คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 15
แถลงความคืบหน้า สถานการณ์ โรคไวรัสโควิด-19 ประจำวันที่ 23 สิงหาคม 2564 เวลา 12.30 น.
แถลงความคืบหน้า สถานการณ์ โรคไวรัสโควิด-19
ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ประจำวันที่ 23 สิงหาคม 2564 เวลา 12.30 น.
กระทรวงสาธารณสุข แถลงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 23 สิงหาคม 2564 เวลา 13.30 น.
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ณ กระทรวงสาธารณสุข
วันที่ 23 สิงหาคม 2564
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2564
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/392007429084254
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19
ณ วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2564
ประเทศไทย
วันนี้มีผู้ติดเชื้อ 17,491 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสม 1,066,786 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯเพิ่มขึ้น 15,014 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 398 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น 7 ราย
- ผู้ติดเชื้อในสถานกักกันของรัฐสะสม 4,869 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกวันนี้ 2,072 ราย (ยอดผู้ติดเชื้อสะสมจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกอยู่ที่ 230,581 ราย)
เสียชีวิตรวม 9,562 ราย(วันนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 242 ราย)
รักษาหายป่วยแล้ว 861,770 ราย (มีผู้ป่วยกลับบ้านเพิ่มขึ้น 22,134 ราย)
รักษาอยู่ในโรงพยาบาล 195,454 ราย
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ภายในประเทศ (ไม่รวมเรือนจำ) 17,086 ราย มีรายละเอียดดังนี้ จากกรุงเทพฯ(3,472) ปริมณฑล (4,100) จังหวัดอื่น ๆ (9,514)
สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ เพิ่มขึ้นในวันนี้ 7 รายและเข้า Quarantine โดยเข้ารับการรักษาที่ยะลา(2) ภูเก็ต(1) ตาก(3) และ สระแก้ว(1) มีรายละเอียดดังนี้
- จากประเทศอิสราเอล 1 ราย
- จากประเทศเมียนมา 3 ราย
- จากประเทศมาเลเซีย 2 ราย
- จากประเทศกัมพูชา 1 ราย
สถานการณ์โลกในวันนี้
- ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลก 212.5 ล้านราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมกว่า 4.4 ล้านราย(คิดเป็นร้อยละ 2.09 ของจำนวนผู้ติดเชื้อ) ในขณะที่ผู้รักษาหายมีจำนวน 190.2 ล้านราย (คิดเป็นร้อยละ 89.47)
- สหรัฐอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ 30,810 ราย และยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่อันดับ 1 ของโลก อยู่ที่ 645,058 ราย
- อินเดีย ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทะลุ 32.4 ล้านรายแล้ว โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ 25,420 ราย ทั้งนี้ยอดผู้รักษาหายในอินเดียอยู่ที่ 31.6 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 97.5
- ไทยมียอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่อันดับ 33 และยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่อันดับ 51 ของโลก
สถานการณ์อาเซียนในวันนี้
- เมียนมา ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 373,685 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ยในรอบ 7 วันที่ผ่านมาอยู่ที่ 2,772 ราย และมีจำนวนผู้เสียชีวิตกว่า 14,374 ราย
- มาเลเซีย ยอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 1,555,093 ราย โดยยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ อยู่ที่ 19,807 ราย
- กัมพูชา ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 89,231 ราย มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 1,792 ราย
- ลาว ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 12,469 ราย โดยกำลังรักษาอยู่ 7,854 ราย
- เวียดนาม ผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ที่ 11,214 ราย และมียอดผู้เสียชีวิตสะสม 8,277 ราย
ประมวลข้อมูลโดย กรมควบคุมโรค และศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนาสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
https://web.facebook.com/nrctofficial/posts/4088467191278822
แถลงความคืบหน้า สถานการณ์ โรคไวรัสโควิด-19
ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ประจำวันที่ 23 สิงหาคม 2564 เวลา 12.30 น.
กระทรวงสาธารณสุข แถลงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 23 สิงหาคม 2564 เวลา 13.30 น.
