ความจริงผมตั้งใจจะตั้งกระทู้มาตั้งแต่ 2-3 เดือนที่แล้ว แต่ไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่ ช่วงนี้พอได้อยู่ก็เลยมาตั้งกระทู้ ยังไงก็ลองอ่านดูก่อนเผื่อจะช่วยได้
ก่อนเริ่มหัดขับรถ คุณต้องมีรถ และหาสถานที่ แนะนำว่าควรเป็นรถสภาพใหม่ กลาง เก่าก็ได้ขอแค่ยังเข้าเกียร์ได้ดีอยู่ ไม่แนะนำให้ใช้รถเก่าบุโรทั่งมาหัดขับเพราะอาจเกิดอันตรายได้ด้วยสภาพรถที่ไม่สมบูรณ์ ส่วนสถานที่แนะนำว่าควรเป็นทางเรียบเสมอกัน ไม่มีเนินสูง ไม่มีหลุมเยอะเกินไป
การหัดขับรถ คุณต้องจัดลำดับความสำคัญด้วยเพราะรถสมัยนี้มีระบบเยอะแยะมากมายหลายอย่างใส่เข้ามา คุณอย่าพึ่งไปสนใจมันมาก เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณต้องทำให้รถวิ่งได้ เข้าเกียร์เป็น จอดรถเป็น รถไม่ดับ ส่วนเรื่องระบบต่างๆภายในรถเอาไว้ค่อยไปศึกษาทีหลัง
1.รู้จักเกียร์เสียก่อน - แต่ก่อนเข้าเกียร์คุณต้องรู้จักแป้นเหยียบ 3 แป้น ที่ฝั่งคนขับ โดยแป้นซ้ายสุดคือคลัชเอาไว้เหยียบเวลาจะเปลี่ยนเกียร์ แป้นกลางคือเบรค แป้นขวาสุดคือคันเร่ง ส่วนเกียร์ก็จะมีตั้งแต่เกียร์ 1 2 3 4 5 R รวม 6 เกียร์ หรือรถบางคันก็อาจมี 7 เกียร์ สิ่งที่คุณต้องหาคือเกียร์ว่าง ซึ่งเกียร์ว่างมักจะอยู่ในตำแหน่งตรงกลางระหว่างเกียร์ 3 กับ 4 หรือในรถบางคันเกียร์ว่างอาจอยู่ระหว่างเกียร์ 1 กับ 2 สามารถสัมผัสได้ด้วยการใช้มือโยกนิดๆที่หัวเกียร์ถ้ามันหลวมหน่อยๆ แสดงว่านั่นแหละคือตำแหน่งเกียร์ว่าง เพราะตอนจะสตาร์ทรถคุณจะต้องโยกเกียร์มาอยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่างเสียก่อน ไม่งั้นรถจะพุ่งแล้วอาจเกิดอุบัติเหตุได้
2.เริ่มสตาร์ทรถ - ถ้าคุณเข้าเกียร์ว่างได้ สตาร์ทรถติดโดยที่รถไม่พุ่ง ถือว่าคุณเริ่มมาถูกทางแล้วละ จริงๆแล้วในแต่ละขั้นตอนของการขับรถมันมีเทคนิคอื่นๆด้วย แต่ผมจะไม่สอนให้มือใหม่ เพราะมันจะทำให้คุณรู้สึกว่ายากเกินไป ผมจึงจะบอกเฉพาะขั้นตอนมาตรฐานที่เหมาะสมเท่านั้น
