สวัสดีค่ะ พี่น้องที่รักในพระคริสต์
ปีนี้สังเกตว่า วัดคาทอลิกหลายๆแห่ง ได้เรียนรู้เรื่อง คริสตชนต่างนิกาย ดังนั้น โปรดปราน ( พีพี ) เป็นคริสตชนนิกายโปรเตสแตนต์ สังกัดคณะเพรสไบทีเรียน สมาชิกของคริสตจักรภาคที่เจ็ด สภาคริสตจักรในประเทศไทย ขอนำเรื่องราวของคริสตจักรโปรแตสแตนต์มาโพสต์เป็นความรู้ความเข้าใจค่ะ
ข้อมูลที่ดิฉันเรียบเรียงมาจากหนังสือหลายเล่มด้วยกัน แต่จะไม่ใส่บรรณานุกรม (หนังสืออ้างอิง)ให้เพราะไม่อยากเป็นการทำการบ้านให้นักศึกษาค่ะ หวังอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคริสตชนทุกๆสังกัดและท่านผู้อ่านที่แสวงหาความรู้ทุกๆท่าน
ขอพระเจ้าสถิตกับทุกๆท่านและอวยพรท่านเสมอ
- 1-
✝️ การปฏิรูปคริสตศาสนา (ฝ่ายโปรแตสแตนต์) [The Reformation (Protestant)]
คำว่า “การปฏิรูป” (Reformation) ที่นักประวัติศาสตร์ และนักศาสนศาสตร์ (นักเทววิทยา) ใช้หมายถึง ขบวนการในยุโรปตะวันออกซึ่งประกอบด้วยปัจเจกชนและสถานบันอื่นๆ ที่มีบทบาทร่วมแสดงความคิดเห็นคัดค้านการปฎิบัติที่ไม่ถูกต้องตามหลักเทววิทยาสายคัมภีร์ซึ่งถือว่าคริสตจักรเป็นคริสตจักรเดียวที่พระเยซูคริสต์ตั้งขึ้นโดยมีคำสั่งให้ทำพันธกิจ (Mission) ไปทั่วโลก ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 11คริสตจักรเดียวนี้ที่ได้แยกออกเป็น 2 นิกาย คือ คาทอลิก (Catholic) และออร์โธด็อกซ์ (Orthodox)
สาเหตุเกิดจากความขัดแย้งกันเกี่ยวกับการไม่ปฎิบัติตามหลักความเชื่อของศาสนศาสตร์ (เทววิทยา)
การปฏิรูปคริสต์ศาสนาในยุโรปในศตวรรษที่ 16 นี้เกิดขึ้นภายในคริสตจักรโรมันคาทอลิก และเป็นการแตกแยกที่ทำให้เกิดนิกายที่ 3 คือโปรเตสแตนต์ (Portestant) ขึ้น
การปฏิรูปนี้เริ่มต้นจาก มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) ผู้สอนศาสนศาสตร์สายคัมภีร์ (biblical theology)แห่งมหาวิทยาลัยวิทเทนบูร์ก (Wittenbury ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศเยอรมันนี) ได้เขียนญัตติ(thesis) 95 ข้อไปติดที่ประตูพระวิหาร เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1517 เพื่อคัดค้านและเพื่อเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายทางด้านวิชาการ ปรากฎว่าถูกผู้นำคริสตจักรต่อต้านและจะต้องรับโทษหนัก จึงได้หนีซ่อนตัวอยู่ที่ปราสาทวาร์ทบูร์ก (Warburg Castle) โดยได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าชายเฟรเดริก (Friederick The Wise )จนกระทั่งสถานการณ์เปลี่ยนไป จึงปรากฎตัวใน ค.ศ.1522 และกลับมาปฏิรูป มิใช่เฉพาะด้านวิชาการเท่านั้นแต่ได้ปฏิรูปริสตจักรและสังคมด้วย
ในขณะที่มาร์ติน ลูเธอร์ ซ่อนตัวอยู่นั้น ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้มีการปฎิรูปเช่นเดียวกัน โดยเริ่มจาก ฮุลดริช สวิงลี (Huldrych Zwingli) , ไฮริช บูลลิงเจดร์ (Heinrich Bullinger) และต่อมา พ.ศ.2079 (ค.ศ.1536) จอห์น คาลวิน (John Calvin) การปฎิรูปเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสถาบัน สังคม และจริยธรรมที่เกิดขึ้นในเมืองต่างๆ ของสวิตเซอร์แลนด์
