(อุทาหรณ์มนุษย์เงินเดือน) สัญญาจ้างสำคัญมาก อย่าไปเชื่อ HR กับคำขายฝันถ้ามันไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร

อยากให้เรื่องนี้เป็น Case Study ของพนักงานว่าสัญญาจ้างตามกฏหมายสำคัญมาก
บริษัทใหญ่โตออฟฟิศดูกว้างขวางไม่ได้หมายความว่าเค้าจะไม่เอาเปรียบเรา 

** เราไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะว่าร้ายที่ทำงานเก่า เพียงแต่อยากแชร์อุทาหรณ์เพราะไม่อยากให้ใครมาโดนแบบเรา **

เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อ 6 เดือนก่อนเราได้ไปสัมภาษณ์งานกับบริษัท IT แห่งหนึ่ง

ต้องบอกว่า JD ตัวโปรเจคที่เรารับเป็นงานที่สเกลค่อนข้างใหญ่ มีบางส่วนที่เราทำได้แต่ก็มีหลายส่วนที่เราไม่ถนัด แต่ก็ตกลงรับงานเพราะทางบริษัทบอกว่าเดี๋ยวจะมีทีมที่เข้ามาสนับสนุนอีก 

หลังสัมภาษณ์เสร็จตกลงเงินเดือนทาง HR แจ้งเราประมาณว่าจะยังไม่มีสัญญาจ้างที่เป็นลายลักษณ์อักษรทางกฏหมาย แต่ให้มาทำงานเลย เงินเดือนจะเป็นรูปแบบโอนตรง โดยให้เหตุผลว่าทางฝ่ายบริหารกำลังทำเรื่องอยู่ เราก็ไม่ได้เอะใจอะไรก็มาเริ่มงานเลย (เพราะบริษัทดูน่าเชื่อถือมากในระดับนึง)
 
แต่พอทำได้ประมาณเดือนนึง สุดท้ายโปรเจคนี่ก็คือเราทำคนเดียวกับหัวหน้าอีกคนนึง 
คือทางฝ่ายบริหารเค้าก็บอกว่าทำไปก่อนเดี๋ยวหาคนมาเพิ่ม + OT ให้ (ปากเปล่า) 
เราก็พยายามเพิ่มสกิลมาเรื่อยๆจนทำได้หลายอย่างในคนเดียว 

แต่แทนที่บริษัทจะจ้างพนักงานมาเสริม(ทั้งที่บริษัทก็ใหญ่)เค้ากลับยัดงานใส่เราเพิ่มเยอะเรื่อยๆเพราะเห็นว่าพอทำได้ 

เราเครียดมากไม่ได้หลับนอนทำแต่งาน (ที่ไม่ถนัด) เพราะโดนปั่นว่าฝ่ายอื่นจะช้าไปหมด ถ้าติดบล็อคจากฝั่งเรา บรรยากาศการทำงานก็อึดอัดมาก เพราะพองานเดินช้าเวลาโดนข้างบนตำหนิฝ่ายอื่นก็โยนมาว่าช้าจากเรา 

ต้องบอกว่าถึงเงินเดือนจะไม่แย่ แต่งานเกิน JD ไปไกลมาก OT ที่บอกจะมีก็คือปากเปล่า พวกสวัสดิการประกันสังคมพื้นฐานไม่ต้องหวังเพราะทำมาเดือนที่ 6 แล้วสัญญาก็ยังไม่ได้เซ็นโดนปัดมาเรื่อยๆ ถามว่ายังไม่ผ่านโปรหรอก็บอกว่าไม่ใช่ผ่านแล้ว ที่ทนอยู่ได้เพราะเงินเดือนโอเคล้วนๆ

สุดท้ายเมื่อไม่กี่วันก่อน พอเรากับหัวหน้าช่วยกันดันโปรเจคจนจบ 
สรุปเราโดนให้ออกโดยไม่ให้ค่าชดเชย (คือให้แค่เงินเดือนเดือนสุดท้าย) 

เรารู้สึกว่ามันไม่แฟร์กับเราแต่สุดท้ายเราก็ไม่ได้คิดจะว่าร้ายอะไรเพราะเป็นตัวเราที่ไปเชื่อเค้าแล้วไม่ได้เซ็นสัญญาเอง

สรุปชั้นทำฟรีแลนซ์ไม่ได้ทำงานประจำโดยไม่รู้ตัว TT
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3598/2561
      ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดว่าสัญญาจ้างแรงงานต้องทำเป็นหนังสือ
คำพิพากษาฎีกาที่15186-15192/2557
       กฎหมายมิได้บังคับให้สัญญาจ้างแรงงานต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ
มาตรา 5 ในพระราชบัญญัตินี้
       สัญญาจ้าง หมายความว่า สัญญาไม่ว่าเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาระบุชัดเจน หรือเป็นที่เข้าใจโดยปริยาย ซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ ดังนั้นไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือแต่เพียงอย่างเดียว

