คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
คืบหน้า! วัคซีนโควิด HXP-GPOVac ขององค์การเภสัชฯ ทดลองระยะที่ 3 แล้ว หากได้ผลดี พร้อมขึ้นทะเบียนวัคซีนกับ อย. ภายในปี 66 นี้
องค์การเภสัชกรรม รายงานความคืบหน้า วัคซีนเอชเอ็กซ์พี-จีพีโอแวค (HXP-GPOVac) สำหรับป้องกันโรคโควิด 19 ในรูปแบบเข็มกระตุ้น ขณะนี้ เดินหน้าทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 แล้วเมื่อวานนี้ 23 ธันวาคม 2565 ที่โรงพยาบาลนครพนม โดยฉีดให้กับอาสาสมัครอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 4,000 คน ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มหลักมาแล้วจำนวน 2 เข็ม เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น หลังผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 ในปี พ.ศ. 2564 และระยะที่ 2 ในปี พ.ศ. 2564-2565 พบว่าวัคซีนมีความปลอดภัยและสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี จึงนำไปสู่การคัดเลือกสูตรตำรับที่เหมาะสมกับการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3
ทั้งนี้ หากผลทดสอบระยะที่ 3 เป็นที่น่าพอใจและมีศักยภาพในการใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นได้ องค์การเภสัชกรรมจะสามารถยื่นขึ้นทะเบียนวัคซีนต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ภายในปี พ.ศ. 2566 และกระจายวัคซีนสู่ผู้ใช้ได้หลังจากนั้น ซึ่งองค์การเภสัชกรรมมีศักยภาพในการผลิตวัคซีนโควิด (HXP-GPOVac) ได้ประมาณ 5-10 ล้านโดสต่อปี และสามารถขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต
https://web.facebook.com/Rachadaspoke/posts/pfbid02PQZZjnXgTHHvf62fbkDFVq7r14zQELEsyB5kbHojJQeLdS1jDwZUoEazSjMKDvMWl
สธ.ยัน!! ”เตียงโควิดเพียงพอ” คาดหลังปีใหม่ติดเชื้อระลอกเล็กๆ ไม่กังวลหาก นทท. จีนเข้ามามากขึ้น
วานนี้ [ 24 ธ.ค. 65 ] นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทยนั้น ขณะนี้มีการคาดการณ์ว่า หลังปีใหม่จะมีการติดเชื้อระลอกเล็กๆ (Small wave) เพราะวัคซีนป้องกันการติดเชื้อได้ไม่ 100% แต่ป้องกันการเสียชีวิตได้ดี อีกทั้งปัจจุบันการติดเชื้อทำให้มีการครองเตียงใน รพ. ใช้ไปราวๆ 30 % เรายังมีเตียงสามารถให้การดูแลได้ จึงไม่ต้องกังวลหากมีการติดเชื้อ เพราะการติดเชื้อตอนนี้ส่วนใหญ่ก็พักรักษาตัวที่บ้าน
ส่วนที่นักท่องเที่ยวจีนอาจเข้ามาเที่ยวไทยมากขึ้น หลังเปิดประเทศนั้น ซึ่งสถานการณ์ที่จีนมีการระบาดเพิ่มมากขึ้น จริงๆ ตอนนี้ในใจตน ไม่ได้กลัวปัญหาการติดเชื้อ
ด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ภาพรวมความรุนแรงเมื่อติดเชื้อโควิด-19 ไม่ได้แสดงออกชัดเจน แม้แต่ประเทศที่ติดเยอะๆ บางช่วงระบาดมาก เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น หรือยุโรป ที่เคยมีการเสียชีวิตจำนวนมาก แต่ปัจจุบันไม่ได้เป็นเช่นนั้นแล้ว จึงเชื่อว่าสภาพแวดล้อมเริ่มสมดุล คนทั่วไปมีภูมิคุ้มกันไม่ว่าจะเป็นภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อ หรือจากการฉีดวัคซีนก็ตาม ทำให้เมื่อเกิดการติดเชื้อจึงไม่มีความรุนแรงนัก สำหรับความจำเป็นในการใช้วัคซีนสำหรับบางสายพันธุ์โดยตรงนั้น ส่วนตัวมองว่ายังไม่มีความจำเป็น เพราะถึงจะเป็นวัคซีนตัวใหม่ๆ ออกมา แต่เมื่อมาเจอกับวัคซีนสายพันธุ์ที่พบใหม่ วัคซีนก็ไล่ไม่ทันเชื้อกลายพันธุ์อยู่ดี
"อย่างตอนนี้ เชื้อที่พบมากในไทยคือ BA.2.75 วัคซีนตัวไหนก็คือๆ กัน ต่างกันนิดหน่อย ดังนั้น หากจะเอาวัคซีนใหม่เข้ามาต้องดูว่าวัคซีนที่เรามีอยู่นั้นมีจำนวนมาก หากเอาของใหม่มา ของเก่าก็ทิ้ง กลายเป็นต้นทุนมหาศาล ถามว่าจำเป็นหรือไม่ ก็ไม่จำเป็น ไม่ได้เซฟชีวิตต่างจากเดิม" นพ.ศุภกิจกล่าว
