คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 20
เกาะติดยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์
ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2565
ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
จำนวน 2,759 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 394 ราย/วัน
ผู้เสียชีวิต (รายสัปดาห์)
จำนวน 40 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 5 ราย/วัน
---------------------
หายป่วยสะสม 2,471,772 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
เสียชีวิตสะสม 11,297 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0Qh21JeVtynuj5VKAbbvRuqTh5vH1RqmTbqX1BNMbhzY3jUtizcY83GGvtzoQhiDol
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
เปิดลงทะเบียนฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19
Pfizerฝาแดง ในเด็กอายุ 6 เดือน - 4 ปี 11 เดือน 29 วัน
วันที่ 10 และ 24 พฤศจิกายน 2565
ลงทะเบียนที่ ห้องตรวจเด็ก อาคารอเนกประสงค์
หรือ ติดต่อเวลานัดได้ที่ ศูนย์ BFC ของโรงพยาบาล
โทร. 0 2429 3575 ถึง 81 กด 0
(ในวันและเวลาราชการ)
ที่มา โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0enEhPyYL8Vz1K4CkdW8Mwz6jsY5N5Kw2W4zJsDHVU8ULAhDBvgUfn248XArDYSg9l
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร สำนักการแพทย์
ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด เดือน พฤศจิกายน 2565
วัคซีนไฟเซอร์ (ฝาสีม่วง) เข็ม 1-2-3-4-5 อายุ 12 ปีขึ้นไป
เปิด Walk in วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00 – 13.30 น. (พักเที่ยง)
**อย่าลืม! นำบัตรประชาชนตัวจริงมาด้วยทุกครั้ง / ชาวต่างชาติใช้ Passport ตัวจริง พร้อมใบรับรองการฉีดจากที่อื่น**
ที่มา โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร สำนักการแพทย์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0smtv8ay2op87HnmC6whrqY8yC43Jf1WJD25ECCezfJyb74Y6au38CG8pTPNxWrSgl
กทม.เปิดคลินิกวัคซีนผู้ใหญ่ จุดเดียวเบ็ดเสร็จ
ให้บริการวัคซีนป้องกันโรค
● ไข้หวัดใหญ่
● คอตีบ
● บาดทะยัก
● หัด
● หัดเยอรมัน
● ฉีดวัคซีนโควิด 19
ดูรายละเอียดคลินิกวัคซีนผู้ใหญ่ของโรงพยาบาลในสังกัด กทม. หรือคลิกลิงก์ https://drive.google.com/drive/folders/1SjKNuWm75mmuVJBJKc_obvY6sK7OI-q_
ที่มา : กรุงเทพมหานคร
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid06AHFgxWh4CroRAUcCN3jPgenEoaA78MYRgJUJ7HGLy8RhrUubj9WN5ydWBNim1X2l
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อายุ 6 เดือน - 18 ปี ทุกวันศุกร์ (ที่ไม่ตรงกับวันหยุดนักขัตฤกษ์) ลงทะเบียนผ่าน QR Code : www.childrenhospital.go.th หรือ Facebook Fanpage : สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข *** ไม่รับ WALK IN ***
ที่มา : สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02VVPjjZ94HSRqHSPLeAK4CpZbRuKkx8J7m9K18MpnUHPRaeBmi3vFfMpgP36vSctrl
สถานการณ์โควิดต่างประเทศ
ออสเตรเลีย อาจเผชิญการระบาดของ COVID ระลอกใหม่
หลังมีแนวโน้มผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวนขึ้นต่อเนื่องในรัฐวิกตอเรียและเวสเทิร์นออสเตรเลีย
ออสเตรเลียอาจเผชิญการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ สนข. ABC News ของออสเตรเลีย รายงานโดยอ้างการให้สัมภาษณ์ของนาย Paul Kelly หัวหน้าที่ปรึกษาทางการแพทย์ของรัฐบาลออสเตรเลีย ว่า ออสเตรเลียพบจำนวนผู้ป่วย COVID-19 รายใหม่เพิ่มมากขึ้นในสัปดาห์ก่อน ประมาณ 40,000 คน โดยเฉพาะในรัฐวิกตอเรียและเวสเทิร์นออสเตรเลีย และมีแนวโน้มจะเพิ่มจำนวนขึ้นต่อเนื่องในสัปดาห์นี้
