“จาตุรนต์” ชี้อย่าดันทุรังดึงต่างชาติซื้อที่ดิน แนะแก้ปัญหานอมินีใช้ชื่อคนไทยถือครองทรัพย์สินทำธุรกิจสีเทาดีกว่า
https://www.matichon.co.th/politics/news_3655834
“จาตุรนต์” ชี้อย่าดันทุรังดึงต่างชาติซื้อที่ดิน แนะแก้ปัญหานอมินีใช้ชื่อคนไทยถือครองทรัพย์สินทำธุรกิจสีเทาดีกว่า
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน นาย
จาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกันการให้ต่างชาติถือครองที่ดิน โดยมีรายละเอียดว่า
“การแก้กฎกระทรวงว่าด้วยการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าวมีปัญหาสำคัญอยู่ 2 ข้อคือ
1. การผ่อนปรนลดระยะเวลาในการลงทุนจาก 5 ปีเป็น 3 ปี
2. การกำหนดประเภทการลงทุนที่เน้นการลงทุนในตลาดทุน เช่น การซื้อหุ้นหรือพันธบัตรซึ่งไม่ใช่การลงทุนโดยตรงในภาคธุรกิจที่แท้จริง
ในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ประเทศต่างๆเขาจะให้ความสำคัญกับการลงทุนโดยตรง(foreign direct investment) มากกว่าการลงทุนในตลาดทุนที่ผันผวนเคลื่อนย้ายง่ายกว่ากันมาก การแก้กฎกระทรวงครั้งนี้ที่จริงแล้วจึงไม่ได้เน้นที่การเพิ่มการลงทุน แต่เป็นการคาดหวังที่นำเงินเข้าประเทศโดยการขายที่ดินให้แก่ชาวต่างชาติ ซึ่งเมื่อคำนึงถึงสภาพทางเศรษฐกิจของไทยที่กำลังตกต่ำ คนไทยกำลังยากจนเดือดร้อนยิ่งจะทำให้เกิดเป็นผลเสียในระยะยาว
ปัญหาที่ซ้ำเติมความน่าเชื่อถือในการดำเนินโครงการนี้ก็คือการปรากฎข้อเท็จจริงว่ามีชาวต่างชาติซื้อที่ดินและที่อยู่อาศัยในชื่อของคนไทย หรือที่เรียกว่านอมินีเป็นจำนวนมากอย่างน่าวิตก และในระยะหลังปรากฎกรณีที่ชาวต่างชาติที่ครอบครองทรัพย์สินกิจการทำธุรกิจสีเทา หรือกระทั่งเป็นธุรกิจที่ผิดกฎหมายอย่างอุกอาจร้ายแรง ที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองไม่สามารถควบคุมได้
สภาพการณ์เช่นนี้ยิ่งทำให้รัฐบาลไม่ควรดันทุรังโครงการนี้ต่อไป รัฐบาลควรหันมาสำรวจตรวจสอบปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เพื่อลดปัญหาความเสียหายต่อบ้านเมืองให้ได้เป็นอันดับแรก
https://www.facebook.com/Chaturon.FanPage/posts/pfbid02nK5HQV2GpMQTaZac8z8UBtm9yg26A1qym5XGrnPHjDjGqgZsbHGhDxcVUrrrNPUFl
"ช่อ พรรณิการ์" ผนึก "รุ้ง" เล่นการเมืองอย่างสันติวิธีวอนอย่าใช้ความรุนแรง
https://www.nationtv.tv/news/politics/378891806
"ช่อ พรรณิการ์" เล่าเหตุการณ์ "ธนาธร” ถูกล็อกคอกลางงานหนังสือ ยก เป็นความอันตรายจากความสุดโต่งของผู้เห็นต่างทางการเมือง ลั่น ไม่หยุดแสดงจุดยืนแม้ถูกคุกคามนั้น ขณะที่ “รุ้ง ปนัสยา” เชื่อ สู้แบบสันติวิธีมีโอกาสชนะกว่าใช้ความรุนแรง
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับศูนย์วิจัย
ดิเรก ชัยนาม ร่วมจัดเสวนาวิชาการ เรื่อง "
ศึก ศักดิ์ vs. ศรี" ถึง "
กรณีล็อกคอ": ฤาความรุนแรงจะคือคำตอบสำหรับความขัดแย้งทางการเมืองไทย โดยมี อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.
