สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 70
ถ้าจะฟังเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กายใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ในอายตนะบรรพ อีกทางเลือกหนึ่งซึ่งส่วนตัวฟังแล้วเข้าใจได้ดีกว่า ไม่ได้มาแนวจำพระสูตรแล้วมาพูด ๆ ประกอบการอธิบายเป็นอย่างดี https://soundcloud.com/user-893520902/sets/rxxg8np4f6xv ธรรมบรรยายชุดธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมวดอายตนบรรพ โดยพระอาจารย์สมบัติ นันทิโก ประมาณ 180 ตอน ๆ ละประมาณ 15 นาที เนื่องจากอยู่ในหมวดสติปัฎฐานแล้ว อาจไม่เหมาะสำหรับท่านที่เริ่มต้นใหม่
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สติปัฏฐานสูตร https://soundcloud.com/user-893520902/sets/ulcovpytuagr ถ้าเฉพาะอานาปานสติบรรพก็ตั้งแต่ตอนที่ 16
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สติปัฏฐานสูตร https://soundcloud.com/user-893520902/sets/ulcovpytuagr ถ้าเฉพาะอานาปานสติบรรพก็ตั้งแต่ตอนที่ 16
ความคิดเห็นที่ 56
สาธุ ค่ะคุณมะม่วงฯ
1.ช่วงเวลานั้นท่านพระราหุลพำนักอยู่ที่ “พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ช่วงเวลากลางวัน ในป่าอันธวัน”
2.เป็นเวลาที่พระราหุลบวชเป็นพระภิกษุได้ ครึ่งพรรษา
3.ด้วยการฟังธรรมจากพระศาสดา ตรัสสอนเรื่องความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ของธรรมต่างๆ เพื่อละความยึดมั่นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
พระราหุล ท่านบรรลุอรหันต์ มีแสดงไว้ในสองพระสูตรนี้ ซึ่งมีเนื้อหาโดยอรรถเดียวกันค่ะ
____________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ราหุลสูตร
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=18&A=2697&w=%C3%D2%CB%D8%C5%CA%D9%B5%C3
___________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๕. จูฬราหุโลวาทสูตร (๑๔๗)
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=14&A=10191&w=%A8%D9%CC%C3%D2%CB%D8%E2%C5%C7%D2%B7%CA%D9%B5%C3
1.ช่วงเวลานั้นท่านพระราหุลพำนักอยู่ที่ “พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ช่วงเวลากลางวัน ในป่าอันธวัน”
2.เป็นเวลาที่พระราหุลบวชเป็นพระภิกษุได้ ครึ่งพรรษา
3.ด้วยการฟังธรรมจากพระศาสดา ตรัสสอนเรื่องความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ของธรรมต่างๆ เพื่อละความยึดมั่นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
พระราหุล ท่านบรรลุอรหันต์ มีแสดงไว้ในสองพระสูตรนี้ ซึ่งมีเนื้อหาโดยอรรถเดียวกันค่ะ
____________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ราหุลสูตร
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=18&A=2697&w=%C3%D2%CB%D8%C5%CA%D9%B5%C3
___________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๕. จูฬราหุโลวาทสูตร (๑๔๗)
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=14&A=10191&w=%A8%D9%CC%C3%D2%CB%D8%E2%C5%C7%D2%B7%CA%D9%B5%C3
ความคิดเห็นที่ 55
ข้อที่ 2. เรื่องนี้ต้องขออ้างอิงหน่อยนะครับ
ความคิดเห็นที่ 5
ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะสอนให้ท่านสามเณรราหุลเจริญอานาปานสติ
ท่านสอนสามเณรราหุลให้เข้าใจเรื่อง "เห็น" ก่อน
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
จักขุวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
โสตวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
ฆานวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
ชิวหาวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
กายวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
มโนวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในโสตวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในฆานวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในชิวหาวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในกายวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในมโนวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ ฯ
