ค่ายเกมอิสระจากสาธารณรัฐเช็คอย่าง Bohemia Interactive(และหลายๆคนอาจจะยังไม่รู้ว่ามีสาขาสตูดิโออยู่ที่ไทยด้วย) ได้ออกประกาศเตือนว่า มีคนถ่าย Footage จากในเกม ArmA 3 และมาใช้อ้างแบบผิดๆว่ามาจากเหตุการณ์จริงหลายๆครั้ง โดยเฉพาะสงครามยูเครนจนเกิดเป็นไวรัล และถูกแชร์กันต่อในโชเชียลมีเดีย บางครั้งมาจากสื่อหลัก หรือหน่วยงานราชการทั่วโลกเอง
ทางผู้พัฒนา จึงขอให้ผู้รับสารระวังจากการเสพข่าวปลอมและแยกแยะระหว่างวิดีโอจากในเกมกับวิดีโอของจริง
นอกจากสงครามยูเครนแล้ว หลายๆความขัดแย้งต่างก็ใช้เกม ArmA เป็นเครื่องมือ ตั้งแต่อัพกานีสถาน ซีเรีย ปาเลสไตน์ และแม้แต่อินเดียกับปากีสถานก็ตาม
ArmA(ชื่อเต็ม
Armed
Assault) เป็นซีรีย์เกมจำลองทหาร ที่ปัจจุบันมีถึงภาคที่ 3 แล้ว และ Reforger ในปีนี้ก่อนที่จะไปทำภาค 4 ภาคแรกคือ Operation Flashpoint : Cold War Crisis ก่อนที่ Codemaster จะแยกตัวไปทำในชื่อของ Operation Flashpoint ด้วยตัวเองแทน ส่วน Bohemia Interactive ก็แยกไปทำต่อเป็น ArmA : Armed Assault และ Operation Flashpoint : Cold War Crisis ภายหลังก็ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ArmA : Cold War Assault แทน
ตัวเกมนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เล่นนั้นได้สร้าง Content(Mod) เองได้อย่างเต็มที่ ตั้งแต่ Map ใหม่ ยานพหนะใหม่ อาวุธใหม่ ยุทโธปกรณ์ใหม่ และภาระกิจใหม่ ที่นอกเหนือจากในเกมที่ให้มา โดย ณ ปัจจุบันมี Mod ของ ArmA 3 ใน Steam Workshop แล้วกว่า 20000 ชิ้นให้โหลด(ยังไม่นับ Mod จากนอก Steam Workshop) หมายความว่าเราสามารถโหลด mod มาเล่น มาทำแบบใหนก็ได้เป็นของตัวเอง ตั้งแต่ Life RP,Co-op,King of the Hill,หรือแม้แต่ Battle Royal(PUBG ดังมาจาก mod ของเกมนี้แหละ เกมนี้คือต้นกำเนิดเลย) เกมให้อิสระในการสร้างเองสูงมาก
แต่ด้วยความอิสระของเกมก็มาพร้อมกับผลเสียที่ตามมาคือ บางคนใช้ mod ที่โหลดมาในเกม
สร้างฉากโดยอิงจากเหตุการณ์จริง และเผยแพร่เป็นข่าวปลอมลงไปในอินเตอร์เน็ต
แม้ว่าทาง Bohemia Interactive จะไล่ตามเก็บตามลบคลิปปลอมทั้งหลายแล้วแต่ไม่เป็นผล เพราะออกมาเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตามทาง Bohemia Interactive ก็ได้ร่วมมือกับสื่อใหญ่ๆหลายราย เช่น AFP Reuter และอื่นๆ เพื่อสู้กับข่าวปลอมทั้งหมดที่มาจากเกมนี้
และนอกจากนี้ทางผู้พัฒนาเอง ได้เผยวิธีการจำแนกว่า วิดีโอดังกล่าวนั้นถ่ายจากในเกมหรือของจริง โดยมีดังนี้
ภาพไม่ชัด
แม้ว่าสมาทโฟนในปัจจุบันจะพัฒนาไปไกลจนสามารถถ่ายวีดิโอในระดับ HD ได้แล้วก็ตาม วีดิโอปลอมส่วนใหญ่มักจะถ่ายมาด้วยความละเอียดที่ต่ำ เบลอ มัว เพื่อปิดบังว่าถ่ายมาจากในเกม