บุญเลิศ วิเศษปรีชา อาจารย์จากสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล นางสาว
งามศุกร์ รัตนเสถียร อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นางสาว
ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์ กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า นางสาว
พรรณิการ์ วานิช และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง นางสาว
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ร่วมเสวนา
โดย"
นางสาวพรรณิการ์" เริ่มเปิดประเด็นถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่ประธานคณะก้าวหน้า นาย
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ถูกนาย
คเณศพิศณุเทพ จักรภพมหาเดชาหรือ
เค ร้อยล้านล็อกคอภายในมหกรรมหนังสือแห่งชาติ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมองว่า เป็นการเจตนาตะโกนว่า “
กูมีระเบิด” ขณะที่มีผู้คนอออยู่ที่บูธคณะก้าวหน้านับร้อยคน เพื่อให้คนระทึกขวัญและไม่กล้าเข้าไปช่วย ซึ่งไม่ได้รู้สึกแปลกใจอะไร เพราะ
เค ร้อยล้าน เคยข่มขู่คณะก้าวหน้ามาหลายครั้งแล้ว
"
เค ร้อยล้าน เป็นตัวอย่างหนึ่งของผู้มีความสุดโต่งทางการเมืองและต้องการแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรม แต่ไม่ใช่คนแรกที่เราเจอจากการทำงานของอนาคตใหม่ ความรุนแรงมักจะทำโดยผู้มีอำนาจหรือผู้ที่หวั่นกลัวจะสูญเสียอำนาจ แน่นอนไปไหนก็ถูกตะโกน เปิดเพลงไล่ แต่สุดท้ายไม่เคยทำให้เราหยุดยั้งการทำงานทางการเมืองของเรา" นางสาว
พรรณิการ์ กล่าว
ขณะที่"
นางสาวปนัสยา" กล่าวว่า ปกติเราเห็นความรุนแรงทางวาจาหรือทางกายภาพ แต่ความจริงยังมีความรุนแรงทางกฎหมาย หรือความรุนแรงเชิงโครงสร้าง จากกรณีการยุบพรรคอนาคตใหม่ หรือการดำเนินคดีกับนักศึกษาผู้ชุมนุม
"
มันคือการเสริมความรุนแรงเข้าไปในตัวกฎหมายเพื่อจัดการกับผู้เห็นต่าง มีทั้งการติดกำไล EM การคุกคามถึงบ้าน มันเป็นอย่างนั้นมาตลอด จึงมีการแสดงออกทางการเมือง เพราะเราโกรธที่มันไม่เป็นธรรม มีอำนาจโดยไม่ชอบ เราใช้ความโกรธในการขับเคลื่อนเป้าหมายของเรา แต่ไม่ได้แปลว่าเราจะใช้ความโกรธในวิธีการของเรา" นางสาว
ปนัสยา กล่าว
"
นางสาวปนัสยา" อธิบายถึงสาเหตุที่เลือกแนวทางสันติวิธีว่า สันติวิธีไม่ใช่เรื่องโลกสวย แต่เป็นการมองและเลือกตามความเป็นจริง อย่างดีที่สุดแล้ว ก่อนชี้ว่าอัตราความสำเร็จของการเคลื่อนไหวแบบสันติวิธีมีมากกว่าความเคลื่อนไหวโดยใช้ความรุนแรงถึง 3 เท่า และสันติวิธีไม่ได้หายไปไหนตั้งแต่ปี 2563 และมันเป็นแนวทางที่มีความหวังมากที่สุด
"
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญเลิศ" กล่าวว่า ตอนที่เกิดปรากฏการณ์นี้ก็สังคมก็กล่าวถึงความรุนแรงเชิงกายภาพ จนถึงความรุนแรงเชิงโครงสร้าง แต่ในฐานะนักมานุษยวิทยา ยังสามารถขยายแนวคิดความรุนแรงออกไปอีกก็คือ ความรุนแรงในชีวิตประจำวัน นั่นคือคนรู้สึกสะใจที่เลขาธิการสมาคมองค์พิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย นาย
ศรีสุวรรณ จรรยา ถูกกระทำ ซึ่งสะท้อนว่ากลไกของรัฐไร้ประสิทธิภาพเต็มทน
"
ใช้ความรุนแรงแล้วคุณจะชนะเหรอครับ ? แล้วสังคมที่ไร้ความรุนแรงจะสร้างด้วยความรุนแรงได้เหรอครับ ? มันไม่มีทางอื่นที่จะสู้ด้วยแนวทางที่ไม่ใช่สันติวิธี" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.
