หลักการชำระบาปของพระแม่คงคา
หลักการชำระบาปของพระแม่คงคา มี ๓ ข้อ ดังนี้
๑. รู้ว่าบาปอะไร? และรู้ว่าเราเคยทำผิดอะไรมา?
๒. สำนึกผิดตั้งใจจะละบาปนั้น คือ ไม่เอาอกุศลกรรมนั้นแล้ว ความชั่วนั้นมีอะไรบ้าง เราจะไม่ทำความชั่วนั้นอีก และเมื่อเราจะละกรรมที่ไม่ดีนี้เราจะต้องแก้ไขกรรมใหม่
๓. ขอโอกาสในความตั้งใจที่จะทำตัวใหม่ เราตั้งใจจะทำอะไรใหม่ จะทำดีอะไรบ้าง? ทั้งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม นิสัยที่ชั่วใหม่
นี่คือ หัวใจในการชำระล้างบาป
การลงชำระล้างบาปในแม่น้ำคงคา ก็เปรียบเสมือนการสาบาน คือ เข้าสู่การหล่อหลอมสู่อ้อมกอดของพระแม่คงคา แล้วสาบานกับพระแม่คงคาว่าเราจะทำอะไร? โดยอาศัยความเมตตาของพระแม่ฯ อ้อมอกของพระแม่ฯ เป็นการกลับสู่อ้อมอกของแม่ แม่ย่อมให้อภัยเสมอ ถ้าลูกสำนึกผิด
เจตนาที่บางคนไปอาบน้ำชำระบาปที่แม่น้ำโขง ประเทศไทย เช่น อำเภอเชียงแสน เป็นต้น เราถือว่าเราพบกับพระแม่คงคามีเจตนาที่เหมือนกัน
ฤาษี โยคี ผู้บำเพ็ญบางคนก็ลงไปชำระล้างบาปที่แม่น้ำทุกวัน หรือบางคนก็ชำระบางวัน บางคนก็ถือเป็นวาระ หรือกี่ครั้งก็แล้วแต่ สุดแล้วแต่บุคคลนั้นจะตั้งปณิธานไว้
แล้วทำไมการชำระล้างบาปที่แม่น้ำคงคา ทำไมต้องมาลง ณ จุดนี้ จุดอื่นก็มีทำไมไม่ไป?
ก็เพราะว่าถือว่า จุดตรงนี้ถือว่าเป็นจุดสรณะไปแล้ว มันมีความสัปปายะ ก็เหมือนกับว่าทำไมทางศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมจากทั่วโลกถึงอยากจะไปแสวงบุญประกอบพิธีฮัจญ์ ที่เมืองเมกกะ หรือมักกะตุลมุกัรเราะมะฮ์ ในประเทศซาอุดีอาระเบีย (The Kingdom of Saudi Arabia) ทำไมต้องไปหาหินก้อนดำก้อนนั้น
เช่นเดียวกับประเทศไทย มีจุดเหมือนกันว่า ทำไมเวลาไปสาบานจำเป็นต้องไปสาบานวัดพระแก้ว (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๒๕) ก็ลองคิดดู ทั้งๆ ที่วัดอื่นๆ ก็มี เช่น วัดโพธิ์ วัดมหาธาตุฯ เป็นต้น แต่ผู้คนก็ไม่นิยมไปสาบานกัน เพราะที่แห่งนี้ผู้คนทั้งหลายยอมรับว่าเป็นสรณะแล้ว แล้วสถานที่แห่งนั้นก็มีความพร้อมสัปปายะแล้ว
แม่น้ำคงคา ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวทย์ คัมภีร์ปูรณะ และมหากาพย์ รามายณะ และมหาภารตะ เชื่อกันว่า พระแม่คงคาสถิตย์อยู่บนพระเศียรของพระศิวะในฐานะมเหสีองค์ที่ ๒ อยู่ ณ เมืองพาราณสี หรือ วาราณสี (Varanasi) เป็นชื่อของเมืองหลวงแคว้นกาสี ประเทศอินเดีย แม่น้ำคงคามีต้นกำเนิดทางภาคเหนือของอินเดีย บริเวณเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียไปทางตะวันออก และรวมกับแม่น้ำพรหมบุตรที่ประเทศบังกลาเทศ ก่อนจะไหลออกที่อ่าวเบงกอล แม่น้ำคงคานั้นมีความยาวประมาณ ๒,๕๑๐ กิโลเมตร
พระแม่คงคามีสิทธิการิยะอะไร ในการชำระล้างบาปให้กับมวลมนุษย์?