3.เริ่มเลี้ยงคลัช - หลังจากที่คุณสตาร์ทรถได้แล้วให้คุณเหยียบคลัชแล้วโยกเกียร์ไปที่เกียร์ 1 แล้วค่อยๆปล่อยคลัชให้รถออกตัว(ยังไม่ต้องเหยียบคันเร่งนะครับ) ปล่อยคลัชไปเรื่อยๆจนรถเกิดอาการสั่นเหมือนจะดับให้คุณรีบเหยียบคลัชลงไปใหม่ แล้วค่อยๆปล่อยคลัชเหมือนเดิม แล้วคอยโยกพวงมาลัยบังคับทิศทางไปในตัวด้วย ผมให้คุณเลี้ยงคลัชไปก่อน เพื่อให้คุณรู้จักรถของตัวเองเพราะรถแต่ละคันมีช่วงคลัชที่สั้น-ยาว ไม่เท่ากัน และเพื่อเป็นการฝึกจับจังหวะในการเหยียบคันเร่งเพื่อเข้าเกียร์ 2 ต่อไป
4.เริ่มเหยียบคันเร่ง - เมื่อคุณเลี้ยงคลัชได้คล่องแล้ว คุณต้องเริ่มเหยียบคันเร่ง ถามว่าแล้วจะเหยียบคันเร่งตอนไหนละ ก็ตอนที่คุณปล่อยคลัชนั่นแหละ จำไว้เสมอว่าถ้าคุณจะเหยียบคันเร่งคุณต้องปล่อยคลัช แต่คุณต้องกะจังหวะระหว่างปล่อยคลัชและเหยียบคันเร่งให้ดีๆ เพื่อให้รถออกตัวได้นุ่มนวล โดยไม่ปล่อยคลัชเร็วเกินไป และไม่เหยียบคันเร่งมากเกินไป(เวลาที่ปล่อยคลัชจนรถเริ่มออกตัวคุณก็เริ่มเหยียบคันเร่งได้แล้วละ จากนั้นก็ปล่อยคลัชให้หมด) เพราะเกียร์ 1 คือเกียร์ที่มีแรงบิดสูงที่สุด มันจึงเป็นเกียร์ที่ใช้งานได้ยากที่สุด ดังนั้นคุณต้องฝึกและทำให้เนียนที่สุด
5.เริ่มเปลี่ยนเกียร์ เพื่อเข้าเกียร์ 2 - หลังจากที่คุณเหยียบคันเร่งตอนเข้าเกียร์ 1 ได้แล้ว ให้คุณเร่งเครื่องต่อไปจนเสียงรถดังตื้อๆ นั่นคือสัญญาณบอกว่าคุณต้องเปลี่ยนเกียร์เพื่อใช้ความเร็วในระดับที่สูงขึ้น โดยเวลาที่เปลี่ยนเกียร์ให้คุณเหยียบคลัช และปล่อยคันเร่ง จากนั้นก็โยกคันเกียร์ไปที่ตำแหน่งเกียร์ 2 แล้วก็ปล่อยคลัช และเหยียบคันเร่งเหมือนเดิม ขั้นตอนเหล่านี้จะง่ายขึ้น และเมื่อคุณขับรถเป็นในระดับหนึ่งแล้ว คุณสามารถฝึกการเปลี่ยนเกียร์ให้รวดเร็วขึ้นได้
6.เกียร์ R หรือเกียร์ถอยหลัง - ให้คุณเริ่มฝึกเลี้ยงคลัชเหมือนข้อ 3 อย่าใจร้อนรีบเหยียบคันเร่งถึงแม้ว่าคุณจะเริ่มเป็น เริ่มคล่องแล้วก็ตาม เพราะรถบางคันเกียร์ R ก็พุ่งค่อนข้างแรงกว่าที่คิด ดังนั้นคุณจึงต้องจับความแรงของเกียร์ R ของรถคุณให้ได้ด้วย แล้วเวลาจะฝึกเกียร์ R ต้องดูให้ดีๆว่ามีอะไรมาอยู่หลังรถหรือไม่ เพราะคุณอาจขับรถทับเด็ก สุนัข แมว จนถึงแก่ชีวิตได้ ถ้ารถคุณมีกล้องมองหลังก็ดีไป แต่ถ้าไม่มีคุณควรเดินลงมาดูด้านหลังรถเสียก่อน