นาย Kelly ยังระบุว่า สายพันธุ์โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย XBB BQ 1.1 และ B2 กำลังเริ่มระบาดในออสเตรเลีย รวมทั้งมีแนวโน้มจะทำให้ติดเชื้อได้ง่ายและอาจติดเชื้อซ้ำ อย่างไรก็ตาม คาดว่า สถานการณ์แพร่ระบาดจะไม่รุนแรง ขณะเดียวกัน Australian Technical Advisory Group on Immunisation (ATAGI) เตรียมเสนอคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 เข็ม 5 ที่จำเพาะต่อสายพันธุ์โอมิครอน เพื่อรับมือกับการระบาดดังกล่าว
ที่มา : สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02EV6huSDTU28tKE7LzXaKD8JV8fdV1nsuCtgg8o7EkQHGS5kEZ9dELU5T68REpoXfl
“ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด” ป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์
1. ปิด - ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ จาม ต้องใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชูปิดปากและจมูกทุกครั้ง
2. ล้าง - ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่เมื่อสัมผัสสิ่งของ เช่น กลอนประตู ลูกบิด ราวบันได ราวบนรถโดยสาร ปุ่มกดลิฟต์
3. เลี่ยง - หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย
4. หยุด - เมื่อป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน หยุดกิจกรรมในสถานที่แออัด แม้ผู้ป่วยจะมีอาการไม่มากก็ควรหยุดพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ
ที่มา : สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02KQgbwQr79pBUxrRrtCMmmaSCYYGWjr3K56Mfq7AH2Gvpyu92vfef65GTjNUdeeryl
กระทรวงสาธารณสุข เผย ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB ใช้รักษาโควิด 19 กลุ่มอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง ลดความรุนแรงและเสียชีวิต 50-67% และสูงถึง 88% ถ้าได้เร็วรับภายใน 3 วัน
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าการใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (Long Acting Antibody : LAAB) ว่า ผลการศึกษาวิจัยการใช้ LAAB ขนาด 600 มิลลิกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก และมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต พบว่า การให้เพื่อการรักษาภายใน 5-7 วันหลังมีอาการ สามารถลดการเกิดโรครุนแรงหรือเสียชีวิตได้ 50-67% และสูงถึง 88% ถ้าได้เร็วรับภายใน 3 วันหลังเริ่มมีอาการ จึงเป็นข้อสนับสนุนในการนำภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปมาใช้เพื่อการรักษาอีกทางหนึ่ง
https://web.facebook.com/NBT2HDTV/posts/pfbid0Tnn8Gi58kuZ69Gp9sPhmCevpndTLA31jeXpsRp4KxGvimcwrPbGMfDGjDWdUkWLpl
สธ. เผยใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB รักษาโควิด กลุ่มอาการน้อยถึงปานกลางได้ผลดี ลดรุนแรง-เสียชีวิตเกินครึ่ง หากรับภายใน 3 วัน ลดความรุนแรงและเสียชีวิต 88%
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าการใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (Long Acting Antibody : LAAB) ว่า ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขนำ LAAB หรือชื่อการค้า Evusheld มาฉีดเพื่อป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อในกลุ่มผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำและร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ด้วยวัคซีนจำนวนกว่า 6,300 ราย พบว่ามีความปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงรุนแรง ส่วนการใช้เพื่อการรักษาเหมือนในต่างประเทศนั้น เมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้อนุมัติขยายข้อบ่งใช้เพื่อการรักษาโรคโควิด 19 สำหรับผู้ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง ในกลุ่มผู้ใหญ่และวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ที่มีน้ำหนักตัวอย่างน้อย 40 กิโลกรัม โดยใช้ขนาด 600 มิลลิกรัม และได้มีการประชุมของคณะผู้เชี่ยวชาญ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาปรับปรุงแนวทางการใช้ LAAB และกำหนดไว้ในแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคโควิด 19 ฉบับใหม่ต่อไป