________________________________
จักขุวิญญาณ ก็คือ "เห็น"
โสตวิญญาณ ก็คือ "ได้ยิน"
ฆานวิญญาณ ก็คือ "ได้กลิ่น"
ขิวหาวิญญาณ ก็คือ "ลิ้มรส"
กายวิญญาณ ก็คือ "กระทบสัมผัสทางกาย"
มโนวิญญาณ ก็คือ "ความนึกคิดทางใจ"
ิ่จะเห็นว่า พระพุทธเจ้า ก็ทรงสอนท่านสามเณรให้เข้าใจเรื่อง เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส และคิดนึก ก่อนที่จะกระโดดไปเรื่องยากและลึกซึ้งที่สุดอย่างอานาปานสติ
อ.สุจินต์ เมื่อถามผู้ถามในคลิปว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่อง "เห็น" หรือเปล่าคะ แต่ผู้ถามตอบไม่ได้ เพราะไม่รู้และยังไม่เข้าใจแม้แต่เรื่องพื้นฐานที่สุด แต่กลับจะกระโดดไปด้วยความติดข้องต้องการที่จะไปฝึกอานาปานสติ ซึ่งเป็นของที่ละเอียดลึกซึ้งที่สุดที่แม้แต่พระอรรถกถาจารย์ยังกล่าวว่า "เป็นของยาก เป็นภาระหนัก สำเร็จได้ยาก เป็นอารมณ์ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธบุตร ได้แก่พระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปเท่านั้น
แก้ไขข้อความเมื่อ 5 ชั่วโมงที่แล้ว
ตอบกลับ
0 0
สมาชิกหมายเลข 6668888
คือสูตรที่คุณ 8888 นำมาอ้างผิดๆ นี้ มาจาก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ชื่อราหุลสูตร
ซึ่งสูตรที่ทรงตรัสเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แก่ท่านพระราหุลนี้ ไม่ใช่ธรรมอันเป็นเรื่องปูพื้นแต่อย่างใด
นั่นก็เพราะเนื้อความในสูตรนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสสอนท่านพระราหุลจบลง ท่านพระราหุลก็บรรลุอรหัตตผล
ท่านที่ให้กรรมฐานอานาปานสติแก่พระราหุลเป็นท่านแรกคือ ท่านพระสารีบุตรเถระ
เพราะว่า พระพุทธเจ้ามีรับสั่งให้ท่านพระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาของท่านพระราหุล
ดังความในความเห็นที่ 24 ที่คุณเอิงเอยได้รวบรวมนำมาเป็นกรณีศึกษาให้แก่สมาชิกได้อ่านกัน
คือความว่าพระพุทธเจ้านั้น ทรงสอนกรรมฐาน สอนสมาธิ สอนฌานแก่ท่านพระราหุล
สลับกับการสอนเรื่องศีลอย่าเป็นปรกติอยู่ก่อนแล้ว
อยู่มาวันหนึ่งท่านพระสารีบุตรได้สอนอานาปานสติให้แก่ท่านพระราหุลดังที่คุณเอิงเอยนำเสนอแล้ว
พระราหุลถึงได้นำอานาปานสติเข้าไปถามพระพุทธเจ้าอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อพิจารณาไทม์ไลน์ดูแล้ว ทั้งพระพุทธเจ้า ทั้งท่านพระสารีบุตร ได้สอนศีล สอนสมาธิแก่ท่านพระราหุลมาเป็นลำดับ
ต่อเมื่อมาถึงสูตรที่คุณ 8888 นำมาอ้างนั่นแหละ ซึ่งเป็นสูตรที่ว่าด้วยเรื่องปัญญา ท่านพระราหุลก็ลุถึงอรหัตตผล
ดังนั้น เรื่องเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ล้มรส สัมผัส ธัมมารมณ์
กลับกลายเป็นว่า เป็นธรรมที่ยากที่สุดที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสม้วนเดียวแก่ท่านพระราหุล
จนกระทั่งท่านพระราหุลหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์
คนปัญญาทรามนึกว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นเป็นของง่าย เป็นของที่ต้องสอนเป็นพื้นฐาน
แต่เปล่าเลยครับ กลับกันกับที่คุณ 8888 นำมาอ้างแบบมุสาเสียอีก พระพุทธเจ้าท่านกลับปูศีล ปูสมาธิมาตลอด
จนกระทั่งมาตรัสสอนสูตร "เห็น" นี้ จนกระทั่งท่านพระราหุลบรรลุเป็นพระอรหันต์
แหม่ ผมงี้ถึงกับเกิดโทสะเอาเลยทีเดียว ที่ปล่อยให้คุณ 8888 หลอกเอาได้เสียตั้งหลายวัน
คือปล่อยให้แกกล่าวมุสาแก่สมาชิกเสียเนิ่นนาน โดยไม่แบ่งเวลาไปศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่างในธรรมแก่เพื่อนสมาชิก
คุณ 8888 ครับ
ต่อไปนี้นำเนื้อหา "เห็น" แบบที่คุณพูดเป็นแผ่นเสียงตกร่องไปหากินไม่ได้แล้วนะครับ
เพราะ"เห็น" นี้ เป็นสูตรสุดท้ายที่ทรงตรัสสอนแก่ท่านพระราหุล จนกระทั่งท่านพระราหุลบรรลุอรหันต์
นี่ผมถือว่าคุณมุสาเอากับเพื่อสมาชิกเป็นข้อที่ 2 นะครับ
ถ้ายังไม่ไปร่ำเรียนมาให้ดีเสียก่อน แล้วยังไม่หยุดกล่าวเพ้อเจ้อ
คุณอาจจะเจอข้อ 3 ข้อ 4 5 6 ....นะครับ
นี่เป็นโทษของปริยัติงูพิษนะครับ โปรดระมัดระวัง
เดี๋ยวจะหาว่าเพื่อนยสหธรรมิกไม่เตือนนะครับ.
