อัพเดท! กรอบการลงทุน 1 ธันวาคม 2022

สวัสดีครับ มิตรรัก TFEXCLUB เป็นอย่างไรบ้างเช้านี้? 

ไปดูทางฟากฝั่ง US กันก่อนนะครับ 
ดาวโจนส์พุ่งขึ้น 737 จุด หลังเฟดส่งสัญญาณชะลอปรับขึ้นดอกเบี้ย
https://siamrath.co.th/n/403901

วันที่ 1 ธ.ค.65 ดัชนีดาวโจนส์ ปิดวันพุธ (30 พ.ย.65) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 737.24 จุด หรือ 2.18% ปิดที่ 34,589.77 จุด หลังจากมีการเผยแพร่คำแถลงของของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวในเวทีสัมมนาหนึ่งของสถาบันบรูคลิน ในวอชิงตันว่า เฟด อาจชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในเดือนธ.ค.65 

ขณะที่ ดัชนีเอสแอนด์พี 500 เพิ่มขึ้น 122.48 จุด หรือ 3.09% ปิดที่ 4,080.11 จุด และดัชนีแนสแด็ก เพิ่มขึ้น 484.22 จุด หรือ 4.41% ปิดที่ 11,468.00 จุด





“น้ำมันดีเซล” มีความสำคัญต่อธุรกิจและเศรษฐกิจของแต่ละประเทศใหญ่หลวงมาก เนื่องจากเป็นชนิดน้ำมันที่ใช้เป็นพลังงานของเรือขนส่งสินค้า รถบรรทุกขนถ่ายสินค้า และรถไฟ รวมทั้งเป็นพลังงานเพื่อให้ความร้อนแก่บ้านเรือน และธุรกิจต่าง ๆ ในภูมิภาคที่หนาวเย็นของโลกอย่างเช่นในอเมริกาเหนือและยุโรป

ที่สำคัญยังถูกนำมาใช้เป็นพลังงานสำคัญส่วนหนึ่งในการเดินเครื่องจักรสำหรับผลิตน้ำประปา ผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับการบริโภคของครัวเรือนและธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งหลายอีกด้วย

ภาวะขาดแคลนน้ำมันดีเซลที่อาจทำให้ราคาพุ่งพรวด จึงส่งผลกระทบอย่างทั่วถึงเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะต่อ “เครือข่ายการขนส่งสินค้า” ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสินค้าทุกอย่างแพงขึ้น ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น อัตราเงินเฟ้อถีบตัวสูงขึ้นตามมา เดือดร้อนกันไปทั่วตั้งแต่คนเดินถนนไปจนถึงในคฤหาสน์มหาเศรษฐี และทุกภาคส่วนของธุรกิจอุตสาหกรรม

อ่านต่อได้ที่ : https://www.prachachat.net/world-news/news-1133716

‘ค่าเงินบาท’แตะ 35.34 บาท แข็งค่าสุดในรอบ 3 เดือน จับตาไทยขึ้นดอกเบี้ยวันนี้

น.ส.กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า เงินบาทวันนี้ 30 พ.ย.65 แตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 3 เดือนที่ 35.34 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนจะกลับมาเคลื่อนไหวที่ระดับประมาณ 36.35-35.37 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงเช้า 9.25 น. เทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 35.43 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยทิศทางแข็งค่าของเงินบาทเป็นไปตามค่าเงินหยวนและบางสกุลเงินในเอเชีย ขณะที่ตลาดในประเทศรอติดตามสัญญาณดอกเบี้ยและมุมมองต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยจากผลการประชุมกนง. ในช่วงบ่ายวันนี้ ด้านแรงหนุนเงินดอลลาร์ฯ ชะลอลงบางส่วน ก่อนถ้อยแถลงของประธานเฟดในคืนนี้


กนง. มีมติขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจหลายสำนักคาดต้นปีหน้าจ่อเพิ่มอีก
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.00% เป็น 1.25% ต่อปี โดยให้มีผลทันที
​นายปิติ ดิษยทัต เลขานุการ คณะกรรมการ กนง. เปิดเผยถึงเหตุผลของการปรับเพิ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าวมาจากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนจะยังเป็นแรงส่งสำคัญของเศรษฐกิจในระยะต่อไป และช่วยลดทอนผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2566 มีแนวโน้มสูงกว่าประมาณการครั้งก่อนจากราคาพลังงานในประเทศเป็นสำคัญ แต่จะยังคงโน้มลดลงและกลับสู่กรอบเป้าหมายในปี 2566 แต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการส่งผ่านต้นทุนที่อาจเพิ่มขึ้น และการปรับราคาพลังงานในประเทศที่ยังมีความไม่แน่นอน
สำหรับการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยอีก 2 ปีข้างหน้านั้น ธปท. คาดว่าจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 3.2% ส่วนปี 2566 อยู่ที่ 3.7% และปี 2567 เพิ่มขึ้นเป็น 3.9% เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคเอกชน แม้ว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจะทำให้ภาคการส่งออกขยายตัวลดลง

คาดปีหน้า ธปท. ทยอยปรับเพิ่มขึ้นอีก
บทวิเคราะห์ของ เจ.พี.มอร์แกน บริษัทบริหารสินทรัพย์ชั้นนำ ที่เผยแพร่รายงาน "Asia Pacific Economic Research" เมื่อวันที่ 21 พ.ย. คาดการณ์ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบายในเดือน พ.ย. อีก 0.25% และคาดว่าปรับเพิ่มอีกครั้งในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 อีก 0.50% มาสู่ 1.75%

ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ออกบทวิเคราะห์ในทิศทางเดียวกันว่า ในปีหน้า เส้นทางการปรับขึ้นดอกเบี้ยของกนง. คงขึ้นอยู่กับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ความต่อเนื่องของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รวมถึงทิศทางการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางหลักอย่างเฟดเป็นสำคัญ โดยมีความเป็นไปได้ที่กนง. อาจชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในระยะข้างหน้า ซึ่งดอกเบี้ยนโยบายของไทยคงไปแตะระดับสูงสุดที่ราว 1.75-2.00% ในปีหน้า ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่มีมากขึ้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

ชี้เศรษฐกิจไทยอยู่ในทิศทางฟื้นตัว

ในการแถลงข่าวช่วงแรกของ ธปท. นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาคได้เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจในช่วงเดือน ต.ค. ว่า ​เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในทิศทางฟื้นตัว แม้จะได้รับแรงกดดันจากการส่งออกสินค้าที่ปรับลดลง ตามอุปสงค์ประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว และปัจจัยชั่วคราวจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นน้ำมัน ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมและเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนปรับลดลง

ขณะที่เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนลดลงเล็กน้อย แต่ภาคการท่องเที่ยวยังฟื้นตัวต่อเนื่องตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะยุโรปและสหรัฐฯ สำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวเดินทางระยะใกล้ เช่น ฮ่องกง และไต้หวัน เพิ่มขึ้นตามการผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทาง ส่งผลให้กิจกรรมในภาคบริการปรับดีขึ้นต่อเนื่อง
อ่านต่อได้ที่ https://www.msn.com/th-th/news/other/%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%87-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2-0-25-%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%81/ar-AA14JaB3?ocid=msedgntp&cvid=ee3a1c877ddc42e4a55168e6be4ac8f3

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่