https://web.facebook.com/NBT2HDTV/posts/pfbid02KTL8fcyqeVyXkNDTv6itiAzVcJKWXVZupLLyK61Y1pX4hoTabSzDB53RinqxNJvsl
“เที่ยวปีใหม่ อุ่นใจ “ เชิญชวนประชาชน และกลุ่ม 608 ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นก่อนเที่ยวช่วงเทศกาลปีใหม่
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 นี้ คาดว่าจะมีประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาจำนวนมาก ขณะที่สถานการณ์โควิด 19 ในประเทศไทยยังคงพบผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้น จึงเชิญชวนให้ประชาชน ผู้ที่ได้รับวัคซีนมาแล้วเกิน 4 เดือน ให้มารับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพิ่มภูมิคุ้มกัน ก่อนจะถึงเทศกาลปีใหม่ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
โควิด-19 และสร้างความอุ่นใจให้คนในครอบครัวและคนรอบข้าง ว่าจะได้รับความปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ โดยสามารถเข้ารับวัคซีนที่โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน
ทั้งนี้ กลุ่ม 608 หรือผู้สูงอายุมีอายุ 60 ปีขึ้นไปและผู้มีโรคประจำตัวในกลุ่ม 7 โรค และหญิงตั้งครรภ์ ถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ควรต้องเข้ารับวัคซีนตามเกณฑ์และรับเข็มกระตุ้นเมื่อครบระยะเวลา เพื่อลดอาการป่วยหนักหรือเสียชีวิต หากเกิดการติดเชื้อ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ที่จะต้องรอรับบุตรหลานในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ หากเกิดการติดเชื้อ การฉีดวัคซีนจะช่วยลดอาการรุนแรงและการเสียชีวิตได้เกือบ 100% ซึ่งข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขล่าสุดได้ ระบุว่า กลุ่มผู้ที่เสียชีวิตจากโควิด19 ขณะนี้คือ กลุ่ม 608 (ร้อยละ 95) และทั้งหมดเป็นผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนเลย หรือไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น หรือได้รับเข็มกระตุ้นนานเกิน 3 เดือน
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่มีหลายกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็น งานเลี้ยงสังสรรค์ กิจกรรมเฉลิมฉลอง กิจกรรมรวมญาติ รวมไปถึงการท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ขอให้ประชาชนใช้ความระมัดระวัง ไม่ประมาท โดยเฉพาะการใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวในกลุ่ม 7 โรค และหญิงตั้งครรภ์ ควรป้องกันตนเองด้วยการสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในสถานที่แออัด มีคนจำนวนมาก
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid0HCAoxCoaGKv7AFBnzyoi5Vn49VDotJgcUEvextqSbGPGgLqDWrA3tvK9afXPXJaHl
กรมการแพทย์ระดมหน่วยงานในสังกัดร่วมรณรงค์และให้บริการวัคซีน LAAB ภูมิคุ้มกันโควิดสำเร็จรูป
ซึ่งสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ทันทีในกลุ่มเสี่ยงสูงที่มีปัญหาการตอบสนองต่อวัคซีน หรือฉีดวัคซีนแล้วร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันไม่ได้/สร้างได้ไม่สูงพอ
หน่วยงานในสังกัดกรมการแพทย์ Kick Off พร้อมกันวันที่ 27 ธันวาคม 2565 นี้
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02pup9GA474R4SDzn6wkLgF5qZoNE36gEv9GxqFhVj19bZbfJzd9iNn8M1irxCJMkCl&id=100069182200543
กรมควบคุมโรค แจ้งเตือน‼️ พบการระบาดโรคโปลิโอสายพันธุ์วัคซีนกลายพันธุ์ ในอินโดนีเซีย เร่งเข้มวัคซีนชายแดนใต้
เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 สำนักงานองค์การอนามัยโลก ได้รายงานการพบเด็กติดเชื้อโปลิโอ สายพันธุ์กลายพันธุ์ชนิดที่ 2 (cVDPV2) ในจังหวัดอาเจะห์ (Aceh) ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ และในเวลาต่อมายังพบผู้ป่วยเพิ่มอีก 3 ราย ในพื้นที่เดียวกัน โดยพื้นที่ดังกล่าวมีระดับความครอบคลุมการได้รับวัคซีนต่ำอย่างต่อเนื่อง และมีปัญหาการไม่เข้ารับวัคซีนจำนวนมาก ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคได้สูง
เมื่อวันที่ 23 ธันวาคมที่ผ่านมา นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์ของโรคโปลิโอทั่วโลก พบผู้ติดเชื้อโปลิโอสายพันธุ์วัคซีนกลายพันธุ์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่พบการระบาดในพื้นที่ที่มีความครอบคลุมการได้รับวัคซีนต่ำ หากมีการเดินทางของผู้ติดเชื้อโปลิโอจากพื้นที่ระบาด เข้ามาในประเทศไทยอาจเกิดการระบาดในพื้นที่มีระดับความครอบคลุมการได้รับวัคซีนต่ำได้
กรมควบคุมโรค ได้แจ้งให้หน่วยงานในพื้นที่ติดตามเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีนหรือรับวัคซีนล่าช้า มารับวัคซีนอย่างเร่งด่วนเพื่อยกระดับความครอบคลุมการได้รับวัคซีนให้สูงเพียงพอต่อการป้องกันโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีความครอบคลุมการได้รับวัคซีนต่ำอย่างต่อเนื่อง เช่น ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา
นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเสริมว่า ด้วยในขณะนี้ได้มีการผ่อนคลายมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 อีกทั้งมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น จึงมีความเสี่ยงที่เชื้อไวรัสโปลิโออาจจะแพร่เข้ามาในประเทศโดยผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่มีการระบาดของโรค การเร่งรัดความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็กกลุ่มเป้าหมาย ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการโดยเร็ว เนื่องจากโรคโปลิโอเป็นโรคที่มีความรุนแรง หากมีการระบาดอาจส่งผลต่อระบบสาธารณสุข ซึ่งประเทศไทยได้มีแผนการรณรงค์ให้วัคซีนเสริมในเด็กไทยและเด็กต่างชาติที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงเพื่อเป็นการเพิ่มความครอบคลุมและยกระดับภูมิคุ้มกันให้เพียงพอต่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ชนเมธ เตชะแสนศิริ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ได้กล่าวว่า โรคโปลิโอเป็นโรคที่ก่อให้เกิดการอักเสบของไขสันหลังซึ่งเป็นสาเหตุให้มีอาการอัมพาตของกล้ามเนื้อ อาจถึงขั้นพิการตลอดชีวิตหรือเสียชีวิต ติดต่อจากคนสู่คนผ่านการรับประทานอาหาร หรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อ ปัจจุบันโรคโปลิโอยังไม่มียารักษาให้หายขาด การเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรค โดยในปัจจุบันมีวัคซีน 2 ชนิด คือ วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน (OPV) และวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (IPV) ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานเข้ารับวัคซีนตามกำหนดการให้วัคซีนที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ รวมทั้ง การป้องกันด้านสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น ล้างมือ รับประทานอาหารและดื่มน้ำสะอาดถูกสุขลักษณะ ขับถ่ายอุจจาระลงส้วมที่ถูกสุขลักษณะทุกครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อโปลิโอ