ผลการศึกษาวิจัยการใช้ LAAB ขนาด 600 มิลลิกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก และมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต พบว่า การให้เพื่อการรักษาภายใน 5-7 วันหลังมีอาการ สามารถลดการเกิดโรครุนแรงหรือเสียชีวิตได้ 50-67% และสูงถึง 88% ถ้าได้เร็วรับภายใน 3 วันหลังเริ่มมีอาการ จึงเป็นข้อสนับสนุนในการนำภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปมาใช้เพื่อการรักษาอีกทางหนึ่ง
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid023K3hDGu2CXy3ADNeSEa4YoprmTHfaRejfwByqLWoTWPB3emrCVbkiY2Jnk2e5FeWl
นพ.ยงเตือนคนไทย เตรียมยกการ์ด‼️ตั้งรับโควิดระบาดรอบใหม่ คราวนี้คาดว่าสูงขึ้น พีคสุดหลังปีใหม่‼️
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก โพสต์เตือนสติคนไทยผ่านเฟซบุ๊ก อย่าลืมโรคโควิด-19 ที่เข้าสู่โรคประจำฤดูกาล และมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น
"ดังที่ได้เคยกล่าวไว้ โรคทางเดินหายใจประจำฤดูกาล จะพบมีการระบาดอย่างมากในฤดูฝน ในช่วงนักเรียนเปิดเทอมแรก และจะลดลงในช่วงปิดเทอม เดือนตุลาคม หลังจากนั้นเมื่อนักเรียนเปิดเทอม และเข้าสู่ฤดูหนาว จะพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน เป็นต้นไปและจะอยู่ในจุดสูงสุดในเดือนมกราคม แต่จะพบความชุกน้อยกว่าในช่วงฤดูฝน และจะค่อยๆสงบลง ในเดือนมีนาคมจนถึงเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงที่พบน้อยที่สุด และจะไปเริ่มต้นใหม่อีกครั้งหนึ่งของโรคทางเดินหายใจ ในเดือนมิถุนายน เป็นวงจรตามฤดูกาลของประเทศไทย
เช่นเดียวกันกับโรคโควิด 19 นับจากวันนี้เป็นต้นไป มีแนวโน้มจะพบเพิ่มสูงขึ้น และจะถึงจุดสูงสุดหลังปีใหม่ ตามฤดูกาล
ในประเทศซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ จะสูงสุดในช่วงฤดูหนาว ของซีกโลกนั้น ดังนั้น โรคนี้กำลังจะค่อยๆสูงขึ้นในยุโรปและอเมริกาอีกครั้งหนึ่ง เพราะกำลังจะเข้าสู่ฤดูหนาว แต่ประเทศไทยมีฤดูหนาวที่สั้นมาก และไม่ได้หนาวจริง มีแต่ร้อน ร้อนมาก ร้อนน้อย จึงพบโรคทางเดินหายใจได้เกือบตลอดปี แต่จะพบมากในฤดูฝน และเป็นช่วงที่เด็กเปิดเทอมแรกของปี
การเตรียมตัวตั้งรับ โรคโควิด 19 ระบาดรอบใหม่ จะต้องเตรียมตัวได้แล้วเราจะเห็นผู้ป่วยเพิ่มขึ้น รวมทั้งผู้ป่วยที่จะต้องเข้านอนโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามก็จะไม่มากเท่าในช่วงระบาดสูงสุดที่ผ่านมา
ปัญหามีอยู่ว่า สำหรับปีหน้า ที่จะมีการระบาดอย่างมากในเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป ในปีต่อไปเราจะเตรียมวัคซีนอย่างไร ต้องเตรียมจำนวนมากเท่าไหร่ หรือจัดเตรียมกระตุ้นแบบไข้หวัดใหญ่ คือให้เฉพาะกลุ่มเปราะบาง กลุ่มเสี่ยงที่เป็นแล้ว จะรุนแรง
องค์ความรู้งานวิจัยเท่านั้น ที่จะมาแก้ไขปัญหา ให้มีการใช้ทรัพยากร และงบประมาณอย่างเหมาะสม เพราะข้อมูลต่างๆของการเข้าสู่โรคประจำฤดูกาล เป็นข้อมูลใหม่ ที่จะต้องแสวงหาความรู้จากการวิจัยเท่านั้น"
https://web.facebook.com/NBT2HDTV/posts/pfbid0mkrxRoPj6kojWXbM5uCrganzjyTV6sAZkGyhtVRpAL3NUtT2oTLsGF5NAdKRQMcal
เกาะติดยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์
ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2565
ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
จำนวน 2,759 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 394 ราย/วัน
ผู้เสียชีวิต (รายสัปดาห์)
จำนวน 40 ราย : เฉลี่ยรายวัน จำนวน 5 ราย/วัน
---------------------
หายป่วยสะสม 2,471,772 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
เสียชีวิตสะสม 11,297 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0Qh21JeVtynuj5VKAbbvRuqTh5vH1RqmTbqX1BNMbhzY3jUtizcY83GGvtzoQhiDol
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
เปิดลงทะเบียนฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19
Pfizerฝาแดง ในเด็กอายุ 6 เดือน - 4 ปี 11 เดือน 29 วัน
วันที่ 10 และ 24 พฤศจิกายน 2565
