คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/554674992817496
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 3 พ.ค. 2565)
รวม 134,030,976 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 3 พฤษภาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 349,634 โดส
เข็มที่ 1 : 13,903 ราย
เข็มที่ 2 : 33,990 ราย
เข็มที่ 3 : 301,741 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 56,325,614 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 51,399,669 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 26,305,693 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/554568122828183
สธ. แจง !! เปิดเรียน On-Site ปลอดภัย อยู่ได้กับโควิด
ปฏิบัติตามหลัก - 3T 1V “ตัดความเสี่ยง เพิ่มภูมิคุ้มกัน”
- มาตรการ 6-6-7 - โรงเรียนประจำ เพิ่ม Sandbox Safety zone in School
ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 นี้ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการประชุมชี้แจงมาตรการเปิดเรียน On-Site ปลอดภัย อยู่ได้กับโควิด-19 ในสถานศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ด้วยหลักการพื้นฐานก็คือ 3T 1V “ตัดความเสี่ยง เพิ่มภูมิคุ้มกัน” มาตรการ 6-6-7 เป็นสิ่งที่ยังคงเน้นย้ำ ส่วนโรงเรียนประจำ ต้องดำเนินการตาม Sandbox Safety zone in School ตามมาตรการต่อไปนี้คือ 1) เร่งรัดการฉีดวัคซีน เพื่อให้นักเรียนได้รับวัคซีนตามความสมัครใจให้ครอบคลุม 2) สถานศึกษา ต้องเข้ารับการประเมิน Thai Stop COVID Plus โดยต้องผ่านการประเมินมากกว่าร้อยละ 95 3) เน้นย้ำการทำตามแผนเผชิญเหตุ เมื่อเจอผู้ติดเชื้อ หรือเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงไม่ดำเนินการปิดชั้นเรียนหรือโรงเรียน เป้าประสงค์นักเรียนควรได้รับการเรียนรู้อย่างเต็มที่ที่โรงเรียน และ4) เน้นย้ำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดให้ปฏิบัติตามมาตรการ โดยมอบหมายให้ศูนย์อนามัยในเขตสุขภาพเป็นพี่เลี้ยง
ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/554609019490760
ผู้สูงอายุต้องได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น
เพื่อลดความเสี่ยงและความรุนแรงของโควิด
ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/554614926156836
ป้องกันอย่างไร? เมื่อมี “อาการลองโควิด”
ที่มา : หมอพร้อม
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/554620882822907
กทม. จัดคูหาแยกโซนผู้ป่วยโควิด ลงคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.- ส.ก. 22 พ.ค.นี้
นายชวินทร์ ศิรินาค รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ในส่วนของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการจัดเตรียมสถานที่เลือกตั้งภายใต้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตามที่ภาครัฐกำหนด ดังนี้
- สถานที่ ดังนี้ 1.เตรียมพื้นที่โดยแยกพื้นที่ แยกโซน ไม่ปะปนกับคนทั่วไป ทั้งนี้ให้อยู่ในการกำกับของเจ้าหน้าที่และปรับให้เหมาะสมบริบทพื้นที่ 2.เตรียมคูหาพิเศษ สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 สำหรับเจ้าหน้าที่ประจำหน่วย ต้องสวมถุงมือ หน้ากากอนามัย face shield ในขณะปฏิบัติหน้าที่
- เจ้าหน้าที่ ดังนี้ 1.หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่แออัด หรือร่วมกิจกรรมที่มีคนรวมกัน ก่อนการปฏิบัติงาน 5 วัน 2.กรณีเจ้าหน้าที่มีประวัติเดินทางไปในสถานที่มีความเสี่ยงสูง มีความใกล้ชิดกับบุคคลที่ติดเชื้อ หรือมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ควรหลีกเลี่ยงการปฏิบัติหน้าที่และตรวจ ATK ก่อนการปฏิบัติงาน 3.สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ในหน่วยเลือกตั้ง 4.หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณใบหน้า ตา จมูก ปาก หรือสัมผัสกับหน้ากากอนามัย 5.หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หรือเมื่อสัมผัสกับพื้นผิวหรือมือผู้อื่น 6.ระหว่างการนับคะแนน ควรจัดให้มีการเว้นระยะห่างระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชนอย่างน้อย 1-2 เมตร และขอความร่วมมือกับประชาชนให้หลีกเลี่ยงการตะโกนเชียร์ขณะนับคะแนน 7.เมื่อเสร็จจากการปฏิบัติหน้าที่และกลับถึงบ้านให้รีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทันที 8.เฝ้าระวังสังเกตอาการตนเอง 7 วัน หากมีอาการเจ็บป่วยสงสัยติดเชื้อโควิด-19 ให้ตรวจหาเชื้อด้วย ATK ทันที
- ประชาชนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ดังนี้ 1.เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น เจลแอลกอฮอล์ ปากกาส่วนตัวสำหรับใช้ลงทะเบียนและกาบัตรเลือกตั้ง 2.สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่อออกจากบ้านและขณะอยู่ในหน่วยเลือกตั้ง 3.ตรวจวัดอุณหภูมิ และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ก่อนเข้าหน่วยเลือกตั้ง หากมีอุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส เป็นหวัด ไอหรือจามผิดปกติ ให้ใช้สิทธิลงคะแนนในคูหาพิเศษ ที่คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งได้จัดเตรียมไว้ 4.เว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร 5.ทำการหย่อนบัตรเอง ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่ 6.ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ก่อนออกจากหน่วยเลือกตั้ง
- ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ดังนี้ 1.เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น เจลแอลกอฮอล์ ปากกาส่วนตัวสำหรับใช้ลงทะเบียนและกาบัตรเลือกตั้ง 2.สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่อออกจากบ้านหรือสถานที่กักตัวและขณะอยู่ในหน่วยเลือกตั้ง 3.หลีกเลี่ยงการใช้บริการขนส่งสาธารณะโดยไม่จำเป็น แนะนำให้เดินทางโดยใช้รถยนต์ส่วนตัว หรือนั่งรถที่หน่วยงานท้องถิ่นมีการจัดเตรียมไว้เท่านั้น 4.เว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร 5.ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ให้ออกจากบ้านหรือสถานที่กักตัว เพื่อไปเลือกตั้งตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ และเข้าคูหาสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 เท่านั้น 6.ทำการหย่อนบัตรเอง ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่ 7.เมื่อเสร็จจากการเลือกตั้งให้รีบกลับบ้านหรือกลับสถานที่กักตัวทันที ไม่แวะทำกิจกรรมใดๆ ระหว่างทางโดยเด็ดขาด
ที่มา : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/554630752821920
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2565 จำนวน 82 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/554676112817384
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/554674992817496
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 3 พ.ค. 2565)
รวม 134,030,976 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 3 พฤษภาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 349,634 โดส
เข็มที่ 1 : 13,903 ราย
เข็มที่ 2 : 33,990 ราย
เข็มที่ 3 : 301,741 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 56,325,614 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 51,399,669 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 26,305,693 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/554568122828183
สธ. แจง !! เปิดเรียน On-Site ปลอดภัย อยู่ได้กับโควิด
ปฏิบัติตามหลัก - 3T 1V “ตัดความเสี่ยง เพิ่มภูมิคุ้มกัน”
- มาตรการ 6-6-7 - โรงเรียนประจำ เพิ่ม Sandbox Safety zone in School
ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 นี้ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการประชุมชี้แจงมาตรการเปิดเรียน On-Site ปลอดภัย อยู่ได้กับโควิด-19 ในสถานศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ด้วยหลักการพื้นฐานก็คือ 3T 1V “ตัดความเสี่ยง เพิ่มภูมิคุ้มกัน” มาตรการ 6-6-7 เป็นสิ่งที่ยังคงเน้นย้ำ ส่วนโรงเรียนประจำ ต้องดำเนินการตาม Sandbox Safety zone in School ตามมาตรการต่อไปนี้คือ 1) เร่งรัดการฉีดวัคซีน เพื่อให้นักเรียนได้รับวัคซีนตามความสมัครใจให้ครอบคลุม 2) สถานศึกษา ต้องเข้ารับการประเมิน Thai Stop COVID Plus โดยต้องผ่านการประเมินมากกว่าร้อยละ 95 3) เน้นย้ำการทำตามแผนเผชิญเหตุ เมื่อเจอผู้ติดเชื้อ หรือเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงไม่ดำเนินการปิดชั้นเรียนหรือโรงเรียน เป้าประสงค์นักเรียนควรได้รับการเรียนรู้อย่างเต็มที่ที่โรงเรียน และ4) เน้นย้ำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดให้ปฏิบัติตามมาตรการ โดยมอบหมายให้ศูนย์อนามัยในเขตสุขภาพเป็นพี่เลี้ยง
ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/554609019490760
ผู้สูงอายุต้องได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น
เพื่อลดความเสี่ยงและความรุนแรงของโควิด
ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/554614926156836
ป้องกันอย่างไร? เมื่อมี “อาการลองโควิด”
ที่มา : หมอพร้อม
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/554620882822907
กทม. จัดคูหาแยกโซนผู้ป่วยโควิด ลงคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.- ส.ก. 22 พ.ค.นี้
นายชวินทร์ ศิรินาค รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ในส่วนของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการจัดเตรียมสถานที่เลือกตั้งภายใต้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตามที่ภาครัฐกำหนด ดังนี้
- สถานที่ ดังนี้ 1.เตรียมพื้นที่โดยแยกพื้นที่ แยกโซน ไม่ปะปนกับคนทั่วไป ทั้งนี้ให้อยู่ในการกำกับของเจ้าหน้าที่และปรับให้เหมาะสมบริบทพื้นที่ 2.เตรียมคูหาพิเศษ สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 สำหรับเจ้าหน้าที่ประจำหน่วย ต้องสวมถุงมือ หน้ากากอนามัย face shield ในขณะปฏิบัติหน้าที่
- เจ้าหน้าที่ ดังนี้ 1.หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่แออัด หรือร่วมกิจกรรมที่มีคนรวมกัน ก่อนการปฏิบัติงาน 5 วัน 2.กรณีเจ้าหน้าที่มีประวัติเดินทางไปในสถานที่มีความเสี่ยงสูง มีความใกล้ชิดกับบุคคลที่ติดเชื้อ หรือมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ควรหลีกเลี่ยงการปฏิบัติหน้าที่และตรวจ ATK ก่อนการปฏิบัติงาน 3.สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ในหน่วยเลือกตั้ง 4.หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณใบหน้า ตา จมูก ปาก หรือสัมผัสกับหน้ากากอนามัย 5.หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หรือเมื่อสัมผัสกับพื้นผิวหรือมือผู้อื่น 6.ระหว่างการนับคะแนน ควรจัดให้มีการเว้นระยะห่างระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชนอย่างน้อย 1-2 เมตร และขอความร่วมมือกับประชาชนให้หลีกเลี่ยงการตะโกนเชียร์ขณะนับคะแนน 7.เมื่อเสร็จจากการปฏิบัติหน้าที่และกลับถึงบ้านให้รีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทันที 8.เฝ้าระวังสังเกตอาการตนเอง 7 วัน หากมีอาการเจ็บป่วยสงสัยติดเชื้อโควิด-19 ให้ตรวจหาเชื้อด้วย ATK ทันที
- ประชาชนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ดังนี้ 1.เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น เจลแอลกอฮอล์ ปากกาส่วนตัวสำหรับใช้ลงทะเบียนและกาบัตรเลือกตั้ง 2.สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่อออกจากบ้านและขณะอยู่ในหน่วยเลือกตั้ง 3.ตรวจวัดอุณหภูมิ และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ก่อนเข้าหน่วยเลือกตั้ง หากมีอุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส เป็นหวัด ไอหรือจามผิดปกติ ให้ใช้สิทธิลงคะแนนในคูหาพิเศษ ที่คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งได้จัดเตรียมไว้ 4.เว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร 5.ทำการหย่อนบัตรเอง ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่ 6.ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ก่อนออกจากหน่วยเลือกตั้ง
- ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ดังนี้ 1.เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น เจลแอลกอฮอล์ ปากกาส่วนตัวสำหรับใช้ลงทะเบียนและกาบัตรเลือกตั้ง 2.สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่อออกจากบ้านหรือสถานที่กักตัวและขณะอยู่ในหน่วยเลือกตั้ง 3.หลีกเลี่ยงการใช้บริการขนส่งสาธารณะโดยไม่จำเป็น แนะนำให้เดินทางโดยใช้รถยนต์ส่วนตัว หรือนั่งรถที่หน่วยงานท้องถิ่นมีการจัดเตรียมไว้เท่านั้น 4.เว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร 5.ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ให้ออกจากบ้านหรือสถานที่กักตัว เพื่อไปเลือกตั้งตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ และเข้าคูหาสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 เท่านั้น 6.ทำการหย่อนบัตรเอง ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่ 7.เมื่อเสร็จจากการเลือกตั้งให้รีบกลับบ้านหรือกลับสถานที่กักตัวทันที ไม่แวะทำกิจกรรมใดๆ ระหว่างทางโดยเด็ดขาด
ที่มา : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/554630752821920
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2565 จำนวน 82 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/554676112817384
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭มาลาริน💚4พ.ค.ไทยไม่ติดTop10โลก/ป่วย9,288คน หายป่วย19,119คน ตาย82คน/ไทยผลิตวัคซีนโควิด ChulaCov19 ในประเทศได้แล้ว
https://www.sanook.com/news/8556066/
https://www.bangkokbiznews.com/news/1002438
เฮ! ผลิตวัคซีนโควิด ChulaCov19 ในประเทศได้แล้ว ยื่น อย.ขอทดสอบในมนุษย์
จุฬาฯ เผยข่าวดี วัคซีนโควิด ChulaCov19 สัญชาติไทย ผลิตล็อตแรกในประเทศแล้ว ยื่นขอ อย.อนุมัติทดสอบในคน คาดเริ่มได้เร็วๆ นี้ หากผลดีจ่อขึ้นทะเบียน ระหว่างนี้พัฒนารุ่น 2 รับ“โอมิครอน” เพื่อให้เร็วขึ้น ย้ำ พัฒนาครบวงจร ช่วยพึ่งพาตนเองหากมีระบาดใหม่
เมื่อวันที่ 4 พ.ค. ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผอ.บริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนโควิด “ChulaCov19” ชนิด mRNA สัญชาติไทย ว่า ภาพรวมถือว่าเป็นข่าวดี ซึ่งการพัฒนาระยะแรกเป็นการออกแบบวัคซีน และให้โรงงานในสหรัฐอเมริกาผลิตล็อตแรก มีข่าวดีว่า ผ่านการพิสูจน์ในอาสาสมัครระยะที่ 1 และ 2 เรียบร้อยแล้ว มีความปลอดภัย กระตุ้นภูมิได้สูงเป็นที่น่าพอใจ ขนาดที่เราเลือกเมื่อเทียบกับวัคซีนไฟเซอร์ที่อนุมัติใช้ในไทย เราได้ภูมิที่สูงกว่าชัดเจน
ส่วนระยะที่ 2 คือ การผลิตวัคซีนในประเทศ โดยบริษัท ไบโอเน็ตเอเชีย จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานในไทย สามารถผลิตวัคซีนล็อตแรกเรียบร้อยแล้ว ผ่านการประกันคุณภาพแล้ว ทีมวิจัยได้ส่งเอกสาร ข้อมูลต่างๆ เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อขอทดสอบในอาสาสมัครระยะที่ 1 และ 2 อยู่ระหว่างรอการอนุมัติจาก อย. คาดว่า จะได้รับคำตอบเร็วๆ นี้ หากทดสอบได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ น่าจะขอขึ้นทะเบียนวัคซีนได้ภายในปลายปี 2565
“ขณะนี้สถานการณ์แพร่ระบาดในประเทศเริ่มดีขึ้น แต่การพัฒนาวัคซีนไม่ได้หยุด เราอยากเห็นวัคซีนรุ่นที่ 1 ที่ผลิตโดยคนไทยที่ตอนนี้พัฒนากันอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ วัคซีน mRNA ของจุฬาฯ วัคซีนใบยา และวัคซีนขององค์การเภสัชกรรม หากขึ้นทะเบียนได้ก่อน 1 ชนิด หรือทั้งหมดจะยิ่งดี โดยวัคซีนรุ่นที่ 1 ตามขั้นตอนควรได้รับการขึ้นทะเบียนก่อน ผ่านการพิสูจน์ว่าปลอดภัย ระหว่างขอขึ้นทะเบียนก็มีการพัฒนารุ่นที่ 2 เพื่อป้องกันเชื้อโอมิครอนไปพร้อมกัน เพื่อรอขึ้นทะเบียนลำดับต่อไป” ศ.นพ.เกียรติกล่าว
ศ.นพ.เกียรติ กล่าวว่า การที่ประเทศไทยมีเทคโนโลยีของเราเอง ตั้งแต่คิดค้น ออกแบบ ทดสอบ และผลิตได้ในโรงงานในประเทศ ทำให้เราพึ่งพาตัวเองได้ หากเกิดการระบาดของโควิดกลับมาใหม่ ไม่ว่าสายพันธุ์ไหน หรือเกิดโรคระบาดใหม่ๆ ขึ้น เราก็จะสามารถพัฒนาวัคซีนได้เองในระยะเวลาที่เร็วขึ้น เพราะเราพัฒนาได้ครบห่วงโซ่ด้วยตัวเราเอง
“ถ้าวัคซีนไทยขึ้นทะเบียนได้ภายในปีนี้ ก็ต้องอาศัยทุกภาคส่วนช่วยกันสนับสนุน แต่การผลิตวัคซีนต้องทำเป็นขั้นตอน พิสูจน์ให้เห็นถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย จุดประสงค์หลักของการพัฒนาวัคซีนของไทย เพื่อให้พึ่งพาตนเองได้ ช่วยกระจายวัคซีนให้ประเทศเพื่อนบ้านได้เร็วขึ้น หากเกิดโรคระบาดและการที่เรามีเทคโนโลยีตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ถึงปลายน้ำ เมื่อเกิดโรคระบาดขึ้น เราจะทำได้เร็วขึ้น ทั้งคิดค้น ออกแบบ ผลิตและทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 1 และ 2 ภายในไม่เกิน 6 เดือน ไม่ใช่ใช้เวลานานปีกว่าเหมือนตอนนี้ เพราะห่วงโซ่ยังไม่ครบวงจร” ศ.นพ.เกียรติ กล่าว
https://mgronline.com/qol/detail/9650000042337
ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ
สถานการณ์ดีขึ้นต่อเนื่อง ติดเชื้อใหม่ไทยลดลงไม่ถึงหลักหมื่น
....✌️💕✌️💕