https://web.facebook.com/NBT2HDTV/posts/pfbid05CijgrHrFHKwNcSnSJJLb2ojjqtCfZcrG9zZReVJGbxKbMoUNgDTy8BKEPJ7NUoAl
คืบหน้า! วัคซีนโควิด HXP-GPOVac ขององค์การเภสัชฯ ทดลองระยะที่ 3 แล้ว หากได้ผลดี พร้อมขึ้นทะเบียนวัคซีนกับ อย. ภายในปี 66 นี้
องค์การเภสัชกรรม รายงานความคืบหน้า วัคซีนเอชเอ็กซ์พี-จีพีโอแวค (HXP-GPOVac) สำหรับป้องกันโรคโควิด 19 ในรูปแบบเข็มกระตุ้น ขณะนี้ เดินหน้าทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 แล้วเมื่อวานนี้ 23 ธันวาคม 2565 ที่โรงพยาบาลนครพนม โดยฉีดให้กับอาสาสมัครอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 4,000 คน ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มหลักมาแล้วจำนวน 2 เข็ม เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น หลังผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 ในปี พ.ศ. 2564 และระยะที่ 2 ในปี พ.ศ. 2564-2565 พบว่าวัคซีนมีความปลอดภัยและสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี จึงนำไปสู่การคัดเลือกสูตรตำรับที่เหมาะสมกับการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3
ทั้งนี้ หากผลทดสอบระยะที่ 3 เป็นที่น่าพอใจและมีศักยภาพในการใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นได้ องค์การเภสัชกรรมจะสามารถยื่นขึ้นทะเบียนวัคซีนต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ภายในปี พ.ศ. 2566 และกระจายวัคซีนสู่ผู้ใช้ได้หลังจากนั้น ซึ่งองค์การเภสัชกรรมมีศักยภาพในการผลิตวัคซีนโควิด (HXP-GPOVac) ได้ประมาณ 5-10 ล้านโดสต่อปี และสามารถขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต
https://web.facebook.com/Rachadaspoke/posts/pfbid02PQZZjnXgTHHvf62fbkDFVq7r14zQELEsyB5kbHojJQeLdS1jDwZUoEazSjMKDvMWl
สธ.ยัน!! ”เตียงโควิดเพียงพอ” คาดหลังปีใหม่ติดเชื้อระลอกเล็กๆ ไม่กังวลหาก นทท. จีนเข้ามามากขึ้น
วานนี้ [ 24 ธ.ค. 65 ] นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทยนั้น ขณะนี้มีการคาดการณ์ว่า หลังปีใหม่จะมีการติดเชื้อระลอกเล็กๆ (Small wave) เพราะวัคซีนป้องกันการติดเชื้อได้ไม่ 100% แต่ป้องกันการเสียชีวิตได้ดี อีกทั้งปัจจุบันการติดเชื้อทำให้มีการครองเตียงใน รพ. ใช้ไปราวๆ 30 % เรายังมีเตียงสามารถให้การดูแลได้ จึงไม่ต้องกังวลหากมีการติดเชื้อ เพราะการติดเชื้อตอนนี้ส่วนใหญ่ก็พักรักษาตัวที่บ้าน
ส่วนที่นักท่องเที่ยวจีนอาจเข้ามาเที่ยวไทยมากขึ้น หลังเปิดประเทศนั้น ซึ่งสถานการณ์ที่จีนมีการระบาดเพิ่มมากขึ้น จริงๆ ตอนนี้ในใจตน ไม่ได้กลัวปัญหาการติดเชื้อ
ด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ภาพรวมความรุนแรงเมื่อติดเชื้อโควิด-19 ไม่ได้แสดงออกชัดเจน แม้แต่ประเทศที่ติดเยอะๆ บางช่วงระบาดมาก เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น หรือยุโรป ที่เคยมีการเสียชีวิตจำนวนมาก แต่ปัจจุบันไม่ได้เป็นเช่นนั้นแล้ว จึงเชื่อว่าสภาพแวดล้อมเริ่มสมดุล คนทั่วไปมีภูมิคุ้มกันไม่ว่าจะเป็นภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อ หรือจากการฉีดวัคซีนก็ตาม ทำให้เมื่อเกิดการติดเชื้อจึงไม่มีความรุนแรงนัก สำหรับความจำเป็นในการใช้วัคซีนสำหรับบางสายพันธุ์โดยตรงนั้น ส่วนตัวมองว่ายังไม่มีความจำเป็น เพราะถึงจะเป็นวัคซีนตัวใหม่ๆ ออกมา แต่เมื่อมาเจอกับวัคซีนสายพันธุ์ที่พบใหม่ วัคซีนก็ไล่ไม่ทันเชื้อกลายพันธุ์อยู่ดี