บุญเลิศ กล่าว
นางสาว
ชญานิษฐ์ พาย้อนกลับไปถึงกรณี "
ลุงศักดิ์" ต่อยใบหน้า นาย
ศรีสุวรรณ ว่าไม่ใช่ความรุนแรงฝ่ายเดียวในทางกายภาพ แต่เป็นความรุนแรงสองฝ่าย ทั้งนี้ การใช้ความรุนแรงทางกายภาพก็ไม่ได้รับประกันว่าเป็นการสั่งสอนตามที่ลุงศักดิ์แสดงความประสงค์ เพราะหลังจากนั้น สื่อก็เข้าหานาย
ศรีสุวรรณมากกว่าเดิม และนาย
ศรีสุวรรณยังเดินหน้าไล่ฟ้องอยู่อย่างต่อเนื่อง
"
งานศึกษาหลายชิ้นระบุว่า ความรุนแรงเชิงโครงสร้างต้องแก้ในระดับโครงสร้าง เช่น การแก้ที่ตัวบทกฎหมาย ลดอัตราโทษลงให้เหมาะสม เลือกรับคำร้องเฉพาะที่มีมูลความผิดหรือหลักฐานเพียงพอ แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรมใช้เวลายาวนานกว่าการจัดการตัวบุคคล แต่ถ้าจุดหมายปลายทางคือการมีสังคมการเมืองที่เปิดกว้างและพร้อมรับฟังกันอย่างมีอารยะ เราจะใช้ความรุนแรงต่อคนที่คิดต่างจากเราได้อย่างไร ?" นางสาว
ชญานิษฐ์ กล่าว
ด้านนางสาว
งามศุกร์ เห็นด้วยกับวงเสวนา โดยกล่าวว่า ความรุนแรงจากรัฐถูกส่งต่อผ่านนโยบาย จนเป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ที่แม้ไม่เห็นเลือดเนื้อ แต่ความรุนแรงเชิงโครงสร้างสามารถทำลายชีวิตคนได้
"
คำถามคือ ความรุนแรงแบบนี้ เราจะอยู่กันอย่างนี้ต่อไปหรือ ทั้งหมดที่เราเรียกร้องเรื่องเสรีภาพและคนเท่ากัน ก็ต้องกลับมาทบทวนดูเรื่องภราดรภาพด้วยหรือไม่ ที่อย่างน้อยความเป็นเพื่อนมนุษย์จะช่วยกลับมาคุ้มครองเรา เพื่อฟื้นความสัมพันธ์ในสังคมของเรา เราอาจจินตนาการไม่ออกเพราะเราอยู่กับความรุนแรงมานาน จนเราลืมว่าเราสามารถสนทนากันได้" นางสาว
งามศุกร์ กล่าวทิ้งท้าย
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่าตามกำหนดการเดิมวิทยากรร่วมเสวนาจะมีประธานคณะก้าวหน้า นาย
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ด้วยแต่เนื่องจากติดภารกิจด่วนทำให้นางสาว
พรรณิการ์ วานิช มาร่วมงานแทน
"เอกชน" ชี้ ให้ ต่างชาติซื้อที่ดินไม่ง่าย เพราะขั้นตอนการใช้สิทธิยุ่งยาก
https://www.matichon.co.th/economy/news_3655675
“เอกชน” ชี้ ให้ ต่างชาติซื้อที่ดินไม่ง่าย เพราะขั้นตอนการใช้สิทธิยุ่งยาก แนะยืดระยะเวลาเช่า จาก 30ปี เป็น 50 ปีแทน
นาย
อิสระ บุญยัง ประธานคณะกรรมการสมาคมการค้ากลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ออกแบบ และก่อสร้าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากรัฐบาลไม่เดินหน้าร่างกฎกระทรวงการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย พ.