กกท.ทำ MOU ฟุตบอลโลกกับทรูไม่ตรงกับที่ทำกับกสทช.

-ทำ MOU กับกสทช.วันที่ 14 พ.ย. บอกว่า "
ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ ที่อยู่ในการกำกับดูแลของ กสทช. ทุกประเภท ณ ทีนี้ หมายรวมถึง ระบบโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Transmission), ระบบดาวเทียม (Satellite Transmission), ระบบเคเบิ้ล Cable Transmission) และระบบไอพีทีวี (IPTV Transmission) สามารถถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2022 (รอบสุดท้าย) ได้โดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎ Must carry
ตามข้อ 2.8 และ 2.8 (2) กกท. ตกลง ยินยอม ให้ผู้รับใบอนุญาตภายใต้กำกับของ กสทช. ได้สิทธิในการแพร่ภาพแพร่เสียงการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2022 แบบไม่จำกัดจำนวนการรับส่งสัญญาณผ่านช่องทางและระบบ หรือรูปแบบการออกอากาศ ตลอดระยะเวลาที่กำหนด ตาม ข้อ 2.8 (2)"
-ทำ MOU กับทรูวันที่ 19 พ.ย. บอกว่า "กกท. รับรองว่า กสทช.ได้แจ้งกำชับไม่ให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ที่เกี่ยวข้อง ทำการเผยแพร่การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย (FIFA World Cup 2022) ผ่านระบบไอพีทีวี, ระบบอินเตอร์เน็ต, ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ และระบบโอทีที ไม่ว่าจะเป็นบนช่องทางเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชัน ซึ่งสามารถรับชมได้ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่กล่องรับสัญญาณ และอุปกรณ์อื่นใด เพื่อคุ้มครองสิทธิของทรู"
-แต่กสทช.ยังมาเรียกเงินคืนอยู่แปลว่าไม่ได้คุย? สุดท้ายถ้าเจรจากันไม่ได้ กกท.ได้คืนเงิน 600 ล้านหรือ 300 ล้านแน่ครับ สงสัยต้องควักมาจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ

สนุกกว่าบอลแข่ง …
เผย เอ็มโอยู  ‘กสทช.-กกท.’ ระบุชัด กกท.ต้องดำเนินการให้ ‘ผู้รับใบอนุญาตจาก กสทช.’ ที่อยู่ในกำกับดูแลของ กสทช. ทุกประเภท รวม IPTV ถ่ายทอดสดบอลโลก แต่ กกท.กลับสวนทาง ทำ เอ็มโอยู ‘กกท.-ทรู’ ให้ทรูได้สิทธิผูกขาด (exclusive) ระบุไม่ให้มีการนำสัญญาณถ่ายทอดฟุตบอลโลก เผยแพร่บนระบบ IPTV 
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ระหว่าง กสทช. และ กกท. เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 เป็นการยืนยันว่า กกท. รับทราบเงื่อนไขการรับเงิน 600 ล้านจาก กสทช. โดยในเอ็มโอยูระบุชัดเจนถึงวัตถุประสงค์ของ กสทช. ในการมอบเงินสนับสนุนให้กับ กกท. ที่ว่า ผู้รับใบอนุญาตจาก กสทช. ที่อยู่ในการกำกับดูแลของ กสทช. ทุกประเภท (หมายรวมถึงผู้ประกอบการไอพีทีวี ที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. อาทิ AIS 3BB NT เป็นต้น) สามารถถ่ายทอดสดบอลโลกได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ดังปรากฏในเอกสารเอ็มโอยู
ตามเอ็มโอยูระหว่าง กสทช. และ กกท. ข้อ 1.2 และ 2.2 ระบุชัดเจนว่า ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ ที่อยู่ในการกำกับดูแลของ กสทช. ทุกประเภท ณ ทีนี้ หมายรวมถึง ระบบโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Transmission), ระบบดาวเทียม (Satellite Transmission), ระบบเคเบิ้ล Cable Transmission) และระบบไอพีทีวี (IPTV Transmission) สามารถถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2022 (รอบสุดท้าย) ได้โดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎ Must carry
ตามข้อ 2.8 และ 2.8 (2) กกท. ตกลง ยินยอม ให้ผู้รับใบอนุญาตภายใต้กำกับของ กสทช. ได้สิทธิในการแพร่ภาพแพร่เสียงการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2022 แบบไม่จำกัดจำนวนการรับส่งสัญญาณผ่านช่องทางและระบบ หรือรูปแบบการออกอากาศ ตลอดระยะเวลาที่กำหนด ตาม ข้อ 2.8 (2) ซึ่งหาก กกท. สละซึ่งสิทธิใดๆ ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของสำนักงาน กสทช. และผู้ที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด โดย กกท. จะดำเนินการเพื่อให้สำนักงาน กสทช.และผู้ที่เกี่ยวข้องยังคงได้รับหรือสามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