ข้อที่ 2. เรื่องนี้ต้องขออ้างอิงหน่อยนะครับ
ความคิดเห็นที่ 5
ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะสอนให้ท่านสามเณรราหุลเจริญอานาปานสติ
ท่านสอนสามเณรราหุลให้เข้าใจเรื่อง "เห็น" ก่อน
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
จักขุวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
โสตวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
ฆานวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
ชิวหาวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
กายวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
มโนวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในโสตวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในฆานวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในชิวหาวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในกายวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในมโนวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ ฯ
________________________________
จักขุวิญญาณ ก็คือ "เห็น"
โสตวิญญาณ ก็คือ "ได้ยิน"
ฆานวิญญาณ ก็คือ "ได้กลิ่น"
ขิวหาวิญญาณ ก็คือ "ลิ้มรส"
กายวิญญาณ ก็คือ "กระทบสัมผัสทางกาย"
มโนวิญญาณ ก็คือ "ความนึกคิดทางใจ"
ิ่จะเห็นว่า พระพุทธเจ้า ก็ทรงสอนท่านสามเณรให้เข้าใจเรื่อง เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส และคิดนึก ก่อนที่จะกระโดดไปเรื่องยากและลึกซึ้งที่สุดอย่างอานาปานสติ
อ.สุจินต์ เมื่อถามผู้ถามในคลิปว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่อง "เห็น" หรือเปล่าคะ แต่ผู้ถามตอบไม่ได้ เพราะไม่รู้และยังไม่เข้าใจแม้แต่เรื่องพื้นฐานที่สุด แต่กลับจะกระโดดไปด้วยความติดข้องต้องการที่จะไปฝึกอานาปานสติ ซึ่งเป็นของที่ละเอียดลึกซึ้งที่สุดที่แม้แต่พระอรรถกถาจารย์ยังกล่าวว่า "เป็นของยาก เป็นภาระหนัก สำเร็จได้ยาก เป็นอารมณ์ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธบุตร ได้แก่พระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปเท่านั้น
แก้ไขข้อความเมื่อ 5 ชั่วโมงที่แล้ว
ตอบกลับ
0 0
สมาชิกหมายเลข 6668888
คือสูตรที่คุณ 8888 นำมาอ้างผิดๆ นี้ มาจาก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ชื่อราหุลสูตร
ซึ่งสูตรที่ทรงตรัสเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แก่ท่านพระราหุลนี้ ไม่ใช่ธรรมอันเป็นเรื่องปูพื้นแต่อย่างใด
นั่นก็เพราะเนื้อความในสูตรนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสสอนท่านพระราหุลจบลง ท่านพระราหุลก็บรรลุอรหัตตผล
ท่านที่ให้กรรมฐานอานาปานสติแก่พระราหุลเป็นท่านแรกคือ ท่านพระสารีบุตรเถระ
เพราะว่า พระพุทธเจ้ามีรับสั่งให้ท่านพระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาของท่านพระราหุล
ดังความในความเห็นที่ 24 ที่คุณเอิงเอยได้รวบรวมนำมาเป็นกรณีศึกษาให้แก่สมาชิกได้อ่านกัน
คือความว่าพระพุทธเจ้านั้น ทรงสอนกรรมฐาน สอนสมาธิ สอนฌานแก่ท่านพระราหุล
สลับกับการสอนเรื่องศีลอย่าเป็นปรกติอยู่ก่อนแล้ว
อยู่มาวันหนึ่งท่านพระสารีบุตรได้สอนอานาปานสติให้แก่ท่านพระราหุลดังที่คุณเอิงเอยนำเสนอแล้ว
พระราหุลถึงได้นำอานาปานสติเข้าไปถามพระพุทธเจ้าอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อพิจารณาไทม์ไลน์ดูแล้ว ทั้งพระพุทธเจ้า ทั้งท่านพระสารีบุตร ได้สอนศีล สอนสมาธิแก่ท่านพระราหุลมาเป็นลำดับ
ต่อเมื่อมาถึงสูตรที่คุณ 8888 นำมาอ้างนั่นแหละ ซึ่งเป็นสูตรที่ว่าด้วยเรื่องปัญญา ท่านพระราหุลก็ลุถึงอรหัตตผล
ดังนั้น เรื่องเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ล้มรส สัมผัส ธัมมารมณ์
กลับกลายเป็นว่า เป็นธรรมที่ยากที่สุดที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสม้วนเดียวแก่ท่านพระราหุล
จนกระทั่งท่านพระราหุลหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์
คนปัญญาทรามนึกว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นเป็นของง่าย เป็นของที่ต้องสอนเป็นพื้นฐาน
แต่เปล่าเลยครับ กลับกันกับที่คุณ 8888 นำมาอ้างแบบมุสาเสียอีก พระพุทธเจ้าท่านกลับปูศีล ปูสมาธิมาตลอด
จนกระทั่งมาตรัสสอนสูตร "เห็น" นี้ จนกระทั่งท่านพระราหุลบรรลุเป็นพระอรหันต์
แหม่ ผมงี้ถึงกับเกิดโทสะเอาเลยทีเดียว ที่ปล่อยให้คุณ 8888 หลอกเอาได้เสียตั้งหลายวัน
คือปล่อยให้แกกล่าวมุสาแก่สมาชิกเสียเนิ่นนาน โดยไม่แบ่งเวลาไปศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่างในธรรมแก่เพื่อนสมาชิก
คุณ 8888 ครับ
ต่อไปนี้นำเนื้อหา "เห็น" แบบที่คุณพูดเป็นแผ่นเสียงตกร่องไปหากินไม่ได้แล้วนะครับ
เพราะ"เห็น" นี้ เป็นสูตรสุดท้ายที่ทรงตรัสสอนแก่ท่านพระราหุล จนกระทั่งท่านพระราหุลบรรลุอรหันต์
นี่ผมถือว่าคุณมุสาเอากับเพื่อสมาชิกเป็นข้อที่ 2 นะครับ
ถ้ายังไม่ไปร่ำเรียนมาให้ดีเสียก่อน แล้วยังไม่หยุดกล่าวเพ้อเจ้อ
คุณอาจจะเจอข้อ 3 ข้อ 4 5 6 ....นะครับ
นี่เป็นโทษของปริยัติงูพิษนะครับ โปรดระมัดระวัง
เดี๋ยวจะหาว่าเพื่อนยสหธรรมิกไม่เตือนนะครับ.