การปฏิรูปได้ขยายออกจากเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ , อังกฤษ , ฮอลแลนด์(เนเธอร์แลนด์) และสแกนดิเนเวียไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรปและฝ่ายปฏิรูปได้รับการต่อต้านทุกแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในฝรั่งเศสและสเปน
ขบวนการปฏิรูปได้แยกออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกและเรียกตนเองว่า “คริสตจักรปฏิรูป(Reformed Churches)” เนื่องจากเกิดขึ้นในประเทศที่ต่างกัน มีผู้นำต่างกัน จึงเกิดมีชื่อคณะต่างกัน
+++
หนังสืออ้างอิง ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากลอังกฤษ-ไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานกรุงเทพฯ:, ราชบัณฑิตยสถาน, 2542. ( หน้า 246-247 )
-2-
✝️ “แองกลิกันคอมมิวเนียน” (The Anglican Communion)
องค์กรของคริสตจักรต่างๆ ซึ่งสืบเนื่องมาจากคริสตจักรแห่งอังกฤษ ในปัจจุบันคริสตจักรเหล่านี้มีอยู่ทั่วโลก มีการปกครองโดยระบบบิชอป คริสตจักรเหล่านี้มิได้ขึ้นต่อกันและกัน แต่ให้ความนับถืออาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี (Archbishop of Canterbury) ของอังกฤษเป็นผู้นำสูงสุด ทุก 10 ปี บิชอปทั้งหลายจะได้รับเชิญจากอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีไปประชุมที่เมืองแลมเบท (Lambeth Conference) เพื่อร่วมสามัคคีธรรม
ไม่มีใครทราบแน่ว่าคริสตศาสนาเข้าประเทศอังกฤษตั้งแต่เมื่อไร แต่มีหลักฐานว่า ใน พ.ศ.857 (ค.ศ.318) ได้เคยมีบิชอปชาวอังกฤษอย่างน้อย 2 หรือ 3 คน เข้าประชุม The Council of Arles ในฝรั่งเศส ชาวคริสต์ในสมัยเริ่มแรกนี้อยู่รวมตัวกันเป็นกลุ่มๆ แบบอาราม (monastic foundations) กลุ่มต่างๆ เหล่านี้ปรากฏที่ไอร์แลนด์ สกอดแลนด์ เวลส์ และคอร์นวอลล์ก่อนที่ทางโรมจะส่งนักบุญออกัสตินแห่งแคนเทอร์เบอรี พ.ศ. 1147 (St.Augustine of Canterbury ค.ศ. 604) เป็นมิชชันนารีคนแรกไปอังกฤษและได้ตั้งศูนย์กลางของคริสตจักรแคนเทอร์เบอรี (Canterbury) ใน พ.ศ.1140 (ค.ศ. 597) คริสตจักรแบบเคลติก (Celtic) คือแบบชาวพื้นเมืองทั้ง 4 แห่งที่กล่าวมาแล้ว และแบบโรมันได้รวมเป็นคริสตจักรเดียวกันกับระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7-8 ยกเว้นเวลส์ซึ่งรวมเข้าในภายหลังในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่ออำนาจของโรมครอบคลุมทั่งยุโรป
คริสตจักรในอังกฤษได้พัฒนาติดต่อกันมาเป็นเวลา 700-800 ปี ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรในยุโรปภายใต้การปกครองของสันตะปาปา ซึ่งเป็นบิชอปของโรม แต่ต่อมาเมื่อเกิดปัญหาส่วนตัวระหว่างพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสันตะปาปา ประกอบกับมีการปฏิรูปคริสตศาสนาในยุโรปโดยมาร์ติน ลูเทอร์(Martin Luther) และจอห์น คาลวิน (John Calvin) พระเจ้าเฮนรีได้รับการสนับสนุนจากรัฐสภาจึงถือโอกาสประกาศพระองค์เป็นผู้นำสูงสุดของคริสต์จักรในอังกฤษ (The King is Supreme Head of the church in England) โดยไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของสันตะปาปาแห่งโรมอีกต่อไป
เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 8 สิ้นพระชนม์ รัฐบาลอังกฤษในรัชสมัยพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 6 ได้นำคริสตจักรไปในทางคณะปฏิรูป แต่ต่อมาเมื่อสมเด็จพระราชนีนาถแมรี่ที่ 1 (Mary 1) ขึ้นครองราชย์จึงได้ทำการกวาดล้างและทำรายผู้นำศาสนารวมทั้งผู้ที่เป็นฝักฝ่ายคณะปฏิรูปเพื่อนำคริสตจักรให้กลับไปอยู่ภายใต้อำนาจของสันตะปาปาอีก ประเทศชาติและคริสตจักรในสมัยนี้จึงตกอยู่ในสภาวะเดือดร้อนและเสียหายมาก
เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 (Elizabeth 1) ขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระราชนีนาถแมรี่ที่ 1 พระองค์ทรงสามารถแก้ปัญหาความแตกแยกได้และประกาศตั้งคริสตจักรแห่งอังกฤษ (Church of England) เป็นศาสนาประจำชาติของอังกฤษ ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือ
- มีการประกาศอิสรภาพเป็นคริสตจักรประจำชาติของอังกฤษ
- เดินสายกลางระหว่างคริสตจักรโรมันคาทอลิกของสันตะปาปากับคริสตจักรปฏิรูป (โปรแตสแตนต์)
- ให้คริสตจักรยังคงปฎิบัติศาสนพิธีทั้ง 7 อย่างเดิม และยังคงรักษาแบบการปกครองโดยบิชอป จึงเป็นคริสตจักรแบบอิปิสโคปัส (Episcopal) คำว่า “Episcopal” มาจากภาษากรีก “episkopos” ซึ่งแปลว่า “ผู้ดูแล” และคำว่า “บิชอป” (Bishop) ก็มาจากคำนี้ในสกอตแลนด์ ชาวคริสต์กลุ่มที่ต้องการจะคงตำแหน่งบิชอปไว้ ได้ตั้งชื่อกลุ่มของตนว่า Episcopal church of Scotland ส่วนกลุ่มที่ไม่ต้องการให้มีตำแหน่งบิชอป ได้ใช้ตำแหน่งผู้ปกครอง (elders) ซึ่งมาจากคำ prespyters และแบ่งการปกครองคริสตจักรออกเป็น Presbytery เรียกว่าคริสตจักรเพรสไบทีเรียน (Presbyterian Church)
คริสตจักรแห่งอังกฤษจึงเป็นคริสตจักรประจำชาติของอังกฤษ เฉพาะในส่วนที่เป็นอังกฤษและเวลส์เท่านั้นเป็นคริสตจักรแบบมีบิชอป ส่วนในสกอตแลนต์ก็มีคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ (The Church of Scotland) เป็นคริสตจักรประจำชาติของตนเช่นกัน แต่เป็นแบบไม่มีบิชอปเพราะเป็นเพรสไบทีเรียน
หลังสมัยปฏิรูปคริสตจักร มีคริสตจักรโปรแตสแตนต์หลายคริสตจักรที่ยังคงมีตำแห่งบิชอปอยู่ เช่น คริสตจักรแองกลิกัน (Anglican Church) คริสตจักรลูเธอร์แรน (Lutheran Church) คริสตจักรเมทอดิสต์(Methodist Church) บางแห่ง แต่เฉพาะบิชอปแห่งคริสตจักรแองกลิกันเท่านั้นที่เป็นที่ยอมรับของฝ่ายโรมันคาทอลิกและฝ่ายกรีกออร์โธด็อกซ์
คริสตจักรแห่งอังกฤษได้แพร่หลายไปในโลกในสมัยที่อังกฤษแสวงหาอาณานิคมตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16-20 เมื่อชาวอังกฤษได้เข้าปกครองในประเทศใดก็ได้ตั้งคริสตจักรของตนขึ้นในประเทศนั้นในสมัยแรกๆยังคงรักษาชื่อ “คริสตจักรแห่งอังกฤษ” ไว้ ต่อมาเมื่อประเทศต่างๆ ที่เคยอยู่ในปกครองของอังกฤษได้รับอิสรภาพ คริสตจักรในประเทศเหล่านั้นไม่ปรารถนาจะให้คริสตจักรของตนมีชื่อเสียงเกี่ยวข้องกับชื่อของคริสตจักรแห่งอังกฤษ ดันนั้นเมื่อเกิดการปฏิวัติของชาวอเมริกัน (American Revolution) ชื่อของคริสตจักรในสหรัฐอเมริกาก็เปลี่ยนเป็น