ศ. …. โดยให้กลุ่มคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูง 4 กลุ่ม ผู้ได้สิทธิวีซ่าระยะยาว 10 ปี หรือ Long – Term Resident Visa (LTR Visa) ได้แก่ ประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง กลุ่มเกษียณอายุจากต่างประเทศ กลุ่มต้องการทำงานในไทย กลุ่มมีทักษะชำนาญพิเศษ นำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท ใน 3 ปี ได้สิทธิครอบครองที่ดินไม่เกิน 1 ไร่ เพื่ออยู่อาศัย เท่ากับว่ากลับไปใช้กฎกระทรวงเดิมที่มีอยู่แล้วในปี 2545 ซึ่งกฎกระทรวงดังกล่าวไม่ค่อยจูงใจนักลงทุนมากนัก จากข้อมูลของกรมที่ดินตั้งแต่ปี 2545-2565 มีต่างชาติใช้สิทธิตามกฎกระทรวงนี้จำนวน 8 รายเท่านั้น
นาย
อิสระกล่าวว่า ส่วนมีข้อเสนอให้เป็นการเช่าระยะยาวนั้น ปัจจุบันการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์มีกฎหมายบังคับใช้อยู่แล้ว คือ 1.พ.ร.บ.การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 ที่ให้ชาวไทยและต่างชาติเช่าได้ในระยะเวลา 30 ปี ต่ออายุสัญญาอีกครั้งละไม่เกิน 30 ปี โดยที่ผ่านมาไม่ได้รับความสนใจจากต่างชาติมากเท่าไหร่ และ 2.พ.ร.บ.ทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 หรือกฎหมายทรัพย์อิงสิทธิ ให้เช่าระยะเวลา 30 ปี เป็นการเช่าเพื่อใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน ยังสามารถนำสิทธิการเช่าไปปล่อยเช่าต่อให้แก่บุคคลอื่นได้ รวมถึงยังสามารถตกทอดให้แก่ทายาทหรือลูกหลานได้
“ที่ผ่านมาเอกชนพยายามเสนอรัฐพิจารณาปรับแก้กฎหมายขยายเวลาการเช่าให้มากกว่า 30 ปี เช่น 50 ปี เหมือนต่างประเทศเพื่อให้คุ้มต่อการลงทุน ทั้งนี้ต้องดูว่าหากรัฐไม่ผลักดันร่างกฎกระทรวงใหม่ที่ผ่านคณะรัฐมนตรีมาแล้ว จะไปใช้การเช่า ต้องดูว่าจะออกเป็นกฎกระทรวงเพิ่มเติมหรือรูปแบบไหน หากเป็นกฎกระทรวงเพิ่มเติมจะทำได้เร็วกว่าพ.ร.บ.” นาย
อิสระกล่าว
แนะใช้วีซ่าระยะยาว-กม.ทรัพย์อิงสิทธิ
นาย
อิสระกล่าวว่า โดยส่วนตัวมองว่าแม้ร่างกฎกระทรวงใหม่ได้เดินหน้า คงไม่ง่ายที่ต่างชาติจะได้สิทธิถือครองที่ดิน อย่างที่กังวล เพราะการขอใช้สิทธิต้องผ่านขั้นตอนอีกมากและยุ่งยาก อย่างไรก็ตามมองว่ามาตรการ LTR Visa ให้ 4 กลุ่มได้สิทธิส่งพำนักในไทยระยะยาว 10 ปี เป็นมาตรการที่จะได้ผลเร็วต่อการการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ แต่รัฐต้องกำหนดให้ชัดว่าได้สิทธิซื้อที่อยู่อาศัยราคาเท่าไหร่ เช่น ราคา 5 ล้านบาทขึ้นไปถึงได้วีซ่า ส่วนระดับ 1-2 ล้านบาทไม่ต้องให้ โดยออกเป็นประกาศเพิ่มเติม ส่วนการเช่าให้ใช้กฎหมายทรัพย์อิงสิทธิ มีอยู่แล้ว และไม่ต้องออกใหม่
JJNY : 5in1 “จาตุรนต์”ชี้อย่าดันทุรัง|"ช่อ"ผนึก"รุ้ง"|ชี้ต่างชาติซื้อที่ดินไม่ง่าย|คนใช้รถร้อง!|ระบบกล่าวหาไม่เท่าเทียม
https://www.matichon.co.th/politics/news_3655834
“จาตุรนต์” ชี้อย่าดันทุรังดึงต่างชาติซื้อที่ดิน แนะแก้ปัญหานอมินีใช้ชื่อคนไทยถือครองทรัพย์สินทำธุรกิจสีเทาดีกว่า