ความคิดเห็นที่ 50
นางขุชชุตตราเป็นอาจารย์สอนธรรม
นางสามาวดี เมื่อทราบความโดยตลอดแล้วก็มิได้ว่ากล่าวติเตียนต่อนางขุชชุตตรา แต่ประการใด
กลับขอให้นางได้แสดงธรรมที่ได้ฟังมาจากพระบรมศาสดาให้ตนและบริวารอื่น ๆได้ฟังบ้าง
ซึ่งนางขุชชุตตรา ก็ตอบรับด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง
แต่ขอโอกาสอาบน้ำชำระร่างกายและประดับตกแต่งร่างกายพอสมควรแก่ฐานะ
แล้วนั่งบนอาสนะที่สูงกว่าหญิงทั้งปวง แสดงธรรมไปโดยลำดับตามที่ตนได้ฟังมาจากพระบรมศาสดา
เมื่อจบลงแล้ว หญิงเหล่านั้นทั้งหมดมี
นางสามาวดีเป็นหัวหน้า ก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันพร้อม ๆ กัน
หลังจากนั้น นางขุชชุตตราได้รับการยกฐานะจากการเป็นทาสีคอยรับใช้นางสามาวดี
ให้ดำรงอยู่ในฐานะมารดาและอาจารย์ ของนางสามาวดีและหญิงบริวารเหล่านั้น
มีหน้าที่ไปรับฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาแล้วนำมาแสดงให้นางสามาวดีกับบริวารฟัง
นางขุชชุตตรากระทำดังนั้นจนนางเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก
https://84000.org/one/4/03.html
ผู้สอนเป็นระดับโสดาบัน เลยนะครับ
ไม่ได้บอกว่า ที่บ้านของนางสามาวดีรับบริจาคเงินหรือเปล่า ? ผมคิดว่า นางไม่มีรับบริจาค
ไม่มีบันทึกว่า นางขุชชุตตราใช้สายตาจิกกัด ใช้คำพูดกดผู้ฟังธรรม ไม่มีบันทึกว่านางก่น ตำหนิพระภิกษุสงฆ์ // ผมคิดว่านางไม่ก่นตำหนิพระภิกษุ
ไม่มีบันทึกว่า นางขุชชุตตรา ได้บังอาจสอนพระภิกษุ คือ เธอไม่มีประวัติการไปสอนพระภิกษุ
นางไม่บังอาจทำแน่ ๆ เพราะพระพุทธเจ้าไม่ให้ภิกษุณีสอนธรรมพระภิกษุ
แม้นางไม่ใช่ภิกษุณีแต่นางเพศเดียวกับภิกษุณี
เมื่อพระพุทธเจ้าห้ามภิกษุณีซึ่งเป็นเพศมาตุคามสอนธรรมพระภิกษุนางก็คือเพศมาตุคามนางจึงไม่บังอาจไปสอนพระภิกษุ
(ประเด็นเรื่องสอนพระภิกษุตรงนี้ ผมจะหาโอกาสตั้งกระทู้ ต่อ ๆ ไป นะครับ)
นางสามาวดี เมื่อทราบความโดยตลอดแล้วก็มิได้ว่ากล่าวติเตียนต่อนางขุชชุตตรา แต่ประการใด
กลับขอให้นางได้แสดงธรรมที่ได้ฟังมาจากพระบรมศาสดาให้ตนและบริวารอื่น ๆได้ฟังบ้าง
ซึ่งนางขุชชุตตรา ก็ตอบรับด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง
แต่ขอโอกาสอาบน้ำชำระร่างกายและประดับตกแต่งร่างกายพอสมควรแก่ฐานะ
แล้วนั่งบนอาสนะที่สูงกว่าหญิงทั้งปวง แสดงธรรมไปโดยลำดับตามที่ตนได้ฟังมาจากพระบรมศาสดา
เมื่อจบลงแล้ว หญิงเหล่านั้นทั้งหมดมี
นางสามาวดีเป็นหัวหน้า ก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันพร้อม ๆ กัน
หลังจากนั้น นางขุชชุตตราได้รับการยกฐานะจากการเป็นทาสีคอยรับใช้นางสามาวดี
ให้ดำรงอยู่ในฐานะมารดาและอาจารย์ ของนางสามาวดีและหญิงบริวารเหล่านั้น
มีหน้าที่ไปรับฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาแล้วนำมาแสดงให้นางสามาวดีกับบริวารฟัง
นางขุชชุตตรากระทำดังนั้นจนนางเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก
https://84000.org/one/4/03.html