The Protestant Episcopal Church และปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นEpiscopal Church ในประเทศออสเตรเลียใช้ชื่อว่า Anglican Church of Australia ในประเทศไนจีเรียใช้ชื่อว่า The Church of the Province of Nigeria ในประเทศนิวซีแลนด์ใช้ชื่อว่า The Church of the Province of New Zealand ในประเทศญี่ปุ่นใช้ชื่อว่า The Holy Catholic Church in Japan และประเทศปากีสถานใช้ชื่อว่า The Church of Pakistan แต่อย่างไรก็ดี คริสตจักรเหล่านี้ก็ยังรวมอยู่ในThe Anglican Communion
ในประเทศไทย มิชชันนารีแองกลิกันได้เข้ามาและมีที่นมัสการร่วมกับมิชชันนารีโปรแตสแตนต์อื่นๆตั้งแต่ ค.ศ. 1864 ต่อมาได้รับพระราชทานที่ดินทางถนนสาทรเหนือเพื่อสร้างคริสตจักรของตนเอง จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้สร้างเป็นคริสตจักรไครสต์เชิร์ช (Christ Church) สำเร็จเมื่อ ค.ศ.1905 คริสตจักรอยู่ภายใต้การดูแลของคริสตจักรภาค ซึ่งสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่สิงคโปร์มาจนถึงปัจจุบัน และอยู่กับสภาคริสตจักรในประเทศไทยมาตั้งแต่ต้น จนกระทั้งถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ.1994 จึงย้ายไปจะทะเบียนกับสหกิจคริสเตียน ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างเตรียมการเพื่อจะเปลี่ยนชื่อคริสตจักรไครสต์เชิร์ชเป็น The Anglican Episcopal Church of Thailand
+++
หมายเหตุ St.Augustine of Canterbury เป็นคนละคนกับนักบุญ ออกัสตินแห่งฮิปโป (เป็นนักปรัชญา)
โปรแตสแตนต์
ปีนี้สังเกตว่า วัดคาทอลิกหลายๆแห่ง ได้เรียนรู้เรื่อง คริสตชนต่างนิกาย ดังนั้น โปรดปราน ( พีพี ) เป็นคริสตชนนิกายโปรเตสแตนต์ สังกัดคณะเพรสไบทีเรียน สมาชิกของคริสตจักรภาคที่เจ็ด สภาคริสตจักรในประเทศไทย ขอนำเรื่องราวของคริสตจักรโปรแตสแตนต์มาโพสต์เป็นความรู้ความเข้าใจค่ะ
ข้อมูลที่ดิฉันเรียบเรียงมาจากหนังสือหลายเล่มด้วยกัน แต่จะไม่ใส่บรรณานุกรม (หนังสืออ้างอิง)ให้เพราะไม่อยากเป็นการทำการบ้านให้นักศึกษาค่ะ หวังอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคริสตชนทุกๆสังกัดและท่านผู้อ่านที่แสวงหาความรู้ทุกๆท่าน
ขอพระเจ้าสถิตกับทุกๆท่านและอวยพรท่านเสมอ
- 1-
✝️ การปฏิรูปคริสตศาสนา (ฝ่ายโปรแตสแตนต์) [The Reformation (Protestant)]
คำว่า “การปฏิรูป” (Reformation) ที่นักประวัติศาสตร์ และนักศาสนศาสตร์ (นักเทววิทยา) ใช้หมายถึง ขบวนการในยุโรปตะวันออกซึ่งประกอบด้วยปัจเจกชนและสถานบันอื่นๆ ที่มีบทบาทร่วมแสดงความคิดเห็นคัดค้านการปฎิบัติที่ไม่ถูกต้องตามหลักเทววิทยาสายคัมภีร์ซึ่งถือว่าคริสตจักรเป็นคริสตจักรเดียวที่พระเยซูคริสต์ตั้งขึ้นโดยมีคำสั่งให้ทำพันธกิจ (Mission) ไปทั่วโลก ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 11คริสตจักรเดียวนี้ที่ได้แยกออกเป็น 2 นิกาย คือ คาทอลิก (Catholic) และออร์โธด็อกซ์ (Orthodox)
สาเหตุเกิดจากความขัดแย้งกันเกี่ยวกับการไม่ปฎิบัติตามหลักความเชื่อของศาสนศาสตร์ (เทววิทยา)
การปฏิรูปคริสต์ศาสนาในยุโรปในศตวรรษที่ 16 นี้เกิดขึ้นภายในคริสตจักรโรมันคาทอลิก และเป็นการแตกแยกที่ทำให้เกิดนิกายที่ 3 คือโปรเตสแตนต์ (Portestant) ขึ้น
การปฏิรูปนี้เริ่มต้นจาก มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) ผู้สอนศาสนศาสตร์สายคัมภีร์ (biblical theology)แห่งมหาวิทยาลัยวิทเทนบูร์ก (Wittenbury ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศเยอรมันนี) ได้เขียนญัตติ(thesis) 95 ข้อไปติดที่ประตูพระวิหาร เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1517 เพื่อคัดค้านและเพื่อเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายทางด้านวิชาการ ปรากฎว่าถูกผู้นำคริสตจักรต่อต้านและจะต้องรับโทษหนัก จึงได้หนีซ่อนตัวอยู่ที่ปราสาทวาร์ทบูร์ก (Warburg Castle) โดยได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าชายเฟรเดริก (Friederick The Wise )จนกระทั่งสถานการณ์เปลี่ยนไป จึงปรากฎตัวใน ค.ศ.1522 และกลับมาปฏิรูป มิใช่เฉพาะด้านวิชาการเท่านั้นแต่ได้ปฏิรูปริสตจักรและสังคมด้วย
ในขณะที่มาร์ติน ลูเธอร์ ซ่อนตัวอยู่นั้น ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้มีการปฎิรูปเช่นเดียวกัน โดยเริ่มจาก ฮุลดริช สวิงลี (Huldrych Zwingli) , ไฮริช บูลลิงเจดร์ (Heinrich Bullinger) และต่อมา พ.ศ.2079 (ค.ศ.1536) จอห์น คาลวิน (John Calvin) การปฎิรูปเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสถาบัน สังคม และจริยธรรมที่เกิดขึ้นในเมืองต่างๆ ของสวิตเซอร์แลนด์
การปฏิรูปได้ขยายออกจากเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ , อังกฤษ , ฮอลแลนด์(เนเธอร์แลนด์) และสแกนดิเนเวียไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรปและฝ่ายปฏิรูปได้รับการต่อต้านทุกแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในฝรั่งเศสและสเปน
ขบวนการปฏิรูปได้แยกออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกและเรียกตนเองว่า “คริสตจักรปฏิรูป(Reformed Churches)” เนื่องจากเกิดขึ้นในประเทศที่ต่างกัน มีผู้นำต่างกัน จึงเกิดมีชื่อคณะต่างกัน
+++
หนังสืออ้างอิง ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากลอังกฤษ-ไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานกรุงเทพฯ:, ราชบัณฑิตยสถาน, 2542. ( หน้า 246-247 )
-2-
✝️ “แองกลิกันคอมมิวเนียน” (The Anglican Communion)
องค์กรของคริสตจักรต่างๆ ซึ่งสืบเนื่องมาจากคริสตจักรแห่งอังกฤษ ในปัจจุบันคริสตจักรเหล่านี้มีอยู่ทั่วโลก มีการปกครองโดยระบบบิชอป คริสตจักรเหล่านี้มิได้ขึ้นต่อกันและกัน แต่ให้ความนับถืออาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี (Archbishop of Canterbury) ของอังกฤษเป็นผู้นำสูงสุด ทุก 10 ปี บิชอปทั้งหลายจะได้รับเชิญจากอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีไปประชุมที่เมืองแลมเบท (Lambeth Conference) เพื่อร่วมสามัคคีธรรม