พระแม่คงคามีสิทธิในการชำระล้างบาป ดังนี้
๑. สิทธิโดยธรรม ถ้าเรามีสิ่งสกปรกเราจะใช้อะไรล้างให้สะอาด ก็ต้องใช้น้ำ เพราะเป็นสิทธิโดยธรรม น้ำนี้จะทำให้สะอาด
แล้วใครเป็นผู้ตั้งเจตนาในการชำระล้างนี้ ก็คือผู้หญิงคนหนึ่งชื่อว่า "คงคา" ผู้หญิงคนนี้เป็นพี่สาวของพระแม่อุมาเทวีหรือพระแม่ปารวตี เพราะว่า นางคงคามีความตั้งใจที่จะให้ผู้หนึ่งผู้ใดสำนึกบาป แก้ไขบาป และส่งเสริมให้มีการกลับเนื้อกลับตัวแก้ไขกรรมใหม่ อันนี้คือเจตนาของท่าน
เจตนาของนางคงคา (+) บวกกับน้ำ กลายเป็นว่าสรณะในการชำระล้างบาป
ทีนี้สรณะชำระล้างบาปตรงนี้ ก็จะมีคัมภีร์ต่างๆ เรื่องเล่ามากมายมาสนับสนุนส่งเสริมให้มีการชำระล้างบาป เช่น ประวัติของพระแม่คงคา
ส. พลายน้อย (๒๕๔๔ : ๑๙๖-๑๙๙) ได้เล่าเรื่องว่า ครั้งหนึ่งท้าวสัครราชกษัตริย์สุริยวงศ์ ครองนครศรีอโยธยา ได้ตั้งพิธีอัศวเมธ ณ ที่ระหว่างเขาหิมพานและเขาวินธัย ร้อนถึงพระอินทร์ต้องแปลงร่างเป็นรากษส ขโมยเอาม้าสำคัญในพิธีไป ท้าวสัครจึงใช้ให้โอรสซึ่งเกิดแต่นางสุมดี จำนวน ๖๐,๐๐๐ คน ออกติดตาม (นางสุมดีทรงครรภ์ประสูติเป็นน้ำเต้า เมื่อเก็บไว้ได้ แตกออกมามีกุมาร ๖๐,๐๐๐ คน ออกมาจากน้ำเต้า ต้องใช่ผอบแช่น้ำมันเนยไว้จนโต) กุมารทั้งหกหมื่นคนออกเที่ยวหาขุดแผ่นดินค้นหาม้าสำคัญ พวกสัตว์ทั้งหลายพากันกลัวว่าโลกนี้จะทลุจึงพากันไปทูลฟ้องต่อพระพรหม พระพรหมท่านจึงได้มอบหมายให้พระนารายณ์ลงไปช่วยเหลือ พ่อวิษณุนารายณ์จึงอวตารเป็นพระกบิล (ลิง) ลงไปอยู่ใต้ดินตรงที่กุมารอยู่นั้น กุมารทั้งหกหมื่นคนจึงทำร้ายลิง ลิงตัวนี้จึงแผลงฤทธิ์ไฟไหม้ทั้งหกหมื่นคนตายหมด
ท้าวสัครเห็นโอรสหายไปนานก็ให้พระอังศุมานผู้เป็นหลาน (เป็นโอรสของพระอสะมัญชะผู้เป็นโอรสของท้าวสัคร) ไปตามหาอังศุมานตามไปก็พบแต่กระดูกจะหาน้ำมารดก็ไม่มี จึงไปเสาะหาน้ำ ก็ไปพบกับพญาครุฑ พญาครุฑจึงอธิบายว่า กุมารเหล่านี้ตายเพราะฤทธิ์ของพระกบิล จะใช้น้ำธรรมดามารดนั้นหาควรไม่ ต้องใช้น้ำจากสวรรค์ คือ พระแม่คงคามารด จึงจะชุบชีวิตกุมารนี้ได้ ท้าวอังศุมาน ทราบเช่นนั้นก็กลับไปบอกกับท้าวสัครให้ทรงทราบ ท้าวสัครก็ทำพิธีอัญเชิญจนตัวเองสิ้นพระชนม์ก็ยังไม่สำเร็จอีก ต่อมาพระอังศุมานขึ้นครองราชย์แทน แล้วเวนราชสมบัติให้กับโอรส ชื่อว่า ท้าวทิลีป แล้วพระองค์ทรงผนวชออกบวช บำเพ็ญตบะอัญเชิญพระแม่คงคาก็ยังไม่สำเร็จอีก
ในที่สุดท้าวภคีรถได้มอบพระนครให้อำมาตย์รักษาไว้ เพราะว่าไม่มีพระโอรส แล้วไปบำเพ็ญตบะขออัญเชิญพระแม่คงคา จนพ่อพรหมเห็นใจ เสด็จลงมาประทานพรให้ ท้าวภคีรถก็ขอให้พระแม่คงคามารถพระอังคาร (เถ้ากระดูก) ของกุมารทั้ง ๖ หมื่น ฟื้นคืนชีพ พ่อพรหมก็ประทานพรให้สำเร็จ แต่ทรงตรัสเตือนว่า ถ้าปล่อยให้น้ำคงคาใหลลงมาจากสวรรค์จะทำให้โลกนี้พังทลายลงได้ ต้องอาศัยบารมีของพ่อศิวะ จึงจะพ้นจากวิกฤตินี้ ท้าวภคีรถก็ได้บำเพ็ญตบะขอให้พ่อศิวะลงมาช่วย แล้วพ่อศิวะก็ประทานพรช่วยเหลือ
เมื่อถึงเวลา พระแม่คงคาจะลงมาจากสวรรค์ พ่อศิวะก็ไปรองรับไว้ด้วยพระเกศา (พ่อศิวะจึงได้ชื่ออีกนามหนึ่งว่า "คงคาธร") พระแม่คงคาจึงเข้าไปไหลวนอยู่ในระหว่างพระเกศาและไหลลงมาสู่โลกมนุษย์
และพระแม่คงคาใหลไปตามรอยรถของพระที่นั่งท้าวภคีรถ ไหลผ่านไปทางใดพวกประชาชน ฤาษีชีไพรก็ต่างดีใจกันยกใหญ่ ต่างชำระบาปกัน เพื่อจะได้ขึ้นสวรรค์ และในขณะนั้นเอง น้ำพระแม่คงคาใหลผ่านมณฑลพิธีของพระชนหุดาบส หรือชหนุ จนท่วมมณฑลพิธีของท่าน ท่านจึงเกิดโทสะ อ้าปากกลืนกินพระแม่คงคาไว้ เทวดาทั้งหลายเห็นเข้าจึงไปขอไว้ พระชหนุจึงให้ใหลออกทางหู พระแม่คงคาจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า ชาหฺนวี คือ สมมติให้เป็นบุตรีของพระชาหฺนวี
จากนั้นพระแม่คงคาไหลตามรถท้าวภคีรถไปจนถึงที่อังคาร (กระดูก) ของกุมารทั้ง ๖ หมื่นคนก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมา
พอมีน้ำ น้ำนี้ก็จะท่วมโลก ท่วมสิ่งต่างๆ จึงต้องมีพลังพ่อศิวะคือการเปลี่ยนแปลงควบคุมน้ำให้มีความพอดี
บางคนก็จะบอกว่าสมัยก่อนก็มีน้ำอยู่แล้วนี่ มีนี่มีแน่ แต่ยังไม่มีประวัติความเป็นมา แต่พอมาตอนนี้มีแล้ว ก็กลายเป็นว่าหมู่บ้านนี้มีน้ำฝน มีสายน้ำทำให้เกิดความสดชื่นขึ้นมาได้ ฉะนั้น คนทั้งหลายจึงมีความคิดขึ้นมาว่า คนเราถ้าหากว่าสำนึกบาปแล้วแก้ไขบาปแล้ว สิ่งที่เป็นมงคลของสิ่งศักดิ์ิสิทธิ์ก็จะมาช่วย นี่แหละเป็นที่มาว่า ใครๆ ก็อยากจะมาชำระล้างบาป เพราะเกิดสิ่งดี พอมีเรื่องเล่าหลายๆ เรื่อง จึงเกิดมาความศรัทธา ประเพณี วัฒนธรรมขึ้นมา มุ่งหมายที่จะให้เป็นเช่นนั้น จึงมีขบวนการอย่างนี้ขึ้นมาในการอาบน้ำ
ความหมายเจตนาในการอาบน้ำคงคาชำระบาปก็คือ สำนึกผิด แล้วยอมรับแก้ไข แล้วขอโอกาส
๒. เจตนาของผู้หญิงชื่อว่า "คงคา" สงสารคน ตั้งอกตั้งใจ ตั้งปณิธานที่จะช่วยเหลือคน ก็เหมือนกับพระแม่กวนอิมโพธิสัตว์ที่ตั้งอกตั้งใจบำเพ็ญที่จะไถ่ทุกข์ของคน
"น้ำ" (H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน ๑ อะตอมและไฮโดรเจน ๒ อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์) "น้ำ" นี้ไม่ใช่ตัวหรือองค์พระแม่คงคา แต่สิ่งที่ชำระบาปนี้คือเจตนาของพระแม่คงคา เพราะว่าน้ำเป็นสิ่งธรรมชาติอยู่แล้วในการชำระ ก็เพราะว่าเวลาเราเกิดสิ่งสกปรกขึ้นมาแล้วเราจะนึกถึงอะไร ก็ต้องนึกถึง "น้ำ" ที่จะนำมาชำระ นี่แหละมีในธรรมชาติอยู่แล้ว แต่เจตนาของพระแม่คงคาเสริมให้ธรรมชาติตรงนี้เด่นชัดขึ้น เราจึงถือว่าพระแม่คงคาเป็น "นิมิตหมาย" ในการชำระล้างบาป
อย่างเช่น พ่อพิฆเณศ มีพลังในการขจัดอุปสรรค ก็เพราะว่าท่านมีนิมิตหมาย ก็เพราะว่าท่านจะมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับอุปสรรคแล้วพ่อพิฆเณศแก้ไขจัดการได้ เช่น อสูรมาทำให้เทวดาวุ่นวายไปหมดไม่มีใครจัดการได้ แต่พ่อพิฆเณศจัดการได้ จึงเป็น "นิมิตหมาย" ว่าท่านแก้ไขจัดการแก้ไขอุปสรรคนี้ได้ เป็นผู้มีปัญญา นี่แหละต้องมี "นิมิตหมาย"
พลังมหาเทพทั้ง ๓ ได้แก่ พ่อพรหม คือ พลังก่อเกิด พ่อวิษณุนารายณ์ คือ พลังดำรงรักษา พ่อศิวะ คือ พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง
พ่อพรหมไม่ใช่ตัวก่อเกิด แต่เป็นผู้ดูแลบริหารพลังก่อเกิด หมายความว่า ตัวธรรมชาติมีอยู่แล้ว เช่น น้ำ ฝนตก ไฟ พลังการก่อเกิด การดำรงรักษา พลังการเปลี่ยนแปลง ฯลฯ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้มีอยู่แล้ว แต่ว่าองค์เทพ เทวดาท่านมาบริหารจัดการเท่านั้นเอง ยกตัวอย่างอีกเช่น "ไฟ"
(ไฟเป็นการออกซิเดชันของวัสดุอย่างรวดเร็วในกระบวนการเผาไหม้ชนิดคายความร้อนซึ่งปล่อยความร้อน แสงสว่าง และผลิตภัณฑ์มากมายจากปฏิกิริยากระบวนการออกซิเดชันที่ช้ากว่านั้น เช่น การขึ้นสนิม หรือการย่อยอาหาร ไม่นับรวมในนิยามนี้ และเปลวไฟมีส่วนประกอบหลัก ๆ คือ คาร์บอนไดออกไซด์ ไอน้ำ ออกซิเจน และไนโตนเจน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
"ไฟ" นี้ก็จะมีพระอัคคีมาดูแล แต่พระอัคคีไม่ใช่ตัวไฟ
"น้ำ" นี้ก็จะมีพระแม่คงคาดูแล แต่พระแม่คงคาไม่ใช่ตัวน้ำ
"ลม" ก็จะมีพระวายุดูแล แต่ตัวลมนี้ไม่ใช่พระวายุ
ฉะนั้น พลังเจตนาที่จะให้เป็นไปอย่างไรนี่แหละเป็นองค์เทพ เทวดาบริหารดูแลธรรมชาตินั้นๆ เช่น พ่อพรหม ดูแลพลังก่อเกิด "ไฟ" เป็นความร้อนก็จะมีพระอัคคีมาดูแล เป็นต้น
แต่ในเจตนานี้ก็จะมีเหตุที่ละเอียดสุขุมลุ่มลึกเข้าไปของแต่ละองค์
ฉะนั้น เราอย่าไปเข้าใจผิด เช่น ลมพัดมา ไม่ใช่พระวายุเป็นลม แต่พระวายุดูแลบริหารลม
ก็เหมือนกับท่านกวนอู (關羽) ตัวท่านเป็นนักรบ แล้วจะมาวุ่นวายอะไรกับคนมาทำธุรกิจ ค้าขาย แต่เพราะว่าท่านมีพลังแห่งความซื่อสัตย์ ภักดี เพราะนี่เป็นเครื่องหมายของการทำงานร่วมกันได้ เราต้องเข้าใจตรงนี้
ไฉ่สิ่ง
(財神爺) ไม่ใช่ผู้ทำเงิน ให้เกิดเงินทอง แต่เป็นผู้ดูแลเงิน เหมือนกับกระทรวงการคลัง ไม่ใช่ผู้ทำเงินทอง แต่เขาดูแลเงินทอง กระทรวงการคลังจะผลิตเงินเองไม่ได้ เช่น จะผลิตเงินเป็นพันล้าน หมื่นล้านไม่ได้ ถ้าผลิตเงินตามใจตนก็จะเกิดปัญหาเศรษฐกิจ อย่างเช่นประเทศสาธารณรัฐซิมบับเว (Republic of Zimbabwe) ได้ กระทรวงการคลังต้องมีองค์ประกอบถึงจะผลิตเงินธนบัตรได้ เช่น ธนบัตรที่พิมพ์ออกมา จะต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันและทุนสำรองเงินตรา ตามพระราชบัญญัติเงินตรา พุทธศักราช ๒๕๐๑ มาตรา ๓๐ กำหนดสิ่งอันชอบด้วยกฎหมายที่ประกอบขึ้นเป็นทุนสำรองเงินตรา
ฉะนั้ัน เทพทุกองค์เป็นผู้บริหารดูแล แต่ไม่ใช่ผู้ให้กำเนิด
สมมติว่า เราฆ่าคนตาย คนหนึ่ง แล้วจะให้พระแม่คงคาชำระล้างบาปอย่างนี้ได้ไหม?
ชำระได้ แต่เราต้องทำตาม ๓ ข้อข้างต้นนี้ คือ
๑. ยอมรับผิด
๒. ตั้งใจว่าจะแก้ไข จะไม่ทำกรรมที่ไม่ดีนี้อีกต่อไป
๓. แล้วพระแม่คงคาก็จะให้โอกาสว่า ต่อไปนี้เราจะต้องประพฤติตัวยังไง? แล้วเจ้ากรรมนายเวรถึงจะยอมรับได้
เหมือนกับโจรองคุลิมาล ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ได้ลบล้างบาปท่านออกเลย แต่ขึ้นอยู่กับว่าท่านทำอะไรบ้าง? เพื่อให้เจ้ากรรมนายเวรเห็นใจ แล้วจึงกลายเป็นอโหสิกรรม นี่แหละ ของโจรองคุลิมาลก็อยู่ใน ๓ ขบวนการนี้เช่นเดียวกัน
กระบวนการชำระล้างบาปของพระแม่คงคา เนื้อความไม่ต่างอะไรของพระพุทธเจ้าเลย ทั้งวิธีการ เพียงแต่ว่าคำพูดเท่านั้นที่แตกต่างกัน
แรกๆ พระพุทธเจ้าต้องไปสอนองคุลิมาลว่าคุณทำผิดนะ คุณยอมรับผิดไหม? คุณต้องสำนึกผิด
พอขั้นที่ ๒ องคุลิมาลก็ตั้ังใจว่าจะไม่ทำกรรมชั่วอีกต่อไปแล้ว ยุติการฆ่า วางดาบแล้ว
พระแม่คงคา ชำระล้างบาปได้อย่างไร?
หลักการชำระบาปของพระแม่คงคา มี ๓ ข้อ ดังนี้
๑. รู้ว่าบาปอะไร? และรู้ว่าเราเคยทำผิดอะไรมา?
๒. สำนึกผิดตั้งใจจะละบาปนั้น คือ ไม่เอาอกุศลกรรมนั้นแล้ว ความชั่วนั้นมีอะไรบ้าง เราจะไม่ทำความชั่วนั้นอีก และเมื่อเราจะละกรรมที่ไม่ดีนี้เราจะต้องแก้ไขกรรมใหม่
๓. ขอโอกาสในความตั้งใจที่จะทำตัวใหม่ เราตั้งใจจะทำอะไรใหม่ จะทำดีอะไรบ้าง? ทั้งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม นิสัยที่ชั่วใหม่
นี่คือ หัวใจในการชำระล้างบาป
การลงชำระล้างบาปในแม่น้ำคงคา ก็เปรียบเสมือนการสาบาน คือ เข้าสู่การหล่อหลอมสู่อ้อมกอดของพระแม่คงคา แล้วสาบานกับพระแม่คงคาว่าเราจะทำอะไร? โดยอาศัยความเมตตาของพระแม่ฯ อ้อมอกของพระแม่ฯ เป็นการกลับสู่อ้อมอกของแม่ แม่ย่อมให้อภัยเสมอ ถ้าลูกสำนึกผิด
เจตนาที่บางคนไปอาบน้ำชำระบาปที่แม่น้ำโขง ประเทศไทย เช่น อำเภอเชียงแสน เป็นต้น เราถือว่าเราพบกับพระแม่คงคามีเจตนาที่เหมือนกัน
ฤาษี โยคี ผู้บำเพ็ญบางคนก็ลงไปชำระล้างบาปที่แม่น้ำทุกวัน หรือบางคนก็ชำระบางวัน บางคนก็ถือเป็นวาระ หรือกี่ครั้งก็แล้วแต่ สุดแล้วแต่บุคคลนั้นจะตั้งปณิธานไว้
แล้วทำไมการชำระล้างบาปที่แม่น้ำคงคา ทำไมต้องมาลง ณ จุดนี้ จุดอื่นก็มีทำไมไม่ไป?
ก็เพราะว่าถือว่า จุดตรงนี้ถือว่าเป็นจุดสรณะไปแล้ว มันมีความสัปปายะ ก็เหมือนกับว่าทำไมทางศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมจากทั่วโลกถึงอยากจะไปแสวงบุญประกอบพิธีฮัจญ์ ที่เมืองเมกกะ หรือมักกะตุลมุกัรเราะมะฮ์ ในประเทศซาอุดีอาระเบีย (The Kingdom of Saudi Arabia) ทำไมต้องไปหาหินก้อนดำก้อนนั้น
เช่นเดียวกับประเทศไทย มีจุดเหมือนกันว่า ทำไมเวลาไปสาบานจำเป็นต้องไปสาบานวัดพระแก้ว (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๒๕) ก็ลองคิดดู ทั้งๆ ที่วัดอื่นๆ ก็มี เช่น วัดโพธิ์ วัดมหาธาตุฯ เป็นต้น แต่ผู้คนก็ไม่นิยมไปสาบานกัน เพราะที่แห่งนี้ผู้คนทั้งหลายยอมรับว่าเป็นสรณะแล้ว แล้วสถานที่แห่งนั้นก็มีความพร้อมสัปปายะแล้ว
แม่น้ำคงคา ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวทย์ คัมภีร์ปูรณะ และมหากาพย์ รามายณะ และมหาภารตะ เชื่อกันว่า พระแม่คงคาสถิตย์อยู่บนพระเศียรของพระศิวะในฐานะมเหสีองค์ที่ ๒ อยู่ ณ เมืองพาราณสี หรือ วาราณสี (Varanasi) เป็นชื่อของเมืองหลวงแคว้นกาสี ประเทศอินเดีย แม่น้ำคงคามีต้นกำเนิดทางภาคเหนือของอินเดีย บริเวณเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียไปทางตะวันออก และรวมกับแม่น้ำพรหมบุตรที่ประเทศบังกลาเทศ ก่อนจะไหลออกที่อ่าวเบงกอล แม่น้ำคงคานั้นมีความยาวประมาณ ๒,๕๑๐ กิโลเมตร
พระแม่คงคามีสิทธิการิยะอะไร ในการชำระล้างบาปให้กับมวลมนุษย์?
พระแม่คงคามีสิทธิในการชำระล้างบาป ดังนี้
๑. สิทธิโดยธรรม ถ้าเรามีสิ่งสกปรกเราจะใช้อะไรล้างให้สะอาด ก็ต้องใช้น้ำ เพราะเป็นสิทธิโดยธรรม น้ำนี้จะทำให้สะอาด
แล้วใครเป็นผู้ตั้งเจตนาในการชำระล้างนี้ ก็คือผู้หญิงคนหนึ่งชื่อว่า "คงคา" ผู้หญิงคนนี้เป็นพี่สาวของพระแม่อุมาเทวีหรือพระแม่ปารวตี เพราะว่า นางคงคามีความตั้งใจที่จะให้ผู้หนึ่งผู้ใดสำนึกบาป แก้ไขบาป และส่งเสริมให้มีการกลับเนื้อกลับตัวแก้ไขกรรมใหม่ อันนี้คือเจตนาของท่าน
เจตนาของนางคงคา (+) บวกกับน้ำ กลายเป็นว่าสรณะในการชำระล้างบาป
ทีนี้สรณะชำระล้างบาปตรงนี้ ก็จะมีคัมภีร์ต่างๆ เรื่องเล่ามากมายมาสนับสนุนส่งเสริมให้มีการชำระล้างบาป เช่น ประวัติของพระแม่คงคา
ส. พลายน้อย (๒๕๔๔ : ๑๙๖-๑๙๙) ได้เล่าเรื่องว่า ครั้งหนึ่งท้าวสัครราชกษัตริย์สุริยวงศ์ ครองนครศรีอโยธยา ได้ตั้งพิธีอัศวเมธ ณ ที่ระหว่างเขาหิมพานและเขาวินธัย ร้อนถึงพระอินทร์ต้องแปลงร่างเป็นรากษส ขโมยเอาม้าสำคัญในพิธีไป ท้าวสัครจึงใช้ให้โอรสซึ่งเกิดแต่นางสุมดี จำนวน ๖๐,๐๐๐ คน ออกติดตาม (นางสุมดีทรงครรภ์ประสูติเป็นน้ำเต้า เมื่อเก็บไว้ได้ แตกออกมามีกุมาร ๖๐,๐๐๐ คน ออกมาจากน้ำเต้า ต้องใช่ผอบแช่น้ำมันเนยไว้จนโต) กุมารทั้งหกหมื่นคนออกเที่ยวหาขุดแผ่นดินค้นหาม้าสำคัญ พวกสัตว์ทั้งหลายพากันกลัวว่าโลกนี้จะทลุจึงพากันไปทูลฟ้องต่อพระพรหม พระพรหมท่านจึงได้มอบหมายให้พระนารายณ์ลงไปช่วยเหลือ พ่อวิษณุนารายณ์จึงอวตารเป็นพระกบิล (ลิง) ลงไปอยู่ใต้ดินตรงที่กุมารอยู่นั้น กุมารทั้งหกหมื่นคนจึงทำร้ายลิง ลิงตัวนี้จึงแผลงฤทธิ์ไฟไหม้ทั้งหกหมื่นคนตายหมด
ท้าวสัครเห็นโอรสหายไปนานก็ให้พระอังศุมานผู้เป็นหลาน (เป็นโอรสของพระอสะมัญชะผู้เป็นโอรสของท้าวสัคร) ไปตามหาอังศุมานตามไปก็พบแต่กระดูกจะหาน้ำมารดก็ไม่มี จึงไปเสาะหาน้ำ ก็ไปพบกับพญาครุฑ พญาครุฑจึงอธิบายว่า กุมารเหล่านี้ตายเพราะฤทธิ์ของพระกบิล จะใช้น้ำธรรมดามารดนั้นหาควรไม่ ต้องใช้น้ำจากสวรรค์ คือ พระแม่คงคามารด จึงจะชุบชีวิตกุมารนี้ได้ ท้าวอังศุมาน ทราบเช่นนั้นก็กลับไปบอกกับท้าวสัครให้ทรงทราบ ท้าวสัครก็ทำพิธีอัญเชิญจนตัวเองสิ้นพระชนม์ก็ยังไม่สำเร็จอีก ต่อมาพระอังศุมานขึ้นครองราชย์แทน แล้วเวนราชสมบัติให้กับโอรส ชื่อว่า ท้าวทิลีป แล้วพระองค์ทรงผนวชออกบวช บำเพ็ญตบะอัญเชิญพระแม่คงคาก็ยังไม่สำเร็จอีก
ในที่สุดท้าวภคีรถได้มอบพระนครให้อำมาตย์รักษาไว้ เพราะว่าไม่มีพระโอรส แล้วไปบำเพ็ญตบะขออัญเชิญพระแม่คงคา จนพ่อพรหมเห็นใจ เสด็จลงมาประทานพรให้ ท้าวภคีรถก็ขอให้พระแม่คงคามารถพระอังคาร (เถ้ากระดูก) ของกุมารทั้ง ๖ หมื่น ฟื้นคืนชีพ พ่อพรหมก็ประทานพรให้สำเร็จ แต่ทรงตรัสเตือนว่า ถ้าปล่อยให้น้ำคงคาใหลลงมาจากสวรรค์จะทำให้โลกนี้พังทลายลงได้ ต้องอาศัยบารมีของพ่อศิวะ จึงจะพ้นจากวิกฤตินี้ ท้าวภคีรถก็ได้บำเพ็ญตบะขอให้พ่อศิวะลงมาช่วย แล้วพ่อศิวะก็ประทานพรช่วยเหลือ
เมื่อถึงเวลา พระแม่คงคาจะลงมาจากสวรรค์ พ่อศิวะก็ไปรองรับไว้ด้วยพระเกศา (พ่อศิวะจึงได้ชื่ออีกนามหนึ่งว่า "คงคาธร") พระแม่คงคาจึงเข้าไปไหลวนอยู่ในระหว่างพระเกศาและไหลลงมาสู่โลกมนุษย์
และพระแม่คงคาใหลไปตามรอยรถของพระที่นั่งท้าวภคีรถ ไหลผ่านไปทางใดพวกประชาชน ฤาษีชีไพรก็ต่างดีใจกันยกใหญ่ ต่างชำระบาปกัน เพื่อจะได้ขึ้นสวรรค์ และในขณะนั้นเอง น้ำพระแม่คงคาใหลผ่านมณฑลพิธีของพระชนหุดาบส หรือชหนุ จนท่วมมณฑลพิธีของท่าน ท่านจึงเกิดโทสะ อ้าปากกลืนกินพระแม่คงคาไว้ เทวดาทั้งหลายเห็นเข้าจึงไปขอไว้ พระชหนุจึงให้ใหลออกทางหู พระแม่คงคาจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า ชาหฺนวี คือ สมมติให้เป็นบุตรีของพระชาหฺนวี
จากนั้นพระแม่คงคาไหลตามรถท้าวภคีรถไปจนถึงที่อังคาร (กระดูก) ของกุมารทั้ง ๖ หมื่นคนก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมา
พอมีน้ำ น้ำนี้ก็จะท่วมโลก ท่วมสิ่งต่างๆ จึงต้องมีพลังพ่อศิวะคือการเปลี่ยนแปลงควบคุมน้ำให้มีความพอดี
บางคนก็จะบอกว่าสมัยก่อนก็มีน้ำอยู่แล้วนี่ มีนี่มีแน่ แต่ยังไม่มีประวัติความเป็นมา แต่พอมาตอนนี้มีแล้ว ก็กลายเป็นว่าหมู่บ้านนี้มีน้ำฝน มีสายน้ำทำให้เกิดความสดชื่นขึ้นมาได้ ฉะนั้น คนทั้งหลายจึงมีความคิดขึ้นมาว่า คนเราถ้าหากว่าสำนึกบาปแล้วแก้ไขบาปแล้ว สิ่งที่เป็นมงคลของสิ่งศักดิ์ิสิทธิ์ก็จะมาช่วย นี่แหละเป็นที่มาว่า ใครๆ ก็อยากจะมาชำระล้างบาป เพราะเกิดสิ่งดี พอมีเรื่องเล่าหลายๆ เรื่อง จึงเกิดมาความศรัทธา ประเพณี วัฒนธรรมขึ้นมา มุ่งหมายที่จะให้เป็นเช่นนั้น จึงมีขบวนการอย่างนี้ขึ้นมาในการอาบน้ำ
ความหมายเจตนาในการอาบน้ำคงคาชำระบาปก็คือ สำนึกผิด แล้วยอมรับแก้ไข แล้วขอโอกาส
๒. เจตนาของผู้หญิงชื่อว่า "คงคา" สงสารคน ตั้งอกตั้งใจ ตั้งปณิธานที่จะช่วยเหลือคน ก็เหมือนกับพระแม่กวนอิมโพธิสัตว์ที่ตั้งอกตั้งใจบำเพ็ญที่จะไถ่ทุกข์ของคน
"น้ำ" (H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน ๑ อะตอมและไฮโดรเจน ๒ อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์) "น้ำ" นี้ไม่ใช่ตัวหรือองค์พระแม่คงคา แต่สิ่งที่ชำระบาปนี้คือเจตนาของพระแม่คงคา เพราะว่าน้ำเป็นสิ่งธรรมชาติอยู่แล้วในการชำระ ก็เพราะว่าเวลาเราเกิดสิ่งสกปรกขึ้นมาแล้วเราจะนึกถึงอะไร ก็ต้องนึกถึง "น้ำ" ที่จะนำมาชำระ นี่แหละมีในธรรมชาติอยู่แล้ว แต่เจตนาของพระแม่คงคาเสริมให้ธรรมชาติตรงนี้เด่นชัดขึ้น เราจึงถือว่าพระแม่คงคาเป็น "นิมิตหมาย" ในการชำระล้างบาป
อย่างเช่น พ่อพิฆเณศ มีพลังในการขจัดอุปสรรค ก็เพราะว่าท่านมีนิมิตหมาย ก็เพราะว่าท่านจะมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับอุปสรรคแล้วพ่อพิฆเณศแก้ไขจัดการได้ เช่น อสูรมาทำให้เทวดาวุ่นวายไปหมดไม่มีใครจัดการได้ แต่พ่อพิฆเณศจัดการได้ จึงเป็น "นิมิตหมาย" ว่าท่านแก้ไขจัดการแก้ไขอุปสรรคนี้ได้ เป็นผู้มีปัญญา นี่แหละต้องมี "นิมิตหมาย"
พลังมหาเทพทั้ง ๓ ได้แก่ พ่อพรหม คือ พลังก่อเกิด พ่อวิษณุนารายณ์ คือ พลังดำรงรักษา พ่อศิวะ คือ พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง
พ่อพรหมไม่ใช่ตัวก่อเกิด แต่เป็นผู้ดูแลบริหารพลังก่อเกิด หมายความว่า ตัวธรรมชาติมีอยู่แล้ว เช่น น้ำ ฝนตก ไฟ พลังการก่อเกิด การดำรงรักษา พลังการเปลี่ยนแปลง ฯลฯ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้มีอยู่แล้ว แต่ว่าองค์เทพ เทวดาท่านมาบริหารจัดการเท่านั้นเอง ยกตัวอย่างอีกเช่น "ไฟ"
(ไฟเป็นการออกซิเดชันของวัสดุอย่างรวดเร็วในกระบวนการเผาไหม้ชนิดคายความร้อนซึ่งปล่อยความร้อน แสงสว่าง และผลิตภัณฑ์มากมายจากปฏิกิริยากระบวนการออกซิเดชันที่ช้ากว่านั้น เช่น การขึ้นสนิม หรือการย่อยอาหาร ไม่นับรวมในนิยามนี้ และเปลวไฟมีส่วนประกอบหลัก ๆ คือ คาร์บอนไดออกไซด์ ไอน้ำ ออกซิเจน และไนโตนเจน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
"ไฟ" นี้ก็จะมีพระอัคคีมาดูแล แต่พระอัคคีไม่ใช่ตัวไฟ
"น้ำ" นี้ก็จะมีพระแม่คงคาดูแล แต่พระแม่คงคาไม่ใช่ตัวน้ำ
"ลม" ก็จะมีพระวายุดูแล แต่ตัวลมนี้ไม่ใช่พระวายุ
ฉะนั้น พลังเจตนาที่จะให้เป็นไปอย่างไรนี่แหละเป็นองค์เทพ เทวดาบริหารดูแลธรรมชาตินั้นๆ เช่น พ่อพรหม ดูแลพลังก่อเกิด "ไฟ" เป็นความร้อนก็จะมีพระอัคคีมาดูแล เป็นต้น
แต่ในเจตนานี้ก็จะมีเหตุที่ละเอียดสุขุมลุ่มลึกเข้าไปของแต่ละองค์
ฉะนั้น เราอย่าไปเข้าใจผิด เช่น ลมพัดมา ไม่ใช่พระวายุเป็นลม แต่พระวายุดูแลบริหารลม
ก็เหมือนกับท่านกวนอู (關羽) ตัวท่านเป็นนักรบ แล้วจะมาวุ่นวายอะไรกับคนมาทำธุรกิจ ค้าขาย แต่เพราะว่าท่านมีพลังแห่งความซื่อสัตย์ ภักดี เพราะนี่เป็นเครื่องหมายของการทำงานร่วมกันได้ เราต้องเข้าใจตรงนี้
ไฉ่สิ่ง (財神爺) ไม่ใช่ผู้ทำเงิน ให้เกิดเงินทอง แต่เป็นผู้ดูแลเงิน เหมือนกับกระทรวงการคลัง ไม่ใช่ผู้ทำเงินทอง แต่เขาดูแลเงินทอง กระทรวงการคลังจะผลิตเงินเองไม่ได้ เช่น จะผลิตเงินเป็นพันล้าน หมื่นล้านไม่ได้ ถ้าผลิตเงินตามใจตนก็จะเกิดปัญหาเศรษฐกิจ อย่างเช่นประเทศสาธารณรัฐซิมบับเว (Republic of Zimbabwe) ได้ กระทรวงการคลังต้องมีองค์ประกอบถึงจะผลิตเงินธนบัตรได้ เช่น ธนบัตรที่พิมพ์ออกมา จะต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันและทุนสำรองเงินตรา ตามพระราชบัญญัติเงินตรา พุทธศักราช ๒๕๐๑ มาตรา ๓๐ กำหนดสิ่งอันชอบด้วยกฎหมายที่ประกอบขึ้นเป็นทุนสำรองเงินตรา
ฉะนั้ัน เทพทุกองค์เป็นผู้บริหารดูแล แต่ไม่ใช่ผู้ให้กำเนิด
สมมติว่า เราฆ่าคนตาย คนหนึ่ง แล้วจะให้พระแม่คงคาชำระล้างบาปอย่างนี้ได้ไหม?
ชำระได้ แต่เราต้องทำตาม ๓ ข้อข้างต้นนี้ คือ
๑. ยอมรับผิด
๒. ตั้งใจว่าจะแก้ไข จะไม่ทำกรรมที่ไม่ดีนี้อีกต่อไป
๓. แล้วพระแม่คงคาก็จะให้โอกาสว่า ต่อไปนี้เราจะต้องประพฤติตัวยังไง? แล้วเจ้ากรรมนายเวรถึงจะยอมรับได้
เหมือนกับโจรองคุลิมาล ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ได้ลบล้างบาปท่านออกเลย แต่ขึ้นอยู่กับว่าท่านทำอะไรบ้าง? เพื่อให้เจ้ากรรมนายเวรเห็นใจ แล้วจึงกลายเป็นอโหสิกรรม นี่แหละ ของโจรองคุลิมาลก็อยู่ใน ๓ ขบวนการนี้เช่นเดียวกัน
กระบวนการชำระล้างบาปของพระแม่คงคา เนื้อความไม่ต่างอะไรของพระพุทธเจ้าเลย ทั้งวิธีการ เพียงแต่ว่าคำพูดเท่านั้นที่แตกต่างกัน
แรกๆ พระพุทธเจ้าต้องไปสอนองคุลิมาลว่าคุณทำผิดนะ คุณยอมรับผิดไหม? คุณต้องสำนึกผิด
พอขั้นที่ ๒ องคุลิมาลก็ตั้ังใจว่าจะไม่ทำกรรมชั่วอีกต่อไปแล้ว ยุติการฆ่า วางดาบแล้ว