ผู้สอนเป็นระดับโสดาบัน เลยนะครับ
ไม่ได้บอกว่า ที่บ้านของนางสามาวดีรับบริจาคเงินหรือเปล่า ? ผมคิดว่า นางไม่มีรับบริจาค
ไม่มีบันทึกว่า นางขุชชุตตราใช้สายตาจิกกัด ใช้คำพูดกดผู้ฟังธรรม ไม่มีบันทึกว่านางก่น ตำหนิพระภิกษุสงฆ์ // ผมคิดว่านางไม่ก่นตำหนิพระภิกษุ
ไม่มีบันทึกว่า นางขุชชุตตรา ได้บังอาจสอนพระภิกษุ คือ เธอไม่มีประวัติการไปสอนพระภิกษุ
นางไม่บังอาจทำแน่ ๆ เพราะพระพุทธเจ้าไม่ให้ภิกษุณีสอนธรรมพระภิกษุ
แม้นางไม่ใช่ภิกษุณีแต่นางเพศเดียวกับภิกษุณี
เมื่อพระพุทธเจ้าห้ามภิกษุณีซึ่งเป็นเพศมาตุคามสอนธรรมพระภิกษุนางก็คือเพศมาตุคามนางจึงไม่บังอาจไปสอนพระภิกษุ
(ประเด็นเรื่องสอนพระภิกษุตรงนี้ ผมจะหาโอกาสตั้งกระทู้ ต่อ ๆ ไป นะครับ)
ความคิดเห็นที่ 24
ความเห็นที่ 5-6
ก่อนที่จะสอนเรื่องลึกซึ้งอย่างเรื่องสติปัฏฐานให้แก่ท่านสามเณรราหุล พระพุทธเจ้าทรงสอนท่านสามเณรราหุลตั้งแต่ให้มีความเข้าใจที่มั่นคงก่อนว่า "เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา"
6668888
----------------------------------------------------------
ดิฉันได้แสดงอรรถกถาไว้ใน ที่นี่ https://ppantip.com/topic/41740342/comment63 ตามนี้
ในมหาราหุโลวาทสูตร นั้น มีลำดับตามนี้ คือ
1.พระศาสดาเห็นว่าพระราหุลทรงเกิดฉันทะราคะในรูป จึงทรงตรัสสอนให้ละความเห็นว่าเป็นเราในรูป
2.เมื่อพระราหุล กลับจากบิณฑบาตก็ได้นั่งพักที่โคนไม้ พระสารีบุตรจึงให้พระราหุลเจริญอานาปานสติ โดยที่พระสารีบุตรไม่ทราบมาก่อนว่า พระศาสดาได้ตรัสรูปกรรมฐานแก่พระราหุลแล้ว ย้ำว่าพระสารีบุตรไม่ทราบมาก่อน นะคะ และพระสารีบุตรไม่ได้สอนรูปกรรมฐานก่อนให้พระราหุลเจริญอานาปานสติด้วย
3.พระสารีบุตรไม่ได้แสดงโดยละเอียดว่าการเจริญอานาปานสตินั้นมีวิธีอย่างไร ในเวลาเย็นพระราหุลจึงไปทูลถามพระศาสดาอีกครั้งโดยละเอียด
เราลองมา อ่านอรรถกถามหาราหุโลวาทสูตร ส่วนที่เกี่ยวข้องกันสักหน่อย ให้ได้กำลังใจในการเจริญอานาปานสติกันค่ะ
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=133
พระเถระนั้นออกไปอย่างนี้แล้วในวันนั้นได้เห็นพระราหุลภัททะนั่ง ณ โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปจฺฉา คจฺฉนฺโต อทฺทส ท่านพระสารีบุตรไปภายหลังได้เห็นแล้ว.
เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านพระสารีบุตรจึงชักชวนในอานาปานสติเล่า.
เพราะสมควรแก่การนั่ง.
ได้ยินว่า พระเถระมิได้นึกถึงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรูปกรรมฐานแก่พระราหุลนั้นแล้ว คิดว่ากรรมฐานนี้สมควรแก่การนั่งนี้ของพระราหุลนั้น โดยอาการที่พระราหุลนี้นั่งติดอยู่กับอาสนะอันไม่ไหวติง จึงกล่าวอย่างนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อานาปานสตึ ท่านพระสารีบุตรแสดงว่า ท่านจงกำหนดลมหายใจเข้าลมหายใจออกแล้วยังฌาน หมวด ๔ หมวด ๕ ให้เกิดในอานาปานสตินั้น แล้วเจริญวิปัสสนา ถือเอาพระอรหัต.