ไม่มีใครทราบแน่ว่าคริสตศาสนาเข้าประเทศอังกฤษตั้งแต่เมื่อไร แต่มีหลักฐานว่า ใน พ.ศ.857 (ค.ศ.318) ได้เคยมีบิชอปชาวอังกฤษอย่างน้อย 2 หรือ 3 คน เข้าประชุม The Council of Arles ในฝรั่งเศส ชาวคริสต์ในสมัยเริ่มแรกนี้อยู่รวมตัวกันเป็นกลุ่มๆ แบบอาราม (monastic foundations) กลุ่มต่างๆ เหล่านี้ปรากฏที่ไอร์แลนด์ สกอดแลนด์ เวลส์ และคอร์นวอลล์ก่อนที่ทางโรมจะส่งนักบุญออกัสตินแห่งแคนเทอร์เบอรี พ.ศ. 1147 (St.Augustine of Canterbury ค.ศ. 604) เป็นมิชชันนารีคนแรกไปอังกฤษและได้ตั้งศูนย์กลางของคริสตจักรแคนเทอร์เบอรี (Canterbury) ใน พ.ศ.1140 (ค.ศ. 597) คริสตจักรแบบเคลติก (Celtic) คือแบบชาวพื้นเมืองทั้ง 4 แห่งที่กล่าวมาแล้ว และแบบโรมันได้รวมเป็นคริสตจักรเดียวกันกับระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7-8 ยกเว้นเวลส์ซึ่งรวมเข้าในภายหลังในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่ออำนาจของโรมครอบคลุมทั่งยุโรป
คริสตจักรในอังกฤษได้พัฒนาติดต่อกันมาเป็นเวลา 700-800 ปี ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรในยุโรปภายใต้การปกครองของสันตะปาปา ซึ่งเป็นบิชอปของโรม แต่ต่อมาเมื่อเกิดปัญหาส่วนตัวระหว่างพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสันตะปาปา ประกอบกับมีการปฏิรูปคริสตศาสนาในยุโรปโดยมาร์ติน ลูเทอร์(Martin Luther) และจอห์น คาลวิน (John Calvin) พระเจ้าเฮนรีได้รับการสนับสนุนจากรัฐสภาจึงถือโอกาสประกาศพระองค์เป็นผู้นำสูงสุดของคริสต์จักรในอังกฤษ (The King is Supreme Head of the church in England) โดยไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของสันตะปาปาแห่งโรมอีกต่อไป
เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 8 สิ้นพระชนม์ รัฐบาลอังกฤษในรัชสมัยพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 6 ได้นำคริสตจักรไปในทางคณะปฏิรูป แต่ต่อมาเมื่อสมเด็จพระราชนีนาถแมรี่ที่ 1 (Mary 1) ขึ้นครองราชย์จึงได้ทำการกวาดล้างและทำรายผู้นำศาสนารวมทั้งผู้ที่เป็นฝักฝ่ายคณะปฏิรูปเพื่อนำคริสตจักรให้กลับไปอยู่ภายใต้อำนาจของสันตะปาปาอีก ประเทศชาติและคริสตจักรในสมัยนี้จึงตกอยู่ในสภาวะเดือดร้อนและเสียหายมาก
เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 (Elizabeth 1) ขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระราชนีนาถแมรี่ที่ 1 พระองค์ทรงสามารถแก้ปัญหาความแตกแยกได้และประกาศตั้งคริสตจักรแห่งอังกฤษ (Church of England) เป็นศาสนาประจำชาติของอังกฤษ ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือ
- มีการประกาศอิสรภาพเป็นคริสตจักรประจำชาติของอังกฤษ
- เดินสายกลางระหว่างคริสตจักรโรมันคาทอลิกของสันตะปาปากับคริสตจักรปฏิรูป (โปรแตสแตนต์)
- ให้คริสตจักรยังคงปฎิบัติศาสนพิธีทั้ง 7 อย่างเดิม และยังคงรักษาแบบการปกครองโดยบิชอป จึงเป็นคริสตจักรแบบอิปิสโคปัส (Episcopal) คำว่า “Episcopal” มาจากภาษากรีก “episkopos” ซึ่งแปลว่า “ผู้ดูแล” และคำว่า “บิชอป” (Bishop) ก็มาจากคำนี้ในสกอตแลนด์ ชาวคริสต์กลุ่มที่ต้องการจะคงตำแหน่งบิชอปไว้ ได้ตั้งชื่อกลุ่มของตนว่า Episcopal church of Scotland ส่วนกลุ่มที่ไม่ต้องการให้มีตำแหน่งบิชอป ได้ใช้ตำแหน่งผู้ปกครอง (elders) ซึ่งมาจากคำ prespyters และแบ่งการปกครองคริสตจักรออกเป็น Presbytery เรียกว่าคริสตจักรเพรสไบทีเรียน (Presbyterian Church)
