https://www.prachachat.net/world-news/news-1157224
“สิงคโปร์” กำลังเผชิญปัญหาสังคมผู้สูงวัยไม่ต่างจากอีกหลายชาติอย่าง “ญี่ปุ่น” และ “เกาหลีใต้” ขณะที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบันกำลังส่งผลกระทบต่อแผนการเกษียณอายุของคนวัยทำงานสิงคโปร์ โดยเฉพาะภาวะเงินเฟ้อที่กัดกินเงินออมเลี้ยงชีพ และชาวสิงคโปร์ยังจะต้องทำงานยาวนานมากขึ้นจากปัญหาขาดแคลนแรงงาน
ภาระทางเศรษฐกิจเหล่านี้สร้างแรงกดดันต่อการออมสำหรับการเกษียณของคนวัยทำงานสิงคโปร์ และปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้ชาวสิงคโปร์เลี่ยงการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ข้อมูลของรัฐบาลพบว่าครัวเรือนสิงคโปร์ถือครองหุ้นเพียง 8.4% ของสินทรัพย์ทั้งหมด โดยเน้นไปที่การฝากเงินกับธนาคารถึง 19.8% โดยเป็นการออมในอสังหาฯที่พักอาศัยสัดส่วน 43.9% และอยู่ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพราว 18.8%
“ลี ซง ยง” นักวางแผนทางการเงินจากบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน โปรเฟสชันแนล อินเวสต์เมนต์ แอดไวเซอรี เซอร์วิส ระบุว่า “ชาวสิงคโปร์มีแนวโน้มที่จะเลือกการออมด้วยการฝากเงินกับธนาคารที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่นั่นอาจไม่เพียงพอที่จะรองรับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ”
แต่การจ่ายเงินบำนาญของกองทุนดังกล่าวอาจลดลงในอนาคต “ลี ซง ยง” คาดว่า การจ่ายเงินบำนาญสูงสุดอาจไม่ถึง 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน ในช่วง 10 ปีข้างหน้า ด้วยภาวะเงินเฟ้อที่ทำให้ปริมาณเงินเข้าสู่กองทุนลดลง ขณะที่จำนวนคนวัยทำงานที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังมีน้อยลง สวนทางกับจำนวนผู้รับบำนาญที่เพิ่มสูงขึ้น
การออมและการประหยัดค่าใช้จ่ายยังอาจไม่เพียงพอต่อการรับมือกับภาวะเงินเฟ้อ “แจ็กเกอลีน ถัน” หัวหน้ากลุ่มบริการทางการเงินส่วนบุคคลของธนาคารยูโอบี ระบุว่า “ในภาพรวมแล้วจำเป็นต้องมีการทบทวนรูปแบบการใช้ชีวิตและกระแสเงินสดที่ต้องการหลังเกษียณ เพราะแค่การออมของกองทุนซีพีเอฟอาจไม่เพียงพอ”
วัยเกษียณ “สิงคโปร์” เปลี่ยนไป เงินออมน้อย-ทำงานนานขึ้น (ออมและประหยัด อาจไม่พอ ต้องลงทุนหุ้นด้วย เพื่อสู้เงินเฟ้อ)
“สิงคโปร์” กำลังเผชิญปัญหาสังคมผู้สูงวัยไม่ต่างจากอีกหลายชาติอย่าง “ญี่ปุ่น” และ “เกาหลีใต้” ขณะที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบันกำลังส่งผลกระทบต่อแผนการเกษียณอายุของคนวัยทำงานสิงคโปร์ โดยเฉพาะภาวะเงินเฟ้อที่กัดกินเงินออมเลี้ยงชีพ และชาวสิงคโปร์ยังจะต้องทำงานยาวนานมากขึ้นจากปัญหาขาดแคลนแรงงาน
ภาระทางเศรษฐกิจเหล่านี้สร้างแรงกดดันต่อการออมสำหรับการเกษียณของคนวัยทำงานสิงคโปร์ และปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้ชาวสิงคโปร์เลี่ยงการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ข้อมูลของรัฐบาลพบว่าครัวเรือนสิงคโปร์ถือครองหุ้นเพียง 8.4% ของสินทรัพย์ทั้งหมด โดยเน้นไปที่การฝากเงินกับธนาคารถึง 19.8% โดยเป็นการออมในอสังหาฯที่พักอาศัยสัดส่วน 43.9% และอยู่ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพราว 18.8%
“ลี ซง ยง” นักวางแผนทางการเงินจากบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน โปรเฟสชันแนล อินเวสต์เมนต์ แอดไวเซอรี เซอร์วิส ระบุว่า “ชาวสิงคโปร์มีแนวโน้มที่จะเลือกการออมด้วยการฝากเงินกับธนาคารที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่นั่นอาจไม่เพียงพอที่จะรองรับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ”
แต่การจ่ายเงินบำนาญของกองทุนดังกล่าวอาจลดลงในอนาคต “ลี ซง ยง” คาดว่า การจ่ายเงินบำนาญสูงสุดอาจไม่ถึง 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน ในช่วง 10 ปีข้างหน้า ด้วยภาวะเงินเฟ้อที่ทำให้ปริมาณเงินเข้าสู่กองทุนลดลง ขณะที่จำนวนคนวัยทำงานที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังมีน้อยลง สวนทางกับจำนวนผู้รับบำนาญที่เพิ่มสูงขึ้น
การออมและการประหยัดค่าใช้จ่ายยังอาจไม่เพียงพอต่อการรับมือกับภาวะเงินเฟ้อ “แจ็กเกอลีน ถัน” หัวหน้ากลุ่มบริการทางการเงินส่วนบุคคลของธนาคารยูโอบี ระบุว่า “ในภาพรวมแล้วจำเป็นต้องมีการทบทวนรูปแบบการใช้ชีวิตและกระแสเงินสดที่ต้องการหลังเกษียณ เพราะแค่การออมของกองทุนซีพีเอฟอาจไม่เพียงพอ”