อีกทั้ง กกท. จะดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศหลักเกณฑ์ และระเบียบที่ กสทช. กำหนด รวมถึงมติที่ประชุม กสทช. ที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่และที่จะมีต่อไปในภายหน้า ตามระบุในเอ็มโอยูข้อ 2.10
นอกจากนี้ เอ็มโอยู ข้อ 8.1 ยังระบุชัดเจน เรื่องการเรียกคืนเงิน 600 ล้าน หาก กกท. ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในบันทึกข้อตกลงนี้ สำนักงาน กสทช. ขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการสนับสนุนค่าใช้จ่าย รวมถึงมีสิทธิเรียกคืนเงินใดๆ ที่ได้สนับสนุนไปแล้วคืนจาก กกท. โดย กกท.จะต้องชำระคืนภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
เมื่อนำมาเทียบกับเอ็มโอยู ระหว่าง ‘กกท และ ทรู’ ที่ทำเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่าง บริษัท ทรูโฟร์ยู สเตชั่น จำกัด, บริษัท ทรู วิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด, บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด กับ การกีฬาแห่งประเทศไทย จะเห็นได้ชัดเจนว่า ‘เอ็มโอยู ระหว่าง กกท และทรู’ ไม่เป็นตามข้อตกลงของเอ็มโอยู ระหว่าง  ‘กสทช.และ กกท.’ อยู่หลายประการ โดยเฉพาะในเรื่องไอพีทีวี และโดยเฉพาะไม่เป็นไปตามที่ นายก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศ บอกผ่านสื่อมวลชนเสมอมา ว่าได้ทำตามข้อตกลงทุกอย่างกับ กสทช. อย่างถูกต้อง ดังปรากฏในเอกสารเอ็มโอยู บางส่วน ดังนี้
ตามเอ็มโอยูฉบับ ‘กกท. และ ทรู’ ข้อ 4 การคุ้มครองสิทธิ ระบุว่า กกท. รับรองว่า กสทช.ได้แจ้งกำชับไม่ให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ที่เกี่ยวข้อง ทำการเผยแพร่การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย (FIFA World Cup 2022) ผ่านระบบไอพีทีวี, ระบบอินเตอร์เน็ต, ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ และระบบโอทีที ไม่ว่าจะเป็นบนช่องทางเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชัน ซึ่งสามารถรับชมได้ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่กล่องรับสัญญาณ และอุปกรณ์อื่นใด เพื่อคุ้มครองสิทธิของทรู
และ กกท. ตกลงว่า กกท. จะดำเนินการไม่ให้มีการนำสัญญาณถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ออกอากาศบนช่องดิจิตอลฟรีทีวี ไปเผยแพร่บนระบบไอพีทีวี, ระบบอินเตอร์เน็ต, ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ และระบบโอทีที 
โดยในกรณีที่มีผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์มีการกระทำละเมิดสิทธิของทรูตามบันทึกข้อตกลงนี้ กกท. ตกลงที่จะคืนเงินสนับสนุนให้แก่ผู้ให้การสนับสนุนทั้งหมดทันที
นอกจากนี้ ในเอ็มโอยู ‘กกท. และ ทรู’ ยังระบุรายละเอียดสิทธิและประโยชน์ที่ กกท ยกลิขสิทธิ์ให้กับทรูทั้งหมด โดยเฉพาะ ข้อ 2.3 สิทธิแบบ ‘เอ็กซ์คลูซีฟ’ ในระบบเคเบิ้ล, ระบบดาวเทียม, ระบบไอพีทีวีไม่ว่าจะเป็นบริการแบบเรียกเก็บค่าบริการหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีข้อยกเว้น ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน ว่า เอ็มโอยู ระหว่าง กกท. และทรู ขัดต่อ เอ็มโอยูระหว่าง กสทช และ กกท. ที่ตกลงกันไปก่อนหน้า
การที่ผู้ประกอบไอพีทีวีทุกรายที่ได้รับใบนุญาตจาก กสทช. ตัองจอดำ จึงไม่เป็นไปตาม ‘กฎมัสต์แครี่’ ที่เป็นเจตนารมณ์ของ กสทช. ในการสนับสนุนงบ 600 ล้าน ที่ต้องการให้คนไทยดูฟรีทีวีได้ทุกช่องทาง จึงเป็นเหตุให้ กสทช จะเรียกเงินคืนทั้งหมด 600 ล้านจาก กกท.
ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ กกท. ซึ่งยืนยันตลอดมาว่า กกท. ปฏิบัติตามข้อตกลงกับ กสทช. แต่เมื่อดูรายละเอียดของ เอ็มโอยู กลับผิดไปจากที่กล่าวมาโดยสิ้นเชิง กลับเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทรูผูกขาดแต่เพียงรายเดียว และยังขัดต่อข้อกฎหมายของ กสทช. ด้วย 
จับตาดูต่อไป ว่า กกท. จะแก้ไขข้อตกลงให้ถูกต้องตามเอ็มโอยูที่ได้ทำกับ กสทช. หรือไม่ โดย กสทช.ได้มีหนังสือเรียกเงินคืน 600 ล้าน คืนจาก กกท.แล้ว ตามเอ็มโอยู ‘กสทช.-กกท’ 
ขณะเดียวกัน เอ็มโอยู ‘กกท.-ทรู’ ก็กำหนดให้ กรณีที่มีผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ มีการกระทำละเมิดสิทธิของทรูตามบันทึกข้อตกลงนี้ กกท. ตกลงที่จะคืนเงินสนับสนุนให้แก่ทรูทั้งหมดทันที
Credit: Facebook สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่