คริสตจักรแห่งอังกฤษจึงเป็นคริสตจักรประจำชาติของอังกฤษ เฉพาะในส่วนที่เป็นอังกฤษและเวลส์เท่านั้นเป็นคริสตจักรแบบมีบิชอป ส่วนในสกอตแลนต์ก็มีคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ (The Church of Scotland) เป็นคริสตจักรประจำชาติของตนเช่นกัน แต่เป็นแบบไม่มีบิชอปเพราะเป็นเพรสไบทีเรียน
หลังสมัยปฏิรูปคริสตจักร มีคริสตจักรโปรแตสแตนต์หลายคริสตจักรที่ยังคงมีตำแห่งบิชอปอยู่ เช่น คริสตจักรแองกลิกัน (Anglican Church) คริสตจักรลูเธอร์แรน (Lutheran Church) คริสตจักรเมทอดิสต์(Methodist Church) บางแห่ง แต่เฉพาะบิชอปแห่งคริสตจักรแองกลิกันเท่านั้นที่เป็นที่ยอมรับของฝ่ายโรมันคาทอลิกและฝ่ายกรีกออร์โธด็อกซ์
คริสตจักรแห่งอังกฤษได้แพร่หลายไปในโลกในสมัยที่อังกฤษแสวงหาอาณานิคมตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16-20 เมื่อชาวอังกฤษได้เข้าปกครองในประเทศใดก็ได้ตั้งคริสตจักรของตนขึ้นในประเทศนั้นในสมัยแรกๆยังคงรักษาชื่อ “คริสตจักรแห่งอังกฤษ” ไว้ ต่อมาเมื่อประเทศต่างๆ ที่เคยอยู่ในปกครองของอังกฤษได้รับอิสรภาพ คริสตจักรในประเทศเหล่านั้นไม่ปรารถนาจะให้คริสตจักรของตนมีชื่อเสียงเกี่ยวข้องกับชื่อของคริสตจักรแห่งอังกฤษ ดันนั้นเมื่อเกิดการปฏิวัติของชาวอเมริกัน (American Revolution) ชื่อของคริสตจักรในสหรัฐอเมริกาก็เปลี่ยนเป็น The Protestant Episcopal Church และปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นEpiscopal Church ในประเทศออสเตรเลียใช้ชื่อว่า Anglican Church of Australia ในประเทศไนจีเรียใช้ชื่อว่า The Church of the Province of Nigeria ในประเทศนิวซีแลนด์ใช้ชื่อว่า The Church of the Province of New Zealand ในประเทศญี่ปุ่นใช้ชื่อว่า The Holy Catholic Church in Japan และประเทศปากีสถานใช้ชื่อว่า The Church of Pakistan แต่อย่างไรก็ดี คริสตจักรเหล่านี้ก็ยังรวมอยู่ในThe Anglican Communion
ในประเทศไทย มิชชันนารีแองกลิกันได้เข้ามาและมีที่นมัสการร่วมกับมิชชันนารีโปรแตสแตนต์อื่นๆตั้งแต่ ค.ศ. 1864 ต่อมาได้รับพระราชทานที่ดินทางถนนสาทรเหนือเพื่อสร้างคริสตจักรของตนเอง จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้สร้างเป็นคริสตจักรไครสต์เชิร์ช (Christ Church) สำเร็จเมื่อ ค.ศ.1905 คริสตจักรอยู่ภายใต้การดูแลของคริสตจักรภาค ซึ่งสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่สิงคโปร์มาจนถึงปัจจุบัน และอยู่กับสภาคริสตจักรในประเทศไทยมาตั้งแต่ต้น จนกระทั้งถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ.1994 จึงย้ายไปจะทะเบียนกับสหกิจคริสเตียน ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างเตรียมการเพื่อจะเปลี่ยนชื่อคริสตจักรไครสต์เชิร์ชเป็น The Anglican Episcopal Church of Thailand
+++
หมายเหตุ St.Augustine of Canterbury เป็นคนละคนกับนักบุญ ออกัสตินแห่งฮิปโป (เป็นนักปรัชญา)