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ณ กระทรวงสาธารณสุข
วันที่ 23 สิงหาคม 2564
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2564
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/392007429084254
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19
ณ วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2564
ประเทศไทย
วันนี้มีผู้ติดเชื้อ 17,491 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสม 1,066,786 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯเพิ่มขึ้น 15,014 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 398 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น 7 ราย
- ผู้ติดเชื้อในสถานกักกันของรัฐสะสม 4,869 ราย
- เป็นผู้ติดเชื้อจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกวันนี้ 2,072 ราย (ยอดผู้ติดเชื้อสะสมจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกอยู่ที่ 230,581 ราย)
เสียชีวิตรวม 9,562 ราย(วันนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 242 ราย)
รักษาหายป่วยแล้ว 861,770 ราย (มีผู้ป่วยกลับบ้านเพิ่มขึ้น 22,134 ราย)
รักษาอยู่ในโรงพยาบาล 195,454 ราย
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ภายในประเทศ (ไม่รวมเรือนจำ) 17,086 ราย มีรายละเอียดดังนี้ จากกรุงเทพฯ(3,472) ปริมณฑล (4,100) จังหวัดอื่น ๆ (9,514)
สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ เพิ่มขึ้นในวันนี้ 7 รายและเข้า Quarantine โดยเข้ารับการรักษาที่ยะลา(2) ภูเก็ต(1) ตาก(3) และ สระแก้ว(1) มีรายละเอียดดังนี้
- จากประเทศอิสราเอล 1 ราย
- จากประเทศเมียนมา 3 ราย
- จากประเทศมาเลเซีย 2 ราย
- จากประเทศกัมพูชา 1 ราย
สถานการณ์โลกในวันนี้
- ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลก 212.5 ล้านราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมกว่า 4.4 ล้านราย(คิดเป็นร้อยละ 2.09 ของจำนวนผู้ติดเชื้อ) ในขณะที่ผู้รักษาหายมีจำนวน 190.2 ล้านราย (คิดเป็นร้อยละ 89.47)
- สหรัฐอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ 30,810 ราย และยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่อันดับ 1 ของโลก อยู่ที่ 645,058 ราย
- อินเดีย ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทะลุ 32.4 ล้านรายแล้ว โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ 25,420 ราย ทั้งนี้ยอดผู้รักษาหายในอินเดียอยู่ที่ 31.6 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 97.5
- ไทยมียอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่อันดับ 33 และยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่อันดับ 51 ของโลก
สถานการณ์อาเซียนในวันนี้
- เมียนมา ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 373,685 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ยในรอบ 7 วันที่ผ่านมาอยู่ที่ 2,772 ราย และมีจำนวนผู้เสียชีวิตกว่า 14,374 ราย
- มาเลเซีย ยอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 1,555,093 ราย โดยยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ อยู่ที่ 19,807 ราย
- กัมพูชา ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 89,231 ราย มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 1,792 ราย
- ลาว ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสม 12,469 ราย โดยกำลังรักษาอยู่ 7,854 ราย
- เวียดนาม ผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ที่ 11,214 ราย และมียอดผู้เสียชีวิตสะสม 8,277 ราย
ประมวลข้อมูลโดย กรมควบคุมโรค และศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนาสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
https://web.facebook.com/nrctofficial/posts/4088467191278822
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭มาลาริน💛23ส.ค. ป่วย17,491คน รักษาหาย22,134คน เสียชีวิต242คน/ยอดวัคซีน22ส.ค./จว.ติดเชื้อเกิน100ลดลง/คืบหน้าวัคซีนไทย
ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด วันที่ 23 ส.ค. 64 ภาพรวมของการระบาดยังต้องคอยเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หลังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 17,491 ราย แบ่งเป็น ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 17,093 ราย และผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 398 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 1,066,789 ราย ไม่รวม ATK อีก 901 ราย สะสม 60,260 ราย อีกทั้งยังมียอดผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง
โดยวันนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 242 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2564 มียอดผู้เสียชีวิตสะสมสูงถึง 9,468 รายแล้ว ขณะที่ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม 9,562 รายแล้ว
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/956074
สัญญาณดี! ติดเชื้อใหม่เกินร้อยลดเหลือ 38 จว.
"กทม." ยังหนักสุด 3,472