"อย่างตอนนี้ เชื้อที่พบมากในไทยคือ BA.2.75 วัคซีนตัวไหนก็คือๆ กัน ต่างกันนิดหน่อย ดังนั้น หากจะเอาวัคซีนใหม่เข้ามาต้องดูว่าวัคซีนที่เรามีอยู่นั้นมีจำนวนมาก หากเอาของใหม่มา ของเก่าก็ทิ้ง กลายเป็นต้นทุนมหาศาล ถามว่าจำเป็นหรือไม่ ก็ไม่จำเป็น ไม่ได้เซฟชีวิตต่างจากเดิม" นพ.ศุภกิจกล่าว
https://web.facebook.com/NBT2HDTV/posts/pfbid02KTL8fcyqeVyXkNDTv6itiAzVcJKWXVZupLLyK61Y1pX4hoTabSzDB53RinqxNJvsl
“เที่ยวปีใหม่ อุ่นใจ “ เชิญชวนประชาชน และกลุ่ม 608 ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นก่อนเที่ยวช่วงเทศกาลปีใหม่
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 นี้ คาดว่าจะมีประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาจำนวนมาก ขณะที่สถานการณ์โควิด 19 ในประเทศไทยยังคงพบผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้น จึงเชิญชวนให้ประชาชน ผู้ที่ได้รับวัคซีนมาแล้วเกิน 4 เดือน ให้มารับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพิ่มภูมิคุ้มกัน ก่อนจะถึงเทศกาลปีใหม่ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
โควิด-19 และสร้างความอุ่นใจให้คนในครอบครัวและคนรอบข้าง ว่าจะได้รับความปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ โดยสามารถเข้ารับวัคซีนที่โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน
ทั้งนี้ กลุ่ม 608 หรือผู้สูงอายุมีอายุ 60 ปีขึ้นไปและผู้มีโรคประจำตัวในกลุ่ม 7 โรค และหญิงตั้งครรภ์ ถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ควรต้องเข้ารับวัคซีนตามเกณฑ์และรับเข็มกระตุ้นเมื่อครบระยะเวลา เพื่อลดอาการป่วยหนักหรือเสียชีวิต หากเกิดการติดเชื้อ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ที่จะต้องรอรับบุตรหลานในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ หากเกิดการติดเชื้อ การฉีดวัคซีนจะช่วยลดอาการรุนแรงและการเสียชีวิตได้เกือบ 100% ซึ่งข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขล่าสุดได้ ระบุว่า กลุ่มผู้ที่เสียชีวิตจากโควิด19 ขณะนี้คือ กลุ่ม 608 (ร้อยละ 95) และทั้งหมดเป็นผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนเลย หรือไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น หรือได้รับเข็มกระตุ้นนานเกิน 3 เดือน
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่มีหลายกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็น งานเลี้ยงสังสรรค์ กิจกรรมเฉลิมฉลอง กิจกรรมรวมญาติ รวมไปถึงการท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ขอให้ประชาชนใช้ความระมัดระวัง ไม่ประมาท โดยเฉพาะการใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวในกลุ่ม 7 โรค และหญิงตั้งครรภ์ ควรป้องกันตนเองด้วยการสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในสถานที่แออัด มีคนจำนวนมาก
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid0HCAoxCoaGKv7AFBnzyoi5Vn49VDotJgcUEvextqSbGPGgLqDWrA3tvK9afXPXJaHl
กรมการแพทย์ระดมหน่วยงานในสังกัดร่วมรณรงค์และให้บริการวัคซีน LAAB ภูมิคุ้มกันโควิดสำเร็จรูป
ซึ่งสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ทันทีในกลุ่มเสี่ยงสูงที่มีปัญหาการตอบสนองต่อวัคซีน หรือฉีดวัคซีนแล้วร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันไม่ได้/สร้างได้ไม่สูงพอ
หน่วยงานในสังกัดกรมการแพทย์ Kick Off พร้อมกันวันที่ 27 ธันวาคม 2565 นี้
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02pup9GA474R4SDzn6wkLgF5qZoNE36gEv9GxqFhVj19bZbfJzd9iNn8M1irxCJMkCl&id=100069182200543