7.การเบรคเพื่อจอดรถ - แน่นอนว่าคุณก็ต้องเหยียบไปที่แป้นเบรค ไม่งั้นรถจะหยุดได้ยังไง แต่การเหยียบแป้นเบรคที่ถูกต้องคุณต้องใช้เท้าขวาละจากคันเร่งมาเหยียบเบรค การเบรคจึงจะมีประสิทธิภาพ แต่ระหว่างที่เบรค หรือกำลังหยุดรถ อย่าลืมว่ารถของคุณจะมีความเร็วลดลง ถ้าใช้เกียร์ไม่สัมพันธ์กับความเร็วของรถ รถจะสั่นหรืออาจเครื่องดับ ดังนั้น ระหว่างที่คุณเหยียบเบรคเพื่อที่จะจอดรถคุณควรเหยียบคลัชแล้วโยกเกียร์มาที่ตำแหน่งเกียร์ว่างด้วย
7.1 ระดับความเร็วกับเกียร์ที่ใช้ ผมบอกในเบื้องต้นไปก่อนเพื่อให้คุณพอกะได้ว่าควรใช้เกียร์อะไรในระดับความเร็วเท่าไหร่ ในช่วงเวลาที่ลดความเร็วลง คือในกรณีที่คุณไม่ได้จะจอดรถ แค่อยากขับรถให้ช้าลง ต้องการใช้ความเร็วต่ำ เพราะสำหรับมือใหม่จะกะยาก และมักใส่เกียร์ผิด (แต่ความจริงผมไม่จำเป็นต้องบอกก็ได้เพราะเมื่อขับรถไปนานๆ คุณจะรู้ได้เอง แต่คิดว่ามันอาจเป็นเรื่องยากสำหรับบางคนเลยบอกเผื่อเอาไว้ดีกว่า)
ความเร็ว 0 - 20 คือช่วงของเกียร์ 1
ความเร็ว 20 - 40 คือช่วงของเกียร์ 2
ความเร็ว 40 - 60 คือช่วงของเกียร์ 3
ความเร็ว 60 - 80 คือช่วงของเกียร์ 4
ความเร็ว 80 ขึ้นไป คือช่วงของเกียร์ 5
8.ไฟเลี้ยว และไฟผ่าหมาก - ง่ายๆเลยคือเปิดไฟเลี้ยวเวลาจะเลี้ยว หรือเปิดไฟเลี้ยวเวลาจอดรถข้างทาง ส่วนไฟผ่าหมากถ้าเอาตามทฤษฎีคือเปิดตอนรถเสียเป็นไฟฉุกเฉิน แต่ไฟผ่าหมากมีประโยชน์มากกว่านั้น สามารถใช้ในตอนกลางคืนเวลาจอดข้างถนน มันอาจไม่ถูกต้องนักแต่ก็ดีกว่าที่ให้คนอื่นรู้ว่ามีรถยนต์กำลังจอดอยู่ข้างทาง เพราะคนขับบางคนก็สายตาไม่ค่อยดี บางคนก็กำลังมึนเมา ตาพร่ามัว เขาอาจขับมาชนท้ายคุณได้ ไฟผ่าหมากก็เหมือนไฟเตือน เตือนรถคันข้างหลังถึงแม้ว่าคุณกำลังขับรถตามปกติในตอนกลางคืน แต่ข้างหน้ามีอุบัติเหตุ มีการทำทาง มีโค้งหักศอกที่อันตราย หรืออะไรที่ต้องระวังซึ่งคันข้างหลังอาจกำลังประมาทเลินเล่อไม่ทันได้ดูป้าย การที่เขาได้เห็นไฟผ่าหมากจากรถของคุณอย่างน้อยก็ช่วยให้เขาตื่นตัว และระวังได้ในระดับหนึ่ง(มีประโยชน์เวลาที่ขับรถมาด้วยกันหลายคัน แล้วคันข้างหลังไม่รู้ทาง ไม่ชินทาง ไม่รู้จักเส้นทางหรือสภาพถนน คันข้างหน้าสามารถใช้ไฟผ่าหมากช่วยเตือนให้ได้)
ทั้งหมดนี้ก็แค่พื้นฐาน เอาแค่ว่าให้ขับรถเป็นในเบื้องต้น ความจริงยังมีเทคนิคอีกมากมายให้เรียนรู้ แต่คุณสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้
