2022 BYD Atto 3 (2022 บีวายดี อัตโต้ 3) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่สร้างปรากฎการณ์กวาดยอดจองได้อย่างน่าทึ่งหลังเปิดตัวในตลาดเมืองไทย เพราะอะไรถึงเป็นเช่นนั้น?
แบรนด์ BYD จากประเทศจีนคือหนึ่งในผู้นำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในบ้านเกิด อีกทั้งพวกเขายังกำลังเดินหน้ารุกภูมิภาคยุโรป ชิมลางด้วยการจัดแสดงรถยนต์หลายรุ่นที่งานปารีส มอเตอร์โชว์ในฝรั่งเศสและได้เสียงตอบรับเป็นอย่างดี
ภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่งขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ BYD ได้รับความไว้วางใจตั้งแต่แรกเริ่มจากผู้บริโภคชาวไทย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในคุณสมบัติสำคัญที่ทำให้คอรถยนต์ชาวไทยต้องการสร้างฝันตามชื่อ Build Your Dream นั้นมาจากเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่มีชื่อว่า Blade
มีคุณสมบัติอย่างไร
แบตเตอรี่ Blade ใช้ลิเธียมไอออนฟอสเฟตหรือ LFP เป็นวัสดุผลิตขั้วแคโทด ซึ่งแตกต่างจากแบตเตอรี่ทั่วไปที่ใช้วัสดุนิกเกิลแมงกานีสโคบอลต์หรือ NMC และนิกเกิลโคบอลต์อลูมิเนียมหรือ NCA ที่ใช้กันแพร่หลายมากกว่า
หนึ่งในข้อได้เปรียบสำคัญของ LFP คือความปลอดภัย ซึ่งแตกต่างจาก NMC ที่จะปลดปล่อยออกซิเจนในกรณีที่เกิดภาวะความร้อนลื่นไหลหรือ thermal runaway (จากแบตเตอรี่โอเวอร์ฮีตอุบัติเหตุหนัก) ทำให้ติดไฟง่าย
ตามทฤษฎี เซลส์แบตเตอรี่ LFP จะขัดขวางการปลดปล่อยออกซิเจนจากคุณสมบัติของฟอสฟอรัส-ออกซิเจนในแคโทด ทำให้ติดไฟได้ยากกว่า
BYD เคลมว่าแบตเตอรี่ Blade ไม่ปล่อยควันและไม่ติดไฟเมื่อเกิดแรงกระแทกอย่างรุนแรง ขณะที่อุณหภูมิบนพื้นผิวแบตเตอรี่ยังอยู่ที่ 30 – 60 องศาเซลเซียสเท่านั้น ขณะเดียวกัน แบตเตอรี่ลิเธียมทั่วไปอาจมีความร้อนพุ่งสูงเกินกว่า 500 องศาเซลเซียส
อีกหนึ่งความได้เปรียบคือต้นทุนที่ต่ำกว่า นิกเกิลและโคบอลต์เป็นแร่หายากที่มีราคาแพง ขณะที่ไอออนและฟอสเฟสหาได้ง่ายกว่า นำมาซึ่งต้นทุนที่ถูกกว่า
ข้อได้เปรียบสุดท้ายของ LFP ก็คืออายุใช้งานที่ยาวนานกว่าเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน ผลการศึกษาพบว่าแบตเตอรี่ LFP รองรับวงจรการชาร์จในแบบเต็ม 100% ได้ถึง 3,000 ครั้ง ขณะที่แบตเตอรี่ NMC เสื่อมสภาพเร็วกว่าเท่าตัว
อย่างไรก็ตาม แบตเตอรี่ LFP ก็มีจุดอ่อนเช่นกัน นั่นคือความหนาแน่นของพลังงานที่สู้แบตเตอรี่ประเภทอื่นไม่ได้ จึงต้องทดแทนด้วยการใช้ชุดแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ขึ้น
นั่นจึงเป็นที่มาของการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี Blade ของ BYD ที่ใช้โครงสร้าง cell-to-pack ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีโมดูล จึงช่วยลดพื้นที่ลงได้ถึง 50% เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ LFP แบบดั้งเดิม
โครงสร้างแบตเตอรี่ cell-to-pack เช่นนี้มีรายงานว่าจะถูกใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าของ BMW เจนเนอเรชั่นใหม่ที่เตรียมจะเปิดตัวในอีกไม่ช้า