กรมควบคุมโรค แจ้งเตือน‼️ พบการระบาดโรคโปลิโอสายพันธุ์วัคซีนกลายพันธุ์ ในอินโดนีเซีย เร่งเข้มวัคซีนชายแดนใต้
เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 สำนักงานองค์การอนามัยโลก ได้รายงานการพบเด็กติดเชื้อโปลิโอ สายพันธุ์กลายพันธุ์ชนิดที่ 2 (cVDPV2) ในจังหวัดอาเจะห์ (Aceh) ซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ และในเวลาต่อมายังพบผู้ป่วยเพิ่มอีก 3 ราย ในพื้นที่เดียวกัน โดยพื้นที่ดังกล่าวมีระดับความครอบคลุมการได้รับวัคซีนต่ำอย่างต่อเนื่อง และมีปัญหาการไม่เข้ารับวัคซีนจำนวนมาก ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคได้สูง
เมื่อวันที่ 23 ธันวาคมที่ผ่านมา นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์ของโรคโปลิโอทั่วโลก พบผู้ติดเชื้อโปลิโอสายพันธุ์วัคซีนกลายพันธุ์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่พบการระบาดในพื้นที่ที่มีความครอบคลุมการได้รับวัคซีนต่ำ หากมีการเดินทางของผู้ติดเชื้อโปลิโอจากพื้นที่ระบาด เข้ามาในประเทศไทยอาจเกิดการระบาดในพื้นที่มีระดับความครอบคลุมการได้รับวัคซีนต่ำได้
กรมควบคุมโรค ได้แจ้งให้หน่วยงานในพื้นที่ติดตามเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีนหรือรับวัคซีนล่าช้า มารับวัคซีนอย่างเร่งด่วนเพื่อยกระดับความครอบคลุมการได้รับวัคซีนให้สูงเพียงพอต่อการป้องกันโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีความครอบคลุมการได้รับวัคซีนต่ำอย่างต่อเนื่อง เช่น ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา
นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเสริมว่า ด้วยในขณะนี้ได้มีการผ่อนคลายมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 อีกทั้งมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น จึงมีความเสี่ยงที่เชื้อไวรัสโปลิโออาจจะแพร่เข้ามาในประเทศโดยผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่มีการระบาดของโรค การเร่งรัดความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็กกลุ่มเป้าหมาย ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการโดยเร็ว เนื่องจากโรคโปลิโอเป็นโรคที่มีความรุนแรง หากมีการระบาดอาจส่งผลต่อระบบสาธารณสุข ซึ่งประเทศไทยได้มีแผนการรณรงค์ให้วัคซีนเสริมในเด็กไทยและเด็กต่างชาติที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงเพื่อเป็นการเพิ่มความครอบคลุมและยกระดับภูมิคุ้มกันให้เพียงพอต่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ชนเมธ เตชะแสนศิริ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ได้กล่าวว่า โรคโปลิโอเป็นโรคที่ก่อให้เกิดการอักเสบของไขสันหลังซึ่งเป็นสาเหตุให้มีอาการอัมพาตของกล้ามเนื้อ อาจถึงขั้นพิการตลอดชีวิตหรือเสียชีวิต ติดต่อจากคนสู่คนผ่านการรับประทานอาหาร หรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อ ปัจจุบันโรคโปลิโอยังไม่มียารักษาให้หายขาด การเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรค โดยในปัจจุบันมีวัคซีน 2 ชนิด คือ วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน (OPV) และวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (IPV) ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานเข้ารับวัคซีนตามกำหนดการให้วัคซีนที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ รวมทั้ง การป้องกันด้านสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น ล้างมือ รับประทานอาหารและดื่มน้ำสะอาดถูกสุขลักษณะ ขับถ่ายอุจจาระลงส้วมที่ถูกสุขลักษณะทุกครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อโปลิโอ