ลงทะเบียนที่ ห้องตรวจเด็ก อาคารอเนกประสงค์
หรือ ติดต่อเวลานัดได้ที่ ศูนย์ BFC ของโรงพยาบาล
โทร. 0 2429 3575 ถึง 81 กด 0
(ในวันและเวลาราชการ)
ที่มา โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0enEhPyYL8Vz1K4CkdW8Mwz6jsY5N5Kw2W4zJsDHVU8ULAhDBvgUfn248XArDYSg9l
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร สำนักการแพทย์
ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด เดือน พฤศจิกายน 2565
วัคซีนไฟเซอร์ (ฝาสีม่วง) เข็ม 1-2-3-4-5 อายุ 12 ปีขึ้นไป
เปิด Walk in วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00 – 13.30 น. (พักเที่ยง)
**อย่าลืม! นำบัตรประชาชนตัวจริงมาด้วยทุกครั้ง / ชาวต่างชาติใช้ Passport ตัวจริง พร้อมใบรับรองการฉีดจากที่อื่น**
ที่มา โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร สำนักการแพทย์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0smtv8ay2op87HnmC6whrqY8yC43Jf1WJD25ECCezfJyb74Y6au38CG8pTPNxWrSgl
กทม.เปิดคลินิกวัคซีนผู้ใหญ่ จุดเดียวเบ็ดเสร็จ
ให้บริการวัคซีนป้องกันโรค
● ไข้หวัดใหญ่
● คอตีบ
● บาดทะยัก
● หัด
● หัดเยอรมัน
● ฉีดวัคซีนโควิด 19
ดูรายละเอียดคลินิกวัคซีนผู้ใหญ่ของโรงพยาบาลในสังกัด กทม. หรือคลิกลิงก์ https://drive.google.com/drive/folders/1SjKNuWm75mmuVJBJKc_obvY6sK7OI-q_
ที่มา : กรุงเทพมหานคร
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid06AHFgxWh4CroRAUcCN3jPgenEoaA78MYRgJUJ7HGLy8RhrUubj9WN5ydWBNim1X2l
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อายุ 6 เดือน - 18 ปี ทุกวันศุกร์ (ที่ไม่ตรงกับวันหยุดนักขัตฤกษ์) ลงทะเบียนผ่าน QR Code : www.childrenhospital.go.th หรือ Facebook Fanpage : สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข *** ไม่รับ WALK IN ***
ที่มา : สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02VVPjjZ94HSRqHSPLeAK4CpZbRuKkx8J7m9K18MpnUHPRaeBmi3vFfMpgP36vSctrl
สถานการณ์โควิดต่างประเทศ
ออสเตรเลีย อาจเผชิญการระบาดของ COVID ระลอกใหม่
หลังมีแนวโน้มผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวนขึ้นต่อเนื่องในรัฐวิกตอเรียและเวสเทิร์นออสเตรเลีย
ออสเตรเลียอาจเผชิญการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ สนข. ABC News ของออสเตรเลีย รายงานโดยอ้างการให้สัมภาษณ์ของนาย Paul Kelly หัวหน้าที่ปรึกษาทางการแพทย์ของรัฐบาลออสเตรเลีย ว่า ออสเตรเลียพบจำนวนผู้ป่วย COVID-19 รายใหม่เพิ่มมากขึ้นในสัปดาห์ก่อน ประมาณ 40,000 คน โดยเฉพาะในรัฐวิกตอเรียและเวสเทิร์นออสเตรเลีย และมีแนวโน้มจะเพิ่มจำนวนขึ้นต่อเนื่องในสัปดาห์นี้
นาย Kelly ยังระบุว่า สายพันธุ์โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย XBB BQ 1.1 และ B2 กำลังเริ่มระบาดในออสเตรเลีย รวมทั้งมีแนวโน้มจะทำให้ติดเชื้อได้ง่ายและอาจติดเชื้อซ้ำ อย่างไรก็ตาม คาดว่า สถานการณ์แพร่ระบาดจะไม่รุนแรง ขณะเดียวกัน Australian Technical Advisory Group on Immunisation (ATAGI) เตรียมเสนอคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 เข็ม 5 ที่จำเพาะต่อสายพันธุ์โอมิครอน เพื่อรับมือกับการระบาดดังกล่าว
ที่มา : สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02EV6huSDTU28tKE7LzXaKD8JV8fdV1nsuCtgg8o7EkQHGS5kEZ9dELU5T68REpoXfl
“ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด” ป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์
1. ปิด - ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ จาม ต้องใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชูปิดปากและจมูกทุกครั้ง
2. ล้าง - ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่เมื่อสัมผัสสิ่งของ เช่น กลอนประตู ลูกบิด ราวบันได ราวบนรถโดยสาร ปุ่มกดลิฟต์
3. เลี่ยง - หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย
4. หยุด - เมื่อป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน หยุดกิจกรรมในสถานที่แออัด แม้ผู้ป่วยจะมีอาการไม่มากก็ควรหยุดพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ
ที่มา : สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02KQgbwQr79pBUxrRrtCMmmaSCYYGWjr3K56Mfq7AH2Gvpyu92vfef65GTjNUdeeryl
กระทรวงสาธารณสุข เผย ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB ใช้รักษาโควิด 19 กลุ่มอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง ลดความรุนแรงและเสียชีวิต 50-67% และสูงถึง 88% ถ้าได้เร็วรับภายใน 3 วัน
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าการใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (Long Acting Antibody : LAAB) ว่า ผลการศึกษาวิจัยการใช้ LAAB ขนาด 600 มิลลิกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก และมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต พบว่า การให้เพื่อการรักษาภายใน 5-7 วันหลังมีอาการ สามารถลดการเกิดโรครุนแรงหรือเสียชีวิตได้ 50-67% และสูงถึง 88% ถ้าได้เร็วรับภายใน 3 วันหลังเริ่มมีอาการ จึงเป็นข้อสนับสนุนในการนำภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปมาใช้เพื่อการรักษาอีกทางหนึ่ง
https://web.facebook.com/NBT2HDTV/posts/pfbid0Tnn8Gi58kuZ69Gp9sPhmCevpndTLA31jeXpsRp4KxGvimcwrPbGMfDGjDWdUkWLpl
สธ. เผยใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB รักษาโควิด กลุ่มอาการน้อยถึงปานกลางได้ผลดี ลดรุนแรง-เสียชีวิตเกินครึ่ง หากรับภายใน 3 วัน ลดความรุนแรงและเสียชีวิต 88%
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าการใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (Long Acting Antibody : LAAB) ว่า ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขนำ LAAB หรือชื่อการค้า Evusheld มาฉีดเพื่อป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อในกลุ่มผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำและร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ด้วยวัคซีนจำนวนกว่า 6,300 ราย พบว่ามีความปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงรุนแรง ส่วนการใช้เพื่อการรักษาเหมือนในต่างประเทศนั้น เมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้อนุมัติขยายข้อบ่งใช้เพื่อการรักษาโรคโควิด 19 สำหรับผู้ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง ในกลุ่มผู้ใหญ่และวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ที่มีน้ำหนักตัวอย่างน้อย 40 กิโลกรัม โดยใช้ขนาด 600 มิลลิกรัม และได้มีการประชุมของคณะผู้เชี่ยวชาญ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาปรับปรุงแนวทางการใช้ LAAB และกำหนดไว้ในแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคโควิด 19 ฉบับใหม่ต่อไป
ผลการศึกษาวิจัยการใช้ LAAB ขนาด 600 มิลลิกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก และมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต พบว่า การให้เพื่อการรักษาภายใน 5-7 วันหลังมีอาการ สามารถลดการเกิดโรครุนแรงหรือเสียชีวิตได้ 50-67% และสูงถึง 88% ถ้าได้เร็วรับภายใน 3 วันหลังเริ่มมีอาการ จึงเป็นข้อสนับสนุนในการนำภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปมาใช้เพื่อการรักษาอีกทางหนึ่ง
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid023K3hDGu2CXy3ADNeSEa4YoprmTHfaRejfwByqLWoTWPB3emrCVbkiY2Jnk2e5FeWl
นพ.ยงเตือนคนไทย เตรียมยกการ์ด‼️ตั้งรับโควิดระบาดรอบใหม่ คราวนี้คาดว่าสูงขึ้น พีคสุดหลังปีใหม่‼️
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก โพสต์เตือนสติคนไทยผ่านเฟซบุ๊ก อย่าลืมโรคโควิด-19 ที่เข้าสู่โรคประจำฤดูกาล และมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น