: Autofun
ดูคุณสมบัติ Blade Battery ของ BYD เพราะเหตุนี้ถึงเหนือกว่า EV แบรนด์อื่น
แบรนด์ BYD จากประเทศจีนคือหนึ่งในผู้นำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในบ้านเกิด อีกทั้งพวกเขายังกำลังเดินหน้ารุกภูมิภาคยุโรป ชิมลางด้วยการจัดแสดงรถยนต์หลายรุ่นที่งานปารีส มอเตอร์โชว์ในฝรั่งเศสและได้เสียงตอบรับเป็นอย่างดี
ภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่งขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ BYD ได้รับความไว้วางใจตั้งแต่แรกเริ่มจากผู้บริโภคชาวไทย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในคุณสมบัติสำคัญที่ทำให้คอรถยนต์ชาวไทยต้องการสร้างฝันตามชื่อ Build Your Dream นั้นมาจากเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่มีชื่อว่า Blade
มีคุณสมบัติอย่างไร
แบตเตอรี่ Blade ใช้ลิเธียมไอออนฟอสเฟตหรือ LFP เป็นวัสดุผลิตขั้วแคโทด ซึ่งแตกต่างจากแบตเตอรี่ทั่วไปที่ใช้วัสดุนิกเกิลแมงกานีสโคบอลต์หรือ NMC และนิกเกิลโคบอลต์อลูมิเนียมหรือ NCA ที่ใช้กันแพร่หลายมากกว่า
หนึ่งในข้อได้เปรียบสำคัญของ LFP คือความปลอดภัย ซึ่งแตกต่างจาก NMC ที่จะปลดปล่อยออกซิเจนในกรณีที่เกิดภาวะความร้อนลื่นไหลหรือ thermal runaway (จากแบตเตอรี่โอเวอร์ฮีตอุบัติเหตุหนัก) ทำให้ติดไฟง่าย
ตามทฤษฎี เซลส์แบตเตอรี่ LFP จะขัดขวางการปลดปล่อยออกซิเจนจากคุณสมบัติของฟอสฟอรัส-ออกซิเจนในแคโทด ทำให้ติดไฟได้ยากกว่า
BYD เคลมว่าแบตเตอรี่ Blade ไม่ปล่อยควันและไม่ติดไฟเมื่อเกิดแรงกระแทกอย่างรุนแรง ขณะที่อุณหภูมิบนพื้นผิวแบตเตอรี่ยังอยู่ที่ 30 – 60 องศาเซลเซียสเท่านั้น ขณะเดียวกัน แบตเตอรี่ลิเธียมทั่วไปอาจมีความร้อนพุ่งสูงเกินกว่า 500 องศาเซลเซียส
อีกหนึ่งความได้เปรียบคือต้นทุนที่ต่ำกว่า นิกเกิลและโคบอลต์เป็นแร่หายากที่มีราคาแพง ขณะที่ไอออนและฟอสเฟสหาได้ง่ายกว่า นำมาซึ่งต้นทุนที่ถูกกว่า
ข้อได้เปรียบสุดท้ายของ LFP ก็คืออายุใช้งานที่ยาวนานกว่าเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน ผลการศึกษาพบว่าแบตเตอรี่ LFP รองรับวงจรการชาร์จในแบบเต็ม 100% ได้ถึง 3,000 ครั้ง ขณะที่แบตเตอรี่ NMC เสื่อมสภาพเร็วกว่าเท่าตัว
อย่างไรก็ตาม แบตเตอรี่ LFP ก็มีจุดอ่อนเช่นกัน นั่นคือความหนาแน่นของพลังงานที่สู้แบตเตอรี่ประเภทอื่นไม่ได้ จึงต้องทดแทนด้วยการใช้ชุดแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ขึ้น
นั่นจึงเป็นที่มาของการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี Blade ของ BYD ที่ใช้โครงสร้าง cell-to-pack ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีโมดูล จึงช่วยลดพื้นที่ลงได้ถึง 50% เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ LFP แบบดั้งเดิม
โครงสร้างแบตเตอรี่ cell-to-pack เช่นนี้มีรายงานว่าจะถูกใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าของ BMW เจนเนอเรชั่นใหม่ที่เตรียมจะเปิดตัวในอีกไม่ช้า
: Autofun