https://web.facebook.com/NBT2HDTV/posts/pfbid05CijgrHrFHKwNcSnSJJLb2ojjqtCfZcrG9zZReVJGbxKbMoUNgDTy8BKEPJ7NUoAl
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭❤️มาลาริน❤️🇹🇭"หมอ ยง" เผยข้อมูลการเสียชีวิตส่วนเกินช่วงการระบาดของโควิด/อภ.ทดลองวัคซีนโควิด HXP-GPOVac ระยะ3 แล้ว
วันที่ 24 ธ.ค.65 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Yong Poovorawan ว่า ...👇
โควิด 19 การเสียชีวิต ส่วนเกิน ในช่วงการระบาดของโควิด 19
การระบาดของโรค covid19 ทำให้เกิดการสูญเสียโอกาส ในการดูแลรักษาโรคอื่นๆ ทำให้โรคอื่นๆ เสียชีวิตเนื่องจากการเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้ลดน้อยลง การที่ต้องอยู่บ้าน การล็อคดาวน์ รวมทั้งมีการงด OPD งดการผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยหรือโรคบางโรค ไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงที เป็นเหตุให้เสียโอกาสและเสียชีวิต จึงมีการศึกษาถึงการเสียชีวิตส่วนเกิน จากช่วง covid 19 ระบาด เมื่อเปรียบเทียบกับภาวะปกติที่ไม่มีโรคระบาด
องค์การอนามัยโลกได้ประเมินการสูญเสียชีวิตส่วนเกิน ที่เกิดขึ้นในช่วงการระบาดของ covid 19 เปรียบเทียบกับการเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 เป็นตัวเลขที่น่าสนใจ
การเสียชีวิตส่วนเกิน มีถึง 14.83 ล้านคน สูงกว่าการตายจาก Covid 19 ทั่วทั้งโลกถึง 2.7 เท่า การตายจากโรค covid-19 มีจำนวน 5.42 ล้านคน ในช่วงเวลาเดียวกัน
จากรูปที่รายงานโดยองค์การอนามัยโลก ประเทศไทยมีการประเมินการเสียชีวิตส่วนเกิน ในเวลาดังกล่าวที่มีการระบาดของ covid 19 ในอัตราน้อยกว่า หลายประเทศในยุโรป และอเมริกา และยังน้อยกว่าการตายจาก covid-19 แสดงให้เห็นความแข็งแกร่งของระบบสาธารณสุขประเทศไทย และการวางแผนรับมือต่อโรค covid-19 ในภาพรวม
https://siamrath.co.th/n/410063
อภ.ทดลองวัคซีนโควิด HXP-GPOVac ระยะที่ 3 แล้ว หากได้ผลดีพร้อมขึ้นทะเบียนปี 66
องค์การเภสัชกรรม รายงานความคืบหน้า วัคซีนเอชเอ็กซ์พี-จีพีโอแวค (HXP-GPOVac) สำหรับป้องกันโรคโควิด 19 ในรูปแบบเข็มกระตุ้น ขณะนี้ เดินหน้าทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 แล้วเมื่อวานนี้ 23 ธันวาคม 2565 ที่โรงพยาบาลนครพนม โดยฉีดให้กับอาสาสมัครอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 4,000 คน ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มหลักมาแล้วจำนวน 2 เข็ม เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น หลังผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 ในปี พ.ศ. 2564 และระยะที่ 2 ในปี พ.ศ. 2564-2565 พบว่าวัคซีนมีความปลอดภัยและสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี จึงนำไปสู่การคัดเลือกสูตรตำรับที่เหมาะสมกับการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3
ทั้งนี้ หากผลทดสอบระยะที่ 3 เป็นที่น่าพอใจและมีศักยภาพในการใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นได้ องค์การเภสัชกรรมจะสามารถยื่นขึ้นทะเบียนวัคซีนต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ภายในปี พ.ศ. 2566 และกระจายวัคซีนสู่ผู้ใช้ได้หลังจากนั้น ซึ่งองค์การเภสัชกรรมมีศักยภาพในการผลิตวัคซีนโควิด (HXP-GPOVac) ได้ประมาณ 5-10 ล้านโดสต่อปี และสามารถขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต
https://mgronline.com/uptodate/detail/9650000122300
ติดตามข่าวโควิดกันต่อนะคะ....