บทว่า มหปฺผลา โหติ มีผลมาก.
มีผลมากอย่างไร.
ภิกษุในศาสนานี้ขวนขวายอานาปานสติ นั่งเหนืออาสนะหนึ่ง ยังอาสวะทั้งหมดให้สิ้นไปแล้วบรรลุพระอรหัต. เมื่อไม่สามารถอย่างนั้นก็เป็นสมสีสี (สิ้นชีวิตพร้อมทั้งสิ้นกิเลส) ในเวลาตาย. เมื่อไม่สามารถอย่างนั้นก็บังเกิดในเทวโลก ครั้นฟังธรรมของเทพบุตรผู้เป็นธรรมกถึกแล้วได้บรรลุพระอรหัต. พลาดไปจากนั้นเมื่อยังไม่เกิดพุทธุปบาทกาล ย่อมทำให้แจ้งปัจเจกโพธิ. เมื่อยังไม่ทำให้แจ้งปัจเจกโพธินั้น ย่อมเป็นขิปปาภิญญา (รู้ได้เร็ว) เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดุจพระพาหิยเถระเป็นต้นฉะนั้น ย่อมมีผลมากด้วยประการฉะนี้.
บทว่า มหานิสํสา เป็นไวพจน์ของบทว่า มหปฺผลา.
แม้ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า
อานาปานสฺสติ ยสฺส ปริปุณฺณา สุภาวิตา
อนุปุพฺพปริจีตา ยถา พุทฺเธน เทสิตา
โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา.
ผู้ใดเจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ สะสมไว้
โดยลำดับ เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าทรง
แสดงไว้ ผู้นั้นย่อมทำโลกให้สว่างไสว ดุจ
พระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น.
พระเถระ เมื่อเห็นความที่อานาปานสติมีผลมากนี้ จึงได้ชักชวนสัทธิวิหาริกในอานาปานสตินั้น. ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบอกรูปกรรมฐาน พระเถระบอกอานาปานสติ เพราะเหตุนั้น แม้ทั้งสองท่านบอกกรรมฐานแล้วก็ไป.
-----------------------
พระสารีบุตร ไมไ่ด้สอน รูปกรรมฐานก่อนที่จะบอกให้พระราหุลเจริญอานาปานาสติ
การที่พระสารีบุตรบอกให้พระราหุลเจริญอานาปานสติ เพราะ เหมาะกับพระราหุลที่อยู่ในอิริยาบถนั่ง อยู๋ตรงโคนไม้นั้น
และเพราะ อานาปานสตินี้ มีอานิสงส์มาก จึงต้องการให้พระราหุลได้รับอานิสงส์ที่มากเหล่านั้น
อานิสงส์มากอย่างไร ก็ทำให้ได้ทั้ง ฌานและ ได้ถึงอรหัตตผลเลยทีเดียว แม้ถ้าไม่ได้ถึงนั้น ก็ยังเป็น อุปนิสัยติดตัวไปในชาติต่อๆ ไปดังอรรถกถาได้แสดงแล้ว
เราก็น่าจะสรุปได้ว่า อานาปานสติ เจริญได้ทุกผู้ทุกนาม ไม่ว่าจะปัญญามากหรือน้อย ทั้งผู้ใหม่จนถึงพระอริย เพราะอานาปานสติมีอานิสงส์มากดังกล่าวแล้ว
อานาปานสติเป็นของยอดเยี่ยมที่พระอริยเจ้าท่านใช้เป็นวิหารธรรม พวกเราเมื่อฝึกฝนตั้งแต่เนิ่นๆ สักวันคงมีวันเป็นดังพระอริยเจ้านั้นเชียว
-------------------
อย่าเพิ่งตั้งกฏด้วยความเคร่งครัดแต่เพียงช่องทางเดียวเลยนะคะ จริตอัธยาศัยผู้คนมีหลากหลาย เดี๋ยวจะเป็นการตัดโอกาสผู้ศึกษาไปเสียอีก
คุณ 6668888 ควรอ่านสักหน่อยนะคะ ไม่งั้นก็เป็นการเข้าใจผิด แล้วคุณก็มาเขียนผิดๆ อีกๆ ถ้าไม่เคยรู้ก็ยังพอทำเนา แต่ไม่อ่านไม่รับทราบ แล้วมาเขียนผิดไปจากอรรถกถา เป็นการเผยแพร่ผิดๆ และเป็นกรรมไม่ดีต่อตัวคุณเองนะคะ
ก่อนที่จะสอนเรื่องลึกซึ้งอย่างเรื่องสติปัฏฐานให้แก่ท่านสามเณรราหุล พระพุทธเจ้าทรงสอนท่านสามเณรราหุลตั้งแต่ให้มีความเข้าใจที่มั่นคงก่อนว่า "เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา"
6668888
----------------------------------------------------------
ดิฉันได้แสดงอรรถกถาไว้ใน ที่นี่ https://ppantip.com/topic/41740342/comment63 ตามนี้