ได้รับการคุ้มครองและมีสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ทุกประการ/ทุกมาตรา !
ความคิดเห็นที่ 20
แนะนำให้ จขกท. ทำหนังสือ (จะเป็น email ก็ได้) ถึง HR ของบริษัทที่เราเพิ่งออกมา ขอให้เขาจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้างให้เราเทียบเท่าค่าจ้าง 30 วัน และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอีก 30 วัน  ในหนังสือระบุให้จ่ายเงินเข้าบัญชีเลขที่ ............. ชื่อบัญชี (ชื่อ จขกท.) ภายใน 3 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ และระบุเบอร์โทร. ติดต่อกลับ หรือช่องทางติดต่อกลับเอาไว้

อ้อ ในหนังสือบอกไปด้วยว่า หากไม่ได้รับเงินภายในเวลาที่กำหนด จะนำเรื่องไปฟ้องคดีต่อไป (ทำนองนี้)

เมื่อครบเวลาแล้ว เงินยังไม่เข้าบัญชี  ค่อยไปติดต่อ สำนักงานแรงงานพื้นที่ที่บริษัทตั้งอยู่  ยื่นคำร้องเรียกร้องค่าชดเชย และเงินสินจ้างฯ

ได้เงินแน่นอน (สัญญาจ้าง ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ ตาม คห. 4 ที่กล่าวไว้)
ความคิดเห็นที่ 8
ปรึกษากรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาดี

คุณบอกบริษัทมีชื่อเสียงมทก บอกเลย บริษัทส่วนใหญ่ ไม่ค่อยอยากมีปัญหากับศาลแรงงานนะ  เพราะแพ้มท ไม่คุ้ม เพราะโดนดอกเบี้ยย้อนหลังที่ต้องจ่ายให้ลูกจ้างที่เขาโกงและและชื่อเสียงก็แย่ไปเลย ปากต่อปาก ยังไงมันก็กระจายไปทั่ว ถ้าจบที่ศาล

บริษัทเก่าคุณ จะมีปัญหาประกันสังคมด้วย ฐานเลี่ยงการนำส่งเงินของคุณ เชื่อว่า มีหลายรายที่โดน
ความคิดเห็นที่ 23
ขอให้ความรู้กฎหมายแรงงาน
1.เมื่อคุณเดินเข้าไปทำงาน แล้วนายจ้างไม่ได้แสดงการคัดด้าน สะญญาจ้างเกิดแล้วโดยสมบูรณ์ ไม่จำเป็นต้องเป็นรายลักษณ์อักษร
2.เมื่อเกิดการจ่ายค่าจ้าง นั่นเป็นสัญญาค่าจ้างโดยสมบูรณ
3.เมื่อคุณทำงานครบ 120 วัน ถ้านายจ้างจะให้ออกจากงานต้องจ่ายค่าชดเชย  30 วีน( 1 เดือน) พรบ.แรงงาน ม.118
4.การแจ้งเลิกจ้าง นายจ้างต้องรู้เทคนิคทางกฎหมายด้วย มิเช่นนั้น ต้องจ่ายอีก1 เดือน
กฎหมายเขียนว่า นายจ้างต้องแจ้ง เลิกจ้าง ณ.วันจ่ายค่าจ้าง และให้มีผลสิ้นสุดการทำงาน ในวันจ่ายค่าจ้างครั้งถัดไป และถ้านายจ้างจะให้สิ้นสุดการทำงานทันที ต้องจ่ายค่าจ้างในเดือนถัดไปด้วย
เรื่องนี้ นายจ้างเสียค่าโง่มานักต่อนักแล้ว เช่น จ่ายค่าจ้าง ณ.วันสิ้นเดือน  ถ้านายจ้าง แจ้งเลิกจ้าง ตั้งแต่วันที่1 ไม่ว่าวันไหน กฎหมายให้ถือว่าแจ้งเลิกในวันสิ้นเดือน นะ้นหมายความว่า ถ้าแจ้งเลิกจ้าง ในวันที่5 และให้ออกจากงานทันที่  นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง เดือนนั้นทั้งเดือน และค่าบอกกล่าวล่วงหน้าอีก 1 เดือน รวมเป็น 2 เดือน  พรบ.แรงงาน ม.17

คุณสามารถเรียกร้องสิทธิ์ที่ยังไม่ได้ ได้นะครับ ถ้าออกจากงานมาไม่ถึง 2 ปี
ความคิดเห็นที่ 22
พล๊อตเรื่องก็เหมือนเดิม


ใครฟ้อง บริษัทก็จ่ายคืน จบ

ใครไม่ฟ้อง บริษัทก็นิ่งเฉย


ความจริงบริษัททำแบบนี้ ผู้บริหารบริษัทควรโดนจับเข้าคุกมากกว่า  จะได้เข็ด ไม่งั้นโปรเจ็คหน้าบริษัทใหญ่ก็คงทำตัวแบบเดิมอีก  วนเวียนไปไม่รู้จบ เอาเปรียบคนทำงาน

...
..
.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่