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกันการให้ต่างชาติถือครองที่ดิน โดยมีรายละเอียดว่า
“การแก้กฎกระทรวงว่าด้วยการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าวมีปัญหาสำคัญอยู่ 2 ข้อคือ
1. การผ่อนปรนลดระยะเวลาในการลงทุนจาก 5 ปีเป็น 3 ปี
2. การกำหนดประเภทการลงทุนที่เน้นการลงทุนในตลาดทุน เช่น การซื้อหุ้นหรือพันธบัตรซึ่งไม่ใช่การลงทุนโดยตรงในภาคธุรกิจที่แท้จริง
ในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ประเทศต่างๆเขาจะให้ความสำคัญกับการลงทุนโดยตรง(foreign direct investment) มากกว่าการลงทุนในตลาดทุนที่ผันผวนเคลื่อนย้ายง่ายกว่ากันมาก การแก้กฎกระทรวงครั้งนี้ที่จริงแล้วจึงไม่ได้เน้นที่การเพิ่มการลงทุน แต่เป็นการคาดหวังที่นำเงินเข้าประเทศโดยการขายที่ดินให้แก่ชาวต่างชาติ ซึ่งเมื่อคำนึงถึงสภาพทางเศรษฐกิจของไทยที่กำลังตกต่ำ คนไทยกำลังยากจนเดือดร้อนยิ่งจะทำให้เกิดเป็นผลเสียในระยะยาว
ปัญหาที่ซ้ำเติมความน่าเชื่อถือในการดำเนินโครงการนี้ก็คือการปรากฎข้อเท็จจริงว่ามีชาวต่างชาติซื้อที่ดินและที่อยู่อาศัยในชื่อของคนไทย หรือที่เรียกว่านอมินีเป็นจำนวนมากอย่างน่าวิตก และในระยะหลังปรากฎกรณีที่ชาวต่างชาติที่ครอบครองทรัพย์สินกิจการทำธุรกิจสีเทา หรือกระทั่งเป็นธุรกิจที่ผิดกฎหมายอย่างอุกอาจร้ายแรง ที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองไม่สามารถควบคุมได้
สภาพการณ์เช่นนี้ยิ่งทำให้รัฐบาลไม่ควรดันทุรังโครงการนี้ต่อไป รัฐบาลควรหันมาสำรวจตรวจสอบปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เพื่อลดปัญหาความเสียหายต่อบ้านเมืองให้ได้เป็นอันดับแรก
https://www.facebook.com/Chaturon.FanPage/posts/pfbid02nK5HQV2GpMQTaZac8z8UBtm9yg26A1qym5XGrnPHjDjGqgZsbHGhDxcVUrrrNPUFl
"ช่อ พรรณิการ์" ผนึก "รุ้ง" เล่นการเมืองอย่างสันติวิธีวอนอย่าใช้ความรุนแรง
https://www.nationtv.tv/news/politics/378891806
"ช่อ พรรณิการ์" เล่าเหตุการณ์ "ธนาธร” ถูกล็อกคอกลางงานหนังสือ ยก เป็นความอันตรายจากความสุดโต่งของผู้เห็นต่างทางการเมือง ลั่น ไม่หยุดแสดงจุดยืนแม้ถูกคุกคามนั้น ขณะที่ “รุ้ง ปนัสยา” เชื่อ สู้แบบสันติวิธีมีโอกาสชนะกว่าใช้ความรุนแรง
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับศูนย์วิจัย ดิเรก ชัยนาม ร่วมจัดเสวนาวิชาการ เรื่อง "ศึก ศักดิ์ vs. ศรี" ถึง "กรณีล็อกคอ": ฤาความรุนแรงจะคือคำตอบสำหรับความขัดแย้งทางการเมืองไทย โดยมี อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา อาจารย์จากสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล นางสาวงามศุกร์ รัตนเสถียร อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นางสาวชญานิษฐ์ พูลยรัตน์ กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า นางสาวพรรณิการ์ วานิช และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง นางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ร่วมเสวนา
