The Observation Tree Leaves
การพรางตัวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสงคราม
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
มีความคิดสร้างสรรค์ที่ยอดเยี่ยมมาก
ในการตรางตัวไม่ให้ศัตรูรู้ได้
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
ทั้งสองฝ่ายต่างคอยเฝ้าดูแนวรบของศัตรูอย่างต่อเนื่อง
แต่นั่นไม่ใช่เรื่องง่ายดายนัก
เพราะเพียงแค่โผล่หัวขึ้นไปเหนือแนวป้องกันกระสุน
ถ้าเกิดโผล่ขึ้นนานกว่า 2-3 วินาทีก็มักจะถูกยิงแล้ว
ดังนั้น ทหารฝรั่งเศสจึงเริ่มพลางตัวด้วยการหลบอยู่ในเสาต้นไม้
จากนั้นฝรั่งเศสก็ก็สอนทหารอังกฤษถึงวิธีการทำ
ต่อมาทหารเยอรมันก็เริ่มใช้เสาต้นไม้พรางเช่นกัน
1.
แต่แนวหน้าฝั่งตรงข้ามที่พวกศัตรูขุดสนามเพลาะหรือแนวป้องกันอยู่
มักจะถูกศัตรูอีกฝ่ายเฝ้าดูอยู่ตลอดเวลา
จึงไม่มีใครสามารถสร้างต้นไม้ปลอม/ต้นไม้พรางต้นใหม่ขึ้นมาใหม่ได้
เพราะถ้าเกิดมีต้นไม้ใหม่โผล่ขึ้นมาจากที่ไหน
ก็จะดึงดูดความสนใจและโดนถล่มได้โดยง่าย
ดังนั้น ต้นไม้ปลอม/พรางจึงต้องสร้างแทนที่ต้นไม้เดิมที่มีอยู่แล้ว
ต้นไม้ที่ตายแล้วเพราะถูกระเบิด
ยิ่งโดนระเบิดใกล้กับสนามเพลาะก็จะถูกคัดเลือกให้ใช้งาน
ต้นไม้ต้นนั้นจะถูกถ่ายภาพและศึกษาอย่างละเอียด
มีการวัดและร่างภาพ ทำแบบจำลองขึ้นมา
แล้วสอดเหล็กกลวงเข้าไปด้านใน
การเตรียมอุปกรณ์และวัสดุในการทำงานจะทำที่แนวหลัง
ในเวลากลางคืนภายใต้ความมืดปกคลุมและเสียงระเบิดของปืนใหญ่
ต้นไม้จริงจะถูกตัดโค่นลง แล้วติดตั้งต้นไม้ปลอมขึ้นแทน
โดยปืนใหญ่จะยังระดมยิงอย่างต่อเนื่อง
เพื่อกลบเสียงดังของการติดตั้งต้นไม้ปลอม
ฐานของต้นไม้ปลอมจะขุดฝังให้จมลงไปในดิน
และทางเข้าของต้นไม้ปลอมจะถูกปกปิด
มีการพรางไม่ให้เห็นร่องน้ำหรือนคูน้ำ
ที่ทอดขึ้นไปบนต้นไม้จากการถ่ายภาพทางอากาศเป็นของแถม
ทหารคนหนึ่งจะเข้าไปในเสาสังเกตการณ์ที่ทำขึ้นเป็นต้นไม้ปลอม
โดยไต่ขึ้นจากฐานและปีนตามขั้นบันไดที่ยึดติดกับด้านในของท่อเหล็ก
ทหารจะคอยเฝ้าดูตำแหน่งของศัตรู ผ่านรูที่มองเห็นหลายรู
และเพื่อการป้องกันทหารการถูกยิงใส่
ทหารมักจะใช้กล้องปริทรรศน์
เพื่อมองทะลุผ่านรูขณะที่อยู่ด้านหลังต้นไม้ที่ทำด้วยเหล็ก
การมองจากต้นไม้มาจากหลักการ Bird Eyes View
คือ มองไกล มองจากที่สูง
จะเห็นภาพแนวรบศัตรูได้ชัดเจนกว่า
เพราะยุคนั้นเครื่องบินถ่ายภาพทางอากาศ
และการล้างอัดภาพยังล้าหลังมาก
การมองจากกล้องส่องทางไกลก็จะได้ภาพแนวราบ
ไม่เหมาะกับการรบในยุคที่ขุดสนามเพลาะยิงใส่กัน
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/2InRxWc
https://bit.ly/2U2wlXT
https://bit.ly/2KGCYyP
https://bit.ly/2DjOg5X
2.
ภาพร่างต้นไม้ปลอมเพื่อเฝ้าสังเกตจากด้านหลัง Photo credit: Imperial War Museum
3.
ภาพเสก็ตจากจิตรกร Photo credit: Imperial War Museum
4.
โครงสร้างภายในต้นไม้ปลอมที่ใช้เฝ้าสังเกต Photo credit: Imperial War Museum
5.
ภาพตัดขวางต้นไม้ปลอมเพื่อสังเกตการณ์รบโดยทหาร Photo credit: Imperial War Museum
6.
ภาพวาดการติดตั้งต้นไม้ปลอมในสนามรบ 1916 โดย Solomon. Photo credit: Imperial War Museum
7.
ผ้าใบและต้นไม้เหล็กที่ใช้สังเกตการณ์รบโดยทหาร ใกล้ Souchez 15 พฤษภาคม 1918 Photo credit: Imperial War Museum
8.
ทางเข้าพรางด้วยผ้าใบก่อนเข้าไปในเสาเหล็กต้นไม้ปลอม
ใกล้กับ Souchez 15 พฤษภาคม 1918. Photo credit: Imperial War Museum
9.
นายทหารสองนามไม่ทราบชื่อกำลังสำรวจต้นไม้ปลอมใช้สังเกตการณ์ของสนามเพลาะทหารเยอรมันนี
Photo credit: Australian War Memorial
10.
ต้นไม้พรางช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 มีส่วนประกอบทำด้วยเหล็กด้านในประกบเปลือกไม้ Image © IWM.
11.
แนวติดตั้งต้นไม้ปลอมและวิสัยทัศน์ในการสำรวจ
12.
จุดพิกัดที่ติดตั้งในแผนที่ทหาร
13.
ท่อนไม้/เปลือกไม้ด้านนอก กับรูสังเกตการณ์
บางต้นก็ทำด้วยผ้าใบทาสี
14.
ฐานรากของต้นไม้ปลอม
15.
ด้านในของต้นไม้ปลอม
ต้นไม้ปลอมของทหารในแนวรบด้านหน้า
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
มีความคิดสร้างสรรค์ที่ยอดเยี่ยมมาก
ในการตรางตัวไม่ให้ศัตรูรู้ได้
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
ทั้งสองฝ่ายต่างคอยเฝ้าดูแนวรบของศัตรูอย่างต่อเนื่อง
แต่นั่นไม่ใช่เรื่องง่ายดายนัก
เพราะเพียงแค่โผล่หัวขึ้นไปเหนือแนวป้องกันกระสุน
ถ้าเกิดโผล่ขึ้นนานกว่า 2-3 วินาทีก็มักจะถูกยิงแล้ว
ดังนั้น ทหารฝรั่งเศสจึงเริ่มพลางตัวด้วยการหลบอยู่ในเสาต้นไม้
จากนั้นฝรั่งเศสก็ก็สอนทหารอังกฤษถึงวิธีการทำ
จึงไม่มีใครสามารถสร้างต้นไม้ปลอม/ต้นไม้พรางต้นใหม่ขึ้นมาใหม่ได้
เพราะถ้าเกิดมีต้นไม้ใหม่โผล่ขึ้นมาจากที่ไหน
ก็จะดึงดูดความสนใจและโดนถล่มได้โดยง่าย
ดังนั้น ต้นไม้ปลอม/พรางจึงต้องสร้างแทนที่ต้นไม้เดิมที่มีอยู่แล้ว
ต้นไม้ที่ตายแล้วเพราะถูกระเบิด
ยิ่งโดนระเบิดใกล้กับสนามเพลาะก็จะถูกคัดเลือกให้ใช้งาน
ต้นไม้ต้นนั้นจะถูกถ่ายภาพและศึกษาอย่างละเอียด
มีการวัดและร่างภาพ ทำแบบจำลองขึ้นมา
แล้วสอดเหล็กกลวงเข้าไปด้านใน
การเตรียมอุปกรณ์และวัสดุในการทำงานจะทำที่แนวหลัง
ในเวลากลางคืนภายใต้ความมืดปกคลุมและเสียงระเบิดของปืนใหญ่
ต้นไม้จริงจะถูกตัดโค่นลง แล้วติดตั้งต้นไม้ปลอมขึ้นแทน
โดยปืนใหญ่จะยังระดมยิงอย่างต่อเนื่อง
เพื่อกลบเสียงดังของการติดตั้งต้นไม้ปลอม
ฐานของต้นไม้ปลอมจะขุดฝังให้จมลงไปในดิน
และทางเข้าของต้นไม้ปลอมจะถูกปกปิด
มีการพรางไม่ให้เห็นร่องน้ำหรือนคูน้ำ
ที่ทอดขึ้นไปบนต้นไม้จากการถ่ายภาพทางอากาศเป็นของแถม
ทหารคนหนึ่งจะเข้าไปในเสาสังเกตการณ์ที่ทำขึ้นเป็นต้นไม้ปลอม
โดยไต่ขึ้นจากฐานและปีนตามขั้นบันไดที่ยึดติดกับด้านในของท่อเหล็ก
ทหารจะคอยเฝ้าดูตำแหน่งของศัตรู ผ่านรูที่มองเห็นหลายรู
และเพื่อการป้องกันทหารการถูกยิงใส่
ทหารมักจะใช้กล้องปริทรรศน์
เพื่อมองทะลุผ่านรูขณะที่อยู่ด้านหลังต้นไม้ที่ทำด้วยเหล็ก
การมองจากต้นไม้มาจากหลักการ Bird Eyes View
คือ มองไกล มองจากที่สูง
จะเห็นภาพแนวรบศัตรูได้ชัดเจนกว่า
เพราะยุคนั้นเครื่องบินถ่ายภาพทางอากาศ
และการล้างอัดภาพยังล้าหลังมาก
การมองจากกล้องส่องทางไกลก็จะได้ภาพแนวราบ
ไม่เหมาะกับการรบในยุคที่ขุดสนามเพลาะยิงใส่กัน
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/2InRxWc
https://bit.ly/2U2wlXT
https://bit.ly/2KGCYyP
https://bit.ly/2DjOg5X