สอนขับรถเกียร์ธรรมดา สำหรับผู้ที่อยากขับรถเป็นแต่ไม่มีใครสอน หรือไม่อยากเสียเงินเรียน
ก่อนเริ่มหัดขับรถ คุณต้องมีรถ และหาสถานที่ แนะนำว่าควรเป็นรถสภาพใหม่ กลาง เก่าก็ได้ขอแค่ยังเข้าเกียร์ได้ดีอยู่ ไม่แนะนำให้ใช้รถเก่าบุโรทั่งมาหัดขับเพราะอาจเกิดอันตรายได้ด้วยสภาพรถที่ไม่สมบูรณ์ ส่วนสถานที่แนะนำว่าควรเป็นทางเรียบเสมอกัน ไม่มีเนินสูง ไม่มีหลุมเยอะเกินไป
การหัดขับรถ คุณต้องจัดลำดับความสำคัญด้วยเพราะรถสมัยนี้มีระบบเยอะแยะมากมายหลายอย่างใส่เข้ามา คุณอย่าพึ่งไปสนใจมันมาก เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณต้องทำให้รถวิ่งได้ เข้าเกียร์เป็น จอดรถเป็น รถไม่ดับ ส่วนเรื่องระบบต่างๆภายในรถเอาไว้ค่อยไปศึกษาทีหลัง
1.รู้จักเกียร์เสียก่อน - แต่ก่อนเข้าเกียร์คุณต้องรู้จักแป้นเหยียบ 3 แป้น ที่ฝั่งคนขับ โดยแป้นซ้ายสุดคือคลัชเอาไว้เหยียบเวลาจะเปลี่ยนเกียร์ แป้นกลางคือเบรค แป้นขวาสุดคือคันเร่ง ส่วนเกียร์ก็จะมีตั้งแต่เกียร์ 1 2 3 4 5 R รวม 6 เกียร์ หรือรถบางคันก็อาจมี 7 เกียร์ สิ่งที่คุณต้องหาคือเกียร์ว่าง ซึ่งเกียร์ว่างมักจะอยู่ในตำแหน่งตรงกลางระหว่างเกียร์ 3 กับ 4 หรือในรถบางคันเกียร์ว่างอาจอยู่ระหว่างเกียร์ 1 กับ 2 สามารถสัมผัสได้ด้วยการใช้มือโยกนิดๆที่หัวเกียร์ถ้ามันหลวมหน่อยๆ แสดงว่านั่นแหละคือตำแหน่งเกียร์ว่าง เพราะตอนจะสตาร์ทรถคุณจะต้องโยกเกียร์มาอยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่างเสียก่อน ไม่งั้นรถจะพุ่งแล้วอาจเกิดอุบัติเหตุได้
2.เริ่มสตาร์ทรถ - ถ้าคุณเข้าเกียร์ว่างได้ สตาร์ทรถติดโดยที่รถไม่พุ่ง ถือว่าคุณเริ่มมาถูกทางแล้วละ จริงๆแล้วในแต่ละขั้นตอนของการขับรถมันมีเทคนิคอื่นๆด้วย แต่ผมจะไม่สอนให้มือใหม่ เพราะมันจะทำให้คุณรู้สึกว่ายากเกินไป ผมจึงจะบอกเฉพาะขั้นตอนมาตรฐานที่เหมาะสมเท่านั้น
3.เริ่มเลี้ยงคลัช - หลังจากที่คุณสตาร์ทรถได้แล้วให้คุณเหยียบคลัชแล้วโยกเกียร์ไปที่เกียร์ 1 แล้วค่อยๆปล่อยคลัชให้รถออกตัว(ยังไม่ต้องเหยียบคันเร่งนะครับ) ปล่อยคลัชไปเรื่อยๆจนรถเกิดอาการสั่นเหมือนจะดับให้คุณรีบเหยียบคลัชลงไปใหม่ แล้วค่อยๆปล่อยคลัชเหมือนเดิม แล้วคอยโยกพวงมาลัยบังคับทิศทางไปในตัวด้วย ผมให้คุณเลี้ยงคลัชไปก่อน เพื่อให้คุณรู้จักรถของตัวเองเพราะรถแต่ละคันมีช่วงคลัชที่สั้น-ยาว ไม่เท่ากัน และเพื่อเป็นการฝึกจับจังหวะในการเหยียบคันเร่งเพื่อเข้าเกียร์ 2 ต่อไป