โดย"นางสาวพรรณิการ์" เริ่มเปิดประเด็นถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่ประธานคณะก้าวหน้า นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ถูกนายคเณศพิศณุเทพ จักรภพมหาเดชาหรือ เค ร้อยล้านล็อกคอภายในมหกรรมหนังสือแห่งชาติ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมองว่า เป็นการเจตนาตะโกนว่า “กูมีระเบิด” ขณะที่มีผู้คนอออยู่ที่บูธคณะก้าวหน้านับร้อยคน เพื่อให้คนระทึกขวัญและไม่กล้าเข้าไปช่วย ซึ่งไม่ได้รู้สึกแปลกใจอะไร เพราะ เค ร้อยล้าน เคยข่มขู่คณะก้าวหน้ามาหลายครั้งแล้ว
"เค ร้อยล้าน เป็นตัวอย่างหนึ่งของผู้มีความสุดโต่งทางการเมืองและต้องการแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรม แต่ไม่ใช่คนแรกที่เราเจอจากการทำงานของอนาคตใหม่ ความรุนแรงมักจะทำโดยผู้มีอำนาจหรือผู้ที่หวั่นกลัวจะสูญเสียอำนาจ แน่นอนไปไหนก็ถูกตะโกน เปิดเพลงไล่ แต่สุดท้ายไม่เคยทำให้เราหยุดยั้งการทำงานทางการเมืองของเรา" นางสาวพรรณิการ์ กล่าว
ขณะที่"นางสาวปนัสยา" กล่าวว่า ปกติเราเห็นความรุนแรงทางวาจาหรือทางกายภาพ แต่ความจริงยังมีความรุนแรงทางกฎหมาย หรือความรุนแรงเชิงโครงสร้าง จากกรณีการยุบพรรคอนาคตใหม่ หรือการดำเนินคดีกับนักศึกษาผู้ชุมนุม
"มันคือการเสริมความรุนแรงเข้าไปในตัวกฎหมายเพื่อจัดการกับผู้เห็นต่าง มีทั้งการติดกำไล EM การคุกคามถึงบ้าน มันเป็นอย่างนั้นมาตลอด จึงมีการแสดงออกทางการเมือง เพราะเราโกรธที่มันไม่เป็นธรรม มีอำนาจโดยไม่ชอบ เราใช้ความโกรธในการขับเคลื่อนเป้าหมายของเรา แต่ไม่ได้แปลว่าเราจะใช้ความโกรธในวิธีการของเรา" นางสาวปนัสยา กล่าว
"นางสาวปนัสยา" อธิบายถึงสาเหตุที่เลือกแนวทางสันติวิธีว่า สันติวิธีไม่ใช่เรื่องโลกสวย แต่เป็นการมองและเลือกตามความเป็นจริง อย่างดีที่สุดแล้ว ก่อนชี้ว่าอัตราความสำเร็จของการเคลื่อนไหวแบบสันติวิธีมีมากกว่าความเคลื่อนไหวโดยใช้ความรุนแรงถึง 3 เท่า และสันติวิธีไม่ได้หายไปไหนตั้งแต่ปี 2563 และมันเป็นแนวทางที่มีความหวังมากที่สุด
"ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญเลิศ" กล่าวว่า ตอนที่เกิดปรากฏการณ์นี้ก็สังคมก็กล่าวถึงความรุนแรงเชิงกายภาพ จนถึงความรุนแรงเชิงโครงสร้าง แต่ในฐานะนักมานุษยวิทยา ยังสามารถขยายแนวคิดความรุนแรงออกไปอีกก็คือ ความรุนแรงในชีวิตประจำวัน นั่นคือคนรู้สึกสะใจที่เลขาธิการสมาคมองค์พิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย นายศรีสุวรรณ จรรยา ถูกกระทำ ซึ่งสะท้อนว่ากลไกของรัฐไร้ประสิทธิภาพเต็มทน
