1 ม.ค.ใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่ เพลินจิต-ราชดำริ-วิทยุ” พุ่งวาละล้านเท่าสีลม ธนารักษ์เผยวิทยุปรับพรวดเดียว 100%
https://www.matichon.co.th/economy/news_3734471
1 ม.ค.ใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่ เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 8.93% “เพลินจิต-ราชดำริ-วิทยุ” พุ่งวาละล้านเทียบสีลม ธนารักษ์เผยวิทยุปรับพรวดเดียว 100% แลนด์ลอร์ดหัวใสแบ่งแปลงเพิ่มจาก 31 ล้านเป็น 33 ล้านแปลง
นาย
จำเริญ โพธิยอด อธิบดีกรมธนารกษ์ เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 นี้ กรมฯจะออกประกาศบังคับใช้ราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในใหม่ที่ประกาศเมื่อปี 2564 โดยใช้ตั้งแต่ปีบัญชี 2566-2569 หลังจากที่ช่วงปี 2563-2565 ที่มีโควิด กรมฯ ได้เลื่อนการบังคับใช้ราคาประเมินที่ดินในรอบปีบัญชีใหม่ออกไป และใช้ราคาประเมินที่ดินเดิม ของปี 2559-2562 ตามเดิม โดยราคาประเมินดินรอบใหม่นั้น เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8.93% เมื่อเทียบกับปีบัญชีที่ผ่านมา
“
หลังกรมจะประกาศใช้ ราคาที่ดินในปีรอบใหม่อีกครั้ง ปรากฏว่า ประชาชนมีการแบ่งหรือซอย แยกแปลงที่ดินเพิ่ม จากเดิมมีอยู่ 31 ล้านแปลงทั่วประเทศ กลายเป็น 33.4 ล้านแปลง ซึ่งสาเหตุที่มีการแยกแปลง เพราะทำให้เกิดการเสียภาษีลดน้อยลง เช่น แปลงเล็กก็เสียภาษีน้อย หรือไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษีเลย เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อมีการแยกแปลงเพิ่ม ทำให้ราคาประเมินมีความคาดเคลื่อน และราคาเปลี่ยนไป” นายจำเริญ กล่าว
นาย
จำเริญ กล่าวว่า ดังนั้น กรมฯ จึงออกการออกประกาศปรับปรุงราราคาที่ดินเพิ่มเติมจากเดิม 31 แปลง เป็น 33.4 ล้านแปลงทั่วประเทศ และมีการปรับเปลี่ยนกว่า 60 จังหวัด หลังจากนี้ คาดว่าหลังจากวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 หน่วยงานท้องถิ่นจะส่งเอกสารไปยังประชาชนที่ครอบครอบที่ดินมาชำระภาษีที่ดิน ทั้งนี้ ยังพบปัญหา ว่าจากการจัดเก็บภาษีที่ดิน ในปี 2565 เก็บที่อัตรา 10% รวมทั้งใช้อ้างอิงอัตราจากราคาประเมินปี 2559-2562 แต่ในปี 2566 นี้ จะเก็บภาษีที่ดินเต็มอัตรา 100% และยังอ้างอิงจากราคาที่ดินรอบใหม่ จึงทำให้ประชาชนรู้สึกว่าการอัตราภาษีเยอะขึ้น
นาย
จำเริญ กล่าวว่า กรมจึงทำระบบการคัดค้าดขึ้น เพื่อให้ประชาชนสามารถร้องเรียนได้ โดยคัดค้านได้ 2 สองกรณี ได้แก่ การประเมินราคาไม่ตรงกับทำเล ที่ตั้ง หรือลักษณะพื้นที่ และ กรณีการประเมินราคาของท้องถิ่น ผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐาน ทั้งนี้ผู้เสียภาษี ต้องทำการคัดค้านภายใน 90 วัน นับจากวันที่รู้ หรือพึงที่จะรู้เอกสารจัดเก็บภาษีที่ต้องจ่ายในรอบบัญชีนี้ หรือรอบปี 2566-2569