ในมหาราหุโลวาทสูตร นั้น มีลำดับตามนี้ คือ
1.พระศาสดาเห็นว่าพระราหุลทรงเกิดฉันทะราคะในรูป จึงทรงตรัสสอนให้ละความเห็นว่าเป็นเราในรูป
2.เมื่อพระราหุล กลับจากบิณฑบาตก็ได้นั่งพักที่โคนไม้ พระสารีบุตรจึงให้พระราหุลเจริญอานาปานสติ โดยที่พระสารีบุตรไม่ทราบมาก่อนว่า พระศาสดาได้ตรัสรูปกรรมฐานแก่พระราหุลแล้ว ย้ำว่าพระสารีบุตรไม่ทราบมาก่อน นะคะ และพระสารีบุตรไม่ได้สอนรูปกรรมฐานก่อนให้พระราหุลเจริญอานาปานสติด้วย
3.พระสารีบุตรไม่ได้แสดงโดยละเอียดว่าการเจริญอานาปานสตินั้นมีวิธีอย่างไร ในเวลาเย็นพระราหุลจึงไปทูลถามพระศาสดาอีกครั้งโดยละเอียด
เราลองมา อ่านอรรถกถามหาราหุโลวาทสูตร ส่วนที่เกี่ยวข้องกันสักหน่อย ให้ได้กำลังใจในการเจริญอานาปานสติกันค่ะ
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=133
พระเถระนั้นออกไปอย่างนี้แล้วในวันนั้นได้เห็นพระราหุลภัททะนั่ง ณ โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปจฺฉา คจฺฉนฺโต อทฺทส ท่านพระสารีบุตรไปภายหลังได้เห็นแล้ว.
เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านพระสารีบุตรจึงชักชวนในอานาปานสติเล่า.
เพราะสมควรแก่การนั่ง.
ได้ยินว่า พระเถระมิได้นึกถึงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรูปกรรมฐานแก่พระราหุลนั้นแล้ว คิดว่ากรรมฐานนี้สมควรแก่การนั่งนี้ของพระราหุลนั้น โดยอาการที่พระราหุลนี้นั่งติดอยู่กับอาสนะอันไม่ไหวติง จึงกล่าวอย่างนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อานาปานสตึ ท่านพระสารีบุตรแสดงว่า ท่านจงกำหนดลมหายใจเข้าลมหายใจออกแล้วยังฌาน หมวด ๔ หมวด ๕ ให้เกิดในอานาปานสตินั้น แล้วเจริญวิปัสสนา ถือเอาพระอรหัต.
บทว่า มหปฺผลา โหติ มีผลมาก.
มีผลมากอย่างไร.
ภิกษุในศาสนานี้ขวนขวายอานาปานสติ นั่งเหนืออาสนะหนึ่ง ยังอาสวะทั้งหมดให้สิ้นไปแล้วบรรลุพระอรหัต. เมื่อไม่สามารถอย่างนั้นก็เป็นสมสีสี (สิ้นชีวิตพร้อมทั้งสิ้นกิเลส) ในเวลาตาย. เมื่อไม่สามารถอย่างนั้นก็บังเกิดในเทวโลก ครั้นฟังธรรมของเทพบุตรผู้เป็นธรรมกถึกแล้วได้บรรลุพระอรหัต. พลาดไปจากนั้นเมื่อยังไม่เกิดพุทธุปบาทกาล ย่อมทำให้แจ้งปัจเจกโพธิ. เมื่อยังไม่ทำให้แจ้งปัจเจกโพธินั้น ย่อมเป็นขิปปาภิญญา (รู้ได้เร็ว) เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดุจพระพาหิยเถระเป็นต้นฉะนั้น ย่อมมีผลมากด้วยประการฉะนี้.
บทว่า มหานิสํสา เป็นไวพจน์ของบทว่า มหปฺผลา.
แม้ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า
อานาปานสฺสติ ยสฺส ปริปุณฺณา สุภาวิตา
อนุปุพฺพปริจีตา ยถา พุทฺเธน เทสิตา
โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา.
ผู้ใดเจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ สะสมไว้
โดยลำดับ เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าทรง
แสดงไว้ ผู้นั้นย่อมทำโลกให้สว่างไสว ดุจ
พระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น.
พระเถระ เมื่อเห็นความที่อานาปานสติมีผลมากนี้ จึงได้ชักชวนสัทธิวิหาริกในอานาปานสตินั้น. ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบอกรูปกรรมฐาน พระเถระบอกอานาปานสติ เพราะเหตุนั้น แม้ทั้งสองท่านบอกกรรมฐานแล้วก็ไป.