4.เริ่มเหยียบคันเร่ง - เมื่อคุณเลี้ยงคลัชได้คล่องแล้ว คุณต้องเริ่มเหยียบคันเร่ง ถามว่าแล้วจะเหยียบคันเร่งตอนไหนละ ก็ตอนที่คุณปล่อยคลัชนั่นแหละ จำไว้เสมอว่าถ้าคุณจะเหยียบคันเร่งคุณต้องปล่อยคลัช แต่คุณต้องกะจังหวะระหว่างปล่อยคลัชและเหยียบคันเร่งให้ดีๆ เพื่อให้รถออกตัวได้นุ่มนวล โดยไม่ปล่อยคลัชเร็วเกินไป และไม่เหยียบคันเร่งมากเกินไป(เวลาที่ปล่อยคลัชจนรถเริ่มออกตัวคุณก็เริ่มเหยียบคันเร่งได้แล้วละ จากนั้นก็ปล่อยคลัชให้หมด) เพราะเกียร์ 1 คือเกียร์ที่มีแรงบิดสูงที่สุด มันจึงเป็นเกียร์ที่ใช้งานได้ยากที่สุด ดังนั้นคุณต้องฝึกและทำให้เนียนที่สุด
5.เริ่มเปลี่ยนเกียร์ เพื่อเข้าเกียร์ 2 - หลังจากที่คุณเหยียบคันเร่งตอนเข้าเกียร์ 1 ได้แล้ว ให้คุณเร่งเครื่องต่อไปจนเสียงรถดังตื้อๆ นั่นคือสัญญาณบอกว่าคุณต้องเปลี่ยนเกียร์เพื่อใช้ความเร็วในระดับที่สูงขึ้น โดยเวลาที่เปลี่ยนเกียร์ให้คุณเหยียบคลัช และปล่อยคันเร่ง จากนั้นก็โยกคันเกียร์ไปที่ตำแหน่งเกียร์ 2 แล้วก็ปล่อยคลัช และเหยียบคันเร่งเหมือนเดิม ขั้นตอนเหล่านี้จะง่ายขึ้น และเมื่อคุณขับรถเป็นในระดับหนึ่งแล้ว คุณสามารถฝึกการเปลี่ยนเกียร์ให้รวดเร็วขึ้นได้
6.เกียร์ R หรือเกียร์ถอยหลัง - ให้คุณเริ่มฝึกเลี้ยงคลัชเหมือนข้อ 3 อย่าใจร้อนรีบเหยียบคันเร่งถึงแม้ว่าคุณจะเริ่มเป็น เริ่มคล่องแล้วก็ตาม เพราะรถบางคันเกียร์ R ก็พุ่งค่อนข้างแรงกว่าที่คิด ดังนั้นคุณจึงต้องจับความแรงของเกียร์ R ของรถคุณให้ได้ด้วย แล้วเวลาจะฝึกเกียร์ R ต้องดูให้ดีๆว่ามีอะไรมาอยู่หลังรถหรือไม่ เพราะคุณอาจขับรถทับเด็ก สุนัข แมว จนถึงแก่ชีวิตได้ ถ้ารถคุณมีกล้องมองหลังก็ดีไป แต่ถ้าไม่มีคุณควรเดินลงมาดูด้านหลังรถเสียก่อน