“
หากต้องคัดค้านภาษีของปี 2566 จะคัดค้านหลังจากปี 2569 ไม่ได้ เพราะรอบบัญชีนี้ สิ้นสุดปี 2569 แต่ในระหว่างที่ยังอยู่ในรอบ ถ้าผู้เสียภาษีรู้เมื่อไหร่ หรือ รู้ และจ่ายภาษีไปแล้ว ก็ยังสามารถคัดค้านมาได้ ถ้าจ่ายภาษีแล้ว และคัดค้านสำเร็จก็จะคืนภาษีให้”นายจำเริญ กล่าว
นาย
จำเริญ กล่าวว่า สำหรับทำเลราคาที่ดินในกรุงเทพฯ ที่มีราคาสูงสุดในรอบปีบัญชี 2566-2569 นั้น อันดับ 1 คือ ถนนสีลม (ช่วงพระรามที่ 4 –นราธิวาสราชนครินทร์) ซึ่งเป็นอันดับสูงสุดมาตั้งแต่รอบปี 2559-2562 ราคาอยู่ที่ 1,000,000 บาทต่อตร.ว. ส่วนที่ขยับเพิ่มมาใหม่คือ ถนนเพลินจิต (ช่วงราชดำริ – ทางพิเศษเฉลิมมหานคร) ,ถนนพระรามที่ 1 (ช่วงราชดำริ-พญาไท) ถนนวิทยุ (ช่วงพระรามที่ 4 – เพลินจิต) และถนนวิทยุ (ช่วงช่วงเพลินจิต – คลองแสนแสบ ) ราคาอยู่ใหม่ที่ 1,000,000 บาทต่อตร.ว. เช่นกัน
นาย
จำเริญ กล่าวว่า รองลงมา คือ ถนนราชดำริ (ช่วงเพลินจิต – คลองแสนแสบ) ราคา 900,000 บาทต่อตร.ว. ถนนสาทร (ช่วงพระรามที่ 4 – ถนนสุรศักดิ์,ถนนเจริญราษฎร์) ราคา 800,000 บาทต่อ ตร.ว. ถนนสุขุมวิท (ช่วงทางพิเศษเฉลิมมหานคร – แยกอโศกมนตรี) ราคา 750,000 บาทต่อตร.ว. และ ถนนเยาวราช ราคา 700,000 บาทต่อตร.ว.
นาย
จำเริญ กล่าวว่า ส่วนทำเลที่มีการเพิ่มขึ้นสูงสุด คือ ถนนวิทยุ (ช่วงพระรามที่ 4 – เพลินจิต) จากเดิมรอบปีบัญชี 2559-2562 ที่อยู่ที่ 500,000 บาทต่อตร.ว. เพิ่มขึ้นเป็น 1,000,000 บาทต่อตร.ว. หรือ 100% เนื่องจากเป็นถนนย่านเศรษฐกิจที่กำลังกลับมาบูม ขณะที่ ราคาที่ดินเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงสุดในกทม. คือ เขตห้วยขวาง เพิ่มขึ้น 21.46% เนื่องจากมีรถไฟฟ้าสายสีส้มเพิ่มเข้ามาในพื้นที่
พิธา ยินดี สหรัฐผ่านกม.รับรองการสมรสคู่รักทุกเพศ ลุ้นไทยมี พรบ.สมรสเท่าเทียม
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7422189
พิธา ยินดี สหรัฐฯ ผ่านกฎหมายรับรองการสมรสของคู่รักทุกเพศ ลุ้นเมืองไทยมีกฎหมายสมรสเท่าเทียม ธัญวัจน์ ปลุกประชาชนส่งเสียงบอกส.ส.ให้เร่งรับร่าง
เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2565 นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงการผลักดันร่างกฎหมายของพรรคก้าวไกล ในช่วงปลายของสภาชุดปัจจุบันว่า ตอนนี้ร่างกฎหมายสำคัญของพรรคก้าวไกล ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาวาระ 2 คือ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ซึ่งเป็นกฎหมายที่จะทำให้คู่รักทุกคู่ได้รับสิทธิของการเป็นคู่สมรส อย่างเท่าเทียมกัน สามารถสร้างครอบครัวร่วมกัน โดยไม่มีอุปสรรคหรือข้อจำกัดเรื่องเพศเหมือนในอดีต เช่น สิทธิรับมรดก สิทธิรักษาพยาบาล หรือการทำธุรกิจร่วมกัน
นาย
พิธากล่าวว่า ตนหวังว่ากฎหมายสมรสเท่าเทียมจะเกิดขึ้นในประเทศไทย เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากนาย
โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ลงนามในกฎหมาย The Respect for Marriage Act (รัฐบัญญัติความเคารพต่อการสมรส) ทำให้การสมรสของคนเพศเดียวกันได้รับการรับรอง
ก่อนหน้านี้ ตนได้พบ
โรเบิร์ต เอฟ. โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ซึ่งมาเยือนพรรคก้าวไกล ได้หารือกันหลายประเด็น เช่น สิ่งแวดล้อม การศึกษา ตนได้แสดงความยินดีกับสหรัฐฯ เกี่ยวกับความสำเร็จของกฎหมายดังกล่าว และเชื่อว่าอีกไม่นาน ประเทศไทยจะมีกฎหมายสมรสเท่าเทียมซึ่งเป็นกฎหมายที่ทำให้คนไทยเท่าเทียมกันและประเทศไทยเท่าทันโลก จึงขอให้ประชาชนติดตามการประชุมสภา เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ในวาระที่ 3 คาดว่าจะเป็นช่วงปลายปีนี้หรือช่วงต้นปี 2566
ด้านนาย
ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ผู้เสนอร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม กล่าวว่า ขอให้ประชาชนช่วยกันติดตามการทำงานของสภาผู้แทนราษฎร และช่วยกันส่งเสียงบอกให้ผู้แทนของทุกคน โหวตผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมเพื่อทำให้สิทธิของคู่รักทุกคู่ในประเทศนี้เท่าเทียมกัน
‘ชัชชาติ’ ถามความต้องการ ‘คนญี่ปุ่นในกทม.’ ถก ‘เจโทรฯ’ เพิ่มความร่วมมือ ให้เอื้อใช้ชีวิต-ทำธุรกิจ
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3734672
‘ชัชชาติ’ ถามความต้องการ ‘คนญี่ปุ่นในกทม.’ หารือ ‘เจโทร กรุงเทพฯ เพิ่มความร่วมมือ ให้เอื้อการใช้ชีวิตและทำธุรกิจ
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ที่ ห้องอมรพิมาน ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เขตพระนคร นาย
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้การต้อนรับนายจุน คุโรตะ (Mr. Jun KURODA) ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น ณ กรุงเทพฯ (เจโทร กรุงเทพฯ) นาย
มาซาโตะ โอเซกิ (Mr. Masato OZEK) ผู้อำนวยการสำนักงานจังหวัดไอจิประจำเจโทร กรุงเทพฯ และนาย
พสิษฐ์ อังศุไพฑูรย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานจังหวัดไอจิประจำเจโทร กรุงเทพฯ เข้าเยี่ยมคารวะ
ในการนี้ เจโทร กรุงเทพฯ ได้แนะนำถึงโครงการที่เจโทร กรุงเทพฯ ดำเนินการอยู่ พร้อมพูดคุยถึงความรู้ด้านเทคโนโลยีจากเจโทร กรุงเทพฯ เพื่อความร่วมมือต่างๆ กับ กทม.ในอนาคต อาทิ การจราจรและการขนส่ง การจัดการมลพิษ การบริหารจัดการน้ำ การจัดการขยะ
นอกจากนี้ นาย
ชัชชาติได้สอบถามถึงความต้องการของชุมชนชาวญี่ปุ่นในกรุงเทพมหานคร ผ่านหน่วยงานที่สำคัญของญี่ปุ่น เช่น หอการค้าญี่ปุ่นในประเทศไทย เพื่อให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่ชาวญี่ปุ่นในกรุงเทพมหานคร ในการดำเนินชีวิตและธุรกิจในอนาคตต่อไป
