570 วงเงิน 193 ล้านบาท
สำหรับโครงการศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามัน จะเป็นสถานที่ผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เช่น แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ แพทย์ทางเลือก และอื่นๆ และเป็นสถานที่ทำการวิจัย พัฒนาด้านวิชาการด้านสาธารณสุข เป็นสถานพยาบาลขั้นตติยภูมิและเฉพาะทางเป็นหลัก โดยสามารถรักษาโรคระดับต้นและโรคซับซ้อน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวในการเข้ามาท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดอันดามันและประเทศไทย
โดยการพัฒนาทั้งด้านบุคลากร การวิจัยเทคโนโลยีทางการแพทย์จากศูนย์สุขภาพนานาชาติฯ จะมีส่วนสำคัญในการผลักดันประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) และศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในอนาคต สร้างรายได้แก่ประเทศสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีอีกด้วย
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ คือ มีศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง ขนาด 300 เตียง,ให้บริการผู้ป่วยโรคซับซ้อนชาวไทยไม่น้อยกว่า 12,500 คน / ปี, ผู้ป่วยนอกไม่น้อยกว่า 300,000 คน / ปี, มีรายได้จากการรักษาชาวต่างชาติไม่น้อยกว่า 1,600 ล้านบาท / ปี, มีศูนย์ทันตกรรมที่ทันสมัยแห่งแรกในภาคใต้และมีรายได้จากการให้บริการชาวต่างชาติไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท / ปี
ครม.ไฟเขียวสร้างศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามัน งบ 5.1 พันล้าน สอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
11 ต.ค.2565 - น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบโครงการศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามัน โดยมีสถานที่ตั้งโครงการอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต วงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 5,116 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (ปี2566 – 2570) โดยขอผูกพันงบประมาณ ดังนี้คือ ปีงบประมาณ2566 วงเงิน 1,291 ล้านบาท ปี2567 วงเงิน 1,656 ล้านบาท ปี2568 วงเงิน 1,476 ล้านบาท ปี2569 วงเงิน 498 ล้านบาท ปี2570 วงเงิน 193 ล้านบาท
สำหรับโครงการศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามัน จะเป็นสถานที่ผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เช่น แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ แพทย์ทางเลือก และอื่นๆ และเป็นสถานที่ทำการวิจัย พัฒนาด้านวิชาการด้านสาธารณสุข เป็นสถานพยาบาลขั้นตติยภูมิและเฉพาะทางเป็นหลัก โดยสามารถรักษาโรคระดับต้นและโรคซับซ้อน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวในการเข้ามาท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดอันดามันและประเทศไทย
โดยการพัฒนาทั้งด้านบุคลากร การวิจัยเทคโนโลยีทางการแพทย์จากศูนย์สุขภาพนานาชาติฯ จะมีส่วนสำคัญในการผลักดันประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) และศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในอนาคต สร้างรายได้แก่ประเทศสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีอีกด้วย
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ คือ มีศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง ขนาด 300 เตียง,ให้บริการผู้ป่วยโรคซับซ้อนชาวไทยไม่น้อยกว่า 12,500 คน / ปี, ผู้ป่วยนอกไม่น้อยกว่า 300,000 คน / ปี, มีรายได้จากการรักษาชาวต่างชาติไม่น้อยกว่า 1,600 ล้านบาท / ปี, มีศูนย์ทันตกรรมที่ทันสมัยแห่งแรกในภาคใต้และมีรายได้จากการให้บริการชาวต่างชาติไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท / ปี