"ดังที่ได้เคยกล่าวไว้ โรคทางเดินหายใจประจำฤดูกาล จะพบมีการระบาดอย่างมากในฤดูฝน ในช่วงนักเรียนเปิดเทอมแรก และจะลดลงในช่วงปิดเทอม เดือนตุลาคม หลังจากนั้นเมื่อนักเรียนเปิดเทอม และเข้าสู่ฤดูหนาว จะพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน เป็นต้นไปและจะอยู่ในจุดสูงสุดในเดือนมกราคม แต่จะพบความชุกน้อยกว่าในช่วงฤดูฝน และจะค่อยๆสงบลง ในเดือนมีนาคมจนถึงเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงที่พบน้อยที่สุด และจะไปเริ่มต้นใหม่อีกครั้งหนึ่งของโรคทางเดินหายใจ ในเดือนมิถุนายน เป็นวงจรตามฤดูกาลของประเทศไทย
เช่นเดียวกันกับโรคโควิด 19 นับจากวันนี้เป็นต้นไป มีแนวโน้มจะพบเพิ่มสูงขึ้น และจะถึงจุดสูงสุดหลังปีใหม่ ตามฤดูกาล
ในประเทศซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ จะสูงสุดในช่วงฤดูหนาว ของซีกโลกนั้น ดังนั้น โรคนี้กำลังจะค่อยๆสูงขึ้นในยุโรปและอเมริกาอีกครั้งหนึ่ง เพราะกำลังจะเข้าสู่ฤดูหนาว แต่ประเทศไทยมีฤดูหนาวที่สั้นมาก และไม่ได้หนาวจริง มีแต่ร้อน ร้อนมาก ร้อนน้อย จึงพบโรคทางเดินหายใจได้เกือบตลอดปี แต่จะพบมากในฤดูฝน และเป็นช่วงที่เด็กเปิดเทอมแรกของปี
การเตรียมตัวตั้งรับ โรคโควิด 19 ระบาดรอบใหม่ จะต้องเตรียมตัวได้แล้วเราจะเห็นผู้ป่วยเพิ่มขึ้น รวมทั้งผู้ป่วยที่จะต้องเข้านอนโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามก็จะไม่มากเท่าในช่วงระบาดสูงสุดที่ผ่านมา
ปัญหามีอยู่ว่า สำหรับปีหน้า ที่จะมีการระบาดอย่างมากในเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป ในปีต่อไปเราจะเตรียมวัคซีนอย่างไร ต้องเตรียมจำนวนมากเท่าไหร่ หรือจัดเตรียมกระตุ้นแบบไข้หวัดใหญ่ คือให้เฉพาะกลุ่มเปราะบาง กลุ่มเสี่ยงที่เป็นแล้ว จะรุนแรง
องค์ความรู้งานวิจัยเท่านั้น ที่จะมาแก้ไขปัญหา ให้มีการใช้ทรัพยากร และงบประมาณอย่างเหมาะสม เพราะข้อมูลต่างๆของการเข้าสู่โรคประจำฤดูกาล เป็นข้อมูลใหม่ ที่จะต้องแสวงหาความรู้จากการวิจัยเท่านั้น"
https://web.facebook.com/NBT2HDTV/posts/pfbid0mkrxRoPj6kojWXbM5uCrganzjyTV6sAZkGyhtVRpAL3NUtT2oTLsGF5NAdKRQMcal
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭🧡มาลาริน🧡🇹🇭ไทยมีอัตรา 'การเสียชีวิตส่วนเกิน' จากโควิดไม่มาก ผลจากฉีดวัคซีนเกิน80%/หมอ ยง คาดคนไทย70%ติดโควิดแล้ว
10 พ.ย.2565- นพ. ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ดัชนีตัวหนึ่งที่ใช้วัดการเพิ่มหรือลดลงของการเสียชีวิตในแต่ละประเทศในภาพรวมเปรียบเทียบกับจำนวนที่คาดการณ์ คือ “อัตราการเสียชีวิตส่วนเกิน” หรือที่เรียกว่า เอ็กซ์เซสเดธ (excess death) ซึ่งประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยใช้ประเมินผลกระทบของโควิด 19 ที่มีต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งมีหลายเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบบริการสุขภาพในระยะวิกฤตโควิด 19 การจำกัดการเดินทาง และความล่าช้าในการเข้ารับการรักษาเมื่อเจ็บป่วย แต่ไม่พบหลักฐานที่แสดงว่าเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนโควิด 19
ในปี พ.ศ. 2563 มีตัวเลขผู้เสียชีวิตในประเทศไทยที่เกิดจากทุกสาเหตุรวมกันต่ำกว่าที่คาด เนื่องจากขณะที่เริ่มมีการระบาดของโควิด 19 ประเทศไทยใช้มาตรการปิดเมือง (Lockdown) ในหลายพื้นที่และมีการใช้มาตรการสาธารณสุขอื่นๆ ควบคู่ เช่น สวมหน้ากาก ล้างมือ งดกิจกรรมเสี่ยง ทำงานจากบ้าน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดอย่างได้ผลดี ส่งผลทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตลดน้อยลง แต่ปีพ.ศ.2564 พบว่าตัวเลขการตายส่วนเกินในประเทศไทยเพิ่มขึ้นไม่มากเปรียบเทียบกับตัวเลขคาดการณ์แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุขของประเทศที่รองรับภาวะวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทางด้านนพ. โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 สะสมกว่า 143 ล้านโดส เท่ากับประชาชนกว่า 57 ล้านราย ซึ่งข้อเท็จจริงคือประเทศไทยได้เริ่มมีการบริการฉีดวัคซีนลอตใหญ่ในครึ่งปีหลังของ พ.