ภาพสั่น
เพื่อเพิ่มอรรถรส คลิปส่วนใหญ่จะไม่ได้ถ่ายมากจากในคอม แต่มักจะถ่ายจากจอคอม ผลที่ได้คือคุณภาพคลิปที่ต่ำและภาพสั่น
ส่วนมากมักจะถ่ายจากที่มืดหรือตอนกลางคืน
Footage ส่วนใหญ่จะถ่ายมาจากที่มืดหรือตอนกลางคืน เพื่อปิดบังว่าถ่ายมาจากในเกม โดยเฉพาะรายละเอียดที่ไม่ชัดเจน
ส่วนมากจะไม่มีเสียง
เสียงในเกมต่างจากเสียงของจริงอย่างมาก หลายคลิปจึงเลือกที่จะไม่ใส่เสียงเพื่อไม่ให้โดนจับได้ง่าย
ไม่มีคนอยู่ในเหตุการณ์
ในขณะที่เกมสามารถจำลองการเคลื่อนไหวของยานพหนะได้อย่างสมจริงแล้วก็ตาม แต่การจำลองการเคลื่อนไหวของของคน(และสิ่งมีชีวิต)จากของจริงยังคงทำได้ยาก แม้ว่าจะเป็นเกมสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี Motion Capture แล้วก็ตาม
การที่ใส่คนลงไปในฉากอาจถูกจับได้ว่ามาจากเกม เนื่องจากเกมนี้มีอนิเมชั่นของคนที่แข็งทื่อมาก
Heads Up Display (HUD) มีให้เห็นชัดเจน
บางเกมจะมีในส่วนของ UI เช่นการเลือกอาวุธ จำนวนกระสุน สถานะของยานพหนะ ข้อความในเกม ฯลฯ ให้เห็น ส่วนมากมักจะมาจากมุมหรือขอบของจอที่ถ่าย
Particle Effects ที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ
แม้ว่าจะเป็นเกมสมัยใหม่ส่วนใหญ่จะมีปัญหาในการจำลองการระเบิด ควัน ไฟ และฝุ่นให้ได้ตามธรรมชาติก็ตาม ให้สังเกตได้ง่ายๆจากสิ่งแวดล้อมรอบๆฉาก
ยานพหนะ อาวุธยุทโธปกรณ์ ชุดเครื่องแบบ ที่ไม่สมจริง/ไม่สมเหตุสมผล
ข้อนี้สำหรับผู้ที่มีความรู้ในเรื่องยุทโธปกรณ์ จะสามารถจำแนกได้เลยว่า มันปลอมแน่นอน เช่นตัวอย่างที่เห็นได้บ่อยจากคลิปปลอมคือ C-RAM ของอเมริกายิงเครื่องบินของอเมริกาด้วยกันเองตก หรือแม้กระทั่งหน่วยรบที่ใช้เครื่องหมาย/ลายพรางที่ไม่มีอยู่จริงหรือผิดเพี้ยนไป
และสุดท้าย ทางผู้พัฒนาเกมขอให้ผู้เล่นและ content creator นั้น
ใช้ Footage จากเกมอย่างมีความรับผิดชอบ เมื่อแชร์เนื้อหาไปแล้ว ให้
หลีกเลี่ยงการพาดหัวคลิป Clickbait และ
ระบุให้ชัดเจนเสมอว่า"คลิปนี้ ทำขึ้นมาจากในเกม"
Source :
https://www.bohemia.net/blog/arma-3-footage-being-used-as-fake-news
จริงๆแล้ว เรื่องนี้ถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีหลายๆครั้งแล้วที่หลายๆข่าว หลายๆสำนักข่าวนั้นหลงเอาคลิปหรือภาพจากในเกมมาใช้ นอกจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์แล้ว การสร้างเกมในปัจจุบัน เทคโนโลยีนั้นก้าวกระโดดมากและสามารถถ่ายถอด Gameplay ได้อย่างเหมือนของจริงมาก จนทำให้คนที่ไม่ได้อยู่ในวงการนี้หรือตามเทคโนโลยีไม่ทัน หลงเข้าใจผิดกันได้ง่าย
ตามคลิปนี้