7.การเบรคเพื่อจอดรถ - แน่นอนว่าคุณก็ต้องเหยียบไปที่แป้นเบรค ไม่งั้นรถจะหยุดได้ยังไง แต่การเหยียบแป้นเบรคที่ถูกต้องคุณต้องใช้เท้าขวาละจากคันเร่งมาเหยียบเบรค การเบรคจึงจะมีประสิทธิภาพ แต่ระหว่างที่เบรค หรือกำลังหยุดรถ อย่าลืมว่ารถของคุณจะมีความเร็วลดลง ถ้าใช้เกียร์ไม่สัมพันธ์กับความเร็วของรถ รถจะสั่นหรืออาจเครื่องดับ ดังนั้น ระหว่างที่คุณเหยียบเบรคเพื่อที่จะจอดรถคุณควรเหยียบคลัชแล้วโยกเกียร์มาที่ตำแหน่งเกียร์ว่างด้วย
7.1 ระดับความเร็วกับเกียร์ที่ใช้ ผมบอกในเบื้องต้นไปก่อนเพื่อให้คุณพอกะได้ว่าควรใช้เกียร์อะไรในระดับความเร็วเท่าไหร่ ในช่วงเวลาที่ลดความเร็วลง คือในกรณีที่คุณไม่ได้จะจอดรถ แค่อยากขับรถให้ช้าลง ต้องการใช้ความเร็วต่ำ เพราะสำหรับมือใหม่จะกะยาก และมักใส่เกียร์ผิด (แต่ความจริงผมไม่จำเป็นต้องบอกก็ได้เพราะเมื่อขับรถไปนานๆ คุณจะรู้ได้เอง แต่คิดว่ามันอาจเป็นเรื่องยากสำหรับบางคนเลยบอกเผื่อเอาไว้ดีกว่า)
ความเร็ว 0 - 20 คือช่วงของเกียร์ 1
ความเร็ว 20 - 40 คือช่วงของเกียร์ 2
ความเร็ว 40 - 60 คือช่วงของเกียร์ 3
ความเร็ว 60 - 80 คือช่วงของเกียร์ 4
ความเร็ว 80 ขึ้นไป คือช่วงของเกียร์ 5
8.ไฟเลี้ยว และไฟผ่าหมาก - ง่ายๆเลยคือเปิดไฟเลี้ยวเวลาจะเลี้ยว หรือเปิดไฟเลี้ยวเวลาจอดรถข้างทาง ส่วนไฟผ่าหมากถ้าเอาตามทฤษฎีคือเปิดตอนรถเสียเป็นไฟฉุกเฉิน แต่ไฟผ่าหมากมีประโยชน์มากกว่านั้น สามารถใช้ในตอนกลางคืนเวลาจอดข้างถนน มันอาจไม่ถูกต้องนักแต่ก็ดีกว่าที่ให้คนอื่นรู้ว่ามีรถยนต์กำลังจอดอยู่ข้างทาง เพราะคนขับบางคนก็สายตาไม่ค่อยดี บางคนก็กำลังมึนเมา ตาพร่ามัว เขาอาจขับมาชนท้ายคุณได้ ไฟผ่าหมากก็เหมือนไฟเตือน เตือนรถคันข้างหลังถึงแม้ว่าคุณกำลังขับรถตามปกติในตอนกลางคืน แต่ข้างหน้ามีอุบัติเหตุ มีการทำทาง มีโค้งหักศอกที่อันตราย หรืออะไรที่ต้องระวังซึ่งคันข้างหลังอาจกำลังประมาทเลินเล่อไม่ทันได้ดูป้าย การที่เขาได้เห็นไฟผ่าหมากจากรถของคุณอย่างน้อยก็ช่วยให้เขาตื่นตัว และระวังได้ในระดับหนึ่ง(มีประโยชน์เวลาที่ขับรถมาด้วยกันหลายคัน แล้วคันข้างหลังไม่รู้ทาง ไม่ชินทาง ไม่รู้จักเส้นทางหรือสภาพถนน คันข้างหน้าสามารถใช้ไฟผ่าหมากช่วยเตือนให้ได้)
ทั้งหมดนี้ก็แค่พื้นฐาน เอาแค่ว่าให้ขับรถเป็นในเบื้องต้น ความจริงยังมีเทคนิคอีกมากมายให้เรียนรู้ แต่คุณสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้