ศ. 2564 โดยวัคซีนไฟเซอร์เริ่มฉีดอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 4 ตุลาคม 2564 และในไตรมาสที่ 4 ได้มีการเร่งฉีดวัคซีนทุกชนิดจนครบ 100 ล้านโดส ในปลายเดือนธันวาคม 2564 ทั้งนี้ ประเทศไทยมีการศึกษาอัตราการตายส่วนเกินในช่วงปี 2563-2564 พบว่า ปีพ.ศ. 2563 ภาพรวมจำนวนเสียชีวิตต่ำกว่าจำนวนที่คาดการณ์ ส่วนปีพ.ศ. 2564 มีการตายส่วนเกินเพิ่มขึ้น แต่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2564 เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นระยะที่ประเทศไทยประสบกับการระบาดรุนแรงจากไวรัสสายพันธุ์เดลตา
ดังนั้น การอ้างว่า การที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตที่สูงขึ้นในปีที่ผ่านมามีความเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนโควิด จึงไม่สมเหตุผล และไม่สอดคล้องกับช่วงระยะเวลาที่มีการฉีดวัคซีนจำนวนมาก อีกทั้งการศึกษาในประเทศอื่นยังไม่พบหลักฐานความสัมพันธ์กับวัคซีนโควิด ซึ่งหากย้อนทบทวนเหตุการณ์ช่วงกลางปี 2564 ที่มีการระบาดใหญ่ของโควิด 19 ทำให้ต้องระดมทรัพยากรทางการแพทย์และสาธารณสุขไปใช้ในการป้องกันควบคุมและรักษาโรคโควิด 19 อย่างเต็มที่ ทั้งกำลังคน เตียง การบริการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ โรงพยาบาลหลายแห่งได้ปิดหน่วยรักษาโรคอื่นๆ รวมทั้งปิดห้องผ่าตัดหากมีแพทย์และพยาบาลติดเชื้อ ดังนั้น จึงเกิดผลกระทบต่อการให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ผู้ป่วยรอผ่าตัดหรือรอเตียงนานขึ้น อาจทำให้อาการแย่ลงได้ อีกทั้งมีผู้ป่วยโรคอื่นๆ ที่ไม่กล้าไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเพราะกลัวติดโควิด รอจนอาการหนัก เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคปอด โรคไต ล้วนเป็นเหตุที่ทำให้มีอัตราการเสียชีวิตส่วนเกิน ซึ่งเป็นสภาพเช่นเดียวกันที่เกิดขึ้นกับอีกหลายๆ ประเทศทั่วโลก ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีนแต่อย่างใด
นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า ในทางตรงกันข้าม ข้อมูลคาดประมาณผลสัมฤทธิ์จากการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของประเทศไทย ศึกษาโดยรศ.ดร.ชรินทร์ โหมดชัง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ พบว่าการฉีดวัคซีนโควิด 19 ช่วยป้องกันการเสียชีวิตในประเทศไทยจำนวนกว่า 4.9 แสนราย โดยปีพ.ศ. 2564 ป้องกันได้ประมาณ 382,600 ราย และในปีพ.ศ. 2565 ป้องกันได้ประมาณ 107,400 ราย การที่ประเทศไทยสามารถปกป้องไม่ให้มีผู้เสียชีวิตจากโควิดได้จำนวนมาก เนื่องจากมีนโยบายการฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพตรงเป้าหมาย กำหนดให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับวัคซีนก่อน เร่งรัดฉีดวัคซีนในพื้นที่ระบาดรุนแรง ซึ่งหากไม่มีมาตรการฉีดวัคซีนโควิด 19 คาดได้ว่าจะมีผู้ติดเชื้อโควิดเสียชีวิตอีกเป็นจำนวนมาก ดังจะเห็นได้ว่าระยะนี้ ผู้เสียชีวิตจากโควิด 19 ส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับหรือได้รับวัคซีนไม่ครบชุด และแม้อาการของโรคโควิดในเด็กมักไม่รุนแรง แต่ยังมีเด็กเล็กเสียชีวิตจากโควิดเป็นระยะและประวัติไม่ได้รับวัคซีนโควิด จึงขอให้ประชาชนเชื่อมั่นได้ว่าการศึกษาและหลักฐานต่างๆ บ่งชี้ไปทางเดียวกันว่าวัคซีนมีประโยชน์ และไม่ควรปล่อยให้เด็กๆเกิดการติดเชื้อตามธรรมชาติ ซึ่งอาจทำให้ป่วยหนักและเสียชีวิตได้
นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า ในทางตรงกันข้าม ข้อมูลคาดประมาณผลสัมฤทธิ์จากการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของประเทศไทย ศึกษาโดยรศ.ดร.ชรินทร์ โหมดชัง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ พบว่าการฉีดวัคซีนโควิด 19 ช่วยป้องกันการเสียชีวิตในประเทศไทยจำนวนกว่า 4.9 แสนราย โดยปีพ.ศ. 2564 ป้องกันได้ประมาณ 382,600 ราย และในปีพ.ศ. 2565 ป้องกันได้ประมาณ 107,400 ราย การที่ประเทศไทยสามารถปกป้องไม่ให้มีผู้เสียชีวิตจากโควิดได้จำนวนมาก เนื่องจากมีนโยบายการฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพตรงเป้าหมาย กำหนดให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับวัคซีนก่อน เร่งรัดฉีดวัคซีนในพื้นที่ระบาดรุนแรง ซึ่งหากไม่มีมาตรการฉีดวัคซีนโควิด 19 คาดได้ว่าจะมีผู้ติดเชื้อโควิดเสียชีวิตอีกเป็นจำนวนมาก ดังจะเห็นได้ว่าระยะนี้ ผู้เสียชีวิตจากโควิด 19 ส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับหรือได้รับวัคซีนไม่ครบชุด และแม้อาการของโรคโควิดในเด็กมักไม่รุนแรง แต่ยังมีเด็กเล็กเสียชีวิตจากโควิดเป็นระยะและประวัติไม่ได้รับวัคซีนโควิด จึงขอให้ประชาชนเชื่อมั่นได้ว่าการศึกษาและหลักฐานต่างๆ บ่งชี้ไปทางเดียวกันว่าวัคซีนมีประโยชน์ และไม่ควรปล่อยให้เด็กๆเกิดการติดเชื้อตามธรรมชาติ ซึ่งอาจทำให้ป่วยหนักและเสียชีวิตได้
https://www.thaipost.net/education-news/260387/
'ง' คาดคนไทย 70%ติดโควิดแล้ว! ชี้ต้องวางแผนปีหน้าจะเอาอย่างไรเรื่องวัคซีน
ง' คาดประชากรไทยติดโควิดไปแล้ว 70% เมื่อรวมกับที่ฉีดวัคซีนไปแล้วทำให้คนส่วนใหญ่มีภูมิต้านทาน ปีหน้าจึงต้องศึกษาว่าจะกระตุ้นอย่างไรจะใช้เงินหมื่นหรือพันล้านบาท
10 พ.ย.2565 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “โรคโควิด 19 ธรรมชาติคอยฉีดวัคซีนให้ จะฉีดวัคซีน หรือ ให้ธรรมชาติฉีดวัคซีนให้ การศึกษาวิจัยมีความจำเป็นอย่างยิ่ง” ระบุว่า ทุกวันนี้ธรรมชาติฉีดวัคซีนให้ อาจจะมากกว่าจำนวนวัคซีนที่ฉีดต่อวัน เราจะเห็นได้จากตัวเลขที่ฉีดวัคซีนขณะนี้จะอยู่ที่ ประมาณ 4-5 พันเข็ม ต่อวัน แต่ธรรมชาติ (การติดเชื้อ) ก็เปรียบเสมือนการฉีดวัคซีน กระตุ้นภูมิต้านทานให้สูงขึ้น
ใครไม่ฉีดวัคซีน ธรรมชาติก็จะช่วยฉีดให้ ให้พิจารณาเอาเอง ระหว่างอาการข้างเคียง ของวัคซีน กับให้วัคซีนโดยธรรมชาติ คือการติดเชื้อ ชนิดไหนจะมีอาการข้างเคียงมากกว่า
คนที่ไม่เคยฉีดวัคซีนเลย แล้วติดเชื้อ อาการจะรุนแรงกว่าคนที่เคยฉีดวัคซีน แล้วติดเชื้อ วัคซีนย่อมมีประโยชน์กว่าแน่นอน
การฉีดวัคซีน 2 เข็ม ถือว่ายังฉีดวัคซีนไม่ครบ จะต้องได้ 3 เข็ม ไม่ว่าเป็นวัคซีนชนิดใดก็ได้
คนที่ฉีดวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็ม ถึงแม้ว่าจะมีการติดเชื้อ ก็ถือว่าธรรมชาติกระตุ้นให้ เป็นเข็มกระตุ้นเพิ่มเติม ฉีดวัคซีนร่วมกับการติดเชื้อ ภูมิต้านทานที่ได้จะเป็นภูมิต้านทานแบบลูกผสม ที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างดีมาก
ในอนาคตต่อไปนี้ จากการประเมินขณะนี้มีการติดเชื้อไปแล้วมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์แน่นอน คาดว่าน่าจะอยู่ที่ 70% ของประชากร ดังนั้นถ้ารวมจำนวนวัคซีนที่ฉีด กับ ธรรมชาติที่ช่วยฉีดวัคซีนให้ ประชากรไทยน่าจะได้วัคซีนไปแล้ว เป็นส่วนใหญ่ อาการของโรคโดยรวมจึงเห็นภาพว่ามีอาการน้อยลง
ภาพรวม โควิด 19 เข้าสู่โรคประจำฤดูกาล และจะมีการติดเชื้อตามฤดูกาลนับจากนี้เป็นต้นไป เพราะกิจกรรมต่างๆจะเข้าสู่ภาวะปกติเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะมีการฉีดวัคซีนโดยธรรมชาติ ไปเรื่อยๆ กลุ่มที่สำคัญที่สุดที่วัคซีนธรรมชาติหรือการติดเชื้อ จะมีอาการข้างเคียง หรือรุนแรงมากที่สุด คงเป็นกลุ่มเปราะบาง 608
วัคซีนในอนาคตหรือปีหน้า เราจำเป็นจะต้องมีการศึกษาวิจัย ว่าขณะนี้ประชากรไทยอยู่ในสถานะของภูมิต้านทานเป็นอย่างไรในภาพรวม เพื่อวางแผนการให้วัคซีนในปีหน้า ในการกระตุ้น อาจจะเป็นไปได้ที่จะมุ่งเน้นเฉพาะ 608 และในเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปีเหมือนอย่างไข้หวัดใหญ่
การศึกษาวิจัยในระบบภูมิต้านทานของประชากรไทย จึงมีความจำเป็นที่จะใช้เป็นข้อมูลวางแผนการกระตุ้น วัคซีนในปีหน้า ว่าเราจะลงทุนให้กับทุกคน ซึ่งใช้เงินจำนวนมากมาย หลายหมื่นล้านบาท หรือจะให้เฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เป็นจำนวนเงินหลักพันล้านบาท
https://www.thaipost.net/covid-19-news/260197/
ติดตามข่าวโควิดกีนต่อนะคะ.....