เมื่อวันที่ 23 ส.ค.64 ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 ได้รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย ข้อมูลวันที่ 23 ส.ค.64 เวลา 01.00 น. ยังคงพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในทั้ง 77 จังหวัด โดยกทม.แม้ยอดติดเชื้อรายใหม่จะลดลงในรอบหลายสัปดาห์แต่ยังคงสูงที่สุด ที่ 3,472 ราย ตามด้วย สมุทรสาคร ที่แม้ลดลงแต่ยังอยู่ในหลักพัน 1,396 สมุทรปราการที่วันนี้เพิ่มขึ้นมาเป็นหลักพัน ขณะที่ชลบุรี ลดต่ำกว่าพันในรอบหลายสัปดาห์ โดยจังหวัดแม่ฮ่องสอน ยังคงพบผู้ติดเชื้อรายใหม่น้อยที่สุดที่ 1 ราย ขณะมี 38 จังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เกินร้อย ซึ่งลดลงเช่นกัน
ภาคกลางมี 13 จังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เกินร้อย ได้แก่ กทม. สมุทรสาคร สมุทรปราการ นนทบุรี นครปฐม พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ลพบุรี ปทุมธานี อ่างทอง กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และนครนายก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบติดเชื้อรายใหม่เกินร้อยลดลงเช่นกันเหลือ 9 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น และอุดรธานี
ภาคใต้พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เกินร้อยใน 8 จังหวัดได้แก่ สงขลา นราธิวาส นครศรีธรรมราช ระนอง ภูเก็ต ชุมพร ปัตตานี และยะลา
ภาคตะวันออก พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เกินร้อยใน 5 จังหวัดคือ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ระยอง และปราจีนบุรี
ภาคตะวันตก พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เกินร้อยใน 3 จังหวัดคือ ราชบุรี กาญจนบุรี และตาก
ขณะที่ภาคเหนือ ผู้ติดเชื้อรายใหม่ยังคงอยู่ในหลักสิบ
https://siamrath.co.th/n/273904
ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 22 สิงหาคม 2564 มีผู้รับวัคซีน สะสมทั้งหมด จำนวน 27,038,999 โดส วันที่ 22 สิงหาคม 2564 มีผู้รับการฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 จำนวน 157,857 ราย เข็มที่ 2 จำนวน 47,183 ราย เข็มที่ 3 จำนวน 1,780 ราย รวม 206,820 ราย
https://www.banmuang.co.th/news/politic/247396
ส่องความคืบหน้า 'วัคซีนโควิด-19' สัญชาติไทย
วัคซีนโควิด-19' ถือเป็นความหวังของทั่วโลกในการป้องกันการแพร่ระบาดของ 'โควิด-19' รวมถึงลดอัตราการป่วยหนักและเสียชีวิต ขณะเดียวกันวัคซีนโควิด 19 ของไทย ขณะนี้ หลายชนิดมีความคืบหน้า และถือเป็นอีกหนึ่งความหวังในการลดการนำเข้าวัคซีนในอนาคต
ข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก (WHO) เดือน มิ.ย. 64 พบว่า มี วัคซีนโควิด-19 ที่อยู่ในขั้นการทดลองในมนุษย์กว่า 100 รายการ และอีก 184 รายการ อยู่ในขั้นศึกษาวิจัย สำหรับประเทศไทย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการพัฒนา วิจัย วัคซีนโควิด-19 ในหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และ มหาวิทยาลัย
ปัจจุบัน การวิจัยพัฒนา วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย มีความก้าวหน้าตามลำดับ อาทิ ...👇
✏วัคซีนชนิด Protein Subunit ของบริษัทใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ระหว่างทดสอบในมนุษย์เฟส 1 ,
✏วัคซีนชนิด mRNA ของศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำลังเข้าสู่การทดสอบในมนุษย์ระยะ 2 ,
✏วัคซีนโควิด-19 HXP–GPOVac ขององค์การเภสัชกรรม
✏และอีก 1 ชนิด อยู่ระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยในสัตว์ทดลอง คือ วัคซีนโควิเจน ชนิด DNA ของบริษัท Bionet-Asia จำกัด
👉“ChulaCOV19”
ซึ่งพัฒนาโดย ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย เป็นวัคซีนชนิด mRNA เช่นเดียวกับไฟเซอร์ และโมเดอร์นา มีการทดลองในสัตว์ทดลองทั้งหนู และลิง พบว่ามีประสิทธิภาพ สร้างภูมิคุ้มได้ในระดับสูง ล่าสุดทดลองในกลุ่มอาสาสมัคร อายุ 18-55 ปี 36 คน ในเดือน มิ.ย. ผลอาสาสมัคร ไม่มีผลข้างเคียงรุนแรงใดๆ มีผลข้างเคียงอยู่ในระดับเล็กน้อยหรือปานกลาง
“ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม” ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า ผลการทดลองในกลุ่มอาสาสมัครที่ฉีดวัคซีน ChulaCov19 พบว่า สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิดแอนตี้บอดี้ ได้เทียบเท่ากับวัคซีนชนิด mRNA อย่าง ไฟเซอร์ โดยสามารถยับยั้งการจับโปรตีนที่กลุ่มหนามได้ 94% เท่ากับไฟเซอร์ 94%
รวมถึงสามารถกระตุ้นแอนตี้บอดี้ได้สูงมากในการยับยั้งสายพันธุ์ดั้งเดิม แอนตี้บอดี้ที่สูงนี้สามารถยับยั้งเชื้อข้ามสายพันธุ์ได้ทั้ง 4 สายพันธุ์ คือ อัลฟ่า เบต้า แกมม่า และเดลต้า อีกทั้งสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิด T-cell ซึ่งจะช่วยขจัดและควบคุมเชื่อที่อยู่ในเซลล์ของคนที่ติดเชื้อได้
สามารถอยู่ในอุณหภูมิตู้เย็น (2-8 องศาเซลเซียส) ได้นานถึง 3 เดือน เก็บในอุณหภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส) ได้นาน 2 สัปดาห์ พร้อมกันนี้ จะทำการเดินหน้าทดลองเฟส 2 ในวันที่ 25 ส.ค.นี้ และหากกติกาของ อย. ไม่จำเป็นต้องทดลองในเฟส 3 คาดว่าจะได้ใช้ราว เม.ย. 2565
นอกจากนั้น จุฬาฯ ได้มีการเตรียมโรงงานในการผลิตจากโรงงานของบริษัทไบโอเนท-เอเชีย จำกัด ในประเทศไทย ซึ่งมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตรองรับมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่งหากผลการศึกษาวิจัยสำเร็จตามแผนจะใช้โรงงานแห่งนี้ในการผลิตวัคซีนโควิด ชนิด mRNAของจุฬาฯ โดยคาดว่าโรงงานจะสามารถผลิตได้ 30-50 ล้านโดสต่อปี ทำให้สามารถปิดช่องว่างวงจรการผลิตวัคซีนในไทยได้
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/956074
ขอบคุณทุกฝ่ายที่ร่วมใจกันลดจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดนะคะ