ค่าแรงเมื่อก่อนต่ำมาก แต่รัฐบาลได้เพิ่มแบบก้าวกระโดด ตามข่าวเมื่อหลายปีก่อน ปัจจุบัน รายเดือนเกือบ 8000 บาทแล้ว ค่าแรงกัมพูชากับเวียดนามจี้ไทยมาติดๆ แต่ตลาดแรงงานระดับล่างเขามีเหลือเฝือ ส่วนเราต้องนำเข้าแรงงานต่างด้าว ทำให้ค่าแรงโดยรวมทุกภาคส่วนของเราต้องตรึงไว้ ตามนโยบายดำเนินการเศรษฐกิจแบบกดเงินเฟ้อให้ต่ำ และยังทำต่อไปหาทางออกไม่ได้ เพราะติดกับดักรายได้ปานกลางมาหลายปีแล้ว ตราบใดที่ยังต้องรับจ้างผลิตก็แบบนี้แหละ ไปเรื่อยๆ ตามเกมประเทศที่เจริญแล้วเขาขีดเส้นไว้ให้
อ้างอิง ข่าวเก่าหลายปีแล้ว*****
https://www.thaitextile.org/th/insign/detail.484.1.0.html
รัฐบาลกัมพูชาอนุมัติขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรายเดือนให้กับคนงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและรองเท้า โดยจะปรับขึ้นให้ 11% เป็นเดือนละเท่ากับ 170 ดอลลาร์สหรัฐ (5,660 บาท) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีหน้า ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า สร้างรายได้เข้าเศรษฐกิจกัมพูชาปีละเท่ากับ 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (233,117 ล้านบาท) และคนงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าทั่วประเทศมีความสำคัญยิ่งต่อคะแนนเสียง ก่อนถึงการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2561
สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ซึ่งปกครองประเทศมานานกว่า 30 ปี เดินทางไปพบปะกับคนงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าเกือบทุกวัน ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยได้มีการถ่ายภาพเซลฟี่ และร่วมรับประทานอาหารมื้อกลางวันกับคนงานอย่างเป็นกันเอง
ที่ผ่านมาคนงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าปะทะกับตำรวจหลายครั้ง ระหว่างการประท้วงขอขึ้นค่าแรง และแกนนำสหภาพแรงงานตัวแทนลูกจ้างบางส่วน เข้าร่วมกับกลุ่มผู้สนับสนุนฝ่ายค้าน ประท้วงรัฐบาลของฮุน เซน อย่างไรก็ตามค่าแรงสำหรับคนงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าในกัมพูชา เพิ่มขึ้นกว่า 150% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จากเดือนละ 61 ดอลลาร์สหรัฐ (2,030 บาท) ในปี 2555 มาอยู่ที่เดือนละ 153 ดอลลาร์ (5,095 บาท) ในปัจจุบัน
ด้านนักวิเคราะห์มองว่า นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน กำลังหาเสียงในหมู่คนงานซึ่งเป็นฐานเสียงของพรรคฝ่ายค้าน โดยเขาประกาศก่อนหน้านี้ว่า ค่าแรงขั้นต่ำจะขึ้นเป็นอย่างน้อยเดือนละ 5,880 บาทในต้นปี 2561 ก่อนกัมพูชาจะมีการเลือกตั้งใหญ่ในเดือนกรกฎาคม แม้ว่าค่าแรงในกัมพูชายังต่ำมากเมื่อเทียบมาตรฐานสากล เพราะจำเป็นต้องแข่งขันกับตลาดแรงงานราคาถูกอื่นๆ เช่น บังกลาเทศ เวียดนาม
สีหนุวิวล์ ยังจะรอดไหม จากคลิปนี้ เห็นว่าจะรอดอยู่(แม่ค้าหาบแร่ในคลิป มีรายได้ประมาณเดือนละ 50000 บาท)
ค่าแรงเมื่อก่อนต่ำมาก แต่รัฐบาลได้เพิ่มแบบก้าวกระโดด ตามข่าวเมื่อหลายปีก่อน ปัจจุบัน รายเดือนเกือบ 8000 บาทแล้ว ค่าแรงกัมพูชากับเวียดนามจี้ไทยมาติดๆ แต่ตลาดแรงงานระดับล่างเขามีเหลือเฝือ ส่วนเราต้องนำเข้าแรงงานต่างด้าว ทำให้ค่าแรงโดยรวมทุกภาคส่วนของเราต้องตรึงไว้ ตามนโยบายดำเนินการเศรษฐกิจแบบกดเงินเฟ้อให้ต่ำ และยังทำต่อไปหาทางออกไม่ได้ เพราะติดกับดักรายได้ปานกลางมาหลายปีแล้ว ตราบใดที่ยังต้องรับจ้างผลิตก็แบบนี้แหละ ไปเรื่อยๆ ตามเกมประเทศที่เจริญแล้วเขาขีดเส้นไว้ให้
อ้างอิง ข่าวเก่าหลายปีแล้ว*****https://www.thaitextile.org/th/insign/detail.484.1.0.html
รัฐบาลกัมพูชาอนุมัติขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรายเดือนให้กับคนงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและรองเท้า โดยจะปรับขึ้นให้ 11% เป็นเดือนละเท่ากับ 170 ดอลลาร์สหรัฐ (5,660 บาท) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีหน้า ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า สร้างรายได้เข้าเศรษฐกิจกัมพูชาปีละเท่ากับ 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (233,117 ล้านบาท) และคนงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าทั่วประเทศมีความสำคัญยิ่งต่อคะแนนเสียง ก่อนถึงการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2561
สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ซึ่งปกครองประเทศมานานกว่า 30 ปี เดินทางไปพบปะกับคนงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าเกือบทุกวัน ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยได้มีการถ่ายภาพเซลฟี่ และร่วมรับประทานอาหารมื้อกลางวันกับคนงานอย่างเป็นกันเอง
ที่ผ่านมาคนงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าปะทะกับตำรวจหลายครั้ง ระหว่างการประท้วงขอขึ้นค่าแรง และแกนนำสหภาพแรงงานตัวแทนลูกจ้างบางส่วน เข้าร่วมกับกลุ่มผู้สนับสนุนฝ่ายค้าน ประท้วงรัฐบาลของฮุน เซน อย่างไรก็ตามค่าแรงสำหรับคนงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าในกัมพูชา เพิ่มขึ้นกว่า 150% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จากเดือนละ 61 ดอลลาร์สหรัฐ (2,030 บาท) ในปี 2555 มาอยู่ที่เดือนละ 153 ดอลลาร์ (5,095 บาท) ในปัจจุบัน
ด้านนักวิเคราะห์มองว่า นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน กำลังหาเสียงในหมู่คนงานซึ่งเป็นฐานเสียงของพรรคฝ่ายค้าน โดยเขาประกาศก่อนหน้านี้ว่า ค่าแรงขั้นต่ำจะขึ้นเป็นอย่างน้อยเดือนละ 5,880 บาทในต้นปี 2561 ก่อนกัมพูชาจะมีการเลือกตั้งใหญ่ในเดือนกรกฎาคม แม้ว่าค่าแรงในกัมพูชายังต่ำมากเมื่อเทียบมาตรฐานสากล เพราะจำเป็นต้องแข่งขันกับตลาดแรงงานราคาถูกอื่นๆ เช่น บังกลาเทศ เวียดนาม