เห็ดเมารักษาโรคซึมเศร้าได้อย่างไร . . . มีคำตอบ

อันดับแรก มารู้จักเครือข่ายสมองที่มีส่วนสำคัญ กับโรคซึมเศร้า และโรคทางจิตอื่นๆกันก่อน (OCD PTSD ADHD)

        หนึ่งในเครือข่ายสมองที่สำคัญที่สุด และมีบทบาทสำคัญในการก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าคือ เครือข่ายสมองส่วน DMN
DMN ย่อมาจาก Default Mode Network มีหน้าที่ในการคิดเรื่องต่างๆ ในขณะที่เหม่อลอย / อัตตา (การตระหนักรู้ในตนเอง มองว่าตนเองเป็นใคร) / ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น / การคิดถึงอนาคต และอดีต

DMN และภาวะซึมเศร้า
        เมื่อบางส่วนของ DMN ทำงานมากเกินไป มันสามารถนำไปสู่รูปแบบการมองตนเองที่ไม่ถูกต้อง หรือเป็นลบมากเกินไป โหมดความคิดเหล่านี้เป็นอาการของภาวะซึมเศร้า และอาจก่อให้เกิดการเสียใจมากเกินไป อีกทั้งเชื่อมโยงไปยังการหลั่งสารเคมีทางสมองที่ผิดปกติ

        โรคทางจิตต่างๆ ล้วนมีตำแหน่งทางกายภาพของกลุ่มเซลประสาท ที่ทำงานผิดปกติ เชื่อมต่อกันมากหรือน้อยเกินไป ซึ่งสาเหตุอาจจะมาจากหลายปัจจัยทั้ง อาหาร ระบบลำไส้ พันธุกรรม การเติบโตที่ผิดปกติ ประสบการณ์ที่เจอในชีวิต หรืออุบัติเหตุ

เห็ดเมา และ DMN
        เห็ดเมา หรือ (เห็ดไซโลไซบิน) มีสารสำคัญในการออฤทธิคือสารไซโลไซบิน ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกย่อยเป็นสารไซโลซิน ซึ่งสารไซโลซินจะเข้าไปกระตุ้นตัวรับเซโรโทนินในสมอง

         เมื่อไซโลซินทำงาน เครือข่ายสมองส่วน DMN จะถูกคลายการเชื่อมต่อ และลดการทำงานลง ในระยะเวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมง หลังจากนั่น เครือข่าย DMN ก็จะกลับมาเชื่อมโยงกันใหม่ ในทิศทางการเชื่อมต่อใหม่ๆ ที่ดี และแข็งแรงขึ้น (เสมือนการรีเซ็ทเครือข่ายสมองส่วน DMN) อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในฟื้นฟู เส้นทางการเชื่อมต่อของเครือข่ายสมองต่างๆ ที่เสียหายจากภาวระซึมเศร้า

        การสูญเสียการควบคุม DMN อย่างรวดเร็วนั้นสัมพันธ์กับความรู้สึกของการสลายอัตตา (EGO) การสลายอัตตาหมายถึงการสูญเสียความรู้สึกของตนเองที่เกิดขึ้นระหว่างที่สารไซโลไซบินออกฤทธิ์ ช่วยให้ผู้ป่วยสัมผัสกับขอบเขตระหว่างตนเองกับโลกที่หายไป การสูญเสียอัตตาชั่วคราวถือเป็นผลกระทบที่ลึกซึ้งที่สุดของสารไซคีเดลิต เป็นสิ่งที่สามารถชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงส่วนบุคคลในทางที่ดีขึ้น และทรงพลังที่สุด
.
.
.
.
        นี้อาจเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า เนื่องจากคะแนนความซึมเศร้าที่ลดลงหลังจากการรักษาด้วยเห็ดเมามีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเชื่อมโยงกันในทิศทางใหม่ๆ ของ DMN และการสลายอัตตา อีกทั้ง สารไซโลไซบิน ยังช่วยกระตุ้นการสร้างสารเซโรโทนินในสมอง ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรักษาโรคซึมเศร้า
.
.
ติดตามบทความเกี่ยวกับเห็ดวิเศษ ได้ที่
Facebook Let’s Yawn
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่