คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
เป็นห่วงนะ แนวโน้มผู้ป่วยโควิดทั่วโลกเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาว แนะกลุ่ม 608 รับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน สวมหน้ากากเมื่ออยู่ในที่แออัด ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข มีความห่วงใยประชาชนจากแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศเนื่องด้วยขณะนี้เป็นฤดูหนาวที่เอื้อต่อการแพร่เชื้อไวรัส ประกอบกับทั่วโลกมีการผ่อนคลายมาตรการป้องกันโรค ขณะที่ไทยก็ได้เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวซึ่งมีผู้เดินทางมาจากทั่วโลก
ดังนั้น การดูแลป้องกันตนเอง เช่น สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่แออัด การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ตลอดจนการสร้างภูมิคุ้มกันโดยการรับวัคซีนจึงมีความจำเป็นสำหรับประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่ม 608 ซึ่งมีความเสี่ยงสูง ต้องเข้ารับวัคซีนตามเกณฑ์และเข็มกระตุ้นเมื่อครบระยะเวลา เพื่อลดอาการป่วยหนักหรือเสียชีวิต โดยประชาชนสามารถติดต่อเข้ารับวัคซีนสถานพยาบาลใกล้บ้าน ซึ่งปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขกระจายวัคซีนสำหรับประชาชนทุกกลุ่มไปยังสถานพยาบาลทั่วประเทศและเพียงพอกับความต้องการ
แม้สถานการณ์แพร่ระบาด หรือการมีจำนวนผู้ป่วยหนักในไทยไม่ได้อยู่ในระดับสูงหรือน่ากังวล แต่ฤดูหนาวจะเป็นช่วงที่ไวรัสมีการแพร่กระจายรวดเร็ว และตอนนี้หลายประเทศที่อากาศหนาวจัดก็มีผู้ป่วยมากขึ้น กระทรวงสาธารณสุขได้กระจายวัคซีนสำหรับทุกกลุ่มไปยังสถานพยาบาลพร้อมบริการให้ประชาชนทั่วประเทศ
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02wzeHfUrvUxPEBvUQKxcJxXSx8MBEJrZHGhTev93ghWBDBW1QXtRqpCixqoVBo3iml
กรมวิทย์ฯ ร่วมเครือข่าย เตรียมพัฒนาระบบขนส่งตัวอย่างติดเชื้อในประเทศ
ให้เป็นมาตรฐานและแนวทางเดียวกัน ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่สู่สิ่งแวดล้อม
ตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ตั้งแต่ พ.ศ.2562 จนถึงปัจจุบัน ทำให้มีตัวอย่างสงสัยติดเชื้อจำนวนมาก ถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจวินิจฉัยช่องทางการขนส่งตัวอย่างมีทั้งทางอากาศและทางบก ซึ่งการขนส่งตัวอย่างติดเชื้อจะต้องได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์ เรื่อง การขนส่งตัวอย่างติดเชื้อของพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ.2558 ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่สู่สิ่งแวดล้อม ตามแนวทางการปฏิบัติของกฎอนามัยระหว่างประเทศ ซึ่งการใช้บริการส่งตัวอย่างโดยภาคเอกชนค่อนข้างมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบการขนส่งตัวอย่างติดเชื้อ เพื่อให้เป็นมาตรฐานแนวทางในเรื่องการขนส่งตัวอย่างติดเชื้อของประเทศ รวมถึงการประยุกต์ใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและสามารถจัดหาได้ภายในประเทศ ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ.2558 และมาตรฐานสากล และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับกับโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำในอนาคต
ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02GmgLPRCbvKqR6hpA4wM4n3JZ9mGJpjnraqbS6UnuHABV9SEc3hfn893q5JhxaVkl
ผู้ปกครองมั่นใจ เสริมภูมิปฐมวัย เพื่อความปลอดภัยของลูกหลาน
>>>แนะนำ เด็กอายุ 6 เดือน-4 ปี ทุกคนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0u4ViABXKMbqCAeaSTMYt6pjPjJsRqf5JqjN7b98WAKMATuYodi8xBiCNw4r2JFMjl&id=100068069971811
เป็นห่วงนะ แนวโน้มผู้ป่วยโควิดทั่วโลกเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาว แนะกลุ่ม 608 รับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน สวมหน้ากากเมื่ออยู่ในที่แออัด ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข มีความห่วงใยประชาชนจากแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศเนื่องด้วยขณะนี้เป็นฤดูหนาวที่เอื้อต่อการแพร่เชื้อไวรัส ประกอบกับทั่วโลกมีการผ่อนคลายมาตรการป้องกันโรค ขณะที่ไทยก็ได้เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวซึ่งมีผู้เดินทางมาจากทั่วโลก
ดังนั้น การดูแลป้องกันตนเอง เช่น สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่แออัด การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ตลอดจนการสร้างภูมิคุ้มกันโดยการรับวัคซีนจึงมีความจำเป็นสำหรับประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่ม 608 ซึ่งมีความเสี่ยงสูง ต้องเข้ารับวัคซีนตามเกณฑ์และเข็มกระตุ้นเมื่อครบระยะเวลา เพื่อลดอาการป่วยหนักหรือเสียชีวิต โดยประชาชนสามารถติดต่อเข้ารับวัคซีนสถานพยาบาลใกล้บ้าน ซึ่งปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขกระจายวัคซีนสำหรับประชาชนทุกกลุ่มไปยังสถานพยาบาลทั่วประเทศและเพียงพอกับความต้องการ
แม้สถานการณ์แพร่ระบาด หรือการมีจำนวนผู้ป่วยหนักในไทยไม่ได้อยู่ในระดับสูงหรือน่ากังวล แต่ฤดูหนาวจะเป็นช่วงที่ไวรัสมีการแพร่กระจายรวดเร็ว และตอนนี้หลายประเทศที่อากาศหนาวจัดก็มีผู้ป่วยมากขึ้น กระทรวงสาธารณสุขได้กระจายวัคซีนสำหรับทุกกลุ่มไปยังสถานพยาบาลพร้อมบริการให้ประชาชนทั่วประเทศ
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02wzeHfUrvUxPEBvUQKxcJxXSx8MBEJrZHGhTev93ghWBDBW1QXtRqpCixqoVBo3iml
กรมวิทย์ฯ ร่วมเครือข่าย เตรียมพัฒนาระบบขนส่งตัวอย่างติดเชื้อในประเทศ
ให้เป็นมาตรฐานและแนวทางเดียวกัน ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่สู่สิ่งแวดล้อม
ตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ตั้งแต่ พ.ศ.2562 จนถึงปัจจุบัน ทำให้มีตัวอย่างสงสัยติดเชื้อจำนวนมาก ถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจวินิจฉัยช่องทางการขนส่งตัวอย่างมีทั้งทางอากาศและทางบก ซึ่งการขนส่งตัวอย่างติดเชื้อจะต้องได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์ เรื่อง การขนส่งตัวอย่างติดเชื้อของพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ.2558 ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่สู่สิ่งแวดล้อม ตามแนวทางการปฏิบัติของกฎอนามัยระหว่างประเทศ ซึ่งการใช้บริการส่งตัวอย่างโดยภาคเอกชนค่อนข้างมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบการขนส่งตัวอย่างติดเชื้อ เพื่อให้เป็นมาตรฐานแนวทางในเรื่องการขนส่งตัวอย่างติดเชื้อของประเทศ รวมถึงการประยุกต์ใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและสามารถจัดหาได้ภายในประเทศ ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ.2558 และมาตรฐานสากล และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับกับโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำในอนาคต
ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02GmgLPRCbvKqR6hpA4wM4n3JZ9mGJpjnraqbS6UnuHABV9SEc3hfn893q5JhxaVkl
ผู้ปกครองมั่นใจ เสริมภูมิปฐมวัย เพื่อความปลอดภัยของลูกหลาน
>>>แนะนำ เด็กอายุ 6 เดือน-4 ปี ทุกคนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0u4ViABXKMbqCAeaSTMYt6pjPjJsRqf5JqjN7b98WAKMATuYodi8xBiCNw4r2JFMjl&id=100068069971811
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭💚มาลาริน💚🇹🇭WHO'แนะทั่วโลกจับตา'9 เชื้อโรคอันตราย' เสี่ยงระบาดใหญ่รอบใหม่/รวมจุดฉีดวัคซีนโควิดทั่วไทย
องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะเมื่อวันจันทร์(21พ.ย.)ว่าให้จับตามองเชื้อโรคชุดใหม่ 9 ประเภทที่ถือเป็นเชื้อโรคอันตรายถึงชีวิตที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ได้อีกครั้ง
คณะนักวิทยาศาสตร์ของ WHO กว่า 300 คน ได้วิเคราะห์ตรวจสอบเชื้อไวรัสและแบคทีเรียจำนวนกว่า 25 ชนิด เพื่ออัพเดท เชื้อโรคอันตรายเพื่อใช้เป็นแนวทางในการวิจัยพัฒนา และการลงทุนเพื่อจัดหาวัคซีน รวมทั้งทดลองและหาแนวทางรักษาเชื้อโรคเหล่านี้
เชื้อโรคลึกลับที่มีชื่อว่า Disease X เพราะยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นเชื้อโรคชนิดใด แต่ WHO เชื่อว่า มีโอกาสที่จะเกิดการระบาดรุนแรงครั้งใหญ่ทั่วโลกได้
"ไมเคิล ไรอัน" ผู้อำนวยการฝ่ายฉุกเฉินของ WHO กล่าวว่า การระบุเจาะจงเชื้อโรคและไวรัสอันตรายเพื่อเน้นทำการวิจัยและพัฒนาหาแนวทางต่อสู้กับเชื้อโรคเหล่านี้ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการรับมือการระบาดใหญ่ในอนาคต
"หากไม่มีการลงทุนเพื่อวิจัยพัฒนาในลักษณะนี้ ก่อนที่จะเกิดการระบาดของโควิด-19 ก็คงไม่มีโอกาสที่จะมีวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพได้ในเวลาอันรวดเร็วเช่นนี้" ไรอัน กล่าว
ในส่วนของเชื้อโรคที่ถูกระบุไว้ในรายชื่อเชื้อโรคอันตรายล่าสุดของ WHO คือ...👇
เชื้อโคโรนาไวรัส หรือโควิด-19,
เชื้อไวรัสอีโบลา,
เชื้อไวรัสมาร์เบิร์ก,
เชื้อไข้เลือดออกลาสซา,
เชื้อโรคเมอร์ส
เชื้อโรคซาร์ส ,
เชื้อไวรัสนิปาห์,
เชื้อไวรัสซิกา
และเชื้อโรค Disease X
WHO มีกำหนดจะเปิดเผยรายชื่อเชื้อโรคที่จัดทำใหม่นี้อย่างเป็นทางการก่อนเดือนเม.ย.ปีหน้า
WHO มีกำหนดประชุมร่วมกันในวันที่ 5-7 ธ.ค.นี้ เพื่อร่างข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการเตรียมตัวและรับมือโรคระบาด ที่อาจนำมาใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติสำหรับประเทศต่าง ๆ ในกรณีที่เกิดภัยคุกคามจากโรคระบาดอีกครั้ง
https://www.bangkokbiznews.com/world/1039393
สถานพยาบาลต่าง ๆ ในภูมิภาค 76 จังหวัด
ประชาชนสามารถไปรับบริการโรงพยาบาลภาครัฐได้ทั้งหมดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โดยกำหนดจุดรับบริการวัคซีนตามบริบท เช่น แบบวอล์กอิน ลงทะเบียนนัดล่วงหน้า จัดหน่วยฉีดเคลื่อนที่สำหรับผู้ป่วยติดเตียง จุดฉีดที่สถานประกอบการ ระบบสถานศึกษา หรือกรณีระบาดเป็นกลุ่มก้อนเพื่อป้องกันการระบาด
ทั้งนี้สามารถตรวจสอบรายชื่อสถานที่ที่ฉีดวัคซีนได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ของแต่ละจังหวัด
กรุงเทพมหานคร
กทม.ยังให้บริการวัคซีนตามความสมัครใจอย่างต่อเนื่อง โดยจะเปิดบริการทั้งนัดหมายและวอล์กอิน ผ่าน โรงพยาบาลในสังกัด กทม. ดังนี้
โรงพยาบาลกลาง
วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-15.00 น. ชั้น 3 ห้องตรวจส่งเสริมสุขภาพ โดยสามารถวอล์กอินได้เลย
โรงพยาบาลตากสิน
วันจันทร์ และวันศุกร์ เวลา 08.00-14.00 น. ศูนย์การค้าแพลตฟอร์ม วงเวียนใหญ่ โดยสามารถวอล์กอินเข้าไปได้เลย
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
วันจันทร์-วันพฤหัสบดี เวลา 08.00-14.00 น. คลินิกวัคซีนโควิด ห้องหัตถการ ชั้น 2 อาคาร 72 พรรษา มหาราชินี โโดยสามารถวอล์กอินเข้าไปได้เลย
วันศุกร์ เวลา 08.00-14.00 น. คลินิกวัคซีนโควิด เรือนวัคซีน (อาคารจอดรถ) อาคารเวชศสตร์ฟื้นฟู ชั้น 1 โดยสามารถวอล์กอินและจองผ่านแอปพลิเคชัน QueQ ได้
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
วันจันทร์ เวลา 13.00-16.00 น. ชั้น 2 อาคารเนกประสงค์ โดยสามารถวอล์กอิน และ ฉีดได้ที่ศูนย์ BFC
วันอังคาร เวลา 08.00-12.00 น. ชั้น 1 อาคารอเนกประสงค์ โดยสามารถวอล์กอิน และ ฉีดได้ที่ศูนย์ BFC
โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์
วันจันทร์ เวลา 13.00-16.00 ห้องประกันสังคม ชั้น 2 โดยสามารถวอล์กอินเข้าไปได้เลย
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00-14.00 น. ห้องทำแผลฉีดยา โดยสามารถวอล์กอินเข้าไปได้เลย
โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00-15.00 น. คลินิกวัคซีนผู้ใหญ่ อาคารยุบวร โดยสามารถวอล์กอินเข้าไปได้เลย
โรงพยาบาลสิรินธร
วันศุกร์ เวลา 13.00-15.00 น. ห้องประชุมคุณหญิงหรั่ง กันการัติ ชั้น 2 โดยสามารถวอล์กอินและจองผ่านแอปพลิเคชัน QueQ ได้
โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00-15.00 น. คลินิกวัคซีนโควิด ห้องตรวจ 1 แผนกผู้ป่วยอายุรกรรม อาคาร OPD ชั้น 2 โดยสามารถวอล์กอินเข้าไปได้เลย
โรงพยาบาลคลองสามวา
วันพุธ-วันศุกร์ เวลา 13.00-14.00 น. อาคารผู้ป่วยนอก โดยสามารถวอล์กอิน และจองผ่านแอปพลิเคชัน QueQ ได้
โรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร
วันจันทร์-วันพุธ เวลา 08.00-11.00 น. อาคารผู้ป่วยนอกชั้น 1 โดยสามารถวอล์กอิน
ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรสายด่วนสุขภาพ 1646 สำนักการแพทย์ ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
นอกจากนี้ ยังสามารถรับบริการได้ที่ ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง คลิกดูรายชื่อที่นี่! โดยสามารถฉีดได้ทุกวันศุกร์ ฉีดได้ทุกสูตร และทุกเข็ม จองคิวผ่านแอปพลิเคชัน QueQ หรือ ติดต่อศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน โทร. 02-203-2883
https://www.pptvhd36.com/health/news/2360
ติดตามข่าวโควิดกันต่อนะคะ....