-----------------------
พระสารีบุตร ไมไ่ด้สอน รูปกรรมฐานก่อนที่จะบอกให้พระราหุลเจริญอานาปานาสติ
การที่พระสารีบุตรบอกให้พระราหุลเจริญอานาปานสติ เพราะ เหมาะกับพระราหุลที่อยู่ในอิริยาบถนั่ง อยู๋ตรงโคนไม้นั้น
และเพราะ อานาปานสตินี้ มีอานิสงส์มาก จึงต้องการให้พระราหุลได้รับอานิสงส์ที่มากเหล่านั้น
อานิสงส์มากอย่างไร ก็ทำให้ได้ทั้ง ฌานและ ได้ถึงอรหัตตผลเลยทีเดียว แม้ถ้าไม่ได้ถึงนั้น ก็ยังเป็น อุปนิสัยติดตัวไปในชาติต่อๆ ไปดังอรรถกถาได้แสดงแล้ว
เราก็น่าจะสรุปได้ว่า อานาปานสติ เจริญได้ทุกผู้ทุกนาม ไม่ว่าจะปัญญามากหรือน้อย ทั้งผู้ใหม่จนถึงพระอริย เพราะอานาปานสติมีอานิสงส์มากดังกล่าวแล้ว
อานาปานสติเป็นของยอดเยี่ยมที่พระอริยเจ้าท่านใช้เป็นวิหารธรรม พวกเราเมื่อฝึกฝนตั้งแต่เนิ่นๆ สักวันคงมีวันเป็นดังพระอริยเจ้านั้นเชียว
-------------------
อย่าเพิ่งตั้งกฏด้วยความเคร่งครัดแต่เพียงช่องทางเดียวเลยนะคะ จริตอัธยาศัยผู้คนมีหลากหลาย เดี๋ยวจะเป็นการตัดโอกาสผู้ศึกษาไปเสียอีก
คุณ 6668888 ควรอ่านสักหน่อยนะคะ ไม่งั้นก็เป็นการเข้าใจผิด แล้วคุณก็มาเขียนผิดๆ อีกๆ ถ้าไม่เคยรู้ก็ยังพอทำเนา แต่ไม่อ่านไม่รับทราบ แล้วมาเขียนผิดไปจากอรรถกถา เป็นการเผยแพร่ผิดๆ และเป็นกรรมไม่ดีต่อตัวคุณเองนะคะ
แสดงความคิดเห็น
บ้านธัมมะ สำนักปฏิบัติ มีหรือไม่มีในพระไตรปิฎก ?
มี ได้มี ผู้นำ สมาชิก ของมูลนิธิแห่งหนึ่ง ถาม พูดถากถาง บอกกับสังคมว่า
“สำนักปฏิบัติไม่มีในพระไตรปิฎก” และ “ในครั้งพุทธกาล ก็ไม่มีสำนักปฏิบัติ”
เรื่องนี้ พวกมูลนิธิบ้านธัมมะ เคยหันมามองตนเองบ้างไหมว่า
ในครั้งพุทธกาล ในพระไตรปิฎก มี ได้มี กลุ่มอุบาสก อุบาสิกา เปิดบ้าน ธัมมะ บ้างหรือไม่
ตรวจสอบจากโปรแกรมสืบค้นพระไตรปิฎก ก็ไม่มี บ้านธัมมะ และ ก็ไม่มี สำนักปฏิบัติ
ข้อสังเกตุ ในครั้งพุทธกาล มีคำว่าสำนัก แต่มีคำขึ้นต้นด้วยสำนัก..... เช่น สำนักภิกษุ สำนักพระผู้มีพระภาค ฯลฯ
ผู้ที่สำเร็จเป็นโสดาบัน เช่น นางวิสาขา ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านจิตตคฤหบดี ไม่ได้เปิดบ้าน หรือสำนักงาน เพื่อแสดงธรรมและมีรายได้จากผู้บริจาค แต่ทำไม เมืองไทย มีบ้านธัมมะ มีมูลนิธิที่เกี่ยวข้องกับเงินบริจาค
ปัจจุบัน มี อุบาสก อุบาสิกาจำนวนหนึ่ง รวมตัวกันเปิดสำนักงานเป็นมูลนิธิมีรายได้จากผู้บริจาค
รวมกลุ่มกัน พูด ปาว ๆ อ้างว่าสอนธรรม
สงสัยครับ ทำไมอีกฝ่าย ไม่ตำหนิอีกฝ่าย แต่อีกฝ่าย มักพูดถากถางตำหนิอีกฝ่าย
ความเห็นของผู้เขียน
สถานที่ ที่ตั้งขึ้นว่า สำนักปฏิบัติ.... เป็นชื่อสมมติ รวมถึงบ้านธัมมะ ก็เป็นชื่อสมมติ
ถ้าเข้าใจสมมติก็ไม่ควรจะต้องมาตำหนิติเตียนอะไร
โดยเฉพาะฝ่ายที่อ้างว่าสอนปรมัตถ์ เข้าใจปรมัตถ์ ยิ่งควรต้องมีความสงบปากสงบคำ ไม่ควรจำตำหนิติเตียนผู้อื่น
กระทู้นี้ เบา ๆ ไม่ต้องสืบค้นพระธรรมในพระไตรปิฎกมาถกเถียงกันมากนัก ผมนำมาตั้งกระทู้เพื่อความเป็นธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย
เชิญสมาชิกพันทิป แสดงความคิดเห็นภายใต้กรอบแห่งกฎหมาย ระมัดระวังไม่ให้ล่วงละเมิดและไม่หมิ่นประมาท นะครับ
ขอบคุณครับ
วินโย