และจากเรื่องนี้ ผมหวังว่าจะไม่มีสำนักข่าวในไทยสำนักใหน....หลงเอาคลิปจากเกมมาใช้นะครับ เพราะว่าสำนักข่าวในไทยส่วนใหญ่เดี๋ยวนี้คือ ขี้เกียจกันมาก แล้วข่าวส่วนใหญ่ว่า 60-70% มาจากโซเชี่ยลมีเดียทั้งนั้น โดนเฉพาะจาก Facebook และ Tiktok
ผู้พัฒนาเกม ArmA 3 เตือน หลังมีคนนำเกมมาถูกใช้ทำคลิปหลอกว่ามาจากเหตุการณ์สงครามจริงหลายครั้ง
ทางผู้พัฒนา จึงขอให้ผู้รับสารระวังจากการเสพข่าวปลอมและแยกแยะระหว่างวิดีโอจากในเกมกับวิดีโอของจริง
นอกจากสงครามยูเครนแล้ว หลายๆความขัดแย้งต่างก็ใช้เกม ArmA เป็นเครื่องมือ ตั้งแต่อัพกานีสถาน ซีเรีย ปาเลสไตน์ และแม้แต่อินเดียกับปากีสถานก็ตาม
ArmA(ชื่อเต็ม Armed Assault) เป็นซีรีย์เกมจำลองทหาร ที่ปัจจุบันมีถึงภาคที่ 3 แล้ว และ Reforger ในปีนี้ก่อนที่จะไปทำภาค 4 ภาคแรกคือ Operation Flashpoint : Cold War Crisis ก่อนที่ Codemaster จะแยกตัวไปทำในชื่อของ Operation Flashpoint ด้วยตัวเองแทน ส่วน Bohemia Interactive ก็แยกไปทำต่อเป็น ArmA : Armed Assault และ Operation Flashpoint : Cold War Crisis ภายหลังก็ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ArmA : Cold War Assault แทน
ตัวเกมนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เล่นนั้นได้สร้าง Content(Mod) เองได้อย่างเต็มที่ ตั้งแต่ Map ใหม่ ยานพหนะใหม่ อาวุธใหม่ ยุทโธปกรณ์ใหม่ และภาระกิจใหม่ ที่นอกเหนือจากในเกมที่ให้มา โดย ณ ปัจจุบันมี Mod ของ ArmA 3 ใน Steam Workshop แล้วกว่า 20000 ชิ้นให้โหลด(ยังไม่นับ Mod จากนอก Steam Workshop) หมายความว่าเราสามารถโหลด mod มาเล่น มาทำแบบใหนก็ได้เป็นของตัวเอง ตั้งแต่ Life RP,Co-op,King of the Hill,หรือแม้แต่ Battle Royal(PUBG ดังมาจาก mod ของเกมนี้แหละ เกมนี้คือต้นกำเนิดเลย) เกมให้อิสระในการสร้างเองสูงมาก
แต่ด้วยความอิสระของเกมก็มาพร้อมกับผลเสียที่ตามมาคือ บางคนใช้ mod ที่โหลดมาในเกมสร้างฉากโดยอิงจากเหตุการณ์จริง และเผยแพร่เป็นข่าวปลอมลงไปในอินเตอร์เน็ต
แม้ว่าทาง Bohemia Interactive จะไล่ตามเก็บตามลบคลิปปลอมทั้งหลายแล้วแต่ไม่เป็นผล เพราะออกมาเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตามทาง Bohemia Interactive ก็ได้ร่วมมือกับสื่อใหญ่ๆหลายราย เช่น AFP Reuter และอื่นๆ เพื่อสู้กับข่าวปลอมทั้งหมดที่มาจากเกมนี้
และนอกจากนี้ทางผู้พัฒนาเอง ได้เผยวิธีการจำแนกว่า วิดีโอดังกล่าวนั้นถ่ายจากในเกมหรือของจริง โดยมีดังนี้
ภาพไม่ชัด
แม้ว่าสมาทโฟนในปัจจุบันจะพัฒนาไปไกลจนสามารถถ่ายวีดิโอในระดับ HD ได้แล้วก็ตาม วีดิโอปลอมส่วนใหญ่มักจะถ่ายมาด้วยความละเอียดที่ต่ำ เบลอ มัว เพื่อปิดบังว่าถ่ายมาจากในเกม
ภาพสั่น
เพื่อเพิ่มอรรถรส คลิปส่วนใหญ่จะไม่ได้ถ่ายมากจากในคอม แต่มักจะถ่ายจากจอคอม ผลที่ได้คือคุณภาพคลิปที่ต่ำและภาพสั่น
ส่วนมากมักจะถ่ายจากที่มืดหรือตอนกลางคืน
Footage ส่วนใหญ่จะถ่ายมาจากที่มืดหรือตอนกลางคืน เพื่อปิดบังว่าถ่ายมาจากในเกม โดยเฉพาะรายละเอียดที่ไม่ชัดเจน
ส่วนมากจะไม่มีเสียง
เสียงในเกมต่างจากเสียงของจริงอย่างมาก หลายคลิปจึงเลือกที่จะไม่ใส่เสียงเพื่อไม่ให้โดนจับได้ง่าย
ไม่มีคนอยู่ในเหตุการณ์
ในขณะที่เกมสามารถจำลองการเคลื่อนไหวของยานพหนะได้อย่างสมจริงแล้วก็ตาม แต่การจำลองการเคลื่อนไหวของของคน(และสิ่งมีชีวิต)จากของจริงยังคงทำได้ยาก แม้ว่าจะเป็นเกมสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี Motion Capture แล้วก็ตาม
การที่ใส่คนลงไปในฉากอาจถูกจับได้ว่ามาจากเกม เนื่องจากเกมนี้มีอนิเมชั่นของคนที่แข็งทื่อมาก
Heads Up Display (HUD) มีให้เห็นชัดเจน
บางเกมจะมีในส่วนของ UI เช่นการเลือกอาวุธ จำนวนกระสุน สถานะของยานพหนะ ข้อความในเกม ฯลฯ ให้เห็น ส่วนมากมักจะมาจากมุมหรือขอบของจอที่ถ่าย
Particle Effects ที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ
แม้ว่าจะเป็นเกมสมัยใหม่ส่วนใหญ่จะมีปัญหาในการจำลองการระเบิด ควัน ไฟ และฝุ่นให้ได้ตามธรรมชาติก็ตาม ให้สังเกตได้ง่ายๆจากสิ่งแวดล้อมรอบๆฉาก
ยานพหนะ อาวุธยุทโธปกรณ์ ชุดเครื่องแบบ ที่ไม่สมจริง/ไม่สมเหตุสมผล
ข้อนี้สำหรับผู้ที่มีความรู้ในเรื่องยุทโธปกรณ์ จะสามารถจำแนกได้เลยว่า มันปลอมแน่นอน เช่นตัวอย่างที่เห็นได้บ่อยจากคลิปปลอมคือ C-RAM ของอเมริกายิงเครื่องบินของอเมริกาด้วยกันเองตก หรือแม้กระทั่งหน่วยรบที่ใช้เครื่องหมาย/ลายพรางที่ไม่มีอยู่จริงหรือผิดเพี้ยนไป
และสุดท้าย ทางผู้พัฒนาเกมขอให้ผู้เล่นและ content creator นั้น ใช้ Footage จากเกมอย่างมีความรับผิดชอบ เมื่อแชร์เนื้อหาไปแล้ว ให้หลีกเลี่ยงการพาดหัวคลิป Clickbait และ ระบุให้ชัดเจนเสมอว่า"คลิปนี้ ทำขึ้นมาจากในเกม"
Source : https://www.bohemia.net/blog/arma-3-footage-being-used-as-fake-news
จริงๆแล้ว เรื่องนี้ถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีหลายๆครั้งแล้วที่หลายๆข่าว หลายๆสำนักข่าวนั้นหลงเอาคลิปหรือภาพจากในเกมมาใช้ นอกจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์แล้ว การสร้างเกมในปัจจุบัน เทคโนโลยีนั้นก้าวกระโดดมากและสามารถถ่ายถอด Gameplay ได้อย่างเหมือนของจริงมาก จนทำให้คนที่ไม่ได้อยู่ในวงการนี้หรือตามเทคโนโลยีไม่ทัน หลงเข้าใจผิดกันได้ง่าย
ตามคลิปนี้
และจากเรื่องนี้ ผมหวังว่าจะไม่มีสำนักข่าวในไทยสำนักใหน....หลงเอาคลิปจากเกมมาใช้นะครับ เพราะว่าสำนักข่าวในไทยส่วนใหญ่เดี๋ยวนี้คือ ขี้เกียจกันมาก แล้วข่าวส่วนใหญ่ว่า 60-70% มาจากโซเชี่ยลมีเดียทั้งนั้น โดนเฉพาะจาก Facebook และ Tiktok