ทั้งนี้ องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อว่า “
เจโทร” กรุงเทพฯ ก่อตั้งขึ้นในปี 2502 มีบทบาทที่โดดเด่นในการกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น โดย เจโทร กรุงเทพฯ มีส่วนผลักดันเพิ่มการนำเข้าของสินค้าไทยสู่ตลาดญี่ปุ่น และเผยแพร่บรรยากาศที่ดีของการลงทุนในประเทศไทย นอกจากนี้ เจโทร กรุงเทพฯ ยังเป็นสาขาหลักสาขาหนึ่งของสำนักงานต่างประเทศของเจโทรที่มีอยู่ทั้งหมด 80 แห่งทั่วโลก และเป็นศูนย์กลางประสานงานของสำนักงานเจโทรในภูมิภาคเอเชีย อีกด้วย
ในเดือนกรกฎาคม 2541 เจโทร ได้รวมตัวกับสถาบันพัฒนาเศรษฐกิจของญี่ปุ่น (institute-of Developing Economies: IDE) อย่างเป็นทางการ ดังนั้น สถาบันพัฒนาเศรษฐกิจ กรุงเทพฯ ซึ่งเดิมตั้งอยู่ที่อาคารสาธรธานี ได้ย้ายมาเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานเจโทร กรุงเทพฯ ถนนราชดำริ หลังจากการรวมตัวกันนอกจากภาระหน้าที่ในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนแล้ว เจโทรยังมีบทบาทเพิ่มในการทำวิจัยด้านเศรษฐกิจของภูมิภาค โดยรวบรวมข้อมูลพื้นฐานต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถขององค์กร การผนวกกันของการทำวิจัยแนวโน้มของเศรษฐกิจของโลกของเจโทรและการวิจัยทางวิชาการพื้นฐานของประเทศกำลังพัฒนาของสถาบันพัฒนาเศรษฐกิจ จะเสริมความแข็งแกร่งขององค์กรในการให้บริการข้อมูลประเภทต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะในสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจของเอเชียในปัจจุบัน
JJNY : 1 ม.ค.ใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่| พิธายินดี สหรัฐผ่านกม.สมรสทุกเพศ| ‘ชัชชาติ’ถก‘เจโทรฯ’ | ไอเอ็มเอฟคาดศก.กัมพูชาโต
https://www.matichon.co.th/economy/news_3734471
1 ม.ค.ใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่ เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 8.93% “เพลินจิต-ราชดำริ-วิทยุ” พุ่งวาละล้านเทียบสีลม ธนารักษ์เผยวิทยุปรับพรวดเดียว 100% แลนด์ลอร์ดหัวใสแบ่งแปลงเพิ่มจาก 31 ล้านเป็น 33 ล้านแปลง
นายจำเริญ โพธิยอด อธิบดีกรมธนารกษ์ เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 นี้ กรมฯจะออกประกาศบังคับใช้ราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในใหม่ที่ประกาศเมื่อปี 2564 โดยใช้ตั้งแต่ปีบัญชี 2566-2569 หลังจากที่ช่วงปี 2563-2565 ที่มีโควิด กรมฯ ได้เลื่อนการบังคับใช้ราคาประเมินที่ดินในรอบปีบัญชีใหม่ออกไป และใช้ราคาประเมินที่ดินเดิม ของปี 2559-2562 ตามเดิม โดยราคาประเมินดินรอบใหม่นั้น เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8.93% เมื่อเทียบกับปีบัญชีที่ผ่านมา
“หลังกรมจะประกาศใช้ ราคาที่ดินในปีรอบใหม่อีกครั้ง ปรากฏว่า ประชาชนมีการแบ่งหรือซอย แยกแปลงที่ดินเพิ่ม จากเดิมมีอยู่ 31 ล้านแปลงทั่วประเทศ กลายเป็น 33.4 ล้านแปลง ซึ่งสาเหตุที่มีการแยกแปลง เพราะทำให้เกิดการเสียภาษีลดน้อยลง เช่น แปลงเล็กก็เสียภาษีน้อย หรือไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษีเลย เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อมีการแยกแปลงเพิ่ม ทำให้ราคาประเมินมีความคาดเคลื่อน และราคาเปลี่ยนไป” นายจำเริญ กล่าว
นายจำเริญ กล่าวว่า ดังนั้น กรมฯ จึงออกการออกประกาศปรับปรุงราราคาที่ดินเพิ่มเติมจากเดิม 31 แปลง เป็น 33.4 ล้านแปลงทั่วประเทศ และมีการปรับเปลี่ยนกว่า 60 จังหวัด หลังจากนี้ คาดว่าหลังจากวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 หน่วยงานท้องถิ่นจะส่งเอกสารไปยังประชาชนที่ครอบครอบที่ดินมาชำระภาษีที่ดิน ทั้งนี้ ยังพบปัญหา ว่าจากการจัดเก็บภาษีที่ดิน ในปี 2565 เก็บที่อัตรา 10% รวมทั้งใช้อ้างอิงอัตราจากราคาประเมินปี 2559-2562 แต่ในปี 2566 นี้ จะเก็บภาษีที่ดินเต็มอัตรา 100% และยังอ้างอิงจากราคาที่ดินรอบใหม่ จึงทำให้ประชาชนรู้สึกว่าการอัตราภาษีเยอะขึ้น
นายจำเริญ กล่าวว่า กรมจึงทำระบบการคัดค้าดขึ้น เพื่อให้ประชาชนสามารถร้องเรียนได้ โดยคัดค้านได้ 2 สองกรณี ได้แก่ การประเมินราคาไม่ตรงกับทำเล ที่ตั้ง หรือลักษณะพื้นที่ และ กรณีการประเมินราคาของท้องถิ่น ผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐาน ทั้งนี้ผู้เสียภาษี ต้องทำการคัดค้านภายใน 90 วัน นับจากวันที่รู้ หรือพึงที่จะรู้เอกสารจัดเก็บภาษีที่ต้องจ่ายในรอบบัญชีนี้ หรือรอบปี 2566-2569
“หากต้องคัดค้านภาษีของปี 2566 จะคัดค้านหลังจากปี 2569 ไม่ได้ เพราะรอบบัญชีนี้ สิ้นสุดปี 2569 แต่ในระหว่างที่ยังอยู่ในรอบ ถ้าผู้เสียภาษีรู้เมื่อไหร่ หรือ รู้ และจ่ายภาษีไปแล้ว ก็ยังสามารถคัดค้านมาได้ ถ้าจ่ายภาษีแล้ว และคัดค้านสำเร็จก็จะคืนภาษีให้”นายจำเริญ กล่าว
นายจำเริญ กล่าวว่า สำหรับทำเลราคาที่ดินในกรุงเทพฯ ที่มีราคาสูงสุดในรอบปีบัญชี 2566-2569 นั้น อันดับ 1 คือ ถนนสีลม (ช่วงพระรามที่ 4 –นราธิวาสราชนครินทร์) ซึ่งเป็นอันดับสูงสุดมาตั้งแต่รอบปี 2559-2562 ราคาอยู่ที่ 1,000,000 บาทต่อตร.ว. ส่วนที่ขยับเพิ่มมาใหม่คือ ถนนเพลินจิต (ช่วงราชดำริ – ทางพิเศษเฉลิมมหานคร) ,ถนนพระรามที่ 1 (ช่วงราชดำริ-พญาไท) ถนนวิทยุ (ช่วงพระรามที่ 4 – เพลินจิต) และถนนวิทยุ (ช่วงช่วงเพลินจิต – คลองแสนแสบ ) ราคาอยู่ใหม่ที่ 1,000,000 บาทต่อตร.ว. เช่นกัน
นายจำเริญ กล่าวว่า รองลงมา คือ ถนนราชดำริ (ช่วงเพลินจิต – คลองแสนแสบ) ราคา 900,000 บาทต่อตร.ว. ถนนสาทร (ช่วงพระรามที่ 4 – ถนนสุรศักดิ์,ถนนเจริญราษฎร์) ราคา 800,000 บาทต่อ ตร.ว. ถนนสุขุมวิท (ช่วงทางพิเศษเฉลิมมหานคร – แยกอโศกมนตรี) ราคา 750,000 บาทต่อตร.ว. และ ถนนเยาวราช ราคา 700,000 บาทต่อตร.ว.
นายจำเริญ กล่าวว่า ส่วนทำเลที่มีการเพิ่มขึ้นสูงสุด คือ ถนนวิทยุ (ช่วงพระรามที่ 4 – เพลินจิต) จากเดิมรอบปีบัญชี 2559-2562 ที่อยู่ที่ 500,000 บาทต่อตร.ว. เพิ่มขึ้นเป็น 1,000,000 บาทต่อตร.ว. หรือ 100% เนื่องจากเป็นถนนย่านเศรษฐกิจที่กำลังกลับมาบูม ขณะที่ ราคาที่ดินเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงสุดในกทม. คือ เขตห้วยขวาง เพิ่มขึ้น 21.46% เนื่องจากมีรถไฟฟ้าสายสีส้มเพิ่มเข้ามาในพื้นที่
พิธา ยินดี สหรัฐผ่านกม.รับรองการสมรสคู่รักทุกเพศ ลุ้นไทยมี พรบ.สมรสเท่าเทียม
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7422189
พิธา ยินดี สหรัฐฯ ผ่านกฎหมายรับรองการสมรสของคู่รักทุกเพศ ลุ้นเมืองไทยมีกฎหมายสมรสเท่าเทียม ธัญวัจน์ ปลุกประชาชนส่งเสียงบอกส.ส.ให้เร่งรับร่าง
เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2565 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงการผลักดันร่างกฎหมายของพรรคก้าวไกล ในช่วงปลายของสภาชุดปัจจุบันว่า ตอนนี้ร่างกฎหมายสำคัญของพรรคก้าวไกล ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาวาระ 2 คือ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ซึ่งเป็นกฎหมายที่จะทำให้คู่รักทุกคู่ได้รับสิทธิของการเป็นคู่สมรส อย่างเท่าเทียมกัน สามารถสร้างครอบครัวร่วมกัน โดยไม่มีอุปสรรคหรือข้อจำกัดเรื่องเพศเหมือนในอดีต เช่น สิทธิรับมรดก สิทธิรักษาพยาบาล หรือการทำธุรกิจร่วมกัน
นายพิธากล่าวว่า ตนหวังว่ากฎหมายสมรสเท่าเทียมจะเกิดขึ้นในประเทศไทย เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ลงนามในกฎหมาย The Respect for Marriage Act (รัฐบัญญัติความเคารพต่อการสมรส) ทำให้การสมรสของคนเพศเดียวกันได้รับการรับรอง
ก่อนหน้านี้ ตนได้พบโรเบิร์ต เอฟ. โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ซึ่งมาเยือนพรรคก้าวไกล ได้หารือกันหลายประเด็น เช่น สิ่งแวดล้อม การศึกษา ตนได้แสดงความยินดีกับสหรัฐฯ เกี่ยวกับความสำเร็จของกฎหมายดังกล่าว และเชื่อว่าอีกไม่นาน ประเทศไทยจะมีกฎหมายสมรสเท่าเทียมซึ่งเป็นกฎหมายที่ทำให้คนไทยเท่าเทียมกันและประเทศไทยเท่าทันโลก จึงขอให้ประชาชนติดตามการประชุมสภา เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ในวาระที่ 3 คาดว่าจะเป็นช่วงปลายปีนี้หรือช่วงต้นปี 2566
ด้านนายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ผู้เสนอร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม กล่าวว่า ขอให้ประชาชนช่วยกันติดตามการทำงานของสภาผู้แทนราษฎร และช่วยกันส่งเสียงบอกให้ผู้แทนของทุกคน โหวตผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมเพื่อทำให้สิทธิของคู่รักทุกคู่ในประเทศนี้เท่าเทียมกัน
‘ชัชชาติ’ ถามความต้องการ ‘คนญี่ปุ่นในกทม.’ ถก ‘เจโทรฯ’ เพิ่มความร่วมมือ ให้เอื้อใช้ชีวิต-ทำธุรกิจ
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3734672