"ใช้ความรุนแรงแล้วคุณจะชนะเหรอครับ ? แล้วสังคมที่ไร้ความรุนแรงจะสร้างด้วยความรุนแรงได้เหรอครับ ? มันไม่มีทางอื่นที่จะสู้ด้วยแนวทางที่ไม่ใช่สันติวิธี" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญเลิศ กล่าว
นางสาวชญานิษฐ์ พาย้อนกลับไปถึงกรณี "ลุงศักดิ์" ต่อยใบหน้า นายศรีสุวรรณ ว่าไม่ใช่ความรุนแรงฝ่ายเดียวในทางกายภาพ แต่เป็นความรุนแรงสองฝ่าย ทั้งนี้ การใช้ความรุนแรงทางกายภาพก็ไม่ได้รับประกันว่าเป็นการสั่งสอนตามที่ลุงศักดิ์แสดงความประสงค์ เพราะหลังจากนั้น สื่อก็เข้าหานายศรีสุวรรณมากกว่าเดิม และนายศรีสุวรรณยังเดินหน้าไล่ฟ้องอยู่อย่างต่อเนื่อง
"งานศึกษาหลายชิ้นระบุว่า ความรุนแรงเชิงโครงสร้างต้องแก้ในระดับโครงสร้าง เช่น การแก้ที่ตัวบทกฎหมาย ลดอัตราโทษลงให้เหมาะสม เลือกรับคำร้องเฉพาะที่มีมูลความผิดหรือหลักฐานเพียงพอ แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรมใช้เวลายาวนานกว่าการจัดการตัวบุคคล แต่ถ้าจุดหมายปลายทางคือการมีสังคมการเมืองที่เปิดกว้างและพร้อมรับฟังกันอย่างมีอารยะ เราจะใช้ความรุนแรงต่อคนที่คิดต่างจากเราได้อย่างไร ?" นางสาวชญานิษฐ์ กล่าว
ด้านนางสาวงามศุกร์ เห็นด้วยกับวงเสวนา โดยกล่าวว่า ความรุนแรงจากรัฐถูกส่งต่อผ่านนโยบาย จนเป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ที่แม้ไม่เห็นเลือดเนื้อ แต่ความรุนแรงเชิงโครงสร้างสามารถทำลายชีวิตคนได้
"คำถามคือ ความรุนแรงแบบนี้ เราจะอยู่กันอย่างนี้ต่อไปหรือ ทั้งหมดที่เราเรียกร้องเรื่องเสรีภาพและคนเท่ากัน ก็ต้องกลับมาทบทวนดูเรื่องภราดรภาพด้วยหรือไม่ ที่อย่างน้อยความเป็นเพื่อนมนุษย์จะช่วยกลับมาคุ้มครองเรา เพื่อฟื้นความสัมพันธ์ในสังคมของเรา เราอาจจินตนาการไม่ออกเพราะเราอยู่กับความรุนแรงมานาน จนเราลืมว่าเราสามารถสนทนากันได้" นางสาวงามศุกร์ กล่าวทิ้งท้าย
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่าตามกำหนดการเดิมวิทยากรร่วมเสวนาจะมีประธานคณะก้าวหน้า นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ด้วยแต่เนื่องจากติดภารกิจด่วนทำให้นางสาวพรรณิการ์ วานิช มาร่วมงานแทน
"เอกชน" ชี้ ให้ ต่างชาติซื้อที่ดินไม่ง่าย เพราะขั้นตอนการใช้สิทธิยุ่งยาก
https://www.matichon.co.th/economy/news_3655675
“เอกชน” ชี้ ให้ ต่างชาติซื้อที่ดินไม่ง่าย เพราะขั้นตอนการใช้สิทธิยุ่งยาก แนะยืดระยะเวลาเช่า จาก 30ปี เป็น 50 ปีแทน
นายอิสระ บุญยัง ประธานคณะกรรมการสมาคมการค้ากลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ออกแบบ และก่อสร้าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากรัฐบาลไม่เดินหน้าร่างกฎกระทรวงการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย พ.ศ. …. โดยให้กลุ่มคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูง 4 กลุ่ม ผู้ได้สิทธิวีซ่าระยะยาว 10 ปี หรือ Long – Term Resident Visa (LTR Visa) ได้แก่ ประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง กลุ่มเกษียณอายุจากต่างประเทศ กลุ่มต้องการทำงานในไทย กลุ่มมีทักษะชำนาญพิเศษ นำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท ใน 3 ปี ได้สิทธิครอบครองที่ดินไม่เกิน 1 ไร่ เพื่ออยู่อาศัย เท่ากับว่ากลับไปใช้กฎกระทรวงเดิมที่มีอยู่แล้วในปี 2545 ซึ่งกฎกระทรวงดังกล่าวไม่ค่อยจูงใจนักลงทุนมากนัก จากข้อมูลของกรมที่ดินตั้งแต่ปี 2545-2565 มีต่างชาติใช้สิทธิตามกฎกระทรวงนี้จำนวน 8 รายเท่านั้น
นายอิสระกล่าวว่า ส่วนมีข้อเสนอให้เป็นการเช่าระยะยาวนั้น ปัจจุบันการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์มีกฎหมายบังคับใช้อยู่แล้ว คือ 1.พ.ร.บ.การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 ที่ให้ชาวไทยและต่างชาติเช่าได้ในระยะเวลา 30 ปี ต่ออายุสัญญาอีกครั้งละไม่เกิน 30 ปี โดยที่ผ่านมาไม่ได้รับความสนใจจากต่างชาติมากเท่าไหร่ และ 2.พ.ร.บ.ทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 หรือกฎหมายทรัพย์อิงสิทธิ ให้เช่าระยะเวลา 30 ปี เป็นการเช่าเพื่อใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน ยังสามารถนำสิทธิการเช่าไปปล่อยเช่าต่อให้แก่บุคคลอื่นได้ รวมถึงยังสามารถตกทอดให้แก่ทายาทหรือลูกหลานได้
“ที่ผ่านมาเอกชนพยายามเสนอรัฐพิจารณาปรับแก้กฎหมายขยายเวลาการเช่าให้มากกว่า 30 ปี เช่น 50 ปี เหมือนต่างประเทศเพื่อให้คุ้มต่อการลงทุน ทั้งนี้ต้องดูว่าหากรัฐไม่ผลักดันร่างกฎกระทรวงใหม่ที่ผ่านคณะรัฐมนตรีมาแล้ว จะไปใช้การเช่า ต้องดูว่าจะออกเป็นกฎกระทรวงเพิ่มเติมหรือรูปแบบไหน หากเป็นกฎกระทรวงเพิ่มเติมจะทำได้เร็วกว่าพ.ร.บ.” นายอิสระกล่าว
แนะใช้วีซ่าระยะยาว-กม.ทรัพย์อิงสิทธิ
นายอิสระกล่าวว่า โดยส่วนตัวมองว่าแม้ร่างกฎกระทรวงใหม่ได้เดินหน้า คงไม่ง่ายที่ต่างชาติจะได้สิทธิถือครองที่ดิน อย่างที่กังวล เพราะการขอใช้สิทธิต้องผ่านขั้นตอนอีกมากและยุ่งยาก อย่างไรก็ตามมองว่ามาตรการ LTR Visa ให้ 4 กลุ่มได้สิทธิส่งพำนักในไทยระยะยาว 10 ปี เป็นมาตรการที่จะได้ผลเร็วต่อการการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ แต่รัฐต้องกำหนดให้ชัดว่าได้สิทธิซื้อที่อยู่อาศัยราคาเท่าไหร่ เช่น ราคา 5 ล้านบาทขึ้นไปถึงได้วีซ่า ส่วนระดับ 1-2 ล้านบาทไม่ต้องให้ โดยออกเป็นประกาศเพิ่มเติม ส่วนการเช่าให้ใช้กฎหมายทรัพย์อิงสิทธิ มีอยู่แล้ว และไม่ต้องออกใหม่