คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
เลิกวาทกรรมบัตรคนจน
ปิดลงทะเบียนไปแล้วสำหรับ โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 โดยมีประชาชนลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน-31 ตุลาคม 2565 จำนวน 22,293,473 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 เวลา 15.00 น.) ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า โครงการดังกล่าวถูกนำไปเป็นประเด็นโจมตีทางการเมือง กล่าวหาว่ารัฐบาลภาคภูมิใจที่มีคนจนเยอะ
มีความพยายามอธิบายในเรื่องนี้ จาก น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีว่า จำนวนลงทะเบียนหรือผู้ที่ได้รับ “บัตรสวัสดิการ” ไม่ใช่จำนวนคนจนในประเทศไทย แต่เป็นกลุ่มที่รัฐบาลต้องการเข้าไปช่วยดูแลลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเปราะบางให้ดีขึ้น เป็นหนึ่งในนโยบายในการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำที่เป็นวาระสำคัญของชาติที่ไม่ใช่คนจนทั้งหมด เพราะทุกรัฐบาลมีเส้นเกณฑ์วัดความจน จากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่มีการวิเคราะห์หลายมิติ ซึ่งในปี 2564 ระบุว่าประเทศไทยมีคนจนอยู่ที่ 4,404,616 ล้านคน คิดเป็น 6.32 % ของประชากรทั้งประเทศ ทั้งนี้ เกณฑ์ตัดสินว่าบุคคลนั้นเข้าข่ายจนหรือไม่จนในปี 2564 คือรายได้ต่อเดือนที่ต้องได้ต่ำกว่า 2,802 บาทต่อคน/ต่อเดือน และหากพิจารณาข้อมูลย้อนไป 10 ปีจากสถิติ ยังพบว่า ในปี 2555 ยังมีคนจนอยู่ถึง 8,441,462 คน
พร้อมกับเผยผลงานในระหว่างปี 2560-2565 รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังมุ่งมั่นแก้ปัญหาคนจนโดยใช้ Big data และระบบวิเคราะห์ข้อมูลแบบชี้เป้า โดยอ้างอิงฐานข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform: TPMAP) โดยข้อมูลการสำรวจนี้จะแตกต่างจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นการนำข้อมูลคนที่ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมาตรวจสอบและลงพื้นที่โดยเจ้าหน้าที่เพื่อสำรวจสอบถามถึงความรุนแรงของปัญหาตามเกณฑ์ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานของกระทรวงมหาดไทย เช่น ในปี 2560 พบมีคนจน 1,702,499 คน จากการสำรวจ 35,999,061 คน และล่าสุด “คนจนเป้าหมาย” ณ วันที่ 25 ม.ค. 2565 ในประเทศไทย ที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนเหลือเพียง 1,025,782 คน จากการสำรวจ 36,103,806 คน และเมื่อแบ่งมิติปัญหาที่ต้องช่วยเร่งด่วนพบว่า 1. ด้านสุขภาพ 218,757 คน 2. ด้านความเป็นอยู่ 220,037 คน 3. ด้านการศึกษา 272,518 คน 4. ด้านรายได้ 506,647 คน 5. ด้านเข้าถึงบริการภาครัฐ 3,335 คน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะสถิติจากตัวชี้วัดใดทั้ง สำนักงานสถิติแห่งชาติ หรือ TPMAP จำนวนคนจนได้ลดลงต่อเนื่อง ยิ่งในช่วงการแก้ปัญหาความยากจนภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเห็นว่าจำนวนลดลงไปหลายล้านคน
ดังนั้นจากยอดการลงทะเบียน 22,293,473 ราย ที่ยื่นลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐปี 2565 จึงไม่ใช่จำนวน ‘คนจน’ ทั้งหมด แต่ด้วยเงื่อนไขที่เปิดโอกาสให้คนที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี หรือแม้แต่ผู้มีบ้าน มีวงเงินกู้สำหรับที่อยู่อาศัยรวมไม่เกิน 1.5 ล้านบาท และมีเงินกู้สำหรับยานพาหนะรวมไม่เกิน 1 ล้านบาท ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้ แต่หากรัฐบาลเลือกใช้เส้นความยากจนเป็นเกณฑ์ กำหนดรายได้ 33,624 บาท/คน/ปี หรือ 2,802 บาทต่อคน/ต่อเดือน จะทำให้การลงทะเบียนมีจำนวนลดลงทันที
เราเห็นด้วยที่ไม่ควรตีตรา ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐว่าเป็น “คนจน” เพราะเป็นสวัสดิการที่รัฐต้องให้การดูแล ให้พวกเขามีสวัสดิการและมีศักดิ์ศรี ลดเหลื่อมล้ำ ฉะนั้นควรถึงเวลาวาทกรรมบัตรคนจน
https://siamrath.co.th/n/399604
ปิดลงทะเบียนไปแล้วสำหรับ โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 โดยมีประชาชนลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน-31 ตุลาคม 2565 จำนวน 22,293,473 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 เวลา 15.00 น.) ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า โครงการดังกล่าวถูกนำไปเป็นประเด็นโจมตีทางการเมือง กล่าวหาว่ารัฐบาลภาคภูมิใจที่มีคนจนเยอะ
มีความพยายามอธิบายในเรื่องนี้ จาก น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีว่า จำนวนลงทะเบียนหรือผู้ที่ได้รับ “บัตรสวัสดิการ” ไม่ใช่จำนวนคนจนในประเทศไทย แต่เป็นกลุ่มที่รัฐบาลต้องการเข้าไปช่วยดูแลลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเปราะบางให้ดีขึ้น เป็นหนึ่งในนโยบายในการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำที่เป็นวาระสำคัญของชาติที่ไม่ใช่คนจนทั้งหมด เพราะทุกรัฐบาลมีเส้นเกณฑ์วัดความจน จากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่มีการวิเคราะห์หลายมิติ ซึ่งในปี 2564 ระบุว่าประเทศไทยมีคนจนอยู่ที่ 4,404,616 ล้านคน คิดเป็น 6.32 % ของประชากรทั้งประเทศ ทั้งนี้ เกณฑ์ตัดสินว่าบุคคลนั้นเข้าข่ายจนหรือไม่จนในปี 2564 คือรายได้ต่อเดือนที่ต้องได้ต่ำกว่า 2,802 บาทต่อคน/ต่อเดือน และหากพิจารณาข้อมูลย้อนไป 10 ปีจากสถิติ ยังพบว่า ในปี 2555 ยังมีคนจนอยู่ถึง 8,441,462 คน
พร้อมกับเผยผลงานในระหว่างปี 2560-2565 รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังมุ่งมั่นแก้ปัญหาคนจนโดยใช้ Big data และระบบวิเคราะห์ข้อมูลแบบชี้เป้า โดยอ้างอิงฐานข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform: TPMAP) โดยข้อมูลการสำรวจนี้จะแตกต่างจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นการนำข้อมูลคนที่ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมาตรวจสอบและลงพื้นที่โดยเจ้าหน้าที่เพื่อสำรวจสอบถามถึงความรุนแรงของปัญหาตามเกณฑ์ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานของกระทรวงมหาดไทย เช่น ในปี 2560 พบมีคนจน 1,702,499 คน จากการสำรวจ 35,999,061 คน และล่าสุด “คนจนเป้าหมาย” ณ วันที่ 25 ม.ค. 2565 ในประเทศไทย ที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนเหลือเพียง 1,025,782 คน จากการสำรวจ 36,103,806 คน และเมื่อแบ่งมิติปัญหาที่ต้องช่วยเร่งด่วนพบว่า 1. ด้านสุขภาพ 218,757 คน 2. ด้านความเป็นอยู่ 220,037 คน 3. ด้านการศึกษา 272,518 คน 4. ด้านรายได้ 506,647 คน 5. ด้านเข้าถึงบริการภาครัฐ 3,335 คน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะสถิติจากตัวชี้วัดใดทั้ง สำนักงานสถิติแห่งชาติ หรือ TPMAP จำนวนคนจนได้ลดลงต่อเนื่อง ยิ่งในช่วงการแก้ปัญหาความยากจนภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเห็นว่าจำนวนลดลงไปหลายล้านคน
ดังนั้นจากยอดการลงทะเบียน 22,293,473 ราย ที่ยื่นลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐปี 2565 จึงไม่ใช่จำนวน ‘คนจน’ ทั้งหมด แต่ด้วยเงื่อนไขที่เปิดโอกาสให้คนที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี หรือแม้แต่ผู้มีบ้าน มีวงเงินกู้สำหรับที่อยู่อาศัยรวมไม่เกิน 1.5 ล้านบาท และมีเงินกู้สำหรับยานพาหนะรวมไม่เกิน 1 ล้านบาท ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้ แต่หากรัฐบาลเลือกใช้เส้นความยากจนเป็นเกณฑ์ กำหนดรายได้ 33,624 บาท/คน/ปี หรือ 2,802 บาทต่อคน/ต่อเดือน จะทำให้การลงทะเบียนมีจำนวนลดลงทันที
เราเห็นด้วยที่ไม่ควรตีตรา ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐว่าเป็น “คนจน” เพราะเป็นสวัสดิการที่รัฐต้องให้การดูแล ให้พวกเขามีสวัสดิการและมีศักดิ์ศรี ลดเหลื่อมล้ำ ฉะนั้นควรถึงเวลาวาทกรรมบัตรคนจน
https://siamrath.co.th/n/399604
แสดงความคิดเห็น
❤️มาลาริน❤️ดัชนีความยากจนหลายมิติ ปี65 พบคนจน มีถึง 1.2 พันล้าน สุดยอด! คนไทยในรบ.ลุงตู่มีดัชนีต่ำสุดในกลุ่มอาเซียน
อ่านรายงานดัชนีความยากจนหลายมิติ ปี 2565 พบ ‘คนจนหลายมิติ’ มีมากถึง 1.2 พันล้านคน – ไทยมีดัชนีต่ำสุดในกลุ่มประเทศอาเซียน