‘ชัชชาติ’ ถามความต้องการ ‘คนญี่ปุ่นในกทม.’ หารือ ‘เจโทร กรุงเทพฯ เพิ่มความร่วมมือ ให้เอื้อการใช้ชีวิตและทำธุรกิจ
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ที่ ห้องอมรพิมาน ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เขตพระนคร นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้การต้อนรับนายจุน คุโรตะ (Mr. Jun KURODA) ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น ณ กรุงเทพฯ (เจโทร กรุงเทพฯ) นายมาซาโตะ โอเซกิ (Mr. Masato OZEK) ผู้อำนวยการสำนักงานจังหวัดไอจิประจำเจโทร กรุงเทพฯ และนายพสิษฐ์ อังศุไพฑูรย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานจังหวัดไอจิประจำเจโทร กรุงเทพฯ เข้าเยี่ยมคารวะ
ในการนี้ เจโทร กรุงเทพฯ ได้แนะนำถึงโครงการที่เจโทร กรุงเทพฯ ดำเนินการอยู่ พร้อมพูดคุยถึงความรู้ด้านเทคโนโลยีจากเจโทร กรุงเทพฯ เพื่อความร่วมมือต่างๆ กับ กทม.ในอนาคต อาทิ การจราจรและการขนส่ง การจัดการมลพิษ การบริหารจัดการน้ำ การจัดการขยะ
นอกจากนี้ นายชัชชาติได้สอบถามถึงความต้องการของชุมชนชาวญี่ปุ่นในกรุงเทพมหานคร ผ่านหน่วยงานที่สำคัญของญี่ปุ่น เช่น หอการค้าญี่ปุ่นในประเทศไทย เพื่อให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่ชาวญี่ปุ่นในกรุงเทพมหานคร ในการดำเนินชีวิตและธุรกิจในอนาคตต่อไป
ทั้งนี้ องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อว่า “เจโทร” กรุงเทพฯ ก่อตั้งขึ้นในปี 2502 มีบทบาทที่โดดเด่นในการกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น โดย เจโทร กรุงเทพฯ มีส่วนผลักดันเพิ่มการนำเข้าของสินค้าไทยสู่ตลาดญี่ปุ่น และเผยแพร่บรรยากาศที่ดีของการลงทุนในประเทศไทย นอกจากนี้ เจโทร กรุงเทพฯ ยังเป็นสาขาหลักสาขาหนึ่งของสำนักงานต่างประเทศของเจโทรที่มีอยู่ทั้งหมด 80 แห่งทั่วโลก และเป็นศูนย์กลางประสานงานของสำนักงานเจโทรในภูมิภาคเอเชีย อีกด้วย
ในเดือนกรกฎาคม 2541 เจโทร ได้รวมตัวกับสถาบันพัฒนาเศรษฐกิจของญี่ปุ่น (institute-of Developing Economies: IDE) อย่างเป็นทางการ ดังนั้น สถาบันพัฒนาเศรษฐกิจ กรุงเทพฯ ซึ่งเดิมตั้งอยู่ที่อาคารสาธรธานี ได้ย้ายมาเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานเจโทร กรุงเทพฯ ถนนราชดำริ หลังจากการรวมตัวกันนอกจากภาระหน้าที่ในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนแล้ว เจโทรยังมีบทบาทเพิ่มในการทำวิจัยด้านเศรษฐกิจของภูมิภาค โดยรวบรวมข้อมูลพื้นฐานต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถขององค์กร การผนวกกันของการทำวิจัยแนวโน้มของเศรษฐกิจของโลกของเจโทรและการวิจัยทางวิชาการพื้นฐานของประเทศกำลังพัฒนาของสถาบันพัฒนาเศรษฐกิจ จะเสริมความแข็งแกร่งขององค์กรในการให้บริการข้อมูลประเภทต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะในสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจของเอเชียในปัจจุบัน