- ไปอ่านที่เฟสนี้ครับ เจอข้อความเลยนึกถึงเรื่องราวในพันธ์ทิพย์ ห้องศาสนา
อาจารย์วศิน อินทสระ
ท่านลองตรองดูเถิดว่า
การตักเตือนสั่งสอนผู้อื่นนั้นเป็นเรื่องยากเพียงใด
คนเตือนจะต้องคิดแล้วคิดอีกหลายครั้งหลายหน
ก่อนจะเตือนใครได้ เพราะเกรงเขาจะโกรธบ้าง
เหตุผลในการเตือนมีเพียงพอหรือไม่บ้าง
ถ้าเขาเถียงมีเรื่องขุ่นข้องหมองใจเกิดขึ้น
ควรจะทำอย่างไรบ้าง เขาอาจด่าว่าใส่หน้าเอา
ว่า มัวเที่ยวเตือนคนอื่นอยู่ ข้อบกพร่องของตนก็มี
ทำไมไม่ตักเตือนตน แก้ไขข้อบกพร่องของตนบ้าง เป็นต้น
...........
พระศาสดาเสด็จมายังธรรมสภา
ทรงทราบเรื่องที่ภิกษุทั้งหลายสนทนากัน
แล้วตรัสว่า
"ภิกษุทั้งหลาย ไม่เพียงแต่ในบัดนี้เท่านั้น
ที่สารีบุตรเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที
แม้ในชาติก่อนสมัยเป็นช้าง
ซึ่งเป็นดิรัจฉาน
สารีบุตรก็มีความกตัญญูกตเวทีเหมือนกัน"
...
เมื่อตรัสดังนี้แล้ว ตรัสเล่าเรื่องช้างเชือกหนึ่ง
ถูกตอไม้แหลมตำเท้า เดินไปไหนไม่ได้
พวกช่างไม้กลุ่มหนึ่งไปพบเข้าในป่า
ช่วยกันถอนตอไม้แหลมนั้นออกจากเท้า
นำยาสมุนไพรมาพอกให้
ช้างนั้นหายโรคแล้ว
ระลึกถึงอุปการะของพวกช่างไม้
นำลูกช้างเผือกเชือกหนึ่งมาให้
เป็นเครื่องตอบแทน
ช้างผู้กตัญญูนั้น คือ พระสารีบุตรในบัดนี้
...
พระศาสดาทรงปรารภพระสารีบุตร
ตรัสเรื่องช้างดังนี้แล้ว ทรงปรารภพระราธะ
ตรัสเรื่องความเป็นผู้ว่าง่ายต่อไปว่า
"ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุ
ควรเป็นผู้ว่าง่ายเหมือนพระราธะ
เมื่ออาจารย์ชี้โทษกล่าวสอนอยู่
ก็ไม่ควรโกรธ
พึงมองเห็นบุคคลผู้ตักเตือนสั่งสอน
เสมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้"
ดังนี้แล้วทรงย้ำว่า
"ผู้ฉลาดควรเห็นว่า
คนที่ชี้โทษตักเตือนในเมื่อเห็นความผิด
กล่าวปรามให้เว้นชั่วนั้น
เป็นเสมือนผู้ชี้บอกขุมทรัพย์ให้
ท่านเป็นผู้มีปัญญา เป็นบัณฑิต
ใครคบเข้าก็มีแต่ทางดี ไม่มีทางเสียเลย"
...
ดูก่อน ท่านผู้เป็นโอรสแห่งธรรม
ท่านลองตรองดูเถิดว่า
การตักเตือนสั่งสอนผู้อื่นนั้น
เป็นเรื่องยากเพียงใด
คนเตือนจะต้องคิดแล้วคิดอีก
หลายครั้งหลายหน
ก่อนจะเตือนใครได้
เพราะเกรงเขาจะโกรธบ้าง
เหตุผลในการเตือนมีเพียงพอหรือไม่บ้าง
ถ้าเขาเถียงมีเรื่องขุ่นข้องหมองใจเกิดขึ้น
ควรจะทำอย่างไรบ้าง
...
เขาอาจด่าว่าใส่หน้าเอา
ว่า มัวเที่ยวเตือนคนอื่นอยู่
ข้อบกพร่องของตนก็มี
ทำไมไม่ตักเตือนตน
แก้ไขข้อบกพร่องของตนบ้าง เป็นต้น
...
โดยนัยดังกล่าวมา
การตักเตือนคนอื่นจึงไม่ใช่เรื่องง่าย
ผู้เตือนจะต้องเสี่ยงต่อหลายอย่าง
การตัดสินใจเตือนผู้อื่น
เป็นความเสียสละอย่างหนึ่ง
ที่กล่าวนี้หมายถึงผู้เตือนด้วยความหวังดี
มิใช่ผู้มุ่งร้าย
...
พระสารีบุตร
วศิน อินทสระ
บทที่ ๑๒ อุปัชฌาย์องค์แรก
ในญัตติจตุตถกรรม(ต่อ)
-----------
นึกถึงสมาชิกในพันทิพเตือนสมาชิกในพันทิพ
อาจารย์วศิน อินทสระ
ท่านลองตรองดูเถิดว่า
การตักเตือนสั่งสอนผู้อื่นนั้นเป็นเรื่องยากเพียงใด
คนเตือนจะต้องคิดแล้วคิดอีกหลายครั้งหลายหน
ก่อนจะเตือนใครได้ เพราะเกรงเขาจะโกรธบ้าง
เหตุผลในการเตือนมีเพียงพอหรือไม่บ้าง
ถ้าเขาเถียงมีเรื่องขุ่นข้องหมองใจเกิดขึ้น
ควรจะทำอย่างไรบ้าง เขาอาจด่าว่าใส่หน้าเอา
ว่า มัวเที่ยวเตือนคนอื่นอยู่ ข้อบกพร่องของตนก็มี
ทำไมไม่ตักเตือนตน แก้ไขข้อบกพร่องของตนบ้าง เป็นต้น
...........
พระศาสดาเสด็จมายังธรรมสภา
ทรงทราบเรื่องที่ภิกษุทั้งหลายสนทนากัน
แล้วตรัสว่า
"ภิกษุทั้งหลาย ไม่เพียงแต่ในบัดนี้เท่านั้น
ที่สารีบุตรเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที
แม้ในชาติก่อนสมัยเป็นช้าง
ซึ่งเป็นดิรัจฉาน
สารีบุตรก็มีความกตัญญูกตเวทีเหมือนกัน"
...
เมื่อตรัสดังนี้แล้ว ตรัสเล่าเรื่องช้างเชือกหนึ่ง
ถูกตอไม้แหลมตำเท้า เดินไปไหนไม่ได้
พวกช่างไม้กลุ่มหนึ่งไปพบเข้าในป่า
ช่วยกันถอนตอไม้แหลมนั้นออกจากเท้า
นำยาสมุนไพรมาพอกให้
ช้างนั้นหายโรคแล้ว
ระลึกถึงอุปการะของพวกช่างไม้
นำลูกช้างเผือกเชือกหนึ่งมาให้
เป็นเครื่องตอบแทน
ช้างผู้กตัญญูนั้น คือ พระสารีบุตรในบัดนี้
...
พระศาสดาทรงปรารภพระสารีบุตร
ตรัสเรื่องช้างดังนี้แล้ว ทรงปรารภพระราธะ
ตรัสเรื่องความเป็นผู้ว่าง่ายต่อไปว่า
"ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุ
ควรเป็นผู้ว่าง่ายเหมือนพระราธะ
เมื่ออาจารย์ชี้โทษกล่าวสอนอยู่
ก็ไม่ควรโกรธ
พึงมองเห็นบุคคลผู้ตักเตือนสั่งสอน
เสมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้"
ดังนี้แล้วทรงย้ำว่า
"ผู้ฉลาดควรเห็นว่า
คนที่ชี้โทษตักเตือนในเมื่อเห็นความผิด
กล่าวปรามให้เว้นชั่วนั้น
เป็นเสมือนผู้ชี้บอกขุมทรัพย์ให้
ท่านเป็นผู้มีปัญญา เป็นบัณฑิต
ใครคบเข้าก็มีแต่ทางดี ไม่มีทางเสียเลย"
...
ดูก่อน ท่านผู้เป็นโอรสแห่งธรรม
ท่านลองตรองดูเถิดว่า
การตักเตือนสั่งสอนผู้อื่นนั้น
เป็นเรื่องยากเพียงใด
คนเตือนจะต้องคิดแล้วคิดอีก
หลายครั้งหลายหน
ก่อนจะเตือนใครได้
เพราะเกรงเขาจะโกรธบ้าง
เหตุผลในการเตือนมีเพียงพอหรือไม่บ้าง
ถ้าเขาเถียงมีเรื่องขุ่นข้องหมองใจเกิดขึ้น
ควรจะทำอย่างไรบ้าง
...
เขาอาจด่าว่าใส่หน้าเอา
ว่า มัวเที่ยวเตือนคนอื่นอยู่
ข้อบกพร่องของตนก็มี
ทำไมไม่ตักเตือนตน
แก้ไขข้อบกพร่องของตนบ้าง เป็นต้น
...
โดยนัยดังกล่าวมา
การตักเตือนคนอื่นจึงไม่ใช่เรื่องง่าย
ผู้เตือนจะต้องเสี่ยงต่อหลายอย่าง
การตัดสินใจเตือนผู้อื่น
เป็นความเสียสละอย่างหนึ่ง
ที่กล่าวนี้หมายถึงผู้เตือนด้วยความหวังดี
มิใช่ผู้มุ่งร้าย
...
พระสารีบุตร
วศิน อินทสระ
บทที่ ๑๒ อุปัชฌาย์องค์แรก
ในญัตติจตุตถกรรม(ต่อ)
-----------