SDG Recommends ชวนอ่านรายงานดัชนีความยากจนหลายมิติฉบับล่าสุด (Multidimensional Poverty Index: MPI) เผยแพร่เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2565 ภายใต้ชื่อ “Unpacking deprivation bundles to reduce multidimensional poverty” จัดทำโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme – UNDP) ร่วมกับโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และแก้ไขความยากจนแห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด (Oxford Poverty and Human Development Initiative – OPHI)
รายงานดังกล่าวนำเสนอดัชนีความยากจนหลายมิติของประเทศกำลังพัฒนา 111 ประเทศทั่วโลก โดยใช้เรื่องสำคัญ 10 เรื่องเป็นตัวชี้วัด ได้แก่ ภาวะโภชนาการ (nutrition) การตายของเด็กแรกเกิด (child mortality) ระยะเวลาในการศึกษาสำเร็จ (years in schooling) การเข้าเรียน (school attendance) เชื้อเพลิงประกอบอาหาร (cooking fuel) การสุขาภิบาล (sanitation) น้ำดื่ม (drinking water) ไฟฟ้า (electricity) ที่อยู่อาศัย (housing) และการครอบครองสินทรัพย์ (asset) โดยค่าดัชนีที่ต่ำลงหมายถึงระดับความยากจนที่ลดลง
สำหรับดัชนีความยากจนหลายมิติของประเทศไทยอยู่ที่ 0.002 ขณะที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับเดียวกันทั้งหมดมีดัชนีที่สูงกว่าไทย ได้แก่ เมียนมาร์ อยู่ที่ 0.176 กัมพูชา อยู่ที่ 0.170 ลาว อยู่ที่ 0.108 ฟิลิปปินส์ อยู่ที่ 0.24 อินโดนีเซีย 0.014 เเละเวียดนาม 0.008
ข้อค้นพบอื่น ๆ ที่น่าสนใจในรายงาน อาทิ ....👇
คนจนหลายมิติมีมากถึง 1.2 พันล้านคน ในจำนวนดังกล่าวเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี กว่า 593 ล้านคน
คนจนมากกว่า 50% หรือ 593 ล้านคน ขาดไฟฟ้าและเชื้อเพลิงสะอาดสำหรับทำอาหาร
เกือบ 40% ของคนจน หรือ 437 ล้านคน ไม่สามารถเข้าถึงน้ำดื่มและการสุขาภิบาล
มากกว่า 30% ของคนจน หรือ 374 ล้านคน ขาดสารอาหาร เชื้อเพลิงประกอบอาหาร สุขอนามัย และที่อยู่อาศัยในเวลาเดียวกัน
คนที่ยากจนหลายมิติกว่า 83% หรือเกือบ 579 ล้านคน อาศัยอยู่ในภูมิภาคแอฟิกาใต้ซาฮารา (Sub-Saharan Africa) และอาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ กว่า 385 ล้านคน
2 ใน 3 ของคนจนอาศัยอยู่ในประเทศที่มีรายได้ปานกลาง
“ความยากจน” เป็นทั้งสาเหตุ และผลกระทบที่เกี่ยวพันกับปัญหาอื่น ๆ ที่มนุษย์เผชิญอย่างซับซ้อน การทำความเข้าใจและมองเห็นถึงความสัมพันธ์ของความยากจนจากหลากหลายมิติดังกล่าว ช่วยให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาคส่วนที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ภาคส่วนปฏิบัติการแก้ปัญหาความยากจนในประเทศต่างได้เห็นความก้าวหน้าและถดถอยของระดับสถานการณ์ความยากจนของประเทศตนได้ทั้งภาพรวมและภาพย่อยรายประเด็น
ทั้งนี้ SDG Move จะนำเสนอข้อค้นพบที่น่าสนใจจากรายงาน MPI ติดตามได้ทาง Facebook page และเว็บไซต์ sdgmove.com เร็ว ๆ นี้
– (6.2) บรรลุเป้าหมายการให้ทุกคนเข้าถึงสุขอนามัยที่พอเพียงและเป็นธรรม และยุติการขับถ่ายในที่โล่ง โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อความต้องการของผู้หญิง เด็กหญิง และกลุ่มที่อยู่ใต้สถานการณ์ที่เปราะบาง ภายในปี 2573
#SDG 7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้
– (7.1) สร้างหลักประกันว่ามีการเข้าถึงการบริการพลังงานสมัยใหม่ที่เชื่อถือได้ ในราคาที่สามารถซื้อหาได้ ภายในปี 2573
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
– (10.2) ให้อำนาจและส่งเสริมความครอบคลุมด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองสำหรับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงอายุ เพศ ความบกพร่องทางร่างกาย เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ แหล่งกำเนิด ศาสนา หรือสถานะทางเศรษฐกิจหรือสถานะอื่น ๆ ภายในปี 2573
แหล่งที่มา: 2022 Global Multidimensional Poverty Index (MPI) (UNDP)
https://www.sdgmove.com/2022/10/21/multidimensional-poverty-index-2022/
อย่างนี้ต้องปรบมือให้ลุงตู่ไปเลยค่ะ.....